เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 108394 ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 25 มี.ค. 12, 10:56

ชุดทับทิมน้ำงาม โดยเฉพาะแหวนมีรูปทรงพิเศษ ส่งรูปมาลงรอคุณตั้งเข้ามาเล่าต่อค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 25 มี.ค. 12, 20:20

ขอบพระคุณทุกท่านที่ได้กรุณาค้นหาและให้ข้อมูลเกี่ยวกันาคสวาท (นาคสวาดิ) และครุฑธิการ (ครุืทธิการ)
ผมต้องอ่านอยู่หลายรอบเพื่อที่จะทำความเข้าใจ แต่ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจมากพอ อย่างไรก็ตาม คำบรรยายที่ปรากฏอยู่ในตำรานพรัตน์ คำบรรยายในหนังสือวชิรญาณวิเศษ และตามโคลงและภาพประกอบของคุณดีดีนั้น ทำให้ผมพอจะสรุปได้เป็นภาพตามที่ผมเห็นและเข้าใจ ดังนี้

เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในตำรานพรัตน์ เป็นเรื่องของอัญมณีที่คนไทยได้จำแนกไว้ตั้งแต่โบราณ ผมเดาเอาว่าน่าจะตั้งแต่สมัยอยุธยาโน่น เนื่องจากในสมัยนั้นเราได้มีการติดต่อกับต่างชาติมาก อัญมณีหลากหลายมากมายก็คงได้มีการนำเข้ามาในยุคนี้ มากไปจากเดิมซึ่งเรารู้จักโดยผ่านมาทางวัฒนธรรมของอินเดีย จะแปลกใจอยู่สักหน่อยก็ตรงที่ ไทยเราก็มีการติดต่อกับจีนอยู่มาก แต่เรื่องของหยกกลับดูจะไม่มีอิทธิพลมากนักในจิตใจของคนไทย

อัญมณีหลากชนิดที่ฝรั่งจากซีกโลกตะวันตกนำเข้ามานั้น ก็มาจากหลากหลายแห่งในหลายทวีป (เนื่องจากชาติทางตะวันตกได้แผ่อิทธิพลและครอบครองอยู่หลายประเทศ) ซึ่งคงจะประกอบไปด้วยอัญมณีที่มีลักษณะเป็นแก้วใส (Transparent) ที่ขุ่นมัว (Translucent) และที่ทึบแสง (Opaque) บรรดาปราชญ์และโหราจารย์ในสมัยนั้น จึงได้จัดแบ่งอัญมณีออกเป็นระดับของความมีคุณค่าและความสวยงามโดยอ้างอิงจากตำราของอินเดีย พวกที่มีลักษณะเป็นแก้วใส รวมเรียกว่า รัตนชาติ และพวกที่ทึบแสง รวมเรียกว่า ศิลา (หินสี) พวกรัตนชาติอื่นๆที่ไม่อยู่ในตำรา ก็รวมเรียกว่า พลอยสี... และเรียกรวมทุกอย่างที่มีสีที่สามารถนำมาเจียรนัยตบแต่งให้เป็นชิ้นงานสวยงามและนำทำเป็นเครื่องประดับได้ว่า อัญมณี

ผมเห็นว่าเราได้เริ่มเทียบเคียงอัญมณีตามตำราที่เราเชื่อถือกับวิชาความรู้ทางด้านแร่วิทยา (Mineralogy) มาตั้งแต่สมัยอยุธยา (แร่วิทยาได้เกิดก่อนหลังอยุธยาไม่นาน) จนลักษณะของอัญมณีตามตำรานพรัตน์ของเราค่อนข้างจะตรงกับลักษณะและคุณสมบัติของแร่ (ตามวิชาแร่) ที่เราใช้อ้างอิงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้ยึดถือกันอย่างเคร่งครัดในลักษณะที่ว่า หากไม่ใช่แร่ชนิดนั้นก็ไม่ใช่รัตนชาติในตำรา ซึ่งแท้จริงแล้วรัตนชาติหลายชนิดสามารถมีสีได้เหมือนๆกัน

