เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 36
  พิมพ์  
อ่าน: 141649 ทวิภพ ๒๕๔๗ The Siam Renaissance การเดินทางครั้งใหม่ของมณีจันทร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 465  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 11:34

ยกน้ำร้อนน้ำชามาต้อนรับคุณ pakun ค่ะ
มาร่วมวงฟังเรื่องเบื้องหลังงานสร้างทวิภพ ด้วยอีกคนหนึ่ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 466  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 11:36

ฝ่ายกำกับศิลป์ทำงานโดยไม่มีบท มีแต่คำอธิบายจากผู้กำกับ เมื่อเริ่มงานเราทราบแค่ว่า ทวิภพครั้งนี้จะขยายความเพิ่มย้อนไปถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะอยากให้คนไทยได้รู้ว่า เรื่องการพัฒนาประเทศให้ทันตะวันตกนั่นเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว  เพราะฉนั้นเราต้องไปศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนไปถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ว่าอะไรไม่มี อะไรมีตั้งแต่เมื่อไร  และรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และจะมีฉากสำคัญ ๆ อะไรบ้าง ให้เราเตรียมออกแบบไว้ก่อนเลย บทจะค่อย ๆ มาเอง

น่าอัศจรรย์ใจมาก  ในการทำงานแบบนี้
อยากฟังรายละเอียดค่ะ
บันทึกการเข้า
pakun
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 467  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 21:54

ทดสอบระบบก่อนนะคะ เพราะเมื่อสักครู่โพสต์ไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
pakun
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 468  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 22:05

ด้วยเหตุของการไม่มีบทนี่แหละค่ะ ทำให้งบบานปลาย และเกิดความผิดพลาดบกพร่องทั้ง ๆ ที่ทุกคนทำงานหนัก และเอาจริงเอาจังอย่างยิ่ง ซึ่งการไม่มีบทมีไปตลอดการถ่าย อย่างดีฝ่ายศิลป์จะได้บทล่วงหน้าเฉพาะตอนที่จะถ่ายทำก่อนการถ่ายทำ 1 อาทิตย์  บางครั้งได้ล่วงหน้าคืนก่อนวันถ่ายทำ โดยจะมีผู้ช่วยผู้กำกับจะคอยโทรศัพท์มาบอกว่าให้เตรียมอะไรที่ละอย่าง 2 อย่าง เพราะฉนั้นบางอย่างเราทำได้แค่พอให้ทันถ่ายทำ สวยงามได้แค่ไหนแค่นั้น ความถูกต้องก็มีเวลาเช็คบางไม่มีเวลาเช็คบาง ตามที่ปรากฎในภาพยนต์ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 469  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 22:22

ถ้าคุณ pakun พิมพ์ข้อความแล้วโพสไม่ได้  อย่าเพิ่งพิมพ์ใหม่นะคะ  ให้กดลูกศรตรงมุมซ้ายบนเพื่อย้อนหน้ากลับไปหน้าเก่า   ข้อความที่พิมพ์อยู่ก่อน จะกลับมาค่ะ  ประหยัดเวลาและไม่เสียอารมณ์

ดิฉันก็ตะหงิดๆในใจเหมือนกัน แต่ไม่อยากถามล่วงหน้า รอฟังคำตอบดีกว่า
บทเป็นหัวใจสำคัญของการกำหนดขอบเขตและแนวทางงานที่ทำ     ถ้าไม่รู้ล่วงหน้า หรือรู้แบบกะทันหัน  การเตรียมฉากก็จะไม่พร้อม   โน่นขาดนี่เกิน   บางทีอะไรที่เตรียมไว้ก็ไม่ได้ใช้  อะไรที่ต้องใช้ก็ไม่ได้เตรียม
แต่ทำออกมาได้สวยขนาดนี้ก็ต้องถือว่าฝีมือไม่ธรรมดาค่ะ
   



บันทึกการเข้า
pakun
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 470  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 22:42

ตอนที่ฝ่ายศิลป์ได้เข้าไปร่วมทีมงาน ฝ่ายกำกับมีทีมศึกษาข้อมูลและเขียนบทกันมาระยะหนึ่งแล้ว  จนน่าจะพอสรุปได้ว่าจะมีฉากสำคัญ ๆ อะไรอยู่ในเรื่องบ้างแน่ ๆ มีงานออกแบบให้ทำแล้วจึงเรียกทีมศิลป์ไปรับงาน จำได้ไม่หมดนะคะว่า เรียกไปครั้งแรกมีฉากอะไรบ้าง  เท่าที่จำได้ก็มีฉากท้องพระโรง บ้านแม่มณี ฉากโรงพิมพ์ หอพระสมุด ร.ศ.112 หว้ากอ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา...... (ต้นสกุลบุญนาคค่ะ) พระที่นั่งทรงธรรม(แหม่มแอนนาสอนหนังสือ) ถนนเจริญกรุง ระบำแคนแคน แพฟรานซิสจิตร และอื่น ๆ ทยอยมากันเรื่อย ๆ โดยจะมีประชุมกันอาทิตย์ละครั้ง ทีมกำกับก็จะค่อย ๆ บอกมาที่ละฉาก 2 ฉาก  โดยประเมินว่าอะไรที่ฝ่ายศิลป์ต้องใช้เวลาทำนานก็จะบอกก่อน  ถ้าอะไรดูไม่ยุ่งยากก็จะไม่ยังไม่ตัดสินใจบอก  ซึ่งก็เป็นวิธีทำงานที่ดีที่สุดแล้วสำหรับการถ่ายทำที่บทยังไม่สรุปแน่นอน  ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่เริ่มเรียกฝ่ายคัดเลือกตัวแสดง และฝ่ายออกแบบเสื้อผ้าเข้ามารับงาน  ซึ่งเป็นทีมงานชั้นแนวหน้าทุกคนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 471  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 22:51

ทำไม ถึงไม่มีการทำบทให้เสร็จเรียบร้อยก่อนคะ  ขอถาม
บันทึกการเข้า
pakun
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 472  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 23:17

การประชุม ทีมกำกับจะบอกเล่าแต่ละฉากเหมือนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ค่ะ โดยที่เราจะไม่รู้ว่ามันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องอย่างไร  หรือถ้าจำเป็นต้องรู้ทีมกำกับก็จะบอกเล่าโครง ๆ ของเรื่องแค่ ใครมาทำอะไรที่่ไหน แค่นั้นค่ะ โดยสำทับด้วยว่า อาจจะมีปรับ เปลี่ยน นะ ที่มากกว่าการบอกเล่าก็คือ ที่มค้นคว้าจะมีรูปที่เกี่ยวข้องให้เรา เขาก็ให้ทุกอย่างที่เขาค้นคว้ามาได้ แต่เราเองก็ยังต้องมาศึกษาค้นคว้าต่ออีกไม่น้อย  บาอย่างไม่มีรูปเลย เราก็หาข้อมูลเทียบเคียงมาใช้ออกแบบค่ะ  การออกแบบบางฉากเราก็แสดงเป็นภาพวาด บางอย่างก็ทำเป็นโมเดล ที่แรกก็วางแผนกันว่า เราน่าจะให้เวลาออกแบบกันซัก 3 เดือนแล้วบทจะเสร็จแล้วก็จะเริ่มวางแผนการถ่ายทำ  3 เดือนผ่านไปบทก็ไม่มีแววว่าจะเสร็จเราเลยมีเวลาเตรียมงานกันนาน  จำได้เหมือนจะ 6 เดือนนะคะ  เสียดายที่ไม่มีรูปงานออกแบบต่าง ๆ มาให้ดูค่ะ  ดิฉันไม่ใช่เจ้าของงานค่ะ  เลยไม่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ มาไว้กับตัวได้  แต่ตอนทำงานก็ได้พยายามเก็บข้อมูลต่าง ๆ มากมายให้เป็นระบบมากที่สุด  เพราะทุกคนเห็นความสำคัญค่ะ  แต่ด้วยความเยอะ และฉุกละหุกก็มีตก ๆ หล่น ๆ ปัจจุบันไม่รู้ว่าพี่เจ้าของงานเขาเก็บไว้อย่างไร  สำหรับที่พอมีรูปติดมาบ้าง ตอนนี้ยังหาไม่เจอค่ะ  เปลี่ยนคอมพิวเตอร์มาก็หลายเครื่อง ยุคนั้นเก็บไว้เป็นCDก็ยังหาไม่เจอค่ะ  ถ้าพบเมื่อไหร่จะนำมาโพสต์ให้นะคะ
บันทึกการเข้า
pakun
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 473  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 23:40

เนื้อจริง ๆ ไม่ทราบค่ะ เท่าที่ทราบทุกคนพยายามแต่ผู้กำกับยังไม่พอใจ มีเรื่องอยากบอกเล่าเยอะ รักพี่เสียดายน้อง แล้วก็งบด้วย  บางเรื่องอยากเล่าแต่ทุนไม่ถึงเลยต้องตัด พอตัดออกก็ต้องแก้หาวิธีเล่าใหม่ แล้วก็พาลกระทบกันไปหมด หลัง ๆ ผู้กำกับไม่ได้เข้าประชุมด้วย  เพราะยังคลี่คลายบทอยู่  จะมาประชุมก็ต่อเมื่อทีมงานตอบแทนไม่ได้แล้ว  ดิฉันประชุมด้วยช่วงแรกไม่กี่ครั้ง ก็ไม่ได้ไปอีก เพราะมีงานที่ต้องทำแทนทีมงานที่เข้าประชุม  ก็จะรู้เท่าที่ทีมงานมาเล่าให้ฟัง แล้วสุดท้ายทีมเราก็ไม่สามารถทำได้จนจบนะคะ  เพราะนานมากแ้ล้ว  ก็ยังมีปัญหาเรื่องรอปรับบทอยู่ เท่าที่จำได้ไม่มีใครได้อ่านบทตั้งแต่ต้นจนจบ ตลอดเวลาที่ทำงานเราไม่รู้เลยว่าหนังจะจบอย่างไร  สิ่งที่ทีมเรากระเซ้ากันเสมอ ๆ ก็คือ  ตกลงเราทำหนัง หรือทำสารคดี ทวิภพ หนังรักโรแมนติก ที่เราเห็นมีอยู่ 2 ฉากคือฉากพระเอกจับมือนางเอกที่แพริมน้ำ กับฉากสบตานางเอกจำไม่ได้ว่าที่ไหนค่ะ
บันทึกการเข้า
pakun
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 474  เมื่อ 08 พ.ค. 12, 00:07

ดิฉันจะค่อย ๆ เล่าไปเท่าที่จำได้ที่ละฉากนะคะ คงเป็นเรื่องการเตรียมงานซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะดิฉันไม่ได้ไปในเวลาถ่ายทำ ดิฉันจึงมักไม่ได้บท จึงไม่ทราบเนื้อเรื่อง สุดท้ายดิฉันก็ไม่ได้ไปดูเรื่องนี้ด้วยค่ะ เพื่อนเรือนไทยอยากรู้ตรงไหนลองถามมาก็ได้นะคะ  เผื่อจะช่วยย้อนความทรงจำ

เริ่มจากฉากท้องพระโรงก่อนแล้วกันนะคะ  เพราะเตรียมงานง่ายที่สุดแล้วค่ะ เพราะเกือบทุึกอย่างยังมีอยู่  เพียงแต่เราต้องทำขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ถ่ายทำให้เหมือนที่สุด  และยังเป็นช่วงเริ่มต้น ยังมีทั้งงบและเวลามากอยู่  เราแค่ดูให้ราคาสมเหตุผล ฝีมือเชื่อถือได้ งานยากที่สุดอยู่ที่การขนส่งค่ะ เพราะพระที่นั่ง(หรือบุษบก ช่วงนั้นจำชื่อได้ทุกอย่างเลยนะคะ ตอนนี้ทำตกหล่นไปหมดเลย)แบ่งชิ้นส่วนให้ต่อน้อยที่สุดแล้วยังขนส่งได้ก็ต้องขน และยกด้วยเครนและรถหกล้อใหญ่ค่ะ ฉากนี้มีอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ที่ต้องทำขึ้นอีกหลายชิ้น อย่างหีบ อย่างฉัตร เครื่องยศต่าง ๆ ก็ไปดูของภาพยนต์สุริโยทัย ถ้าชิ้นไหนใช้ร่วมกันได้ก็ใช้  ถ้าไม่ได้ก็ต้องทำใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้ของสุริโยทัยค่ะ  ความถูกต้องของเรื่องนี้ ทีมค้นคว้าของฝ่ายกำกับเป็นคนตรวจเช็ค แต่ฝ่ายศิลป์เองเราก็มีทีมค้นคว้าด้วย เพราะความผิดพลาดในส่วนของเรา เราก็ต้องรับผิดชอบด้วยอยู่ดี  ซึ่งของต่าง ๆ สำหรับฉากนี้ทำออกมาได้สวยงาม ดีเสมือนจริงมาก เป็นที่น่าเสียดาย ปัจจุบันไม่รู้อยู่ไหนค่ะ ความตั้งใจของทุกคนคือทำสุดฝีมือเพื่อให้หนังสร้างชื่อ สร้างรายได้ แล้วจะได้สตังค์มาทำหนังเรื่องต่อไป ทำให้ของเหล่านี้ได้ใช้อีก  แต่ผลไม่เป็นเช่นนั้น
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 475  เมื่อ 08 พ.ค. 12, 09:26

ตามอ่านอยู่ครับ

ฉากท้องพระโรง                   


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 476  เมื่อ 08 พ.ค. 12, 09:30

เครื่องราชบรรณาการ รถไฟจำลองนี้ได้มาอย่างไร ครับ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 477  เมื่อ 08 พ.ค. 12, 09:54

อ้างถึง
ด้วยเหตุของการไม่มีบทนี่แหละค่ะ ทำให้งบบานปลาย และเกิดความผิดพลาดบกพร่องทั้ง ๆ ที่ทุกคนทำงานหนัก และเอาจริงเอาจังอย่างยิ่ง

อ้างถึง
มีเรื่องอยากบอกเล่าเยอะ รักพี่เสียดายน้อง แล้วก็งบด้วย  บางเรื่องอยากเล่าแต่ทุนไม่ถึงเลยต้องตัด พอตัดออกก็ต้องแก้หาวิธีเล่าใหม่ แล้วก็พาลกระทบกันไปหมด

           น่าเสียดายเรื่องบทที่ไม่เรียบร้อยก่อนการถ่ายทำ สำหรับหนังสเกลใหญ่อย่างนี้
ส่งผลให้การเล่าเรื่องเป็นปัญหา และยังกระทบต่อด้านอื่นๆ อีกด้วยโดยเฉพาะงบประมาณ

             ในขณะที่หนังสเกลเล็กๆ อย่าง In The Mood For Love ของผู้กำกับติสท์
หว่องกาไหว่ ซึ่งไม่(ค่อยจะ)มีบทล่วงหน้าเช่นกัน แต่ตัวแสดงมีเพียงสองคน จึงมีความยืดหยุ่น
มากกว่า ผกก.สามารถนำพาหนังให้เล่าเรื่องได้ราบรื่นเร้าอารมณ์สมหมาย

กระทู้เก่าเล่าเรื่อง In The Mood For Love ครับ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4901.135
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 478  เมื่อ 08 พ.ค. 12, 10:02

เอาหมากพลูมารอฟังคุณ pakun ครับ

อันที่จริงแล้วกระแสวัฒนธรรมตะวันตกในช่วงต้นรัชกาลที่ ๔ ไม่ใช่คลื่นตะวันตกลูกแรกที่เข้ามา แต่หนังเรื่องนี้ให้ความสำคัญกับการทำสนธิสัญญากับอังกฤษ โดยเซอร์ จอห์น บาวริ่ง ซึ่งจะเป็นปัญหาอีกนับกว่า ๓๐ ปี

ทั้งนี้ขอชื่นชมทีมงานในส่วนคัดเลือกตัวแสดง ที่พยายามสรรหาหน้าตาได้ใกล้เคียงครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 479  เมื่อ 09 พ.ค. 12, 09:29

เดาว่าบทล่าช้า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเขียนใหม่ขึ้นมาเกือบหมด  ไม่ได้ยึดบท "ทวิภพ" ของเดิม  ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 36
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง