ปัญจมา
อสุรผัด

ตอบ: 100
|
Moment of Truth สถานการณ์ที่ทดสอบความแข็งแกร่งของจิตใจคน
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ของปีก่อน ภาพหญิงชายชาวญี่ปุ่นยืนเข้าแถวกันอย่างเป็นระเบียบเพื่อรอรับความช่วยเหลือด้านอาหารหลังเหตุการณ์ภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นในประเทศของเขา อันส่งผลให้มีพลเมืองล้มตายกว่า 15000 คนและบาดเจ็บสูญหายอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วนนั้น ได้ก่อให้เกิดคำถามต่าง ๆ มากมายตามมาเกี่ยวกับสภาพสังคมและระเบียบวินัยของชาวญี่ปุ่น ใครเลยจะนึกว่า ในขณะที่คนเป็นล้านต้องมีชีวิตอยู่โดยปราศจากอาหาร น้ำดื่ม และไฟฟ้า เขาเหล่านั้นจะยังมีแก่ใจไปยืนรอรับอาหารร่วมกับเพื่อนร่วมชะตากรรมคนอื่น ๆ อย่างเป็นระเบียบ ไม่มีใครออกไปปล้นสะดมร้านสะดวกซื้อที่ไหน หรือฉกฉวยโอกาสลักเล็กขโมยน้อยเอาจากใคร ไม่เหมือนกับในอีกหลาย ๆ ประเทศที่การจลาจลหลังภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ถือเป็นเรื่องปกติที่รัฐจำต้องหาทางรับมือ ดังที่เราได้เห็นไปแล้วในเมืองนิวออร์ลีนส์ของสหรัฐฯ หลังเฮอร์ริเคนคัทริน่าเข้าถล่ม หรือในเฮติหลังแผ่นดินไหวเมื่อสองปีที่แล้ว
ภัยพิบัติทางธรรมชาติมักจะดึงเอาทั้งด้านมืดและด้านที่ประเสริฐของมนุษย์ออกมาให้เห็นเสมอ ในบ้านเราเองเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ขณะที่คนกรุงเทพฯ นับพันพากันเอารถยนต์ของตัวเองไปจอดหลบน้ำบนถนนหนทางสาธารณะ กีดขวางทั้งการจราจรและการลำเลียงความช่วยเหลือไปยังผู้คนในเขตปริมณฑลที่กำลังเดือดร้อนจากวิกฤติการณ์น้ำท่วม เราก็ยังได้เห็นความมีน้ำใจของคนอีกหลายพันคนที่ออกไปอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัยในแต่ละวันอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย คนที่อยู่ในละแวกเดียวกัน แม้เคยไม่รู้จักกันมาก่อน ต่างก็ดาหน้ากันออกมาช่วยทำกระสอบทรายและเขื่อนกั้นน้ำเพื่อปกป้องชุมชนที่ตนอยู่อาศัย เจ้าของรถบรรทุกขนาดใหญ่รวมทั้งเจ้าของเรือในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหลายต่อหลายคนต่างก็เอายานพาหนะของตนเองออกมาวิ่งรับส่งคนที่เดือดร้อนโดยไม่คิดค่าบริการ ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของความงดงามที่ซุกซ่อนอยู่ในจิตใจมนุษย์ ซึ่งเปล่งประกายออกมาให้เราได้เห็นท่ามกลางความมืดมิดของสถานการณ์อันเลวร้าย
ภาพประกอบจาก corbis
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปัญจมา
อสุรผัด

ตอบ: 100
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 15:00
|
|
มีคำในภาษาอังกฤษมากมายสำหรับใช้อธิบายคุณลักษณะที่ดีและเลวของมนุษย์ แต่คำหนึ่งที่อเมริกันชนมักจะใช้กันบ่อย ๆ ก็คือคำว่า character คำนี้พจนานุกรมอังกฤษ - ไทยส่วนใหญ่จะให้ความหมายว่า “ลักษณะ” หรือ “บุคลิกลักษณะเฉพาะตัว” (นอกเหนือไปจากความหมายอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการอธิบายลักษณะนิสัย) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความหมายของคำว่า character ดูเหมือนจะลึกซึ้งเกินกว่าที่พจนานุกรมจะอธิบายได้หมด . . . . . . . .
เวลาอเมริกันชนเขาพูดถึง the strength of one’s character นั้น นอกจากเขากำลังอธิบายอุปนิสัยส่วนตัวของบุคคลที่พูดถึงแล้ว เขายังหมายรวมไปถึงจริยธรรมและมโนธรรมของบุคคลดังกล่าวอีกด้วย คนขับรถแท็กซี่ที่หาเช้ากินค่ำบางคนออกมาเผย the strength of character ของตัวเองให้สังคมได้ประจักษ์ เมื่อเขาเก็บเงินแสนที่ผู้โดยสารลืมไว้ในรถแล้วเอาไปส่งให้จส.100 ประกาศตามหาเจ้าของ แทนที่จะทำไม่รู้ไม่ชี้เก็บไว้เป็นของตัวเอง ในทางกลับกัน ข้าราชการและนักการเมืองซึ่งมีหน้าที่รับใช้ประชาชน แต่กลับฉกฉวยโอกาสฉ้อราษฏร์บังหลวงเมื่อใดก็ตามที่สถานการณ์อำนวย ก็แสดงให้เห็นว่าเขาไม่มี the strength of character เพียงพอที่จะทำให้เขาเดินหนีโอกาสในการทำชั่ว นี่เป็นสองตัวอย่างของการใช้ the strength of character ที่พอจะนึกได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปัญจมา
อสุรผัด

ตอบ: 100
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 15:02
|
|
เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ในวันที่วิกฤติน้ำท่วมของประเทศได้ส่งผลให้สินค้าอุปโภคบริโภคหลายต่อหลายอย่างโดยเฉพาะน้ำดื่มต้องขาดแคลนอย่างต่อเนื่อง หนุ่มฝรั่งคนหนึ่งออกไปหาซื้อน้ำดื่มที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตเล็ก ๆ ในละแวกบ้าน เมื่อน้ำดื่มแบบธรรมดาไม่มี ฝรั่งก็หิ้วน้ำโซดากลับบ้านแทน พอภรรยาคนไทยเห็นสามีเดินเข้าบ้านมาพร้อม ๆ กับน้ำโซดาลังเดียวก็เอ่ยถามด้วยความแปลกใจว่า “ที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตเขามีแค่ลังเดียวเหรอ” “เขามีสองลังจ้ะ” สามีตอบ “แล้วทำไมซื้อมาแค่ลังเดียวล่ะ” ภรรยาซักต่อ “เพราะในโลกนี้ยังมีคนอื่นที่ต้องการน้ำดื่มมากเท่า ๆ กับเราน่ะสิ” สามีว่า
นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ the strength of one’s character เพราะถ้าจิตใจไม่เข้มแข็งพอ ฝรั่งคงทำแบบพี่ไทยหลายคนที่เราได้เห็น คือกวาดทุกอย่างลงจากชั้นจนเรียบไม่เหลือไว้ให้คนข้างหลัง
เห็นได้ชัดว่าความแข็งแกร่งของแคแร็คเตอร์นั้น เป็นปัจจัยหลักที่จะผลักดันให้บุคคลตัดสินใจทำหรือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน ด้วยเหตุนี้เอง คำว่า “แคแร็คเตอร์” จึงมีความหมายครอบคลุมมากกว่าแค่คำว่าลักษณะนิสัยส่วนตัวในภาษาไทย แต่ยังรวมถึงความหนักแน่นของจิตใจมนุษย์ที่ไม่ยอมอ่อนไหวไปกับสิ่งล่อใจต่าง ๆ และการรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ แม้ว่าสถานการณ์รอบด้านจะทำให้เกิดข้ออ้างที่จะทำความชั่วหรือละเว้นการทำความดีอีกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปัญจมา
อสุรผัด

ตอบ: 100
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 15:03
|
|
เราจะรู้ว่าแคแร็คเตอร์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งมี strength สูงก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นถูกทดสอบด้วยสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน เพราะเมื่อสถานการณ์ประเภทนี้เข้ามาถึงตัว ทุกอย่างที่ประกอบกันเป็นเขา ไม่ว่าจะเป็นการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ การศึกษาที่เขาได้รับ ความเชื่อส่วนตัว ฯลฯ มันจะหลั่งไหลมารวมกัน ณ ที่เดียว และผลักดันให้เขาตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง อเมริกันเขามีสำนวนเรียกช่วงเวลาที่ทดสอบความมั่นคงของจิตใจคนแบบนี้ว่า moment of truth
พจนานุกรมบางเล่มอธิบายความหมายของสำนวน moment of truth นี้ว่า “ช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับความจริง” หรือ “ช่วงเวลาสำคัญของชีวิต” ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจในอุตสาหกรรมบริการ เขาใช้สำนวนนี้เวลาต้องการที่จะสื่อถึง “ช่วงเวลาสำคัญที่จะสร้างความประทับใจ (หรือความผิดหวัง) ให้แก่ลูกค้าได้”
ที่มาของสำนวนนี้จริง ๆ แล้วมาจากกีฬาสู้วัวของสเปน เป็นการพูดถึงวินาทีสำคัญที่สุดของการสู้วัว เพราะเป็นวินาทีที่มาทาดอร์ต้องใช้ดาบปักลงไปบนตะโหงก (ส่วนที่สูงที่สุดของหลังสัตว์สี่เท้าประเภทม้าหรือวัว) เพื่อสังหารวัวกระทิงให้แดดิ้นคามือ การที่มาทาดอร์คนไหนจะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องอาศัยทั้งความกล้า การฝึกฝนที่ยาวนาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปัญจมา
อสุรผัด

ตอบ: 100
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 15:04
|
|
รวมทั้งทักษะของตนเองในการหลบเลี่ยงไม่ให้โดนวัวขวิดตายไปเสียก่อนด้วย ชาวสเปนเขาจึงเรียกช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งเช่นนี้ว่า momento de la verdad (moment of truth) เพราะถ้าฆ่าวัวไม่ตาย เห็นทีมาทาดอร์เองก็คงจะไม่รอดเป็นแน่ . . . . . . . . . . .
คนที่มีหน้าที่บริหารบ้านเมืองมักจะต้องเผชิญกับ moment of truth อยู่บ่อย ๆ เพราะการเป็นผู้นำนั้นหมายถึงการอยู่ในสถานะที่ต้องตัดสินใจแทนพลเมืองทั้งประเทศ ผู้นำที่ดีจึงเป็นผู้ที่ตัดสินใจโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ความนิยมชมชอบที่ประชาชนมีให้แก่ตนเป็นเรื่องรอง
สมัยประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ยังมีชีวิตอยู่ เขาได้ตัดสินใจทำในสิ่งที่ทำให้ทั้งตัวเขาและพรรคเดโมแครตต้องสูญเสียคะแนนนิยมในหมู่ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งชาวใต้ไปอักโข (ทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้) นั่นคือการส่งทหารไปพิทักษ์นักศึกษาผิวดำสองคนให้สามารถเข้าเรียนร่วมกับนักศึกษาผิวขาวในมหาวิทยาลัยของรัฐแอลาบาม่าได้อย่างปกติสุข ในขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นตอนนั้นยังนิยมใช้นโยบายแบ่งแยกสีผิวอยู่ ขนาดที่ว่าผู้ว่าการรัฐเองยังไปยืนหน้าประตูมหาวิทยาลัยเพื่อขัดขวางนักศึกษาผิวดำไม่ให้เดินเข้าไปได้ เหตุการณ์นี้ทำให้เคนเนดี้ต้องออกคำสั่งเรียกทหารกองหนุนในแอลาบาม่าให้ออกมาทำหน้าที่คุ้มกันนักศึกษาสองคนที่ว่าไปเข้าเรียน ทำให้พลเมืองชาวใต้ที่เชื่อในเรื่องการแบ่งแยกสีผิวไม่พอใจผู้นำของตนกันอย่างถ้วนหน้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปัญจมา
อสุรผัด

ตอบ: 100
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 15:05
|
|
กรณีนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อ moment of truth มาถึง ความแข็งแกร่งของ Kennedy’s character ก็ทำให้เขาลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้จะเป็นการกระทำที่ไม่ถูกอกถูกใจประชาชนบางส่วนก็ตาม เพราะการกีดกันนักศึกษาทั้งสองไม่ให้เข้าเรียนก็เท่ากับเป็นการละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งมีบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองอเมริกันที่คนเป็นประธานาธิบดีมีหน้าที่ปกป้อง ด้วยเหตุนี้ เคนเนดี้จึงต้องตัดสินใจสู้กับรัฐบาลท้องถิ่นให้เด็ดขาด แทนที่จะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ปล่อยให้รัฐบาลท้องถิ่นกีดกันนักศึกษาผิวดำทั้งสองตามอำเภอใจ ซึ่งอาจจะยังประโยชน์ทางการเมืองให้แก่เขามากกว่า (เรื่องจริง ๆ ยาวกว่านี้ แต่ขอหยิบยกเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับสำนวนที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่มาอ้างก็แล้วกันนะคะ เดี๋ยวคอลัมน์ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นคอลัมน์ประวัติศาสตร์การเมืองไปโดยใช่เหตุ)
การที่ผู้นำคนใดคนหนึ่งจะแสดงความแข็งแกร่งของแคแร็คเตอร์ให้ผู้อื่นได้เห็น ไม่ได้หมายความว่าเขาจะต้อง act tough ด้วยการทำกร่างชี้หน้าด่าบุคคลอื่นว่า “ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ” เวลาที่คนของยูเอ็นทักท้วงเรื่องสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศของเขา บางครั้ง คนที่แข็งแกร่งที่สุดก็อาจจะเป็นคนที่ยอมรับข้อผิดพลาดของตนเองโดยดุษฎีก็เป็นได้ ผู้นำบางคนออกปากบอกพลเมืองของตนเองว่า “เอาอยู่ๆ” ทั้ง ๆ ที่ระดับน้ำสูงมิดหัวกำลังจ่อจะเข้าเมืองหลวงอยู่รอมร่อ แทนที่จะบอกความจริงกับประชาชนเพื่อให้เขามีโอกาสได้เตรียมรับกับสถานการณ์ที่แม้แต่รัฐบาลเองก็ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างทันท่วงที
ไม่ต้องบอกก็คงจะเดาได้ว่าแคแร็คเตอร์ของผู้นำทั้งสองประเภทที่ว่านี้จะแข็งแกร่งสักเพียงใด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปัญจมา
อสุรผัด

ตอบ: 100
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 15:10
|
|
ที่มาของสำนวนนี้จริง ๆ แล้วมาจากกีฬาสู้วัวของสเปน เป็นการพูดถึงวินาทีสำคัญที่สุดของการสู้วัว เพราะเป็นวินาทีที่มาทาดอร์ต้องใช้ดาบปักลงไปบนตะโหงก (ส่วนที่สูงที่สุดของหลังสัตว์สี่เท้าประเภทม้าหรือวัว) เพื่อสังหารวัวกระทิงให้แดดิ้นคามือ การที่มาทาดอร์คนไหนจะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องอาศัยทั้งความกล้า การฝึกฝนที่ยาวนาน
ภาพจาก google
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 15:36
|
|
ร่วมแจมด้วยคลิปโฆษณาหน้าร้อนของ Boots ครับ Moment of truth สถานการณ์ที่ทดสอบความแข็งแกร่งของจิตใจคน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 16:08
|
|
ดูไป 2 รอบเพื่อจะหาว่าบู๊ทส์โฆษณาสินค้าตัวไหน เขาเขียนคำบรรยายสั้นๆว่า A girl faces the most dreaded moment of the year. เดาว่าเป็นครีมกันแดด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 18:16
|
|
เป็นโฆษณา "Get beach gorgeous" ด้วยผลิตภัณฑ์ของบู๊ทส์ ครับ ตัวสินค้าซึ่งไม่เห็นในโฆษณามีหลากหลายตามขั้นตอนของเขา เช่น Tanning Gel, Waterproof Mascara และ Sun Protection Lotion SPF40 เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 21:33
|
|
ผมคิดว่า moment of truth นั้น มีความหลากหลายในความหมายมากเมื่อใช้ในสภาพและสถานการณ์ทีต่างๆกัน ในบางกรณี = ได้เวลาดวลกันแล้ว, ได้เวลาไขความจริง (ว่าอะไรเป็นอะไร), ให้ได้รู้กันเสียทีว่าไผเป็นไผ (ใครเป็นใตร), จะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้กันเสียที ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 21:37
|
|
นึกถึงอีกวลีหนึ่งที่ไม่ค่อยจะได้ยิน make no mistake ซึ่ง ปธน.จอร์จ บูช ใช้มากในช่วงของเหตุการณ์ 9/11
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปัญจมา
อสุรผัด

ตอบ: 100
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 17 มี.ค. 12, 06:16
|
|
Make no mistake ก็เป็นวลีที่เห็นใช้กันปกติทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียนค่ะ ความหมายก็ตรงตัว คือ "อย่าได้สำคัญผิดเชียว (ว่า....)" หรือ "อย่าเข้าใจผิด (ว่า...)" แต่วลีของบุชที่ฮิตกว่า และมีการนำไปอ้างถึงในสื่อสารมวลชนทั่ว ๆ ไปมากกว่า คือการเหมารวมประเทศที่ไม่เป็นมิตรต่ออเมริกาว่าเป็น "Axis of Evil" และการประกาศว่า "You're either with us, or against us." ซึ่งเท่ากับเป็นการบังคับให้ประชาคมโลกต้องเลือกข้าง และเป็นการเปลี่ยนทิศทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของอเมริกาในสหัสวรรษใหม่อย่างสิ้นเชิง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|