เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 36
  พิมพ์  
อ่าน: 141613 ทวิภพ ๒๕๔๗ The Siam Renaissance การเดินทางครั้งใหม่ของมณีจันทร์
pakun
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 480  เมื่อ 09 พ.ค. 12, 22:57

ตอบคำถามคุณSILAก่อนนะคะ รถไฟบรรณาการนี้เป็นของสะสมของผู้สะสมของโบราณซึ่งไม่เป็นที่รู้จักค่ะ  พอดีน้องในทีมงานหามาได้  ซึ่งรถไฟบรรณาการนี้มีตามบท  แต่ไม่มีข้อมูลใด ๆ มาถ้าจะต้องทำขึ้นคงต้องมาหาข้อมูลกันว่ายุคนั้นรถไฟของอังกฤษเป็นแบบไหน เราเคยรู้กันแค่เซอร์จอห์นบาวริ่งมาเฝ้ารัชกาลที่ 4 แต่ไม่เคยรู้ว่ามีการถวายโมเดลรถไฟเป็นบรรณาการด้วย Propsชิ้นนี้ทราบว่าต้องมีก็ใกล้ระยะที่จะต้องถ่ายทำฉากท้องพระโรงแล้ว  เรายังไม่เห็นบทแต่ทีมกำกับจะแจ้งมาทันที่ที่เขาทราบว่าอาจจะมีอยู่ในบท  เท่าที่พอจำได้เหมือนเรามีเวลา และสตังค์เหลือไม่มากนัก เพราะฉาก และPropsสำคัญที่ต้องใช้ในฉากนี้ถูกเตรียมไว้ล่วงหน้าเกือบหมดแล้ว  ดังนั้นถ้าไม่ต้องสร้างก็จะดีที่สุด  พอทีมงานของเราหาของเก่าได้ก็นำไปให้ทีมกำกับและทีมResearchดูว่าใช้ได้ไหม ถ้าResearchบอกใช้ได้ ผู้กำกับเห็นด้วย ก็นำมาใช้ค่ะ ยามนั้นถ้าต้องทำ ความรีบก็จะทำให้การสิ่งที่ต้องทำจะมีราคาสูงกว่าปกติ ถ้าไม่รีบการถ่ายทำก็ต้องเลื่อน ก็จะไปเจอค่าใช้จ่ายเรื่องสตูดิโอที่ต้องเก็บฉากไว้รอ  จำได้ว่าเราพยายามตรวจสอบเหมือนกันว่าโมเดลรถไฟนี่ใช่ไหม แต่เราทำได้แค่รู้ว่าเป็นโมเดลรถไฟโบราณจริง  แต่รุ่นถูกต้องตามยุคสมัยหรือเปล่า ไม่ทราบค่ะ ถ้าท่านใดทราบรบกวนให้ความรู้ด้วยนะคะ  ผิด ได้รู้ว่าผิดก็ยังดีค่ะ ไม่อย่างนั้นก็จะไม่รู้ตลอดไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 481  เมื่อ 10 พ.ค. 12, 09:40

ที่คุณ pakun ถามเกี่ยวกับรถไฟอังกฤษสมัยนั้น พอตอบได้ค่ะ 
สยามในรัชกาลที่ 4 ตรงกับสมัยวิคตอเรียน      เป็นยุคที่การคมนาคมในอังกฤษขยายตัวออกไปกว้างขวางทั่งประเทศด้วยรถไฟ แทนรถม้าอย่างในสมัยจอร์เจียน (ซึ่งเป็นยุคก่อนวิคตอเรียน)   
รถไฟยุคแรกของวิคตอเรียนหน้าตาเป็นอย่างรูปขวาค่ะ    ตรงกับรถไฟจำลองไหมคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 482  เมื่อ 10 พ.ค. 12, 09:41

ต่อมาถึงจะเป็นแบบนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 483  เมื่อ 10 พ.ค. 12, 09:59

อ้างถึง
ตอบคำถามคุณSILAก่อนนะคะ รถไฟบรรณาการนี้เป็นของสะสมของผู้สะสมของโบราณซึ่งไม่เป็นที่รู้จักค่ะ  พอดีน้องในทีมงานหามาได้  ซึ่งรถไฟบรรณาการนี้มีตามบท  แต่ไม่มีข้อมูลใด ๆ มาถ้าจะต้องทำขึ้นคงต้องมาหาข้อมูลกันว่ายุคนั้นรถไฟของอังกฤษเป็นแบบไหน เราเคยรู้กันแค่เซอร์จอห์นบาวริ่งมาเฝ้ารัชกาลที่ 4 แต่ไม่เคยรู้ว่ามีการถวายโมเดลรถไฟเป็นบรรณาการด้วย

นี่คือภาพรถไฟเล็กที่พระนางวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษได้ให้เซอร์จอห์น โบวลิ่งนำมาถวายเป็นราชบรรณาการแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่๔ ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจเข้าไปชมได้
ส่วนที่เห็นในภาพ ชมรมเรารักรถไฟ หลังสวนจตุจักร ได้จำลองไว้ให้ชมกันได้เช่นกัน ใครสะดวกที่ไหนก็เชิญที่นั่น


บันทึกการเข้า
pakun
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 484  เมื่อ 10 พ.ค. 12, 17:01

เท่าที่ดูจากรูป ก็น่าจะถูกต้องนะคะ ที่นำมาใช้น่าจะเป็นของชมรมคนรักรถไฟค่ะ เพราะทีมงานมักจะเดินหาของเก่าจากจตุจักร จำได้ว่า ทีมงานทำพลาสติกที่ครอบไว้แตก ต้องทำให้ใหม่ด้วย เข้ามาเป็นสมาชิกบ้านเรือนไทยแล้วยังคิดว่า ถ้ารู้เสียตั้งแต่ตอนทำทวิภพคงได้ความรู้อีกเยอะเลย

ฉากท้องพระโรง ทีมงานมาจากหลายแหล่งค่ะ แต่ส่วนสำคัญ ๆ ก็มาจากทีมที่เคยผ่านงาน สุริโยทัย ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีที่เราตามมาที่หลัง ทำให้มีบุคลากรมากพอที่มาช่วยเรา และก็เป็นโชคดีของเขาด้วยเช่นกันที่มีงานใหญ่มาให้เขาทำอย่างต่อเนื่อง ได้พัฒนาฝีมือ และมีรายได้ที่ต่อเนื่อง  แต่ตอนนี้น่าจะลำบากกันทุกคนค่ะ เพราะงานหดหาย มีแต่หนังทุนต่ำ คนทำงานเปลี่ยนอาชีพกันไปหมด  หลายคนก็หายไปจากวงการเลย

การตามหาผู้มีฝีมือแต่ละด้านเพื่อสร้างอุปกรณ์ประกอบฉาก เป็นงานที่ท้าทายอีกอย่างนอกจากจะต้องหาความถูกต้องแล้ว สำหรับตัวเองก็รู้สึกว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ทำงานยาก ๆ อย่างนี้  ได้ใช้ศักยภาพเต็มกำลัง รู้จักใครที่ไหนก็ใช้เป็นสะพานเชื่อมไปหาสิ่งอื่น ๆ ต่อ ๆ ไป แค่หาคนเขียนปากกาคอแร้ง และเขียนภาษาอังกฤษตัวเขียนได้ หากันให้ควักที่เดียว

ผ้าม่านที่ใช้ในฉากนี้ ฝ่ายกำกับศิลป์ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบมาทำ เพราะProducerรู้จักผู้เชียวชาญเรื่องผ้า ซึ่งดิฉันจำชื่อไม่ได้ค่ะ เป็นชื่อที่เราไม่ค่อยได้ยิน ผลงานสวยมาก ๆ ทำให้ได้รู้ว่ามีคนเก่ง ๆ ที่ไม่ออกสื่ออยู่ อีก
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 485  เมื่อ 10 พ.ค. 12, 17:36

อ้างถึง
แค่หาคนเขียนปากกาคอแร้ง และเขียนภาษาอังกฤษตัวเขียนได้ หากันให้ควักที่เดียว

         ว่าจะถามถึงจุดนี้ด้วย ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 486  เมื่อ 10 พ.ค. 12, 18:37

หยิบภาพรถไฟจำลอง จารึกพระนาม "วิคตอเรีย" ขนาดความยาว ๒๑๘ เซนติเมตร ครับ


บันทึกการเข้า
pakun
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 487  เมื่อ 10 พ.ค. 12, 19:06

กุลจำไม่ได้ว่าของชิ้นนี้ใช้ฉากไหนนะคะ  แต่จำได้ว่า เริ่มต้นจากหากระดาษค่ะ เพราะงานนี้เรามีเอกสารต้องทำหลายอย่าง  ก็ไปตระเวณหากระดาษมาจากหลากหลายที่ มาลองย้อมดูผลว่าแต่ละอย่างให้ผลอย่างไร นำมาทดลองเขียน แล้วก็เลือกดูว่า เราจะใช้กระดาษแบบไหนสำหรับทำอะไร  งานนี้เราใช้กระดาษคองเคอเรอเยอะค่ะ ตอนนั้นกระดาษนี้ยังต้องนำเข้า และมีไม่มาก  ต้องไปจองไว้ แล้วก็ต้องซื้อจากต้นตอจริง ๆ เพราะเราใช้ขนาดไม่ตรงกับที่ขายอยู่ในท้องตลาด  เลือกกระดาษและวิธีย้อมได้แล้วก็ไปให้คนเขียนตัวหนังสือ ต้องหาแบบวิธีเขียนไปให้คนเขียนฝึกไว้ก่อนด้วยนะคะ  คนเขียนก็ต้องเขียนหลายแผ่นอยู่ แล้วส่งไปให้คนวาด  โดยหลักการเราต้องมีที่สมบูรณ์อย่างน้อย 2 ชิ้นเผื่อความเสียหายไว้เสมอค่ะ  น้องในทีมมาจากศิลปากร  ก็ตามล่าหาเพื่อนมาช่วยกันทำค่ะ รวมทั้งงานเขียนใบลาน และสมุดไทย เป็นน้องที่จบจิตรกรรมไทย จากศิลปากร ปัจจุบันไม่ทราบว่าน้อง ๆ ไปทำอะไร อยู่ที่ไหนกัน ฝีมือดี ๆ กันทั้งนั้น

บางกอกรีคอเดอร์ก็ใช้น้องที่เชี่ยวชาญในการretouchปรับแก้ รวมทั้งตัดแปะ และถ่ายเอกสาร กว่าจะสำเร็จ 1 ชิ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 488  เมื่อ 10 พ.ค. 12, 19:12

รู้จักปากกาคอแร้ง  เพราะตอนเด็กๆครูหัดให้ใช้ในวิชาวาดเขียน  ใช้ตัดเส้น เขียนตัวหนังสือลายเส้นหนักเบาได้  แต่เขียนลำบาก ต้องจุ่มหมึกในขวด  เขียนไปไม่กี่ตัวอักษรก็แห้ง ต้องจุ่มใหม่  เลอะเทอะง่ายด้วยค่ะ
ปากเจ้ากรรมก็หักง่าย  ไม่เหมือนปากกาหมึกซึม

เคยสำรวจ fonts ต่างๆทั้งที่อยู่ในคอมพ์ และที่เจอในเว็บ   เพื่อจะดูว่าจะดาวน์โหลดตัวไหนมาใช้บ้าง   พบว่ามีฟ้อนท์อังกฤษบางตัวเขียนเลียนแบบลายมือโบราณ สวยงามทีเดียว
ถ้าเลือกฟ้อนท์พวกนี้มาพิมพ์ลงในกระดาษ เลือกความหนาบางของเส้น แล้วพิมพ์ด้วยหมึกดำ   เวลาถ่ายหนังจะเหมือนเขียนด้วยปากกาคอแร้งไหมคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 489  เมื่อ 10 พ.ค. 12, 21:34

ความจริงแล้ว เครื่องราชบรรณาการที่สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียส่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯมีหลายรายการ แต่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จ้ดแสดงมีสามรายการ คือพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียและพระบรมสาทิสลักษณ์ของเจ้าชายอัลเบิร์ตพระสวามี เท่าพระองค์จริง ลูกโลกจำลองสภาพภูมิศาสตร์และแผนที่ดาวนพเคราะห์ กับรถไฟจำลอง ซึ่งวิ่งเล่นได้จริงๆ


(ภาพจากหนังสือ๑๔๙ปี ราชพิพิธภัณฑ์)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 490  เมื่อ 10 พ.ค. 12, 21:59

ลองใช้ฟ้อนท์ฝรั่งบ้างไทยบ้าง คัดชื่อเซอร์จอห์น เบาริง แทนปากกาคอแร้งค่ะ

ป.ล. ทำไมถึงชื่อปากกาคอแร้ง   มันเหมือนคอแร้งตรงไหนคะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 491  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 07:34

ป.ล. ทำไมถึงชื่อปากกาคอแร้ง   มันเหมือนคอแร้งตรงไหนคะ

คงเป็นด้วยลักษณะที่มีตัวปากกาคอแร้ง และหัวปากกาคอแร้งที่ทำด้วยโลหะ (ตัวใหญ่ หัวดูเล็กต่างขนาดกันเห็นได้ชัด เหมือนนกแร้ง ที่หัวและช่วงคอไร้ขนปกคลุม จึงดูช่วงส่วนหัว-คอเรียบ ๆ แล้วต่อด้วยลำตัว)
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 492  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 09:42

เครื่องราชบรรณาการ - แผนที่ดาวในฉากท้องพระโรง
(พร้อมผ้ารองคลุมประกอบฉากงดงาม)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 493  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 09:43

ลูกโลกในฉาก"ที่เก็บอาวุธลับของสยาม"


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 494  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 12:00

อ้างถึง
เครื่องราชบรรณาการ - แผนที่ดาวในฉากท้องพระโรง
(พร้อมผ้ารองคลุมประกอบฉากงดงาม)


เครื่องราชบรรณาการที่บรรยายภาพว่าแผนที่ดาวนพเคราะห์ (Celestial sphere)ซึ่งผมนำมาให้ดูแล้วนั้น ไม่ได้เป็นสมุดอย่างในภาพยนต์ตามภาพของคุณศิลาครับ หากมีรูปทรง กลมและขนาดเหมือนกับลูกโลกที่วางคู่กันนั่นแหละ แต่แสดงภาพดาวต่างๆที่อยู่ในทรงกลมสมมุติของท้องฟ้าที่ล้อมรอบโลกเราไว้ โดยมีโลกอยู่ที่จุดศูนย์กลาง ภาพข้างล่างคือตัวอย่าง  

ทีมงาน research ไม่ลึกถึงตรงนี้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 36
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง