อ้อ กะรีดาหา มาจากคำว่า Kari Daha คำว่ากะรี แปลว่า มา/จาก ในบริบทนี้น่าจะเเปลว่า เจ้าชายที่มาจากเมืองดาหานั่นเอง และเป็นเจ้าชายที่อยู่ในวงศ์อสัญแดหวา สืบสายจากเทพบนสวรรค์ที่เรียกว่า องค์ ปะตาละกะหลา นั่นเอง
น่าจะหลายถึง ปะตาระกาหลา
คุณเทาชมพูเคยอธิบายไว้ดังนี้
มาจากฮินดูค่ะ
คำนี้แยกได้ออกเป็น ๒ คำ คือ ปะตาระ+ กาหลา
ปะตาระ ใช้ในหนังสือไทยว่า ปัตรา อย่างในพงศาวดารเมืองกลันตัน ระบุชื่อสุลต่านองค์หนึ่งว่า
"ตนกูศรีปัตรามหารายา"
ปะตาระ ปัตรา มาจาก Betara แปลว่าศักดิ์สิทธิ์ มีอภินิหาร เป็นคำนำหน้าเทพเจ้าผู้ใหญ่ของฮินดู และนำหน้ากษัตริย์ระดับมหาราช
อย่างคำว่า Betara Guru ออกเสียงว่า บะตารา คุรุ หมายถึงพระฮิศวร
(คำนี้มีขีดอยู่ข้างบนคำนะคะ แบบอั๊กซงของฝรั่งเศส แต่ดิฉันพิมพ์ไม่ได้ค่ะ)
บะตาระ หรือบะตารา กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงเขียนว่า " ภัฏฏาระ" แปลว่าผู้เป็นใหญ่ ตามความหมายในพจนานุกรมของเซอร์โมเนีย-วิลเลียมส์
ส่วน กาหลา มาจากสันสกฤตว่า กาล หมายถึงเทพผู้สังหาร ผู้ทำลาย
รวมกัน ปะตาระกาหลา มาจาก ภัฏฏารกาล ไทยเรียกว่าพระมหากาล
เป็นปางดุร้ายของพระอิศวร คู่กับพระนางกาลี
ในชวามีรูปหนังเทพองค์นี้จริงๆ ถือดาบ มีสร้อยทำด้วยกระโหลกคนห้อยคอ แลบลิ้น ระบายสีดำทั้งตัว
ปัตตานีเรียก " กาลอ"
มีอีกชื่อว่า Raja Huntu แปลว่าเจ้าแห่งผี เพราะชอบปรากฏตัวตามป่าช้า มีภูตผีเป็นบริวาร
ก็คือพระอิศวรหรือพระศิวะเองละค่ะ เจ้าประจำของกระทู้เทพเจ้าฮินดูคงร้องอ๋อ
แต่องค์ปะตาระกาหลาเมื่อมาอยู่ในอิเหนาฉบับรัชกาลที่ ๒ ไม่ได้ดุร้ายอะไรอย่างที่มา เรามาแปลงใหม่ให้ไม่เคร่งเครียดนัก แบบไทยๆ
ดูเหมือนคุณปู่แก่ๆ มีอำนาจที่ค่อนข้างจะดุ พอหลานชายทำผิดไปฉุดลูกสาวเขามา ก็ลงโทษหลานชายจนหลานสะใภ้พลอยลำบากไปด้วย ทั้งที่ไม่ได้สมรู้ร่วมคิด
หายโกรธแล้วก็ยกมรดกให้หลาน อย่างที่ควรจะทำ เท่านั้นละค่ะ
