เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4649 อยากทราบว่าพระศพของพระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช ทำไมพระศพไม่ได้รับพระราชทานเพลิง
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 14:06

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช ทรงประทับอยู่ที่วังริมคลองบางหลวง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2481 พระชันษา 64 ปี พระศพไม่ได้รับพระราชทานเพลิง แต่บรรจุอยู่ที่วัดบรมสถล (วัดดอน ยานนาวา)
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 มี.ค. 12, 14:26

ขุนวิจิตรมาตรา เล่าในคลองบางหลวงว่า

"วังพระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช พระนามเดิมคือ หม่อมเจ้าตุ้ม สนิทวงศ์ อยู่ตรงข้ามบ้านพระยาสวัสดิ์วรวิถี (ม.ร.ว. สายหยุด สนิทวงศ์) วังนี้มีเนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่เศษ มีท่าน้ำคอนกรีต ลงเขื่อนคอนกรีตชนิดสอดแผง ๓ ด้าน ล้อมรั้วสังกะสีทั้งหมด เฉพาะด้านหลังติดซอยวัดประดิษฐารามใช้สังกะสีแผ่นใหญ่ ๒ แผ่นต่อกันมีนอกชานแล่นกลาง ภายหลังเจ้าของได้ทำหลังคาคลุมนอกชานไว้ทั้งหมด ทางขึ้นตำหนักอยู่ด้านข้างขึ้นบันใดล้วมีนอกชานแล่นถึงกันตลอดนอกชานด้านซ้ายมีเรือนไทยฝาเป็นไม้ไผ่ขัดและมุงหลังคาจากใช้เป็นครัวเรือนตำหนักในวังเจ้าตุ้ม ถ้าจะเปรียบเทียบกับบ้านพระยาสวัสดิ์วรวิถีที่อยู่ตรงข้ามราชสกุลเดียวกันแล้วแตกต่างกันอย่างมาก บ้านพระยาสวัสดิ์ ฯ หรูหราสวยงามกว่าตำหนักวังเจ้าตุ้มเป็นไหน ๆ หม่อมของเจ้าตุ้มชื่อ หม่อมเล็ก เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี (คนไทยเชื้อสายลาว) มีบริวารที่เป็นข้าเก่าอยู่ ๓ คน ชื่อ นายยิ้ม ภรรยาชื่อเพียร มีหลานสาวคนหนึ่งชื่อ พเยาว์ ปลูกเรือนอยู่ริมวังข้างบ้านกลุ่มขุนนางที่เล่าไว้ เมื่อเจ้าตุ้มยังดำรงพระชนม์อยู่ ท่านทำป้ายขนาดใหญ่แขวนไว้ที่ข้างฝาตำหนักด้วยข้อความว่า ห้ามรบกวนเรื่องเงิน เมื่อท่านสิ้นชีพตักษัยแล้ว นายยิ้ม ได้เอาป้ายดังกล่าวมาแขวนไว้ที่เรือนของตน นอกจากนี้หม่อมเจ้าตุ้มยังรับสั่งไว้กับหม่อมเล็กว่า หากท่านสิ้นชีพตักษัตแล้วไม่ให้เผาศพท่าน แต่ให้นำไปฝังที่วัดดอนยานนาวา ศพของท่านจึงถูกฝังไว้ที่วัดดอน น่าจะถูกล้างป่าช้าไปนานแล้ว ท่านมีเชษฐาอยู่องค์หนึ่ง ชื่อ หม่อมเจ้าพร้อม สนิทวงศ์"

ที่มา: มหาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, สำนักศิลปและวัฒนธรรม. ทีทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักศิลปและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2551. หน้า 65-91
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 มี.ค. 12, 14:31

ขอบคุณมากครับ คุณ siamese ผมอ่านเจอเลยเอามาถามครับ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 19 คำสั่ง