เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 20 พ.ค. 01, 21:12
|
|
เรียนคุณ Peking man ที่มาของคำถาม คือวรรณคดีจีนรุ่นเก่าของไทยนี่แหละค่ะ ดิฉันพบว่ามีหลายเรื่องทีเดียวที่คนจีนไม่ค่อยรู้จัก เคยถามอาจารย์ชาวจีนจากม.ปักกิ่งที่มาทำวิจัยในเมืองไทย เอ่ยเรื่องไหนเรื่องนั้นที่เราชอบ อาจารย์งงงวย จะว่าดิฉันออกเสียงผิดก็ไม่เชิง เพราะอาจารย์พูดไทยเก่ง เทียบสำเนียงจีนกลาง แต้จิ๋วและไทยได้ อาจารย์บอกว่า รู้จัก สามก๊ก และ ความรักในหอแดง แต่ห้องสิน โหงวโฮ้วเพงไซ โหงวโฮ้วเพงหนำ บ้วนฮวยเหลา ซิเตงซันเจงไซ เจ็งฮองเฮา ชั่นบ้อเหมา เม่งเฉียว เช็งเฉียว พวกนี้ อาจารย์ออกจะงงๆ ก็เลยสงสัยว่าเรื่องจีนต่างๆที่คนไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ จนรัชกาลที่ ๘ นิยมกันนักหนา เป็นเรื่องเกรดไหนกันแน่ เอามาจากไหน หรือว่าคนไทยปลอมแต่งกันเอง เพราะขนบการแต่งออกมาคล้ายๆกันหลายเรื่อง เท่าที่ปะติดปะต่อจากคุณ Linmou และคุณนกข. ดิฉันว่าเรื่องพวกนี้ห่างจากประวัติศาสตร์จีนเอามากๆ แม้จะเรียกว่า "อิง" พงศาวดารก็ตาม วันหนึ่งก็ได้พบอาจารย์ไทยที่สอนวรรณกรรมจีน ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลยถามถึงจอยุ่ยเหม็ง ท่านก็บอกว่ามีในภาษาจีน ไม่ใช่คนไทยแต่งเอาเอง และเอ่ยถึงสามก๊กอิ๋งขึ้นมาว่า หาต้นฉบับในเมืองไทยได้ ในจีนกลับหายาก แต่ท่านก็มีเวลาคุยด้วยเดี๋ยวเดียว เลยไม่รู้รายละเอียดค่ะ ็ ถ้ามีเวลา จะมาเล่าสู่กันฟังว่า ขนบ ของเรื่องอิงพงศาวดารจีนในไทย ที่ดิฉันสังเกตดู เป็นอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 20 พ.ค. 01, 22:23
|
|
ผมไม่คิดว่าปลอมแต่งในเมืองไทยครับ แต่คงจะเป็นเกร็ดที่นักเขียนนักเล่าจีนเสริมเข้าไปให้สนุกๆ ในชั้นหลัง ไม่ใช่ฉบับมาตรฐาน เผลอๆ อาจจะเป็นบทงิ้วต่อเติมเสริมแต่งก็ได้
เพราะตำนานจีนหลายเรื่องที่ในเมืองไทยรู้จักนั้น จีนฮ่องกงก็รู้จัก เช่นเรื่องซิยิ่นกุ้ย ลูกซิยิ่นกุ้ยคือซิติงซาน เรื่องนางพญาหน้าดำ ฮ่องกงไต้หวันรู้จักดีพอที่จะเอามาทำเป็นหนังทีวีส่งมาฉายบ้านเรา แต่ในเมืองจีนแผ่นดินใหญ่นั้น ท่านผู้รู้ทางวรรณกรรมมาตรฐาน หรือประวัติศาสตร์มาตรฐานทางโน้นอาจจะไม่รู้ หรือไม่สนใจที่จะรู้บทงิ้วนอกพงศาวดารพวกนี้ก็ได้
(ตามที่คุณหลินว่า คือ ในประวัติศาสตร์จีนจริงๆ ก็มีให้ศึกษากันตาแฉะอยู่แล้ว จึงเป็นได้ที่จะตามอ่านนิยายพวกนี้อีกไม่ไหว หรืออาจจะรู้สึกเหยียดๆ นิยายพวกนี้ด้วยว่า ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์)
ยกตัวอย่าง ผมว่าผมขึ้นใจเรื่องไซอิ๋วดีพอสมควร แต่นิยายลูกหลานไซอิ๋วที่แตกหน่อออดกไปเป็นการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอลนี่ ผมไม่รู้เรื่องเลยครับ ผมว่าเรื่องมันกลายพันธุ์ไปจนไม่เหลือเค้าเดิมแล้ว (มีเหลือเค้าแค่ว่าพระเอกเป็นลิงชื่อโงกุน - หงอคง - เท่านั้น) ก็เลยเลิกตามอ่าน แล้วถ้าใครมาถามผมเรื่อง ดราก้อนบอล ผมก็คงตอบไม่ถูกเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สมชาย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 21 พ.ค. 01, 00:18
|
|
ผมได้อ่านประเพณีกามรัญจวน 1000 ปีของสำนักพิมพ์พลอยแกมเพชรเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรัดเท้าที่ว่า ค่อนข้างละเอียด มีรูปถ่ายด้วย การรัดเท้านั้นต้องทำกันตั้งแต่เด็ก และต้องมีการหักกระดูกกันเลย ในสมัยที่มีการลี้ภัยมาเมืองไทย มีชาวจีนบางพวกต้องเดินเท้ากันมาทั้งๆที่เท้าเล็กนิดเดียวทรมานกันมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Linmou
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 23 พ.ค. 01, 04:23
|
|
คุณเทาชมพูคะ เมื่อคืนนี้ผู้แซ่หลินลองโทถามรุ่นพี่ ป.โท ปี ๒ เอกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง ที่เป็นชาวปักกิ่ง และไปเรียนชั้นมัธยมปลาย + มหาวิทยาลัยที่ฮ่องกง & เพื่อนชาวมาเก๊าที่เดิมทีเป็นชาวเซี่ยงไฮ้ เอกวรรณคดี(โบราณ)วิจารณ์ถึงเรื่องซิยิ่นกุ้ยให้แล้วค่ะ
รุ่นพี่ชาวครึ่งฮ่องกงครึ่งปักกิ่งบอกว่า หนังสือโบราณที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ ปวศ. นั้น มี ๒ ประเภท คือ ๑. พวกเหยี่ยนอี้(พงศาวดาร) ๒. พวกเจิ้งสื่อ(บันทึก ปวศ. มาตรฐาน) และสื่อจี้(บันทึก ปวศ.) ทั้งหลาย (ความแตกต่างของเจิ้งสื่อและสื่อจี้อยู่ที่ พวกสื่อจี้ แม้จะเป็นบันทึก ปวศ.เช่นกัน แต่บันทึกในรูปแบบอื่น ที่ไม่ใช่แบบชีวประวัติ หรือถึงจะบันทึกแบบชีวประวัติ แต่ไม่ได้ถูกเลือกเป็นเจิ้งสื่อ เพราะที่บันทึกแบบชีวประวัติในแต่ละยุคนั้น ไม่ได้มีเพียงชุดเดียว)
ที่บรรดานัก ปวศ.จีนเขาอ่านกัน ก็คือประเภท ๒ ส่วนประเภทแรก "ส่วนใหญ่" จะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เป็น ปวศ.ที่ถูกบิดเบือน หรือต่อเติมเพื่อประโยชน์ในการเอาไปเล่นงิ้ว หรือเล่าเป็นนิทานแพร่หลายในหมู่ชาวบ้านเป็นส่วนมาก
ที่สำคัญ เรื่องซิยิ่นกุ้ยนี้ ตอนอยู่ฮ่องกง เขาไม่เคยเห็นงิ้วเรื่องนี้มาก่อนเลย เพิ่งมาเห็นในปักกิ่งเป็นครั้งแรก(งง)
ส่วนเพื่อนครึ่งเซี่ยงไฮ้ครึ่งมาเก๊านั้น ไม่รู้จักงิ้วเรื่องซิยิ่นกุ้ยเลยด้วยซ้ำไปค่ะ
เนื่องจาก ดิฉันเองไม่นัดด้านวรรณคดีเอาเลย(ด้านประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้เรื่องเท่าไรด้วย) จึงขอแนะนำว่า หากอยากทราบเรื่องนี้อย่างจริงจัง ลองถามจาก อ.ปกรณ์ แห่ง ม.ธรรมศาสตร์ , อ.ถาวร สิกขะโกศล , อ.กนกพร นุ่มทอง แห่ง ม.เกษตร(ศิษย์รัก อ.ถาวร จบโทด้านวรรณคดีจีน รู้สึกจะยุคถังซ่ง หรือซ่งเหยวียนนี่ล่ะค่ะ จาก ม.ปักกิ่ง) และ อ.หวาง(แหะๆ จำชื่อไม่ได้ เป็นผู้หญิงค่ะ)แห่ง ม.สงขลาฯ วิทยาเขตปัตตานี(อ.ท่านเป็นคนจีนที่แต่งงานกับคนไทย จบตรีคณะวรรณคดีจาก ม.ปักกิ่งค่ะ) จะดีกว่าค่ะ สำหรับอาจารย์คนไทย
ส่วน อ.คนจีนใน ม.ปักกิ่งที่พูดภาษาไทยเก่งนั้น Linmou รู้จักแค่ ๒ คน คือ อ.ฟู่เจิงโหย่ว(ชาย) และ อ.เผย(ไม่ทราบชื่อ หญิง) เพียงสองท่านเท่านั้น ทั้งสองท่านเป็น อ.สอนภาษาไทยให้แก่ นศ. ป.ตรี เอกภาษาไทยในม.ปักกิ่งค่ะ
อ.เผยเป็นเพื่อนสนิท อ.ปกรณ์ และพูดภาษาไทยเก่งมาก จนฟังไม่รู้เลยว่าเป็นคนจีน(ยอดเยี่ยม)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 23 พ.ค. 01, 08:32
|
|
ขอบคุณมากค่ะคุณ Linmou อ่านแล้ว เข้าใจว่าพงศาวดารจีนที่คนไทยรุ่นก่อนติดกันงอมแงมคือ เหยี่ยนอี้นี่เอง ดัดแปลงและแต่งไปตามความนิยมซ้ำๆกัน จนเกิดเป็นขนบการแต่งขึ้นมา อย่างเรื่องขุนนางกังฉินตงฉิน ฮ่องเต้โง่เขลา แก้ปัญหาการรบด้วยของวิเศษ เรื่องของเซียน ผู้หญิงถูกกดขี่ ฯลฯ อาจารย์ไทยที่ดิฉันเอ่ยถึงคืออาจารย์ถาวร สิกขโกศลนี่ละค่ะ ไปเจอกันที่ม.ธรรมศาสตร์ ตอนนี้หาตัวอาจารย์ยากเพราะท่านลาออกจากราชการแล้ว ส่วนอาจารย์อื่นๆ ดิฉันก็ไม่ได้เฉียดเข้าไปในมหาวิทยาลัยดังกล่าวเลย ถ้ามีโอกาสเมื่อไรจะเข้าไปถามท่าน ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Linmou
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 24 พ.ค. 01, 00:19
|
|
เพิ่มเติมค่ะ วันนี้ได้ถามรุ่นพี่อีกคนที่เป็นชาวฮ่องกง และจบตรีด้านประวัติศาสตร์จีน ปัจจุบันเรียนอยู่ ป.โท ปี ๒ เอกประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงชิงให้เพิ่มอีกคนค่ะ
ศิษย์พี่บอก ที่ฮ่องกงมีงิ้วเรื่องซิยิ่นกุ้ยจริง แต่เอามาจาก "สุยถังเหยียนอี้" (รู้สึกจะเขียนอย่างนี้ เศษกระดาษที่ถามดันโยนลงถังผงไปแล้ว) ซึ่งจัดอยู่ในประเภท "นวนิยาย" ที่แต่งขึ้นเป็นส่วนใหญ่ดังที่กล่าวมาแล้ว
เรื่องซิยิ่นกุ้ย ศิษย์พี่เขาก็เคยอ่านและดู บอกว่า ก็นิยายที่แต่งเติมจนจำเค้าเดิมแทบไม่ได้ดีๆนี่เอง คงพอจะเปรียบได้กับงานเขียนของกิมย้งที่ถูกไต้หวันเอาไปทำเป็นละครชุดมังคะ
แถม : สามก๊กที่ได้รับการแปลในเมืองไทยมานาน มาจากฉบับภาษาจีนว่า "ซานกว๋อเหยี่ยนอี้" ค่ะ
^_^
ปล. ท่านผู้อาวุโสนกข.เอย เหล่าเราผู้ศึกษาปวศ.หาได้ดูแคลนบรรดา "เหยี่ยนอี้" ไม่ เพียงแต่เรารู้จักแยกเท่านั้น ว่าสิ่งใดเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ สิ่งใดเป็นนิยาย เหล่าเรา(ข้าน้อย & นายมนุษย์ปักกิ่ง)ก็ยังคงเป็นแฟนนิยายกำลังภายใน(โดยเฉพาะของกิมย้ง)อย่างเหนียวแน่นอยู่ดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 24 พ.ค. 01, 08:45
|
|
สุยถังเหยี่ยนอี้ คงจะตรงกับเรื่องพงศาวดารจีน "ซุยถัง" ของไทย เป็นเรื่องราวสมัยพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|