เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 108391 ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 19:00

ขอแก้การสะกดชื่อครับ ที่ถูกต้องคือนาย E.W Streeter คนนี้คือคนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษในอินเดีย ให้ทำเหมืองทับทิมไนพม่า

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 20:34

ตอนเล็กๆ แม่เคยพูดถึง "ทับทิมมะละแหม่ง"    สมัยแม่ ไม่มีทับทิมสยาม   อะไรที่ขุดได้จากจันทบุรี   เรียกว่า "พลอยเมืองจันท์" หมด
ต่อมา อ่านพบว่า มะละแหม่ง คือเมืองเมาะลำเลิง    แต่ความรู้ก็จบอยู่แค่นี้เองค่ะ  ไม่รู้ว่าเมาะลำเลิงคือเมืองอะไร  เป็นเมืองที่มีเหมืองพลอย หรือเป็นตลาดค้าพลอย
ส่วนกระจกเกรียบ ดิฉันนึกว่าคนไทยทำเองได้เสียอีก  จึงมีกรมหุงกระจก ไว้ทำกระจกเกรียบติดโบสถ์วิหารทั้งหลาย

เมืองมะละแหม่ง หรือเมาะลำเลิง เป็นเมืองใหญ่ดั้งเดิมของพม่า ตั้งอยู่บนช่วงปลายสุดของแม่น้ำสาละวิน เป็นเมืองศุนย์กลางของพวกมอญ อยู่ทางทิศตะวันตกของ อ.แม่สอด จัดได้ว่าเป็นเมืองสำคัญและมีขนาดใหญ่เพียงพอในระดับที่ในระบบของแผนที่มาตราส่วน 1:250,000 นำมาตั้งเป็นชื่อระวางของแผนที่ ในสายตาของชาวตะวันตกดูจะเห็นว่าสำคัญกว่า อ.แม่สอดเสียอีกซึ่งอยู่ในแผนที่ระวางเดียวกัน
คำที่เรียกว่า ทับทิมมะละแหม่ง นั้น คงจะเป็นเพราะมีพวกมอญ นำเข้ามาผ่านทาง อ.แม่สอด หรือ อ.อุ้มผาง หรืออาจจะเป็นคนไทยที่อยู่ในพม่าก็ได้ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นคนมอญเข้ามารับจ้างขุดพลอยในภาคตะวันออกของเรา แล้วก็เป็นไปได้ว่าในสมัยก่อนนั้นเช่นกัน ชาวมอญพวกนี้ก็เอาทับทิมของเรามาหลอกขายว่าเป็นของมาจากพม่า เพราะจะได้ราคาที่ดีกว่า เนื่องจากในสมัยนั้นทับทิมพม่ามีชื่อเสียงมากกว่าของเรา

ที่มะละแหม่งนั้น ไม่มีแหล่งทับทิมและพลอย มีแต่แหล่งแร่ดีบุกอยู่ที่ปากแม่น้ำสาละวิน แหล่งแร่รัตนชาติของพม่าทั้งหมดอยู่เหนือมัณฑะเลย์ขึ้นไป ใกล้ไปทางชายแดนที่ติดกับจีน

หยอดไว้สักนิดหนึ่งว่า ในแหล่งแร่ดีบุกนั้นอาจจะพบเพชรได้ด้วยนะครับ เอาไว้ไปเล่าในเรื่องเพชรของเมืองไทยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มี.ค. 12, 20:59 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 20:42

วันนี้ได้อ่านข่าวจากเว็บมติชนว่า บริษัท"ชาวิช จิวเวอรี่" ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้เจียระไนเพชรดิบ เป็นแหวนเพชรล้วนใหญ่ที่สุดของโลกขนาด 150 กะรัต โดยมีราคา 70 ล้านดอลลาร์ (ราว 2,100 ล้านบาท)  ขยิบตา เลยขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ  ยิ้ม

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332477138&grpid=03&catid=06&subcatid=0600


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 29 มี.ค. 12, 18:53

วันนี้ได้อ่านข่าวจากเว็บมติชนว่า บริษัท"ชาวิช จิวเวอรี่" ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้เจียระไนเพชรดิบ เป็นแหวนเพชรล้วนใหญ่ที่สุดของโลกขนาด 150 กะรัต โดยมีราคา 70 ล้านดอลลาร์ (ราว 2,100 ล้านบาท)  ขยิบตา เลยขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ  ยิ้ม
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332477138&grpid=03&catid=06&subcatid=0600

คงจะใช้สวมใส่นิ้วไม่ได้แน่ๆเลย หากจะใส่จริงๆสงสัยจะต้องเสียมือไปข้างหนึ่ง ยกไว้ที่อกตลอดเวลาเพื่อไม่ให้กระแทกหรือสัมผัสกับสิ่งใดๆ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 29 มี.ค. 12, 18:58

กลับมาเรื่องทับทิมพม่ากับการเมืองต่อครับ

     (อังกฤษและดัช เปิดบริษัทการค้าในพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2170  ต่อมาพม่ากับอังกฤษได้กระทบกระทั่งกันเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2367   สงครามครั้งแรกสงบลงใน 2 ปีต่อมา สงครามครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2395 ได้ทำให้พม่าเสียการครอบครองพื้นที่ส่วนล่างของประเทศให้กับอังกฤษ    พระเจ้ามินดุงได้เริ่มปกครองพม่าภายหลังเหตุกาณ์เสียดินแดนในครั้งนี้ )
     ในสมัยพระเจ้ามินดุงนั้น ได้มีพยายามปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย โดยได้ว่าจ้างคนยุโรปที่ไม่ใช่อังกฤษเป็นจำนวนมาก เช่น พวกอาร์เมเนียน ปอร์ตุเกต ฝรั่งเศส อิตาเลียน และเยอรมัน เป็นยุคที่พม่าถูกจำกัดเส้นทางการค้าขายเนื่องจากพื้นที่ตอนล่างถูกครอบครองโดยอังกฤษ เพื่อให้มีเงินตราใช้ในราชการ ทับทิมที่ได้สะสมไว้ในคลังหลวงคงน่าจะถูกนำออกขายอย่างมากมายในช่วงนี้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2415 อังกฤษได้ส่งสาสน์สัณถวไมตรีมา พระเจ้ามินดุงจึงส่งกินหวุ่นหมิ่นกี้ อัครมหาเสนาบดีหลุดดอ ไปเจริญสัณถวไมตรีตอบแทนเพื่อหวังการรับรองเอกราชของพม่าจากมหาอำนาจในยุโรป แต่ในระหว่างทางได้แวะอิตาลีและฝรั่งเศส เพื่อทำความตกลงซื้ออาวุธเพื่อไปรบกับอังกฤษ โดยขอแลกสิทธิบางอย่างกับฝรั่งเศส สิ่งที่ฝรั่งเศสต้องการในขณะนั้น คือ เหมืองทับทิม การทำไม้ และการสำรวจเส้นทางรถไฟไปจีน ฝรั่งเสศจึงรีบส่ง Compte de Rochetchouart มาพม่าเพื่อขอรับสัตยาบันจากพระเจ้ามินดุง (พ.ศ. 2416)  แต่ตกลงกันไม่ได้ เนื่องจากพม่าหวงแหนแหล่งทับทิมมาก ในช่วงขากลับ  Rochetchouart ได้แวะพบผู้สำเร็จราชการของอังกฤษที่เมืองอักกรา และเปิดเผยเรื่องราวต่างๆให้อังกฤษทราบ   ในช่วงระยะนี้พม่าขัดสนเงินอย่างมาก จึงขายทับทิมจากท้องพระคลัง 2 เม็ด ให้กับอังกฤษ เม็ดเล็กรูปหมอน 37 กะรัต เม็ดใหญ่รูปหยดน้ำสั้นๆ 47 กะรัต ซึ่งทำความไม่พอใจให้คนพม่าเป็นอย่างมาก ถึงขนาดต้องมีกองทหารคุ้มกันขณะนำไปลงเรือ ทับทิมทั้ง 2 เม็ดนี้ได้ถูนนำไปแต่ง เม็ดเล็กเหลือ 33 กะรัต ขายได้ราคา 10,000 ปอนด์ เม็ดใหญ่เหลือ 39.6 กะรัต ขายได้ 20,000 ปอนด์
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 29 มี.ค. 12, 19:50

   เมื่อพระเจ้ามินดุงสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2421 พระเจ้าสีป่อได้ครองราชย์ต่อมา เป็นคนที่เข้มงวดและไม่ชอบฝรั่ง แต่ก็ยังต้องอาศัยฝรั่งเศสในการแสวงหาอาวุธและสินค้าต่างๆ จึงส่งคณะทูตไปฝรั่งเศอีกครั้ง คราวนี้ฝรั่งเศสได้ตอบสนองโดยการส่งผู้แทนชื่อนาย Frederick Hass มาเป็นกงสุล พม่าให้สิทธิแก่ฝรั่งเศสในการทำเหมืองทับทิมที่โมกอค ในการสร้างทางรถไฟไปจีน และในการเดินเรือในแม่น้ำอิระวดี (ซึ่งทับซ้อนกับอังกฤษ) ต่อมาอังกฤษได้พบเอกสารลับว่าฝรั่งเศสจะส่งอาวุธให้พม่าผ่านทางญวนเหนือ ประกอบกับพม่าแข็งข้อในกรณีพิพาทกิจการป่าไม้ของบริษัท Bombay Burma ของอังกฤษ อังกฤษรับไม่ได้จึงจัดการกับพม่าอย่างเด็ดขาด และได้ครอบครองพม่าอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม 2429  (พระเจ้าสีป่อถูกเนรเทศไปตั้งแต่ 29 พ.ย. 2428) และต่อมาอีก 3 เดือน ก็ได้ให้สิทธิการทำเหมืองทับทิมแก่นาย Streeter แต่ได้ไปลงนามสัมปทานกันในปี พ.ศ. 2432

นับจากนั้นมาก็มีการทำเหมืองทับทิมด้วยเครื่องจักรทันสมัย แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่คาดไว้ เหมืองทับทิมของนาย Streeter และพวกได้เลิกกิจการลงในปี พ.ศ. 2474 (42 ปีต่อมา) ซึ่งผู้สัดทัดกรณีกล่าวว่า ก็ได้ทับทิมในปริมาณพอๆกับที่ชาวบ้านขุดได้ในระยะเวลาเดียวกัน สำหรับเหมืองทับทิมที่เมืองโมกอคอีกเหมืองหนึ่งซึ่งใช้เครื่องจักรอันทันสมัย เริ่มในปี พ.ศ. 2432 ก็ได้ขอล้มละลายในปี พ.ศ. 2468 (36 ปีต่อมา)

นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษชื่อ J. Coggin Brown ให้ความเห็นไว้ว่า กาณีแร่ทับทิมหมดไปนั้นคงมิใช่สาเหตุสำคัญนัก ความคุ้มทุนในการทำเหมืองด้วยเครื่องจักรคงจะเป็นสาเหตุหลัก สำหรับแหล่งทับทิมในพม่านั้นเชื่อว่าครอบคลุมพื้นที่ถึง 600 ตารางไมล์

คงพอจะเห็นภาพแล้วนะครับว่า ทับทิมพม่านั้นมีชื่อเสียงมาก่อนของไทยได้อย่างไร แล้วเลือนหายไปได้อย่างไร

ของสิ่งใดเมื่อซื้อหาได้ยาก มีปริมาณน้อยก็จะมีราคาสูง ในวงการทำเหมืองแร่รัตนชาติจึงไม่นิยมใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จะใช้เฉพาะในบางส่วนของกระบวนการทำเหมืองเท่านั้น

แหล่งทับทิมในพม่ามีทั้งทับทิมที่เป็นแร่ Corundum และที่เป็นแร่ Spinel  ซึ่งด้วยเทคโนโลยีในการวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ทราบในปัจจุบัน  ทำให้เราสามารถแยกรัตนชาติสีแดงทั้งสองชนิดออกได้ค่อนข้างจะชัดเจน ผมไม่ทราบเหมือนกันว่า ที่เรียกกันว่าทับทิมพม่าที่สะสมกันมายาวนานในอดีตนั้นจะเป็นแร่อะไรกันบ้าง ประเด็นจึงไปอยู่ที่ว่าเราจะกล้าพอที่จะยอมรับหรือไม่ว่าหากเอาไปพิสูจน์แล้วปรากฏว่าเป็น Red Spinel หรืออื่นๆ
ผมคิดว่าอย่าไปคิดอะไรมากเลย ได้มาแล้ว เขาว่าเป็นทับทิมพม่าของแท้ก็เก็บไว้ด้วยความเชื่อและภูมิใจก็พอแล้ว คุณค่าของมันไม่ได้อยู่ที่ราคาแต่มันอยู่ที่ความเป็นรัตนชาติที่สวยงามและถูกใจเราเป็นอย่างยิ่ง คนที่เห็นก็ไม่รู้ ไม่รู้แม้กระทั่งเป็นแก้วสีธรรมดา ขนาดคนที่เรียนมาอย่างพวกผมที่รู้ค่อนข้างจะถึงในรายละเอียดมากๆของเนื้อในเลยยังบอกไม่ได้แม้จะใช้กล้องส่องดู ผมจึงได้กล่าวไปแล้วในเรื่องของเพชรว่า ความมีคุณค่าของมันไปอยู่ที่คนที่นำมันมาใส่ด้วย 

ผมเองนั้น จึงไปชอบทับทิมที่เจียรนัยแบบหลังเต่า คือ กินบ่อเสี้ยง   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 29 มี.ค. 12, 20:42

  
ผมคิดว่าอย่าไปคิดอะไรมากเลย ได้มาแล้ว เขาว่าเป็นทับทิมพม่าของแท้ก็เก็บไว้ด้วยความเชื่อและภูมิใจก็พอแล้ว คุณค่าของมันไม่ได้อยู่ที่ราคาแต่มันอยู่ที่ความเป็นรัตนชาติที่สวยงามและถูกใจเราเป็นอย่างยิ่ง คนที่เห็นก็ไม่รู้ ไม่รู้แม้กระทั่งเป็นแก้วสีธรรมดา ขนาดคนที่เรียนมาอย่างพวกผมที่รู้ค่อนข้างจะถึงในรายละเอียดมากๆของเนื้อในเลยยังบอกไม่ได้แม้จะใช้กล้องส่องดู ผมจึงได้กล่าวไปแล้วในเรื่องของเพชรว่า ความมีคุณค่าของมันไปอยู่ที่คนที่นำมันมาใส่ด้วย 


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 30 มี.ค. 12, 17:45

พ้นมาจากเรื่องทับทิมพม่า คราวนี้ก็เข้ามาในเขตประเทศไทย

ย้อนกลับไปนิดหนึ่งว่า พลอยจากแร่ Corundum นั้น หากมีสีแดงเรียกว่าทับทิม สีอื่นๆนอกเหนือจากสีแดง รวมเรียกว่า Sapphire ซึ่งตรงกับภาษาไทยว่า นิล
ต่อจากนี้เป็นเรื่องของ นิล ในประเทศไทย ผนวกด้วยเรื่องของทับทิมสยามเล็กน้อย และจะเป็นการคัดลอกเรื่องตามที่นายเกษตร พิทักษ์ไพรวัน ได้รวบรวม เรียบเรียงและเขียนไว้เป็นอนุสรณ์อย่างดี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ที่หาได้ยากสำหรับคนทั่วๆไป

      “ นิลเป็นแร่อย่างเดียวกับทับทิม....นิลที่บริสุทธิ์จะปราศจากสี และเรียกกันว่า White sapphire นิลไร้สีนี้ไม่สวยอะไรนัก เม็ดเล็กๆใช้แทนเพชรในเครื่องประดับราคาถูกได้ แต่ส่วนมากจะใช้นิลสังเคราะห์ซึ่งราคาถูกกว่าธรรมชาติมาก ถ้านิลไร้สีมีไตตาเนียม (Titanium) และเหล็กเจือปนจะได้นิลสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Sapphire แปลว่าสีฟ้าหรือสีคราม ในภาษาไทยแปลความหมายของนิลว่าสีดำ สีเขียวแก่ และสีขาบ  ซึ่งหมายถึงสีน้ำเงินแก่นั่นเอง เนื่องจากนิลมีสีต่างๆในสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ได้ทุกสี (ยกเว้นสีแดงซึ่งเป็นทับทิม) เมื่อนิลนั้นมีสีใดจึงต้องระบุไว้ด้วย เช่น นิลสีม่วง นิลสีเขียว ยกเว้นคำว่า นิลตะโก ซึ่งใช้เรียกแร่สปิเนลสีดำ และมิใช่แร่ในตระกูลเดียวกันกับทับทิมและนิล ลักษณะในธรรมชาติของนิลต่างกับทับทิมบางประการ คือ ทับทิมแต่ละเม็ดจะมีสีภายในเม็ดสม่ำเสมอกันและไม่มีแถบสี ยกเว้นนิลสีฟ้าซึ่งออกจะหายาก นิลสีฟ้าอาจมีสีอ่อน แก่ เข้มมาก จางมากในเม็ดเดียวกัน มีสีเป็นแถบสีเดียวหรือสองสีเช่นกล่าวมาแล้วในตอนต้น
       นิลสตาร์หรือนิลสาแหรก เป็นของหาง่ายกว่าทับทิมสตาร์มาก นิลสตาร์ที่มีมากที่สุดมีสีน้ำตาลแก่ จนเกือบดำ และในภาษาอังกฤษเรีกว่า Black star sapphire พลอยนี้ต้องเจียรนัยเป็นหลังเบี้ยจึงจะเห็นสตาร์ชัดเจน และสตาร์จะวิ่งหรือกลอกกลิ้งไปได้ทั่ว พลอยสตาร์ดำมีราคาต่ำกว่าพลอยสตาร์สีอื่นเป็นอันมาก เพราะสวยงามอยู่ที่สตาร์อย่างเดียว พลอยสตาร์สีฟ้าหายากและราคาสูง แต่พลอยสตาร์สีเหลืองและเขียวยิ่งหายากและราคาสูงขึ้นไปอีก พลอยสตาร์สีขาวเป็นของแปลกและสวยงามพอใช้ ทางพม่าไม่สู้จะนิยมกัน แต่ทางจันทบุรีนิยมมากและราคาสูง
       นิลสีฟ้าและสีน้ำเงินเป็นนิลที่นิยมกันมากที่สุด และนิลแคชเมียร (หรือที่เรียกว่า กัษมีระ) เป็นนิลที่ได้รับการยกย่องทำนองเดียวกับทับทิมพม่า คำว่า แคชเมียร เลยกลายเป็นเสมือนหนึ่งประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพในวงการค้ารัตนชาติของอังกฤษ และอาจจะรวมทั้งอินเดียด้วย ถ้าบอกว่า แคชเมียร ก็รู้กันว่าเป็นนิลชั้นดี และอย่างดีที่สุดนั้นสีข้าวโพดอย่างเข้ม และมีผิวสะท้อนแสงดูดังกำมะหยี่ ภายในดูคล้ายน้ำนมใสๆที่หมุนคว้าง  นาย เฮลฟอรด แวทกิ้น เอกทัคคะทางรัตนชาติของอังกฤษกล่าวว่า “นี่เป็นลักษณะเฉพาะของนิลแคชเมียร ซึ่งไม่มีนิลที่ใดเหมือน” แหล่งกำเนิดของนิลแคชเมียรนั้น อยู่ในสายเป็กมาไต๊ท บนภูเขาสังกร ซึ่งเป็นส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ในแคว้นกัษมีระที่อินเดียและปากีสถานแก่งแย่งกรรมสิทธิ์กันมาหลายร้อยปีแล้ว นิลแคชเมียรได้ออกสู่ตลาดโลกประมาณ 4-5 ล้านการัต แล้วก็หยุดไปเพราะหายากมากขึ้น ขณะนี้ไม่มีการผลิตอีกแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 14:53

Kashmir sapphire  ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 15:04

เมื่อไปค้นรูป Black star sapphire มาให้คนอ่านกระทู้คุณตั้งได้ดูกัน   เห็นแล้วนึกถึงอัญมณีที่คลั่งไคล้กันเมื่อสัก 50 ปีก่อนขึ้นมาได้ เรียกว่า "อุลกะมณี"  เป็นนิล(หรืออะไรสักอย่างที่เหมือนนิล) สีดำสนิท   
คำว่า อุลกะ  ตรงกับบาลีว่า อุกกะ  เราใช้ในคำว่า อุกกาบาต  ยังไม่ได้ไปเปิดรอยอินว่าแปลว่าอะไร   แต่เดี๋ยวไม่คุณหนูดีดีก็คุณเพ็ญชมพูคงมาอธิบายเอง

ภาพนี้เป็น Black star sapphire ค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 16:33

เห็นแล้วนึกถึงอัญมณีที่คลั่งไคล้กันเมื่อสัก 50 ปีก่อนขึ้นมาได้ เรียกว่า "อุลกะมณี"  เป็นนิล(หรืออะไรสักอย่างที่เหมือนนิล) สีดำสนิท  
คำว่า อุลกะ  ตรงกับบาลีว่า อุกกะ  เราใช้ในคำว่า อุกกาบาต  ยังไม่ได้ไปเปิดรอยอินว่าแปลว่าอะไร   แต่เดี๋ยวไม่คุณหนูดีดีก็คุณเพ็ญชมพูคงมาอธิบายเอง

๑. คุณวิกกี้ กรุณาอธิบายเรื่อง "อุลกามณี" ไว้ดังนี้

อุลกมณี มีหลายชื่อที่เรียกหากัน อุกกามณี แก้วข้าว สะเก็ดดาว เหล็กไหลต่างดาว คดปลวก พลอยจันทรคราส หยดน้ำฟ้า(ตามรูปร่างที่ปรากฏ) สะเก็ดดาว หรืออุลกมณี ตรงกับคำว่า "tektite" ในภาษาอังกฤษ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า Tektos ในภาษากรีก แปลว่า หลอมละลาย อุลกมณีที่พบจะมีเนื้อแก้ว ส่วนใหญ่สีดำทึบคล้ายนิล บางชิ้นมีเนื้อในสีน้ำตาลใส ผิวของอุลกมณีจะเป็นหลุมเล็ก ๆ โดยรอบ รูปลักษณ์สัณฐานของอุลกมณีไม่แน่นอน อาจเป็นก้อนกลม ยาวแบน แท่งกลมยาว คนไทยบางท่านเชื่อว่าสามารถแบ่งอุลกมณี เป็นชนิดต่างๆตามรูปร่าง เช่น ตัวผู้(รูปทรงเป็นแท่งคล้ายลึงค์) หรือตัวเมีย(รูปทรงกลม) มนุษย์เรารู้จักอุลกมณีมานานแล้ว โดยเชื่อกันว่าเป็นสะเก็ดดาวจากนอกโลก ที่ตกเข้ามายังพื้นผิวโลก
 
แต่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและทราบว่าแท้จริงแล้ว อุลกมณี หรือ tektite เป็นทรายที่เกิดบนโลกที่เกิดการหลอมละลายจากความร้อนจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ขณะที่ทรายหลอมละลายจะกระเซ็นขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วเกิดการเย็นและแข็งตัวกลางอากาศ ก่อนจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน จึงทำให้เกิดรูปร่างหลากหลายแบบ

ตัวอย่างก้อนอุลกมณีที่พบบนพื้นผิวโลก



๒. ความหมายของ อุลกา  उल्का ในภาษาสันสกฤต


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 19:11

เครื่องประดับ อุลกมณี(สะกดถูกแล้วนะคะ  ยิ้ม)


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 21:39

เขียนเรื่องอุลกมณีแต่ส่งไม่ได้ด้วยปัญหาบางประการ เอาไว้เขียนใหม่ครับ
ต่อเรื่องของนิลไปก่อนนะครับ

คัดลอกต่อนะครับ

ทับทิมและนิลของไทย
     แม้ว่าทับทิมไทยจะไม่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องเท่าทับทิมพม่า และแม้ว่านิลแคชเมียรจะได้รับการยกย่องเสียเลิศลอยก็ตาม ข้าพเจ้าคิดว่าเราควรจะพูดได้เต็มปากว่า นิลของไทย ดีที่สุด สวยที่สุด เช่นเดียวดับความเห็นของชาวต่างประเทศส่วนใหญ่
     ในขณะที่ทับทิมพม่ากำลังมีชื่อเสียงก้องโลกนั้น นิลสีฟ้าจากเมืองไทยได้รับความนิยมอย่างเงียบๆไปทั่วโลกเช่นกัน เฉพาะในปี ค.ศ.1889 (พ.ศ. 2432) อันเป็นเวลา 84 ปีมาแล้ว (ปัจจุบันคือ 123 ปีมาแล้ว) พ่อค้าพลอยคนหนึ่งในกรุงลอนดอน กล่าวยืนยันว่า ในปีนั้นเขาขายนิลสยามไปเป็นเงิน 70,000 ปอนด์ และได้มีการประเมินกันว่า กว่าครึ่งหนึ่ง (ประมาณ 5 ใน 8 ส่วน) ของนิลที่ผลิตกันได้ทั่วโลกมาจากบ่อไพลิน จ.พระตะบอง ในพระราชอาณาจักรสยาม    นิลจากบ่อนี้มีสีน้ำเงินกำมะหยี่อย่างหาที่เปรียบมิได้ นี่เป็นความเห็นของนายสตรีทเตอรในปี 1892 อันเป็นเวลาที่ได้มีการขุดนิลที่บ่อไพลินต่อเนื่องมาประมาณ 20 ปีแล้ว และนิลแคชเมียรได้ออกสู่ตลาดโลกมา 10 ปี บริษัทอังกฤษเป็นผู้ทำเหมืองทับทิมและนิลที่โมกอคมา 3 ปี
     ในปี 1935 (พ.ศ.2478) อันเป็นเวลาหลังจากฝรั่งเศสได้โกงเอาบ่อไพลินไปแล้ว 42 ปี นายพันตรีเฮอรเบิต นอย (Major Herbert Noye…The Listener 20 Nov. 1935 p.928) กล่าวว่า ประเทศไทยผลิตนิลมากถึง ¾ ของโลกที่ผลิตได้ ซึ่งสูงยิ่งขึ้นกว่ารายงานของนายสตรีทเตอรเสียอีก ครั้นเวลาล่วงเลยมาอีก 33 ปี นั่นคือในปี ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) พ่อค้าพลอยคนหนึ่งในกรุงลอนดอนกล่าวว่า ในระยะนั้นประเทศไทยผลิตนิลมากที่สุดในโลก ได้มีการประเมินกันว่า นิลที่ประเทศไทยส่งออกสู่ตลาดโลกมีมูลค่าปีละประมาณ 700,000,000 บาท (700 ล้านบาท) นี่ควรจะเพียงพอหรือยังสำหรับแสดงความนิยมนิลไทยในตลาดโลก
      บ่อพลอยในเมืองไทยนั้นคงจะรู้จักและขุดหาทำกันมาแต้โบราณแล้ว แต่ไม่อาจกำหนดเวลาให้แน่นอนได้ เราะไม่มีอะไรเป็นหลักฐาน
      นายไซมอน เดอลาลูแบร ราชทูตฝรั่งเศส ผู้มาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในปี 1687 (พ.ศ. 2230) กล่าวไว้ในจดหมายเหตุของเขา ตอนพูดถึงเรื่องเหมืองแร่ว่า ประเทศไทยมีชื่อเสียงว่ามีเหมืองแร่มาก รัตนชาติจากเหมืองมี โมรา นิล และเพชร แต่ไม่ได้บอกว่าเหมืองนั้นตั้งอยู่ที่ใด เราอาจจะสันนิษฐานได้ว่า โมรา คงจะมาจากภาคกลางของประเทศไทย เช่น นครนายก ชัยบาดาล ที่ยังมีผู้ขุดหากันในทุกวันนี้  เพชร อาจจะพบในการทำเหมืองดีบุกที่ภูเก็ตช่นเดียวกับที่พบกันทุกวันนี้  ส่วนนิล อาจจะมาจากบ่ายบ่อแก้ว ในเขตติดต่อ อ.ลอง จ.แพร่ กับศรีสัชชนาลัย  หรือบ่อพลอยกาญจนบุรีมากกว่าจากทางตราดและจันทบุรี
      ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นายการะฝัด (John Crawford) (John Crawford, 1828…Journal of An Embassy from theGovernor General of India to Court of Siam & Cochin China, p.78) คนอังกฤษซึ่งมาเฝ้าสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี 1822 (พ.ศ. 2365) ...ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่า นิล ทับทิม และบุษราคำ มีตามภูเขาที่จันทบูรณ์ และได้กล่าวไว้ด้วยว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงสงวนสิทธิในการทำพลอยไว้เป็นการส่วนพระองค์ ข้อหลังนี้จะเป็นความจริงหรือไม่ยังเป็นที่สงสัย อาจจะเป็นความเข้าใจผิดก็ได้ เพราะจากปากคำของผู้เฒ่าผู้แก่ ทั้งที่จันทบูรณ์และกาญจนบุรี กล่าวว่า ตั้งแต่โบราณประมาณรัชกาลที่ 4 หรืออาจะตั้งแต่รัชกาลที่ 3 มีการส่งส่วยพลอยจากทั้งกาญจนบุรีและจันทบุรี    อนึ่ง จากหนังสือของนายการะฝัดเอง แสดงว่าเขาไม่ได้ไปจันทบูรณ์ แต่เขาได้เห็นพลอยและก็ควรจะเห็นพลอยเหล่านั้นในกรุงเทพ เป็นพลอยของบุคคล ไม่ใช่พระราชสมบัติของในหลวง ดังนี้ก็เป็นการแย้งกันที่เขากล่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินสงวนสิทธิในการทำพลอย หรือมิฉะนั้น เจ้าของพลอยก็ได้มาโดยได้รับพระราชทาน หรือไม่ก็ได้มาโดยมิชอบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 22:17

เขียนเรื่องอุลกมณีแต่ส่งไม่ได้ด้วยปัญหาบางประการ เอาไว้เขียนใหม่ครับ


วิธีแก้ปัญหา เมื่อส่งไม่ได้ ทำให้ต้องพิมพ์ข้อความใหม่
คือคุณตั้งคลิกที่ลูกศรมุมซ้ายบนของหน้าจอ  ซึ่งเป็นลูกศร go back one page นะคะ
หน้าที่มีข้อความพิมพ์เตรียมส่งจะย้อนกลับมา    ให้ copy ข้อความไว้  เพื่อส่งอีกครั้งได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 22:58

เรื่องทับทิมพม่านั้น มีเม็ดงามที่สุดสีแดงเข้ม ใหญ่เท่าไข่นกพิลาปตกทอดเป็นพระราชมรดกมาหลายรัชกาล ชื่อว่าหงามุก Ngamauk จนถึงในรัชสมัยพระเจ้ามินดง ทรงถูกอังกฤษบีบคั้นหนัก จึงพยายามดำเนินวิเทโศบายที่จะเอาฝรั่งเศสมาคานอำนาจอังกฤษ โดยเอาทรัพยากรของพม่าที่ฝรั่งอยากได้มาล่อให้โลภ คุณตั้งเล่าไปแล้ว ครั้งหนึ่งทรงเอาพระธรรมรงค์หงามุกมาอวดคณะทูตการค้าที่เดินทางจากปารีสมาดูลาดเลา พวกฝรั่งเศสเห็นเข้าถึงกับตกตะลึง เมื่อถูกพระเจ้ามินดงรบเร้าให้ตีราคา จึงกราบทูลว่าทับทิมนี้มีค่าเท่ากับประเทศหนึ่งประเทศ พระเจ้ามินดงไม่ทันคิดในความหมายแฝง จึงทรงหัวเราะชอบพระทัย ในที่สุดก็ทรงเสียประเทศให้อังกฤษจริงๆ และสิ่งแรกที่อังกฤษปล้นไปจากพระราชวังที่มัณฑเลย์ก็คือ หงามุก ว่ากันว่าพระนางวิกทอเรียได้เคยนำมาประดับมงกุฏองค์หนึ่ง พออดีตพระราชินีไร้บัลลังก์ของพม่าเห็นรูปในหนังสือพิมพ์เข้าโวยวาย หงามุกก็ดำดินหายไป ปัจจุบันก็ยังไม่โผล่

ตอนนั้นอย่างที่คุณตั้งว่า ยุโรปเกิดกระแสบ้าคลั่งเพชรนิลจินดาอย่างแรง แพงเท่าไรก็มีคนสู้ราคา ทับทิมพม่าน่ะโด่งดังอยู่แล้วโดยมีอังกฤษผูกขาด ที่ฝรั่งเศสเข้ามาแหยมๆในพม่าก็อยากจะได้ทับทิมนี่แหละ แต่อังกฤษก็คอยแยกเขี้ยวขู่แง่งๆอยู่  ครั้นฝรั่งเศสได้อินโดจีนแล้ว ได้ข่าวว่าเมืองจันทบูรณ์มีพลอยดี ก็เลยหาเรื่องกับไทยเอาเรือรบมาข่มขู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกค่าปรับเป็นทองคำไปเท่ากับเงิน2ล้านฟรังก์และเงินไทยอีก3ล้านบาท  แถมเข้ายึดจันทบูรณ์และตราดเสียดื้อๆคนไทยคงจำได้  เป้าหมายของฝรั่งเศสอยู่ที่พลอยเมืองจันท์ ตัวที่ไปดังในยุโรปมากที่สุดคือBlue Sapphire  ผมเรียกตามตลาดว่าไพลิน ส่วนคุณตั้งเรียกนิล และ Yellow Sapphire ที่ตลาดเรียกว่าบุษราคัม (ความจริงเรียกผิด เพราะบุษราคัมจริงๆตรงกับ Topaz ที่เป็นพลอยเนื้ออ่อนเกรดต่ำกว่ามาก สีเหลืองจางๆที่เราเรียกว่าบุษซีลอน แต่เดี๋ยวนี้นำมาเผาเป็นเหลืองเข้ม) ฝรั่งเศสยึดอยู่หลายปีดีดักกว่าจะยอมคาย  ว่ากันว่าเหตุที่ยอมคายก็เพราะไปเจอสายพลอยเข้าใหม่ที่บ่อเก่าของเมืองชื่อไพลินในเขมร

นี่คือBlue Sapphire หรือไพลิน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง