เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 108648 ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 18:52

เกือบลืมไปเลยว่าจะไปว่ากันเรื่องเพชรของไทยก่อนที่จะไปในเรื่องอื่นๆ
ในประเทศไทยเราก็พบเพชรนะครับ พบในแหล่งแร่ดีบุก มีไม่มาก นานๆจะพบสักครั้ง เม็ดโตขนาดประมาณหัวไม้ขีดเป็นส่วนมาก แต่ที่มีขนาดถึง 5 การัตก็เคยได้ยิน พบกันมากแถวๆ อ.ตะกั่วป่า อ.กะปง จ.พังงา ที่ภูเก็ตก็มีแถวๆอ่าวทุ่งคากับอ่าวมะขาม  ที่ผมเคยเห็นมีทรงเป็นรูปผลึกค่อนข้างจะสมบูรณ์ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการพบแหล่งในเชิงพาณิชย์
ผลึกของเพชร ที่ว่าหน้าตาคล้ายๆอย่างนี้ใช่ไหมคะ  แต่ว่าขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีด   โตสุดก็ประมาณ 5 กะรัต


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 20:34

ผลึกของเพชร ที่ว่าหน้าตาคล้ายๆอย่างนี้ใช่ไหมคะ  แต่ว่าขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีด   โตสุดก็ประมาณ 5 กะรัต

ผลึกของเพชรเป็นทรงปิรามิดประกบกันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 20:48

อย่างนี้หรือคะ?


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 20:51

ใช่เลยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 22:22

เหมือนยาอมให้ชุ่มคอเลย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 22:39

เห็นรูปที่ท่าน NAVARAT เอามาโชว์แล้วอึ้งไป ๕ วิ   ว่ามันคืออะไรกันแน่
จากนั้น จึงเอายาอม จาก De Beers มาต่อท้ายให้อีกรูป


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 22:16

หูผึ่ง   คุณตั้งจะดูเพชรให้ชาวเรือนไทยหรือคะ?
Synthetic =  สังเคราะห์   Imitation  =  เลียนแบบ   Fake = ของปลอม    Genuine = ของแท้ Treat = ?  Dye = ย้อมสี  Stimulant  = ?

ใช่เลยครับ แต่มาลองถกกันเพื่อความสนุก
 
ในปัจจุบัน พลอยหลายชนิดในหลายตระกูล สามารถผลิตได้ในห้องปฏิบัติการ ทำเป็นอุตสาหกรรม มีผลผลิตออกมาขายในตลาดทั่วไป มีคุณสมบัติเหมือนธรรมชาติทั้งในเชิงของคุณสมบัติทางเคมีและคุณสมบัติทางฟิสิกส์   
พลอยเหล่านี้จะใช้คำอธิบายคำใหนเหมาะมากที่สุด ระหว่าง Synthetic, Imitation, Fake, Stimulant, Genuine

แต่หากแยกโดยการใช้คำว่า Natural กับ Artificial เราจะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งในทันที
   
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 06 เม.ย. 12, 20:31

เดาว่า สังเคราะห์ หรือ Synthetic  เพราะทำขึ้นมา   ส่วนคำว่า Stimulant ไม่ทราบว่าทางธรณีวิทยาแปลว่าอะไรค่ะ
รูปข้างล่างนี้ เขาบอกว่าเป็น   Synthetic-gemstones แต่ดิฉันไม่ทราบว่าเป็นพลอยที่ผลิตได้ในห้องปฏิบัติการอย่างที่คุณตั้งเกริ่นไว้หรือเปล่านะคะ
ถ้าเป็นพลอยผลิตได้ เขาผลิตจากแร่ธาตุชนิดไหน      ถ้าเอาพลอยเนื้ออ่อน สีอ่อน มาเผาให้สีสวย จนดูเหมือนทับทิม มรกต ไพลินฯลฯ อย่างนี้เรียกว่า  Synthetic หรือไม่   หรือว่าต้องเอาวัตถุที่ไม่ใช่แร่ธาตุมาทำให้เป็นพลอย?


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 07 เม.ย. 12, 15:03

อเมทิสของแท้ จะใสแจ๋ว หรือมีเนื้อหินอยู่ข้างในคะ

ที่เห็นวางขายอยู่ทั่วไป จะใสแจ๋ว คงเป็นพลอยสังเคราะห์ ใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 08 เม.ย. 12, 20:45

ที่ยกคำเหล่านี้ขึ้นมาก็เพื่อจะได้เพิ่มความระมัดระวังในการซื้อพลอยต่างๆครับ
เดิมทีคิดว่าจะอธิบายในเชิงพัฒนาการของการใช้คำ แต่คิดไปคิดมา ลองเขียนไปเขียนมา ว่าเอาวิธีนี้ดีกว่า

ต่อไปนี้ผมจะใช้คำว่าพลอยกับคำว่า Stones ในความหมายถึงรัตนชาติทุกตระกูล
ในสถาพการณ์ของตลาดที่พลอยมีราคาสูง บางชนิดและบางสีก็หาได้ยากในธรรมชาติ มีผู้ต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้น ผู้ซื้อต้องการความแปลกและสีสรรมากขึ้น พร้อมๆกับต้องการซื้อในราคาที่ถูก
อนึ่ง ราคาของพลอยไม่มีมาตรฐานราคาประเมินที่แท้จริงและอ้างอิงได้ ขึ้นอยู่กับความพอใจและการตกลงระกว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย (ยกเว้นเพชรที่มีระบบการประเมินราคากลางที่เป็นที่ยอมรับกัน) พ่อค้าพลอยที่ฝ่ายผู้ผลิตพลอยป้อนตลาดจึงพยายามจะสร้างวัตถุที่ไม่ใช่สร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติเพื่อนำมาทำเป็นพลอยป้อนตลาด ทั้งในเชิงของการเพิ่มปริมาณให้มีมากขึ้นและการทำให้มีราคาให้ที่ตำ่ลง
พลอยจึงถูกแบ่งง่ายๆ เป็นระหว่างพลอยที่เกิดในธรรมชาติกับพลอยที่ทำขึ้นมาโดยฝีมือของมนุษย์ ซึ่งในภาษาอังกฤษคงจะตรงที่สุดกับคำว่า Natural occurrence vs Artificial หรือ man made

แล้วก็พบกันว่า ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว ได้มีการนำวัตถุอื่นๆมาใช้แทนพลอยธรรมชาติบางชนิดที่มีค่ามาก ในยุคเหล่านั้นมีการใช้แก้วและ Topaz แทนเพชร ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบพลอยเม็ดต่างๆในองค์รวมของเครื่องประดับนั้นๆ จึงคงจะเป็นที่มาของคำว่าของแท้กับของปลอม ซึ่งในภาษาอังกฤษคงจะตรงที่สุดกับคำว่า Real stones หรือ Genuine stones vs Fake หรือ Imitation ซึ่งทั้งสองคำนี้ได้ถูกนำไปใช้ในตลาดการซื้อขายพลอยในช่วงที่พลอยสังเคราะห์หลากหลายตระกูลยังมีเทคโนโลยีไม่ถึงระดับที่จะทำได้เหมือนของที่เกิดในธรรมชาติ       ในช่วงนี้คำว่า Fake กับ Imitation จึงมีความหมายอย่างเดียวกัน
   
การพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตพลอยสังเคราะห์ให้ได้ใกล้ธรรมชาติที่สุดนี้ พอจะแยกออกได้เป็น 2 สาย คือ พวกที่ต้องการสังเคราะห์ให้ได้วัตถุที่เปล่งประกายเหมือนพลอยในธรรมชาติ กับพวกที่ต้องการสังเคราะห์พลอยที่มีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์เหมือนกับธรรมชาติ
 
พวกแรกได้ผลิตผล เช่น เพชรเทียม (Zirconia, YAG และ Moissanite) ซึ่งคำที่ใช้จำแนกระหว่างของที่เกิดในธรรมชาติกับของเทียม จึงน่าจะไปตรงกับคำว่า Natural stones หรือ Genuine stones vs Synthetic stones หรือ Imitation stones     ในช่วงนี้คำว่า Imitation กับ Synthetic จึงเป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน
 
พวกที่สองซึ่งได้ผลตามมาในภายหลัง อันนี้ทำให้ยุ่งยากมาก ได้ทำให้การแยกระหว่างของที่เกิดในธรรมชาติกับของที่สังเคราะห์ขึ้นเป็นไปได้ยากมากขึ้น  จะใช้คำอะไรดีในการจำแนก ในเมื่อมันมีคุณสมบัติเหมือนกันเกือบร้อยเปอร์เซ๊นต์
ยังครับ ยังมีเทคโนโลยีอืนๆอีก เช่น
    การเอาของแท้มาประกบกับแก้วบ้าง หรือเอามาประกบกับของอื่นๆที่เกิดในธรรมชาติแต่ต่างตระกูลกัน (ซึ่งให้ผลในเชิงการเปล่งประกายใกล้เคียงอย่างที่สุดกับพลอยชนิดที่วางขาย เป็นเทคโนโลยีที่ได้ผลผลิตเรียกว่า Composite doublet หรือ triplet   
    การทำโดยการสร้างหรือสังเคราะห์พลอยชนิดที่ต้องการ (สี) ครอบลงบนแร่ชนิดเดียวกันจากธรรมชาติ (ที่ไร้สี) หรือครอบลงบนแร่หรือวัตถุอื่นต่างชนิดต่างตระกูลกัน 
    การสร้่างสีสรรให้เปล่งประกายออกมาโดยการแต้มสีทีีจุดยอดของฐาน Pavilion
    การย้อมสีผิว (Etching) คือกัดผิวให้สีเข้าไปฝังบางๆอยู่ในผิวหน้า
    การเคลือบสี (Dying) คือเคลือบผิวด้วยสี
    การเผา (Heat treated) เพื่อให้สีเปลี่ยน พลอยสีฟ้าที่ขายในไทยเกือบทั้งหมดจะผ่านการเผา
    การฉายรังสี เพื่อให้เกิดสีและประกาย เช่น Citrine   
        ฯลฯ
คำเรียกพลอยที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้ ได้แยกออกไปอีก เป็น Stimulant และ Treated ซึ่งในปัจจุบันนี้ คำว่า Stimulant ค่อนจะไปใช้ตรงกับพลอยสังเคราะห์ ในขณะที่คำว่า Treated นั้นไปใช้ตรงกับพลอยธรรมชาติที่นำไปผ่านกระบวนการเพิ่มสีสรรซึ่งอาจจะกลายเป็นของธรรมชาติในอีกชื่อหนึ่ง

ขอพักความสับสนไว้ตรงนี้สักวันหนึ่งครับ
 
 
 
 
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 09 เม.ย. 12, 18:56

ต่อไปอีกสักนิดเดียว
เป็นอันว่้า พลอยที่มนุษย์ทำขึ้นมานั้น ได้มีการพัฒนาไปไกลมากจนกระทั่งสามารถทำพลอยที่คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ได้เหมือนกับพลอยที่พบได้ในธรรมชาติเกือบ 100% หรือเต็มร้อยเลยทีเดียว ซึ่งกระบวนการที่นิยมทำกันในปัจจุบันนี้ ดูจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบแรก สร้างพลอยขึ้นมาจากของเหลว ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมแบบที่พลอยธรรมชาติค่อยๆตกผลึกโตขึ้นมา (Hydrothermal method)   และอีกแบบหนึ่งสร้างขึ้นมาด้วยการหลอมละลายผงของสารประกอบทางเคมีที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อพลอยในธรรมชาติ หรือผงผสมอื่นๆที่เมื่อการหลอมละลายเริ่มเย็นตัวจะจับตัวกันทางเคมีเป็นเนื้อพลอยตามที่ต้องการ (Fusion หรือ Molten method) คำภาษาอังกฤษที่ตรงกับกระบวนการทำพลอยเหล่านี้ไปตรงกับคำว่า Stimulation มากที่สุด
 
วกกลับมายังคำต่างๆที่ใช้อธิบายพลอย ซึ่งผมเห็นว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาที่แท้จริงระหว่างฝ่ายผู้ซื้อกับฝ่ายผู้ขายมีอยู่หลายประเด็นมาก คือ ความไม่รู้จริงของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายผู้ซื้ออยากรู้อย่างหนึ่งแต่ได้รับคำตอบในอีกแบบหนึ่ง (ต่างฝ่ายต่างไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงข้อมูลที่แต่ละฝ่ายถามหรือต้องการ) การตั้งใจที่จะหลอกลวง และข้อมูลที่ถูกต้องกลายเป็นข้อมูลที่หลอกลวง

ยกตัวอย่าง คำถาม พลอยชิ้นนี้เป็นของแท้หรือของเทียม

ของแท้ในบริบทของคำว่า Genuine stone คำตอบที่อาจจะได้รับ มีอาทิ 
    ใช่  ในความหมายว่าเป็นหินจริง (Stone) มิใช่แก้ว มิใช่พลาสติค แต่จะเป็นของธรรมชาติ สังเคราะห์หรือสร้่างขึ้นมาหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง 
    ใช่  ในความหมายว่าเป็นพลอยที่เกิดในธรรมชาติ (Natural stone) แต่อาจจะมีการ Treated ด้วยการเผา ฯลฯ หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    ใช่  ในความหมายว่าเป็นพลอยที่พบในธรรมชาติจริงๆ (์Real, Natural occurrence) คือมาจากธรรมชาติจริงๆ ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ

ของแท้ในความหมายของ Naturally occurred กับ Synthetic คำตอบที่อาจจะได้รับ มีอาทิ
   ไม่ใช่ ในความหมายว่าเป็นแร่เป็นหินจริงๆ (Real mineral) แต่อาจจะไม่ใช่แร่ที่เป็นรัตนชาติตัวที่เรียกชื่อนั้นๆ
   ไม่ใช่ ในความหมายว่าเป็นรัตนชาตินั้นจริงๆ (Real natural gemstone) แต่เป็นรัตนชาติพวกทำขึ้นมาด้วยฝีมือมนุษย์ (Artificial)
   ไม่ใช่ ในความหมายว่าเป็นรัตนชาตินั้นจริง
ฯลฯ

ในมุมของฝ่ายผู้ซื้อ เรามักจะกังวลว่าได้ของจริงหรือไม่ ได้ของแท้หรือไม่ ได้ของธรรมชาติที่ไม่มีการปรุงแต่งหรือไม่ เราคิดเอาเองว่าคนอื่นจะรู้ จะวิจารณ์เราว่าเสียค่าโง่ เราึจึงมักจะตำหนิตัวเองว่าถูกหรอกและซื้อของแพง ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ใช่ เราซื้อเพราะเราพอใจที่จะซื้อของในคุณภาพที่ตาเราได้เห็น ในราคาที่เราพอใจ และประการสำคัญ ผู้ที่ว่าเราก็ไม่มีความรู้เพียงพอที่จะบอกได้ว่าของที่เราใส่อยู่นั้นมันเป็นอย่างๆไรจริงๆ พ่อค้าพลอยเองยังบอกยากเลยว่าอะไรเป็นของในธรรมชาติ อะไรเป็นของที่ปรุงแต่งทำขึ้นมาโดยฝีมือมนุษย์
 
     



     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 09 เม.ย. 12, 19:45

เพื่อความสะบายใจและไม่สะบายใจไปพร้อมๆกันครับ

พ่อค้าพลอยไทยย่านจันทบุรีและตราดเป็นกลุ่มคนแรกๆของโลกที่ทำการทดลองเผาพลอยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสี (ในยุค 60's) ลองผิดลองถูกจนกระทั่งสามารถเกิดเป็นภูมิปัญญาเฉพาะ เป็นผู้ชำนาญการในระดับสากล ย่านนี้จึงเป็นแหล่งผู้ผลิตพลอยป้อนตลาดที่าำคัญของโลกในเชิงของการ Enhancement

อาจจะกล่าวได้ว่า ภูมิปัญญานี้ได้ทำให้พลอยสีในตระกูล Corundum เกือบจะทั้งหมดที่มีขายอยู่ในโลกเป็นพลอยที่ถูกเผา พลอยหลากหลายชนิดจากหลายประเทศได้ถูกนำเข้ามาเพื่อการนี้โดยเฉพาะและถูกเจียรนัยก่อนที่จะถูกส่งออกกลับไปสู่ตลาดโลก นี่แหละครับกึ๋นประการหนึ่งของอุตสาหกรรมเครื่องประดับของไทย

ผมเคยอ่านพบว่า สมาคมอัญมณีของสหรัฐฯยังคงทึ่งในความสามารถของคนไทยในการทำเพชร Composite เม็ดหนึ่ง ขนาดที่เรียกว่าเป็นระดับชั้นครู ต้ิองใช้เวลาในการตรวจสอบวินิฉัยอยู่นาน จนต้องเขียนเป็นเรื่องเผยแพร่ในวารสารของสมาคม ซึ่งเขาไม่ใช้คำว่าปลอม (Fake) แต่ไปอยู่ในประเด็นเรื่องของการท้าทายในเชิงเทคโนโลยีในความสามารถของมนุษย์ที่จะสร้างและพิสูจน์สิ่งที่ทำขึ้นมาจนเหมือนจริง

สะบายใจได้นะครับว่า ผู้ใดที่ซื้อพลอยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นพลอยใดๆก็ตาม มีโอกาสที่จะซื้อพลอยที่เป็นหินเป็นแร่จริงๆ แต่อาจจะไม่ใช่เป็นของจริงตามสภาพที่เกิดในธรรมชาติ

ห้ามคิดมากนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 10 เม.ย. 12, 00:12

ไม่ได้ตามอ่านกระทู้นี้อยู่ไม่กี่วัน เรื่องก็ดำเนินมาถึงเรื่องที่อยากอ่านพอดี
ขออนุญาตแจม (แบบคนไม่รู้เรื่องพลอย แต่พอจะรู้เรื่องโบราณคดีบ้าง)
เรื่องเผาพลอย หรือ 'พลอยหุง' นะครับ เพราะเป็นของที่ผมคิดว่าน่าสนใจครับ

ถ้าเอาหลักฐานทางโบราณคดีขึ้นว่ากัน...
มนุษย์รู้จักหุงแก้วขึ้นเทียมพลอยมาแล้วไม่น้อยกว่า 2,000 ปีเห็นจะได้
ในหนังสือชื่อ Periplus of the Erythraean Sea
(เขียนระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1-3) โดยคนเขียนชาวกรีก เล่าเอาไว้ในหนังสือว่า
มีหินสีเขียวสดชนิดหนึ่ง รูปร่างเป็นปริซึมทรง 6 เหลี่ยม ถูกส่งไปยังกรีกจากอินเดีย
และเล่าต่อไปว่า... แต่พิสูจน์ได้ยาก เพราะมีการหุงแก้วเลียนแบบหินสีเขียวสดชนิดนั้นด้วย...

หลายๆท่านที่อ่านกระทู้นี้คงงง ว่าหินชนิดนี้ คือ อะไร (ผมขออนุญาตอุบไว้ก่อนแล้วกัน)
แต่ผมเชื่อว่าคุณตั้งคงทราบดี ว่าผลึกทรงนี้เป็นของแร่ตระกูลไหน..
ที่น่ากลัว คือ เราพบลูกปัดโบราณทรงนี้ สีนี้ (และสีที่ไล่ไปจนถึงฟ้าอ่อนด้วย)
ทั้งที่เป็นแก้ว และหินแท้ครับ... เขาหุงพลอยกันมาอย่างน้อยก็ 2000 ปีแล้ว เหอๆ


ปล. ถ้าคุณตั้งสัญญาว่าจะกลับมาเล่าต่อเรื่องสนุกๆแบบนี้อีก
ผมจะลองค้นเรื่องการเผาพลอย หรือหุงพลอยสมัย 2,000 ปีที่แล้วมาฝากครับผม
เชื่อว่าในแวดวงธรณีวิทยาไทยยังไม่ค่อยมีใครค้นมาทางนี้...
แต่ถ้าค้นได้ก็เราจะมีเรื่องสนุกๆให้เล่นกันต่อไปอีกหลายร้อยปีครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 10 เม.ย. 12, 09:04

เดาว่าเป็นมรกต ค่ะ


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 10 เม.ย. 12, 15:58




อาจารย์เทาชมพูตอบถูกครับผม
เพราะผลึกมรกตเป็นรูปปริซึม 6 เหลี่ยมจริงๆครับ
แต่ลูกปัดโบราณที่พบ มีทั้งที่เป็นสีเขียวสด ไล่ไปจนถึงเขียวอมฟ้าอ่อนๆ
แสดงว่าคนโบราณพยายามทำลูกปัดเลียนแบบแร่ 'อความารีน' ด้วย
เนื่องจากเป็นแร่ในกลุม Beryl เหมือนกันครับผม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง