เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 23440 อยากทราบชื่อขุนนางในเมืองตานี ( ปัตตานี ) แล้วมี หลวงปริพันธ์ประสิทธิ์ อยู่ไหม
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 20 มี.ค. 12, 15:22

นอกจากร่องรอยที่ได้กล่าวมาแล้ว  คุณ Thosawad ยังมีร่องรอยอะไร
ที่คิดว่าน่าจะช่วยในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับบรรพบุรุษของคุณ  แต่คุณยังไม่ได้เล่าให้ทราบ
กรุณาเล่าเพิ่มอีกได้นะครับ  เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการคลำทางต่อไป
ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ตอนนี้  ยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ครับ

เป็นไปได้หรือไม่ว่า  คุณหลวงปริพันธ์ฯ อาจจะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องที่อื่นมาก่อน
ต่อมา  ได้ย้ายมาอยู่ที่ปัตตานีในที่ที่คุณอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
Thosawad
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 20 มี.ค. 12, 15:39

ไม่แน่ใจว่ามาจากไหนอ่ะครับ ผมไม่ค่อยทราบเท่าไร ที่ทราบก็ได้บอกหมดแล้วครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 20 มี.ค. 12, 15:56

ูหากมีข้อมูลเท่าที่คุณบอกมา  คงต้องให้เวลาในการค้นหาข้อมูลสักระยะหนึ่ง
อาจจะนานเป็นปี   ที่ผ่านมา  กว่าจะค้นข้อมูลคนในอดีตสักคนหนึ่ง
ซึ่งไม่ใช่คนเด่นดัง จนพบประวัติหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้  ก็ต้องใช้เวลาค้นอยู่นาน
จนบางทีคนที่เป็นเจ้าของปัญหาก็ถอดใจไปแล้ว   ฉะนั้นคุณก็คงต้องเอาใจช่วยให้ผมและท่านอื่นๆ
หาข้อมูลเกี่ยวกับคุณหลวงปริพันธ์ฯ เจอ   ระหว่างนั้น  คุณจะช่วยหาข้อมูลมาเพิ่มเติม
ก็จะเป็นการดี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 20 มี.ค. 12, 19:33

และถ้าจำไม่ผิดก็อยู่ระหว่างเส้นทางเสด็จของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ท่าน้ำหน้าบ้านคุณพระจีน จากนั้นก็ประมาณบ้านผม ต่อด้วยวัดบางน้ำจืด ( วัดตานีนรสโมสร ) แล้วพระองค์เสด็งที่สุดท้ายคือที่วังเจ้าเมืองปัตตานี ( อยู่ที่ ต.จะบังติกอ )

เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินคราว ร.ศ. ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)

พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสแหลมมลายูคราว ร.ศ. ๑๐๘ ฉบับที่ ๓

วันที่ ๑ เดือนสิงหาคม เวลาเช้าโมงเศษทอดที่น่าเมืองตานี พระยาตานี พระยาพิทักษ์ธรรมสุนทร พระศรีบุรีรัฐพินิจ พระพิพิธภักดี ลงมาหา รับเปนไปรเวตในเรืออุบลบุรทิศ เปลี่ยนตราพระยาตานีเป็น จ.ม. พระยาพิทักษ์เปน ม.ม. พระศรีให้ ภ.ม. พระพิพิธให้ ท.ช. เห็นว่ามาจอดอยู่ในกลางทเลแดดร้อนนักสั่งให้เขาขึ้นไปคอยรับเสียที่วัดก่อน

เวลา ๔ โมงเช้าแต่งตัวเต็มยศ เพราะจะมีงารเปนการฉลองวัด ขึ้นไปชั่วโมงหนึ่ง ถึงฉนวนน่าวัดตานีบางน้ำจืด ขึ้นไปเลี้ยงพระบนตึกการเปรียญที่ทำขึ้นใหม่ พระสงฆ์ฉัน ๘ รูป หลวงจีนคณานุรักษ์จัดสำรับแลมีของตักบาตรขึ้นไปจากในเรือด้วย พระสงฆ์ฉันแล้วถวายไตรองค์ละไตร พระยาตานีจัดของไทยทานมาช่วยในการทำบุญ ผ้าขาวพับหมากพลูธูปเทียนดอกไม้ใบชาไม้ขีดไฟ เข้าสารทำเหมือนขันตักบาตรมีทัพพีมาให้ตักบาตร ดูอยู่ข้างเข้าใจอย่างทำบุญไทยมาก เวลาบ่ายสวดมนต์ พระสงฆ์ในวัดเพิ่มขึ้นอีก ถวายเงินแทนเครื่องไทยทาน พระครูพิพัฒนสมณกิจ และพระสมุหวัดใหม่ องค์ละสิบสองเหรียญ พระอันดับในวัดตานีองค์ละ ๖ เหรียญ ๑๒ รูป พระอันดับวัดใหม่องค์ละ ๓ เหรียญ ๗ รูป

มีงานฉลอง โนห์ราสองโรง มายงโรงหนึ่ง หนังแขกโรงหนึ่ง หนังไทย (คือหนังตลุง) โรงหนึ่ง รำกฤชวงหนึ่ง เล่นตั้งแต่เช้าจนเย็น ราษฎรมาประชุมกันกว่าสามพันคนเต็มไปทั้งลานวัด ได้ให้พระยาไชยาล่วงน่าขึ้นมาแต่วานนี้ ให้จัดซื้อขนมผลไม้และของกินต่างๆ บันดามีในตลาดทั้งสิ้น จะเลี้ยงราษฎร พระยาไชยาซื้อมาได้เพียง ๑๘ เหรียญหมดตลาด ต้องว่าให้ทำและให้หามาขายอีก จึงได้ของมาต่อบ่าย จำหน่ายเงิน ๘๙ เหรียญหมดสิ่งของ แล้วแจกให้ราษฎรเปนการครึกครื้นสนุกสนานกันมาก เวลาเย็นได้ทิ้งทานเงินเฟื้องเงินสลึง ๗ ชั่ง ปันไม่ให้ผู้หญิงผู้ชายปนกัน แย่งทานเสียงร้องกิ๊วๆ เหมือนเร่งพายเรือ กึกก้องกาหลกันยิ่งใหญ่ แล้วมีแกะชน ท่านผู้ช่วยสองคนลงไปเต้นอยู่กลางสนาม จนถึงพระยาพิทักษ์ธรรมสุนทร พระยาตานีเองก็อดดีดมือไม่ได้ ดูเปนการสนุกสนานครึกครื้นรื่นเริง ตั้งแต่เจ้าเมืองกรมการตลอดลงไปจนราษฎร มีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ไม่ขาด พวกบุตรภรรยาเจ้าเมืองกรมการก็พากันไปนั่งน่าพลับพลาอยู่วันยังค่ำ พลับพลาที่ห้ามไม่ให้ทำก็ขืนทำจนได้ แล้วได้ติดศิลาจารึกเรื่องที่ปรารภสร้างศาลาและเพิ่มชื่อวัดว่า วัดตานีนรสโมสร หลวงจีนคณานุรักษลงทุนเลี้ยงข้าราชการแลทหารทั่วไป ได้ให้ตรา ว.ม. ดวงหนึ่งกับสิ่งของอื่นๆ ตามสมควร คนซึ่งพระยาตานีเกณฑ์มาใช้สี่ร้อยคนก็ได้ให้เงินแจกสิบชั่ง

เวลาเย็นลงเรือขึ้นไปดูที่เตาหม้อ ทำอิฐโอ่งอ่างที่ตำบลเกาะเหนือตลาดขึ้นไปหน่อยหนึ่ง แล้วกลับลงมาขึ้นบกที่ถนนตลาด เดิรในเวลาที่ไม่ทันรู้ตัว ดูร้านตลาดขายผ้าผ่อนครึกครื้นแน่นหนาขึ้นมาก เมืองตานีเปนเมืองกำลังเจริญ เข้าเกลือบริบูรณ์ สินค้าเข้าออกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน นับว่าเปนที่สองเมืองสงขลาได้ ที่ตลาดจีนข้างริมปากน้ำก็มีตึกแลโรงขึ้นอีก ตั้งแต่ตลาดจีนไปจนกระทั่งถึงตลาดแขกมีหนทางริมแม่น้ำอยู่แต่เดิมนั้น เดี๋ยวนี้หมดจดเรียบร้อยกว่าแต่ก่อน บ้านเรือนก็เกือบจะติดต่อกัน มีรั้วตลาดหลายสิบเส้น

เดิรไปจนถึงที่บ้านพระยาตานี ในรั้วรเนียดชั้นนอกมีโรงงารมโหรศพแลร้านขายของ ทำนองหลังรทารุงรังเต็มไป ที่หอนั่งมีโต๊ะยาวตั้ง ตรงโต๊ะขึ้นไปติดรูปฉัน บนโต๊ะตั้งต้นไม้เงินทองสำหรับการพิธีของเขา ใหญ่สองต้นเล็กสองต้น มีเทียนใหญ่คู่หนึ่ง เทียนเล็กสองคู่จุดอยู่ ตั้งสัญญาบัตรแลเครื่องยศพระยาตานีรายามุดาผู้ช่วย โต๊ะอันนี้ตั้งไว้สองเดือนเศษเกือบสามเดือนมาแล้ว ด้วยทำการฉลองตรา พระสงฆ์ไทยสวดมนต์สามวัน สวดภาณวารด้วย แล้วทำบุญแขกอีกห้าวัน ต่อไปนั้นไปมีงารสำหรับที่เอาไปเล่นที่วัด เล่นเปรอะไปทุกวัน มีการเลี้ยงกันเล่นเบี้ยบ้าง ติดต่อกันกับแต่งงารบุตรสาว ซึ่งยกให้เปนภรรยาพระศรีบุรีรัฐพินิจ

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 20 มี.ค. 12, 21:56

ูหากมีข้อมูลเท่าที่คุณบอกมา  คงต้องให้เวลาในการค้นหาข้อมูลสักระยะหนึ่ง
อาจจะนานเป็นปี   ที่ผ่านมา  กว่าจะค้นข้อมูลคนในอดีตสักคนหนึ่ง
ซึ่งไม่ใช่คนเด่นดัง จนพบประวัติหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้  ก็ต้องใช้เวลาค้นอยู่นาน
จนบางทีคนที่เป็นเจ้าของปัญหาก็ถอดใจไปแล้ว   ฉะนั้นคุณก็คงต้องเอาใจช่วยให้ผมและท่านอื่นๆ
หาข้อมูลเกี่ยวกับคุณหลวงปริพันธ์ฯ เจอ   ระหว่างนั้น  คุณจะช่วยหาข้อมูลมาเพิ่มเติม
ก็จะเป็นการดี


คุณหลวงเล็กคงต้องเดินสะพายย่ามเก็บข้อมูลสักพัก
ส่วนผมก็กำลังหาข้อมูลจากคนรุ่นเก่าว่ามีใครเคยได้ยินชื่อนี้บ้างครับ
บันทึกการเข้า
Thosawad
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 20 มี.ค. 12, 23:44

ใครได้ข้อมูลอะไรมาก็ช่วยกันแชร์หน่อยน่ะครับ ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 08:13

ใครได้ข้อมูลอะไรมาก็ช่วยกันแชร์หน่อยน่ะครับ ขอบคุณมากครับ

ลองสอบถามทางบ้านดูตามคุณหลวงเล็กท่านแนะให้ว่า เชื้อสายเป็นคนปัตตานีหรือไม่ เนื่องจากการสืบค้นข้อมูลนั้นต้องใช้เวลาพอสมควร อีกทั้งแหล่งที่พึ่งมากที่สุดคือ หอจดหมายเหตุ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 08:51

การกระโจนเข้ากองเอกสารที่หอจดหมายเหตุนั้น  ถ้าไม่มีข้อมูลในมือบ้างเลย
ก็เหมือนดำน้ำควานหาเข็มในอ่าวไทย (ไม่ต้องถึงมหาสมุทรแปซิฟิก  กว้างไป เดี๋ยวจมน้ำตายก่อน)
แต่ถ้ามีข้อมูลหาบ้าง  อย่างน้อยรู้ว่า  เรื่องที่ค้นที่หา เกิดขึ้นเมื่อไร
ปีอะไร  รัชกาลอะไร  ถ้าลงถึงวันเดือนข้างขึ้นข้างแรมได้ยิ่งดี 
ถ้าค้นประวัติบุคคล  ก็ต้องรู้ว่าเขาอยู่ในฐานะอะไร  ทำราชการอะไร (ทำราชการหรือเปล่า)
เกิดในสกุลใด  มีญาติพี่น้องสามี/ภรรยา/บุตรหลานที่สืบสายสกุลหรือไม่
ถ้ามีข้อมูลบ้างก็ค้นง่ายขึ้น  เพราะสามารถกำหนดขอบเขตได้ชัดเจนว่าจะค้นอะไร
ค้นจากเอกสารอะไรแล้วน่าจะได้ข้อมูล  เหมือนกับสหายท่านหนึ่ง
ที่ชอบใจเรื่องลูกชายของเจ้าคุณคนหนึ่งที่ประพฤติตนดีมาก จนบิดาต้องทำหนังสือ
กราบบังคมทูลให้ถอดออกจากราชการและตัดออกจากกองมรดก

ในเรือนไทยนี้   ผมและหลายท่านได้ช่วยกันค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการสมัยก่อนเก่า
ไว้หลายคน  ข้าราชการบางคนเพิ่งเคยได้ยินชื่อ  แต่ก็อาจจะหาข้อมูลได้ว่า
มีตัวตนอยู่จริง  ทำราชการอะไร มีอายุถึงเมื่อใด   แต่ของแบบนี้ต้องให้เวลาค้นคว้าครับ
จะสั่งแบบอาหารจานด่วนไม่ได้   ต้องค่อยคลำคุ้ยเขี่ยแกะเกาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบข้อมูล
ทั้งนี้ต้องอาศัยข้อมุลคำบอกเล่าจากคุณ Thosawad เป็นหลักในการหาทางเดินต่อ
เรายินดีช่วยคุณหาข้อมูล  แต่คุณก็ต้องร่วมด้วยช่วยกันกับเราในการหาข้อมูลด้วยเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 10:37

เท่าที่อ่านมาคุณ Thosawad แทบจะไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับบรรพบุรุษท่านนี้ครับ
ไปเจอชื่อจากโฉนดที่ดิน แล้วสอบถามจากใครไม่ได้เลย
ผมดูจากทำเนียบข้าราชการกระทรวงมหาดไทย แลหัวเมือง เม.ย.-ก.ย. ๒๔๕๘ ของมณฑลปัตตานี ที่ผมเคยคัดลอกไว้
ก็ไม่เจอชื่อหลวงปริพันธ์ประสิทธิ์
แสดงว่าน่าจะเก่ากว่านั้น และน่าจะเป็น บรรดาศักดิ์ชั้นประทวน ที่เจ้าเมืองเป็นคนตั้งเอง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 11:34

เท่าที่อ่านมาคุณ Thosawad แทบจะไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับบรรพบุรุษท่านนี้ครับ
ไปเจอชื่อจากโฉนดที่ดิน แล้วสอบถามจากใครไม่ได้เลย
ผมดูจากทำเนียบข้าราชการกระทรวงมหาดไทย แลหัวเมือง เม.ย.-ก.ย. ๒๔๕๘ ของมณฑลปัตตานี ที่ผมเคยคัดลอกไว้
ก็ไม่เจอชื่อหลวงปริพันธ์ประสิทธิ์
แสดงว่าน่าจะเก่ากว่านั้น และน่าจะเป็น บรรดาศักดิ์ชั้นประทวน ที่เจ้าเมืองเป็นคนตั้งเอง

ส่วนผมตรวจดูในทำเนียบข้าราชการหัวเมืองกระทรวงมหาดไทย ร,ศ, ๑๒...เท่าไรจำไม่ได้
ก็หามีตำแหน่งข้าราชการคนไรที่มีราชทินนามว่าปริพันธ์ประสิทธิ์
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 11:41

เป็นไปได้มากที่ตำแหน่งนี้พระยาตานี เจ้าเมืองเป็นผู้ตั้ง
เหมือนอย่างที่ตั้งให้ตันจูหลาย เป็น หลวงสุนทรภักดี ใช่ไหมคะคุณหมอ
บันทึกการเข้า
Thosawad
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 16:06

อาจจะเป็นไปได้น่ะครับ เพราะเป็นมือขวาของเจ้าเมืองนิ แล้วก็นามสกุล ลาเฮศักดิ์สิทธิ์นี้ เหมือนว่าเจ้าเมืองตานีเป็นคนประทานให้ จากคนเก่าที่เล่ากันมา
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 18:41

อาจจะเป็นไปได้น่ะครับ เพราะเป็นมือขวาของเจ้าเมืองนิ แล้วก็นามสกุล ลาเฮศักดิ์สิทธิ์นี้ เหมือนว่าเจ้าเมืองตานีเป็นคนประทานให้ จากคนเก่าที่เล่ากันมา

ถ้านามสกุล ลาเฮศักดิ์สิทธิ์ เป็นนามสกุลที่เจ้าเมืองตานีตั้งให้ ตามที่คุณ Thosawad ให้ข้อมูล
ก็ควรอาจจะสันนิษฐานต่อไปได้ว่า  เจ้าเมืองตานีคนนั้น คือใคร  ตรงนี้ตามได้ไม่ยาก
เพราะเอาพระราชบัญญัติขนานนามสกุล ในรัชกาลที่ ๖ เป็นเขตเวลาที่จะค้นหาได้
ปัญหาก็คือ  เจ้าเมืองเมืองตานี หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี คนดังกล่าว เป็นคนคนเดียวกัน
กับเจ้าเมืองเมืองตานีที่หลวงปริพันธ์ประสิทธิ์ได้รับราชการเป็นมือขวาหรือไม่   

นี่คือ  ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ที่ดำรงตำแหน่งในช่วงรัชกาลที่ ๖ - ๗

1. พระยาสุรพลพิพิธ(เป๋า สุมนดิษฐ์)   พ.ศ. 2452 - 2455
2. พระนราภิบาล (เปลี่ยน กาญจนารัณย์)   พ.ศ. 2455 - 2462
3. พระสมานไมตรีราษฎร์ (ล้วน พิศลยบุตร)   23 ธ.ค. 2462 - 31 ม.ค. 2465
4. พระธุระนัยพินิจ (ฮะ สมบัติศิริ)   1 ก.ค. 2465 - 31 มี.ค. 2468
5. พระสมานไมตรีราษฎร์ (ล้วน พิศลยบุตร)   1 เม.ย. 2468 - 31 มี.ค. 2469
6. พระยาเพชราภิบาลนฤเบศร์ (ล้วน พิศลยบุตร)   1 เม.ย. 2469 - 31 มี.ค. 2471
7. พระวิเทศปัตตนาทร (แจ้ง สุวรรณจินดา)   1 เม.ย. 2471 - 31 มี.ค. 2472
8. พระยารัตนภักดี (แจ้ง สุวรรณจินดา)   1 เม.ย. 2472 - 28 ก.พ. 2476

เอาล่ะ  ข้อสงสัยยังไม่หมดเท่านั้น  ยังมีข้อสงสัยต่อไปว่า
เจ้าเมืองตานี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี  (คนใดก็ไม่ทราบได้) ได้ตั้งนามสกุลลาเฮศักดิ์สิทธิ์
แก่หลวงปริพันธ์ประสิทธิ์โดยตรง  หรือตั้งนามสกุลนี้ให้แก่ญาติพี่น้องลูกหลานทายาทหลวงปริพันธ์ประสิทธิ์กันแน่
ถ้าตั้งนามสกุลให้แก่หลวงปริพันธ์ประสิทธิ์โดยตรง แสดงว่าเป็นข้าราชการร่วมสมัยกัน
แต่ถ้าไม่ใช่  ก็คงเป็นลูกหลานของคุณหลวงที่ได้รับนามสกุลนั้นจากผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

ยังเหลือเรื่องบรรดาศักดิ์ข้าราชการชั้นประทวนอีก  เอาไว้วิเคราะห์ในความเห็นถัดไปดีกว่า

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 18:58


4. พระธุระนัยพินิจ (ฮะ สมบัติศิริ)   1 ก.ค. 2465 - 31 มี.ค. 2468


ไม่เกี่ยวกับคุณหลวงปริพันธ์ฯ  แต่ขอหมายเหตุไว้เป็นหลักฐานว่า  พระธุระนัยพินิจ (ฮะ สมบัติศิริ) ต่อมาคือพระยาศรีเสนาสมบัติศิริ  (ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นนายศรีเสนา สมบัติศิริ   องคมนตรี)  เป็นบิดาของคุณพินิจ สมบัติศิริ   
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 19:25

ผมกล่าวทิ้งท้ายไว้ในความเห็นก่อนว่า

"ยังเหลือเรื่องบรรดาศักดิ์ข้าราชการชั้นประทวนอีก  เอาไว้วิเคราะห์ในความเห็นถัดไปดีกว่า"

การตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้มีบรรดาศักดิ์ประทวนนั้น
เท่าที่ตรวจดูข้อมูลที่เข้าถึงได้แล้ว

การตั้งข้าราชการชั้นประทวนให้มีบรรดาศักดิ์ถึงชั้นหลวงนั้น  ปรากฏเฉพาะในรัชกาลที่ ๕ และต้นรัชกาลที่ ๖
ผู้ที่ได้รับประทวนตราตั้งเป็นถึงคุณหลวง  มักรับราชการในตำแหน่งปลัด นายอำเภอ หรือกรมการประจำเมืองนั้นๆ
แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว  ข้าราชการชั้นประทวนสังกัดกระทรวงมหาดไทย มักมีบรรดาศักดิ์เป็นขุน หมื่น นาย
ยิ่งในสมัยรัชกาลที่ ๖ ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยที่ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นประทวน มักเป็นที่ขุนหรือหมื่นเป็นพื้น
ที่เป็นถึงชั้นคุณหลวงจะเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตรทั้งสิ้น  ผมคิดว่า  หลวงปริพันธ์ประสิทธิ์ หากท่านจะได้รับพระราชทาน
บรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงทีเดียว  น่าจะเป็นหลวงชั้นสัญญาบัตร หรือหากเป็นหลวงชั้นประทวนก็ควรจะได้รับบรรดาศักดิ์
ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ไม่ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๖  หรือ ๗

อนึ่ง  การตั้งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ประทวนไม่ว่าจะสังกัดกระทรวงอะไรก็ตาม
เสนาบดีกระทรวงนั้นๆ ต้องนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสียก่อน
ต่อเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว  เสนาบดีกระทรวงจึงทำประทวนตราตั้งข้าราชการได้
อันนี้เป็นการแต่งตั้งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ประการหนึ่ง

ส่วนข้าราชการที่เจ้าเมืองแต่ละเมืองแต่งตั้งให้มีตำแหน่งราชการ  จะเป็นการตั้งด้วยหมาย
อันเป็นอำนาจที่เ้จ้าเมืองสามารถกระทำได้  แต่การออกหมายตั้งนี้  เท่าที่เห็นข้อมูลมา
มักจะเป็นการตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน  นายแขวง  หรือกรมการตำแหน่งเล็กๆ ซึ่งเจ้าเมืองต้องมีใบบอก
มารายงานที่กระทรวงหรือกรมต้นสังกัดด้วย  การตั้งด้วยหมายอย่างนี้  ส่วนมากไม่มีบรรดาศักดิ์
เป็นแต่ตั้งให้มีตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น   บรรดาศักดิ์คงจะได้เมื่อรับราชการไปสักระยะหนึ่งแล้วจึงได้
ซึ่งก็เป็นบรรดาศักดิ์ชั้นต่ำๆ เช่น พัน หมื่น ขุน นำหน้าชื่อตัว  คงมีบ้างที่เป็นถึงหลวง แต่ก็น้อยนัก



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง