เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 36
  พิมพ์  
อ่าน: 141673 ทวิภพ ๒๕๔๗ The Siam Renaissance การเดินทางครั้งใหม่ของมณีจันทร์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 27 มี.ค. 12, 13:54

           หลังงานแถลงข่าว มณีจันทร์ซึ่งมีชื่อเล่นว่าเมนี่ ถูกเรียกตัวกลับไทย




บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 09:49

          เธอมาถึงบ้านในสภาพง่วงงุน(อีกแล้ว) เมื่อมาถึงเธอถามว่า บ้านใคร 
เพื่อนของเธอที่ขับรถมาส่งเป็นใคร  และตัวเธอคือใคร อยู่ที่ไหน



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 09:51

           ในบ้าน แม่ซึ่งมาดูแลจัดบ้านไว้รอรับลูกสาวคนเดียวเหลียวเหลือบมามองลูกแวบหนึ่ง
แล้วก็หันไปสั่งงานกับคนรับใช้ต่อ 
              จนเมื่อเมนี่ทิ้งตัวลงนั่งบนเก้าอี้และเอนกายพิงพนัก แม่จึงเดินมาหาทางเบื้องหลัง
แล้วยื่นมือมาลูบไล้ผมลูกสาวอย่างทะนุถนอม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 09:52

           คืนนั้น เมนี่ หยิบยื่นหมากฝรั่ง Voyageur จากฝรั่งเศสให้เด็กรับใช้ๆ ฝันอยากพูดฝรั่งเศสเป็น
            ซองหมากฝรั่งมีรูปหอ Eiffel ที่เมนี่บอกว่ามีความสูงเท่าภูเขาทองบ้านเรา



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 09:53

เช้าวันรุ่งขึ้น



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 09:54

          เมนี่เดินทางมาพบกลุ่มนักวิชาการเรื่องบันทึกชุดนั้น เธอได้รับการต้อนรับอย่างค่อนข้าง
ห่างเหินจากอาจารย์หลวง ผู้เป็นบิดาแท้ๆ ของเธอ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 09:56

          นักวิชาการเชื่อว่าบันทึกเล่มนั้นเขียนในสยาม จากเหตุผลสำคัญคือคำว่า Mongkut
และ สยาม ที่ถูกบันทึกไว้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 09:58

           แต่ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งคือการที่บันทึกอ้างถึง ลองติจูด ๐ องศา
ซึ่งตามหลักภูมิศาสตร์สากลแล้วก็คือ Greenwich ที่ London ซึ่งเป็นตำแหน่งกำหนดเวลา
มาตรฐานโลก ไม่ใช่สยามซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งลองติจูด ๑๐๐ องศา

             เมนี่รายงานว่านักวิชาการต่างชาติยอมรับว่าบันทึกนี้พูดถึงสยาม แต่ไม่ยอมรับเรื่อง
ตำแหน่งที่ระบุว่า ๐ องศา จึงลงความเห็นว่าบันทึกเป็นดั่งนิยายไร้สาระและไม่รับรองผู้เขียนบันทึก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 10:01

         เมนี่กลับต้องแปลกใจเมื่อพ่อบอกว่ากลุ่มนักวิชาการของพ่อรู้จักบันทึกนี้ดี และบอกให้เธอ
ลืมเรื่องไร้สาระนี้เสีย แต่มณีจันทร์ยังสงสัยทำไมอยู่ๆ บันทึกสำคัญก็กลายเป็นไร้สาระ

            "บันทึกประวัติศาสตร์ทุกชิ้น ความจริงกับคำโกหกปนกันอยู่ในบรรทัดเดียวกันเสมอ
ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนเขียน"
 
         พ่อยังบอกด้วยว่า Francois Xavier นั้นไม่มีตัวตน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 10:03

          แต่เพื่อเป็นการปลอบใจที่ผิดหวังของเมนี่ พ่อจะให้อาจารย์อีกท่านเฉลยคำตอบเรื่อง
ลองติจูด ๐ องศา ว่า

            เราชาวสยามกำหนดเวลามาตรฐานของเราเองตั้งแต่กลางศตวรรษที่ ๑๙ แล้ว ก่อนมีเวลา
มาตรฐานกรีนิชตั้งสิบกว่าปี



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 10:06

          พระที่นั่งภูวดลทัศไนย หรือหอนาฬิกาในหมู่พระที่นั่งและหอในพระอภิเนาว์นิเวศน์
เป็นเหมือนศูนย์กลางเวลาของสยามในตอนนั้น




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 10:11

เรื่องนี้คุณตั้งเคยอธิบายไว้

เรื่องที่น่าสนใจ ก็คือ เมื่อสมัย ร.4 พระองค์ท่านได้ประกาศเมื่อ พ.ศ.2400 ให้ใช้เวลาที่ ณ.จุดแบ่งครึ่งของดวงอาทิตย์ที่เคลื่อนที่ผ่านพระที่นั่งภูวดลทัศไนยและจุดแบ่งครึ่งดวงจันทร์ เป็นเวลามาตรฐานของไทย ทรงเรียกว่า Bangkok Mean Time ต่อมายังได้ทรงโปรดให้สร้างหอนาฬกาในพระบรมมหาราชวังอีกด้วย (ได้รื้อลงในสมัย ร.5) ทรงให้มีเจ้าหน้าทีประจำเพื่อสังเกตดวงอาทิตย์และดวงจันทร์และทรงให้ปรับเวลาที่นาฬิกาให้ตรงตามดาราศาสตร์ ซึ่งมีประโยชน์มากในเชิงภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์และการเดินเรือ เส้นนี้ก็คือ Bangkok meridian หรือ Prime meridian ที่เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ  

ผมไม่สันทัดในเรื่องนี้เท่าไรนัก พอทราบแต่เพียงว่าในสมัยก่อนๆโน้น มหาอำนาจในยุโรปต่างก็ใช้ Prime meridian ในการออกเดินเรือและทำแผนที่ต่างๆ เมื่อเข้าสู่สมัย ร.5 ทั่วโลกจึงได้ตกลงกันว่าให้ใช้เส้นแวงที่ผ่านกรีนนิชเป็น Prime meridian ของโลก จนกระทั่งเข้าสมัย ร.6 ในปี พ.ศ.2462 ก็มีความตกลงนานาชาติให้ใช้กรีนนิชเป็นจุดเริ่มของเวลาโลก ซึ่งทำให้เวลามาตรฐานของประเทศไทยเร็วกว่ากรีนนิช 6 ชม.42 นาที (เนื่องจากกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนเส้นแวง 100 - 29 - 50 อ.)  ร.6 จึงได้ทรงประกาศใช้เส้น 105 อ. เป็นเวลามาตรฐานของประเทศไทย ทำให้เวลาของประเทศไทยเร็วกว่าที่กรีนนิช 7 ชม.


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 10:17

          สร้างเสร็จก่อนหอนาฬิกา Big Ben ๒ ปี ที่นั่นคือ Bangkok Mean Time



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 10:19

          คนเดียวที่ทำอย่างนี้ได้ - พระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวที่ทำอย่างนี้ได้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 10:23

         แล้วอาจารย์อีกท่านหนึ่งก็เปิดบังตาเผยตำแหน่ง ๐ องศา เวลากรุงเทพให้เมนี่ได้ยล



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 36
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง