เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6510 พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (เขมร: ព្រះបាទស៊ីសុវតិ្ថ)
อุปนิกขิต
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


 เมื่อ 02 ก.ย. 23, 21:03

พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (เขมร: ព្រះបាទស៊ីសុវតិ្ថ , ในเอกสารไทยเรียกว่า "สมเด็จพระศรีสวัสดิ์") ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 110 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
(เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 3 ในประวัติศาสตร์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชายุคอาณานิคม)

พระนามเต็ม
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ จอมจักรพงศ หริราชปรมินทร์ภูวนัย ไกรแก้วฟ้าสุราลัย พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี

ครองราชย์ : 27 กุมภาพันธ์ 2447 – 9 สิงหาคม 2470

เสด็จสวรรคตที่ กรงุพนมเปญ เมี่อเวลา 16.00 น. วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470 รวมพระชนมายุ 88 พรรษา ทรงครองราชย์ 24 ปี







พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (King Sisowath) ในปี พ.ศ.2465

ช่วงที่พระองค์ครองราชย์ ฝรั่งเศสได้เรียกร้องเอาเมืองพระตะบอง, เสียมราฐ, สตึงแตรง และเกาะกง (เกาะกง เขมร: កោះកុង เดิมไทยเรียก ปัจจันตคิรีเขตร บ้างสะกดว่า ปัตจันตคีรีเขตร์ หรือ ประจันต์คิรีเขตต์) จากสยามไปรวมกับกัมพูชา

- สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 (ตรงกับ พ.ศ. 2446 และ ค.ศ. 1904)
(อังกฤษ: Franco–Siamese Treaty of 1904; ฝรั่งเศส: Traité français–siamois de 1904)


- สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 ลงนามเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 (ตรงกับ 
พ.ศ. 2449 และ ค.ศ. 1907)
(อังกฤษ: Franco–Siamese Treaty of 1907; ฝรั่งเศส: Traité français–siamois de 1907)







สมเด็จกรมศาลาเร็จจณาเขมร ทรงถ่ายรูป พระราชพิธีสรงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ศรีสวัสดิ์ ก่อนอัญเชิญพระบรมศพลงในพระบรมโกศ


พระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (Funeral of King Sisowath)
L'Illustration N° 4414 - 8 Octobre 1927

==========

ข้อมูลประวัติที่พบในต่างประเทศ แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ

เขาเป็นหุ่นเชิดในการปกครองอาณานิคมฝรั่งเศส ซึ่งได้รับอารักขาเหนือกัมพูชาในสนธิสัญญาที่ลงนามโดยพระอนุชาต่างบิดา พระเจ้านโรดม ในปี พ.ศ. 2406

เช่นเดียวกับพระนโรดม เจ้าชายสีสุวัตถิ์ได้รับการศึกษาภายใต้การดูแลของอธิปไตยของไทยในกรุงเทพฯ เนื่องจากสยาม (ประเทศไทย) พร้อมด้วยเวียดนามได้ยึดกัมพูชาเป็นข้าราชบริพารมายาวนานและเลือกกษัตริย์กัมพูชา  เจ้าชายสีสุวัตถิ์ประทับอยู่ในกรุงเทพฯ จนกระทั่งพระราชบิดาคือพระเจ้าอังเดืองสวรรคตในปี พ.ศ. 2403  จากนั้นเขาก็ไปที่อูดอง ซึ่งเป็นศาลของเขมรเพื่อป้องกันไม่ให้ Si Votha น้องชายต่างมารดาของเขายึดบัลลังก์  พระองค์ทรงบังคับพระสีโวธาออกจากอูดอง แต่สยามเรียกพระองค์กลับมาที่กรุงเทพฯ และทรงเร่งให้พระนโรดมขึ้นครองราชย์

เมื่อฝรั่งเศสชนะการควบคุมเวียดนามบางส่วนในปี พ.ศ. 2405 พวกเขาก็อ้างสิทธิ์ในอารักขาเหนือกัมพูชาเช่นกัน  พระเจ้านโรดมทรงสวมมงกุฎในปี พ.ศ. 2407 โดยได้รับความยินยอมจากฝรั่งเศส และเจ้าชายสีสุวัตถิ์เสด็จไปยังไซง่อน ซึ่งเขาได้รับการอุดหนุนจากชาวฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้รับการอุดหนุนจากชาวฝรั่งเศส ซึ่งอาจข่มขู่พระเจ้านโรดมด้วยโอกาสที่จะแต่งตั้งเจ้าชายสีสุวัตถิขึ้นแทน

เจ้าชายสีสุวัตถิ์ ประทับอยู่ในไซง่อนจนถึงปี พ.ศ. 2410 เมื่อพระองค์ทรงถูกเรียกให้ปราบปรามการลุกฮือต่อต้านฝรั่งเศสในกัมพูชา  หลังจากนั้นเขายังคงอยู่ในพนมเปญและให้การสนับสนุนระบอบอาณานิคมฝรั่งเศส พระนโรดมสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2447 และเจ้าชายสีสุวัตถิ์ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
สมเด็จพระสีสุวัตถิ์สวรรคตในปี พ.ศ. 2470 ในกรุงพนมเปญ

==========

ข้อมูลภาษาอังกฤษที่พบ

He was a figurehead for the French colonial administration, which had secured the protectorate over Cambodia in a treaty signed by his half brother, King Norodom, in 1863.

Like King Norodom, Prince Sisowath received his education under the surveillance of the Thai sovereign in Bangkok because Siam (Thailand), with Vietnam, had long held Cambodia as their vassalage and chosen Cambodian sovereign. Prince Sisowath remained in Bangkok until his father, King Ang Duong, died in 1860; he then went to Oudong, Khmer's court, to prevent his other half brother, Si Votha from seizing the throne. He forced Si Votha out of Oudong, but the Thais recalled him to Bangkok and hastily installed the more compliant Norodom on the throne.

When the French won partial control of Vietnam in 1862, they claimed a protectorate over Cambodia as well. King Norodom was crowned in 1864 with French consent, and Prince Sisowath withdrew to Saigon, where he was subsidized by the French, who could threaten King Norodom with the prospect of installing Prince Sisowath in his place.

Prince Sisowath remained in Saigon until 1867, when he was called to quell anti-French uprising in Cambodia. He thereafter remained in Phnom Penh and gave his support to the French colonial regime.
King Norodom died in 1904, and Prince Sisowath succeeded to the throne.

King Sisowath died in 1927 in Phnom Penh. He was succeeded by his son, Prince Sisowath Monivong.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ก.ย. 23, 19:17

ไฟล์ใหญ่มาก ดิฉันขอย่อให้นะคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ก.ย. 23, 19:34

 สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ ทรงมีพระสนมเป็นนางรำชาวไทย ชื่อ นางสาวแพน เรืองนนท์   เรื่องราวของเธอค่อนข้างคลุมเครือ แต่พอปะติดปะต่อได้ว่า เธอเคยสวมบทนางบุษบา  รำถวายหน้าพระพักตร์  เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงสู่ขอต่อบิดาให้เป็นเจ้าจอม  มีนามว่าเจ้าจอมสีสุวัตถิ์ อำไพพงศ์ (Chao Chom Srivasti Amphaibongse)
เหตุการณ์ในครั้งนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานในบันทึกทางประวัติศาสตร์ทั้งในราชสำนักกัมพูชา และประวัติศาสตร์สยาม

แต่ข่าวพระเจ้ากรุงกัมพูชาประสงค์ที่จะแต่งงานกับนางรำชาวสยาม ถูกรายงานในหนังสือพิมพ์ไทยหลายฉบับ รวมถึงหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ “The Bangkok Daily Mail” ที่ขึ้นพาดหัวว่า “Siamese Dancer May Be Cambodia’s Queen”

พอข่าวแพร่ออกไป  กงสุลฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมกัมพูชาออกมากดดันให้ Bangkok Daily Mail ยุติการการรายข่าวดังกล่าว โดยอ้างว่า เรื่องราวทั้งหมดที่ถูกรายงานออกไปเป็นความเท็จทั้งสิ้น พร้อมบังคับให้สื่อรายนี้ตีพิมพ์แถลงการณ์ของทางกงสุลเพื่อชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

กงสุลฝรั่งเศสยังได้ออกแถลงการณ์อีกฉบับ อ้างว่า กษัตริย์กัมพูชาทรงไม่พอพระทัยและปฏิเสธรายงานข่าวอันคลาดเคลื่อนจากความจริง จึงทรงบัญชาให้ส่งตัว แพน กลับกรุงเทพฯ โดยทันที

ฝ่ายแพนเมื่อถึงกรุงเทพฯ เธอปฏิเสธเรื่องถูกส่งตัวกลับ อ้างว่าเธอเพียงเดินทางมาเยี่ยมน้องชายที่ป่วย

“ฉันสัญญาว่าจะมาไม่กี่วัน และจะรีบกลับไปหาพระองค์ ฉันยังเป็นชายาของพระองค์อยู่”

คำให้สัมภาษณ์ของเธอปรากฏอยู่บนพาดหัวของ Bangkok Daily Mail อีกครั้ง และกงสุลฝรั่งเศสก็เร่งตอบโต้ทันควันผ่านแถลงการณ์ระบุว่า
“นางสาวแพนได้ถูกขับออกจากกัมพูชาในฐานะบุคคลไม่เป็นที่พึงปรารถนา และเธอจะไม่ได้รับอนุญาตให้กลับมาที่กรุงพนมเปญอีก”

ไม่มีใครรู้เป็นที่แน่ชัดว่าเหตุใด แพนจึงถูกกีดกันอย่างหนักจากทางฝรั่งเศส จึงไม่ยอมให้มีการรายงานข่าวใดๆ เกี่ยวกับเธอเลย ถึงขั้นไปขอให้รัฐบาลสยามปิดข่าว โดยทางกระทรวงการต่างประเทศได้เรียกตัวบก.หนังสือพิมพ์ไปพบ และขอให้หยุดการตีพิมพ์ข่าวนี้

แพนกลับไปใช้ชีวิตเป็นนางละครร่วมคณะกับมารดาและบิดาเช่นเดิม ไม่มีโอกาสได้กลับไปยังราชสำนักกัมพูชาอีกเลย


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 21 คำสั่ง