ในตำราของเรานั้น คำบรรยายและคำอธิบายต่างๆสำหรับอัญมณีที่่อยู่นอกเหนือกลุ่มรัตนชาตินั้น ผมเห็นว่าเกือบทั้งหมดจะเป็นพวกหินสี (Opaque minerals) และแร่ที่ขุ่นมัว (Translucent minerals) ซึ่งหลายๆอย่างก็คงพอจะเดาๆได้     

ผมเห็นว่า ในตำรานพรัตน์นั้นดูจะเน้นในเรื่องของสีเป็นหลัก และเราก็มิควรที่จะยึดถือการแปลตรงตัว (ซึ่งกระทำในภายหลัง) ตามที่นิยามเป็นตำรากันไว้ เช่น
      เหลืองใสสด บุษราคำ (= Topaz) เพราะแท้จริงแล้วแร่ Topaz นั้นปกติจะมีสีขาวใส หรือแดงสลัว เพทาย (= Zircon) ซึ่งเพทายในธรรมชาติมักจะมีสีเหลือง ประกอบกับในพื้นที่ของจันทบุรีเราก็มีพลอยน้ำบุษ (แร่ Corundum ที่ออกสีเหลือง) จึงเป็นไปได้ว่า เหลืองใสสดนั้นก็อาจจจะเป็นอะไรก็ได้
     หรือ แดงแก่ก่ำ โกเมนเอก (= Garnet) ซึงแท้จริงแล้วมีแร่ที่มีสีแดงตามธรรมชาติอยู่มากมาย เช่น แร่ Spinel ซึ่งแร่ชนิดนี้ได้สำคัญผิดว่าเป็นทิบทิมในหลายๆกรณี 

เล่ามาเพื่อทราบและตัดสินใจกันเอาเองว่า จะเลือกความสวยงามตามที่พอใจ (แร่อะำไรก็ได้) จะเลือกตามตำราความเชื่อ (ทับทิมคือ Ruby = แร่ Corundum สีแดง) จะเลือกสี (แดงแบบทับทิมแต่เป็นแร่ Spinel หรือ เหลืองแบบน้ำบุษ แต่เป็น Citrine = quartz) หรือจะเลือกชนิดแร่ (Tourmaline, Aquamarine etc.)

ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวแบบตื้นๆจริงๆ ยังไม่ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยในทางลึกใดๆทั้งสิ้นครับ             

   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 25 มี.ค. 12, 21:19

เพิ่งรู้ว่า spinel ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นทับทิม (ruby) 
spinel น่าจะเรียกว่าพลอยชมพู นะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 25 มี.ค. 12, 21:22

แต่พอมาเห็นรูปนี้ก็เปลี่ยนใจว่า เห็นทีจะไม่ใช่พลอยชมพู  เพราะแหวนวงนี้ ไม่ใช่ทับทิม แต่เป็น Tanzanian spinel ขนาด 9.5 กะรัต  ค่ะ


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 26 มี.ค. 12, 10:18

เห็นแหวนวงนี้แล้ว นึกถึงทับทิมสยาม  แต่ไม่เคยเห็นของจริงๆเต็มๆตาสักที

ทับทิมสยามต่างจากทับทิมพม่าที่สีเพียงอย่างเดียวหรือค่ะ แล้วความแข็งของหิน

อยู่ระดับเดียวกันไหมค่ะ  ทำไมเมื่อก่อนคนไทยถึงไม่รู้จักและสะสมเป้นของล้ำค่า

ทำไมปัจจุบันจึงหายากและมีราคาแพงระยับ เป็นเพราะการตลาดด้วยหรือเปล่า

แหล่งแร่ทับทิมสยามที่มีมากที่สุดอยู่ที่ไหนค่ะ ...ถามมากไปหรือเปล่าค่ะเนี่ย

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 26 มี.ค. 12, 18:55



เห็นแหวนวงนี้แล้ว นึกถึงทับทิมสยาม  แต่ไม่เคยเห็นของจริงๆเต็มๆตาสักที ทับทิมสยามต่างจากทับทิมพม่าที่สีเพียงอย่างเดียวหรือค่ะ แล้วความแข็งของหิน
อยู่ระดับเดียวกันไหมค่ะ  ทำไมเมื่อก่อนคนไทยถึงไม่รู้จักและสะสมเป้นของล้ำค่า ทำไมปัจจุบันจึงหายากและมีราคาแพงระยับ เป็นเพราะการตลาดด้วยหรือเปล่า
แหล่งแร่ทับทิมสยามที่มีมากที่สุดอยู่ที่ไหนค่ะ ...ถามมากไปหรือเปล่าค่ะเนี่ย

ได้ไปค้นพบหนังสือเก่าที่ได้สะสมไว้ เป็นหนังสือที่พิมพ์แจกในงานศพพระพิทักษ์ไพรวัน เมื่อ พ.ศ.2516 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรัตนชาติที่เขียนโดยนายเกษตร พิทักษ์ไพรวัน ซึ่งเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาของผมในช่วงแรกเริ่มรับราชการ พื้นฐานของท่านจบมาทางด้านวิศกรรมเหมืองแร่ แต่ไปศึกษาต่อทางด้านธรณีวิทยา จัดได้เป็นนักธรณ๊วิทยาในระดับแนวหน้าท่านหนึ่ง จึงขอคัดเรื่องราวบางส่วนที่เกี่ยวข้องมาเผยแพร่เพื่อประกอบความรู้ของทุกท่านที่สนใจ

    "ตำรานพรัตน์ไทย หรือแขก หรือตำรารัตนชาติฝรั่ง จัดทับทิมไว้เป็นอันดับที่ 2 รองจากเพชร เพราะทับทิมที่ใสสีแดงสด มีความสวยงามเหนือรัตนชาติใดๆทั้งสิ้น ทับทิมจะสวมใส่ใช้เวลาใด ไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน ไม่ว่ากับแสงตะวันหรือแสงใต้ ทับทิมจะสวยอยู่เสมอและทับทิมเป็นของหายากกว่าเพชร ทับทิมจึงเป็นคู่แข่งกับเพชร ก่อนที่จะรู้จักเจียรนัยเพชรให้เห็นน้ำและไฟกับประกายอัยเจิดจ้าเช่นทุกวันนี้ ทับทิมเป็นสิ่งที่มีราคาสูงกว่าเพชรเสียด้วยซ้ำไป....
     ทับทิม และ นิล เป็นรัตนชาติของแร่เดียวกัน คือ คอรันดัม (Corundum) หรือที่พวกกหล่าขุดพลอยเรียกว่า กากรุน   ทับทิม (Ruby) คือ กากรุนที่เป็นรัตนชาติสีแดง นิล (Sapphire) คือกากรุนสีฟ้า และสีอื่นๆ สีอะไรก็ได้นอกจากสีแดง .....
     ทับทิม ในภาษาไทย เป็นชื่อเรียกผลไม้ชนิดหนึ่งซึ่งรู้จักกันดี แต่พันธุ์ไม้นี้ไม่ใช่ของเมืองไทย ถิ่นกำเนิดเดิมคือประเทศซีเรีย แต่ก็แพร่หลายไปในประเทศเขตร้อนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากคำว่าทับทิมที่ใช้เรียกรัตนชาตก็มีมาแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงเช่นกัน จึงไม่อาจตัดสินในที่นี้ได้ว่าเป็นที่มาของคำว่าทับทิม พฤกษชาติ หรือรัตนชาติ? แต่ที่ควรทราบอย่างหนึ่งก็คือ ทับทิมในถิ่นกำเนิดและใกล้เคียง เช่น ในประเทศ เลบานอน เมล็ดของผลที่สุกดีแล้ว มีสีแดงเข้มกว่าๆเมล็ดผลทับทิมที่เห็นกันอยู่ในประเทศเรามาก....
     ทับทิมที่เป็นรัตนชาตินั้นอาจมีสีแดงเหมือนกับเมล็ดผลทับทิมอันสุดเข้ม หรือ แดงดังสีดอกทับทิมก็มี สีแดงดังเมล็ดผลทับทิมนั้นเป็นสีแดงออกมาทางชมภูน้อยๆ ส่วนสีแดงดังดอกทับทิมนั้น เป็นสีแดงที่อมสีส้มหรือสีแสด นี่เป็นสีของทับทิมตามตำรานพรัตน์ของไทย  ซึ่งเข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้เพราะ คำว่ามณีแดงในตำรานพรัตน์ซึ่งทุกวันนี้เหมาเอาว่า คือ ทับทิม และตรงกับ Ruby ในภาษาอังกฤษนั้น ความจริงในตำรานพรัตน์เรียกว่า "ปัทมราช" ซึ่งเป็นคำบาฬีที่แปลว่า พลอยแดงนั่นเอง และสิ่งที่เรียกว่าปัทมราชในตำรานพรัตน์นั้น มีสีต่างๆกันถึง 27 สี และแน่นอนเหลือเกินว่า บางรายการจะต้องไม่ใช่สิ่งที่ทุกวันนี้เรียกทับทิมแน่นอน.....
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 26 มี.ค. 12, 19:30

ต่อ
  " เมื่อพูดกันถึงสีของทับทิมแล้ว ก็เลยอยากจะขยายกล่าวถึงสีของทับทิมพม่ากับสีทับทิมไทยเสียด้วย เพราะมีผู้ข้องใจกันมากที่ฝรั่งกล่าวว่า ทับทิมไทยสีสู้ทับทิมพม่าไม่ได้ ทับทิมนั้นเกิดมีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลกก็จริง แต่แหล่งทับทิมสำคัญของโลกนั้นอยู่ในพม่าและไทยเท่านั้น ทับทิมแทนซาเนีย ซึ่งเริ่มออกสู่ตลาดโลกเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว คุณภาพยังเป็นรองทับทิมพม่าและทับทิมไทยอยู่มาก ที่แพร่หลายรวดเร็วก็เพราะราคาต่ำกว่าทับทิมไทยและทับทิมพม่ามาก ทับทิมพม่ากับทับทิมไทยเท่านั้นที่เป็นทับทิมชั้นหนึ่งของโลก แต่ทับทิมพม่า (ฝรั่ง) ยกย่องว่าสวยที่สุด ส่วนทับทิมไทยนั้นยังเป็นรอง ทับทิมพม่าที่ยกย่องกัันว่าเป็นเลิศนั้น คือทับทิมสีแดงบริสุทธิ์ หรือแดงอมม่วงน้อยๆ ซึ่งเรียกว่าแดงเลือนกพิราบ.....ในหนังสือเรื่องความสมบูรณ์ทางทรัพยากรแร่ของอินเดียโดย บราวน์ และเดย์ นักธรณีวิทยาอังกฤษผุูเขียน ได้สอบสวนต้นตอ (เรื่องสี) เรื่องต่างๆ เพื่อหาข้อเท็จจริง และในเรื่องทับทิมสีเลือดนกพิราบนี้ ท่านผู้เขียนทั้งสองได้กล่าวว่า ...The term being derived from the Hindustani, as Indian lapidaries compare the  color of a faultless (น่าจะเป็น flawless)  ruby with the blood-red color of a living pigeon's eye........เนื่องจากคำว่าสีเลือดนกพิราบนั้นมาจากอินเดีย แต่อินเดียไม่มีทับทิม อินเดียมีแต่สปิเนลแดง ซึ่งจัดเป็นทับทิมเช่นกัน ฉะนัน สีเลือดนกพิราบอาจจะสีเดียวกับสปิเนลแดงก็ได้.....

    อนึ่ง ขาพเจ้าไม่เข้าใจว่า เหตุใดในตำรานพรัตน์ของไทยซึ่งก็ถ่ายทอดมาจากอินเดียจึงไม่ระบุสีเลือดหรือสีตานกพิราบไว้ในปัทมราช 27 สีเสียเลย แต่ระบุสีตานกจากพราก สีตานกกาเหว่า และสีเลือดกระต่ายไว้.....

   สีของทับทิมไทยนั้น ตำราฝรั่งกล่าวไว้ต่างๆกัน บ้างก็ว่าทับทิมไทยมักจะดูมืดกว่าทับทิมพม่า บ้างก็ว่าแดงออกเหลืองมากกว่าทับทิมพม่า บางทีก็มีสีน้ำตาลปนบ้าง และบ้างก็ว่าสีแดงอมม่วงมาก ข้อนี้เป็นความจริง ข้าพเจ้าเคยเห็นทับทิมจากจันทบุร๊-ตราด หลายเ็ม็ดมีสีม่วงมากจนต้องเรียกว่าสีม่วงอมแดงมากกว่าสีแดงอมม่วง และทับทิมไทยเม็ดหนึ่งหนัก 34 การัต ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของอเมริกที่นิวยอร์ค (American Museum of Natural History) ก็มีสีม่วงแดงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าได้เคยเห็นทับทิมบ้านบ่อนาวง และบ้านตกพรม จังหวัดตราด มีสีแดงจัดดังสีทับทิมพม่าที่เรียกว่าสีเลือดนกทีเดียว ข้าพเจ้าจึงเชื่อเหลือเกินว่าทับทิมไทยที่สวยทัดเทียมทับทิมพม่าคงจะมีไม่น้อย และเช่นเดียวกับทับทิมพม่าก็คงไม่ไช่สวยดีสีวิเศษเสมอไป....
 
   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 26 มี.ค. 12, 19:49

คงจะมิใช่ตำตอบทั้งหมด แต่ก็เป็นข้อมูลเชิงวิชาการที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่ง
ยังมีเรื่องราวเกี่ยวพันที่จะเล่าต่อไปอีกบางส่วนนะครับ
ผมมีส่วนร่วมเพียงน้อยนิดในงานของคุณเกษตรชิ้นนี้ ในช่วงกลางปี 2512 คือ ขับรถพาเข้าไปเขตที่เขาขุดพลอยกัน แต่ได้มีโอกาสอันหายากในการได้เห็นพลอยชั้นดี ระดับราคาสูงๆในภาคตะวันออกของไทยที่มีการค้าขายกันอยู่ ได้รู้เรื่องหลายๆเรื่องในทางปฏิบัติในวงการขุดหาและการค้าพลอย แถมยังได้เม็ดพลอยขนาดประมาณหัวแม่มือซึ่งไร้ค่าในเชิงพานิชย์แต่มีค่ามากในเชิงวิชาการของตัวผมเองมาเก็บสะสมไว้ เป็นที่มาที่ไปเริ่มต้นของความสนใจในเรื่องอัญมณีของผมครับ
 
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 26 มี.ค. 12, 20:45

ขอบคุณสำหรับคำตอบที่ทำให้หายข้องใจในระดับหนึ่งค่ะ

การบันทึกเรื่องราวของผู้รู้(นายเกษตร พิทักษ์ไพรวัน) ระดับนี้

น้อยคนจะมีโอกาสได้อ่านนะคะ 

แถมยังได้เม็ดพลอยขนาดประมาณหัวแม่มือซึ่งไร้ค่าในเชิงพานิชย์แต่มีค่ามากในเชิงวิชาการของตัวผมเองมาเก็บสะสมไว้ เป็นที่มาที่ไปเริ่มต้นของความสนใจในเรื่องอัญมณีของผมครับ

แล้วผลที่ตามมาจากการเริ่มสนใจเรื่องอัญมณี เป็นไงบ้างค่ะ...
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 27 มี.ค. 12, 21:25

ทับทิมก็มีเรื่องเกี่ยวกับการเมืองเหมือนกัน และเป็นสาเหตุย่อยประการหนึ่งที่ช่วยขยายความร้อนแรงจนทำให้พม่าเสียเอกราชอย่างรวดเร็ว
ผมจะไม่คัดลอกข้อความจากหนังสือดังกล่าวนะครับ แต่จะสรุปความให้ทราบดังนี้

การขุดทับทิมในพม่ามีมานานกว่าพันปีแล้ว ดั้งเดิมนั้นเป็นการขายให้กับคนจีนและพวกตาร์ต้่า (ใครครับ??? หรือพิมพ์ผิด __คาร์ต้า???) ซึ่งจะมาซื้อปีละครั้งโดยเอาพรม เสื้อผ้า กานพลู และยามาแลก ในทำนองเดียวกันพวกคนที่ขุดหาทับทิมก็จะนำสินค้ามาขายที่กรุงอังวะปีละครั้งเช่นกัน และเจ้าผู้ครองแคว้น (ฉาน__ไทยใหญ่) จะต้องส่งทับทิมเป็นส่วยให้พระเจ้าแผ่นดินพม่าปีละ 2 วิส (ประมาณ 16,556 กะรัต) จนกระทั่งปี พ.ศ.2140 บ่อทับทิมจึงตกเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งต่อมาได้แบ่งให้ราษฎรเช่าเสียค่าเช่าเป็นรายปี บ่อที่ค้นพบใหม่ก็เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นแล้วหากพบทับทิมเม็ดใหญ่เกินกำหนดหรือหากราคาเกิน 70  ปอนด์สเตอริงก์ก็จะต้องถวายและตกเป็นราชสมบัติ ใครมีเม็ดใหญ่แบ่งให้เล็กลงก็มีโทษ พม่าได้จัดให้แหล่งทับทิมเป็นทรัพยากรของแผ่นดินที่มีค่ายิ่ง ไม่ยอมเปิดเผยแหล่งทับทิมและปิดเป็นความลับตลอดมา  ความมั่งคั่งนั้นได้ทำให้กรุงอังวะถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า รัตนบุระอังวะ (ในยุคนั้นพม่าเป็นแหล่งทับทิมที่สวยและดีที่สุดของโลก) แต่ที่นั่นไม่มีเสรีภาพใการค้่าขาย ทั้งระหว่างพวกเดียวกันเองหรือกับคนต่างชาติ ชาวต่างชาติจะมาซื้อได้เฉพาะกับรัฐบาล อังกฤษยังหลงเชื่อเมื่อเริ่มผนวกพม่าตอนล่างจนถึงพะโค (ในปี 2395) ว่าแหล่งทับทิมอยู่ในละแวกเมืองพะโค และคิดหวังรวยจากแหล่งทับทิมนั้น ดังปรากฏข้อความในบันทึกของพ่อค้าพลอยชาวอังกฤษชื่อนาย E.W. Sreeter (1892) "คิดกันว่าเมื่อพะโค เมืองบิดรของทับทิมได้ถูกผนวกเข้ากับอังกฤษในปี 1852 ยุโรปคงจะรวยด้วยหินอันสวยงามนี้มากขึ้น แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น"

ขอต่อเรื่องในวันพรุ่งนี้นะครับ 

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 27 มี.ค. 12, 21:42


การขุดทับทิมในพม่ามีมานานกว่าพันปีแล้ว ดั้งเดิมนั้นเป็นการขายให้กับคนจีนและพวกตาร์ต้่า (ใครครับ??? หรือพิมพ์ผิด __คาร์ต้า???)


พวกตาตาร์ คือ ชนกลุ่มน้อยทางเหนือของจีน ซึ่งเราเรียกว่า "ชาวมองโกล"

ชาวมองโกลในประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีคือ เจงกีสข่าน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หยวน และในโลกของกำลังภายในคือ ก๋วยเจ๋ง

ทหารมองโกลเคยมีประวัติว่ามีการบุกและทำศึกมาถึงพม่าเลยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 27 มี.ค. 12, 22:48

ฝากไว้เป็นอีกข้อมูลนึง ไม่ได้ขัดคอนะครับ ขอเชิญคุณตั้งดำเนินเรื่องต่อไปเลย

ทำไมเมืองหลวงพม่าจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแก้ว แต่ก่อนผมก็นึกว่ารัตนอังวะแปลว่าเมืองที่รุ่มรวยด้วยเพชรนิลจินดา  พอมาค้นๆเรื่องพม่าที่นำมาเสนอถึง5ตอนนี่ พบว่าหมายถึงเมืองที่ผลิตแก้วมีค่า เป็นที่ต้องการของใครต่อใครชนิดหนึ่ง ที่นับว่าเป็นรัตนะเหมือนกัน

แก้วอังวะ เป็นแก้วที่หุงด้วยกรรมวิธียุ่งยากพิศดาร แล้วดาด(เท)ลงบนแผ่นดีบุกอย่างบางเฉียบเป็นกระจก มีสีต่างๆ เช่น สีใส สีเขียว สีฟ้า สีขาว สีแดง ใช้สำหรับประดับตกแต่งส่วนประกอบของอาคาร เช่นช่อฟ้าใบระกา หางหงส์  เกล็ดพญานาค ฯลฯ และเครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ต้องการความหรูเลิศเช่น บัลลังก์ ธรรมาสน์ ตู้ตั่ง มงกุฏ ฝักพระแสงดาบเป็นต้น

กระจกชนิดนี้ ไทยทำไม่ได้ อยากใช้ก็ต้องสั่งจากจีน เรียกว่า "กระจกเกรียบ" เป็นกระจกที่มีคุณสมบัติสามารถงอพับและตัดด้วยกรรไกรได้ ไม่เหมือนแก้วสีที่หล่ออย่างหนา นั่นเรียกว่า กระจกแก้ว

แก้วอังวะจัดอยู่ในประเภทกระจกจีนหรือกระจกเกรียบ พม่าคิดค้นทำมานานแล้วด้วยสูตรเฉพาะของตนเอง มีสีสดใส ดาดลงบนแผ่นดีบุกชิ้นใหญ่ๆ ดีกว่าของจีนตรงที่ว่าสามารถตอกตรึงติดกับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมได้โดยง่าย พม่าจึงภาคภูมิใจมาก เมืองอังวะที่เป็นแหล่งผลิตแก้วนี้ พม่าจึงเรียกว่า รัตนปุระอังวะ ต่อมาสร้างอมรปุระใกล้ๆกัน คล้ายกรุงเทพกับธนบุรี ก็ใช้ชื่ออย่างยาวว่า อมรรัตนปุระอังวะ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/10/K8435679/K8435679.html


http://www.itti-patihan.com/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B0-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B3.html


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 12:05

ตอนเล็กๆ แม่เคยพูดถึง "ทับทิมมะละแหม่ง"    สมัยแม่ ไม่มีทับทิมสยาม   อะไรที่ขุดได้จากจันทบุรี   เรียกว่า "พลอยเมืองจันท์" หมด
ต่อมา อ่านพบว่า มะละแหม่ง คือเมืองเมาะลำเลิง    แต่ความรู้ก็จบอยู่แค่นี้เองค่ะ  ไม่รู้ว่าเมาะลำเลิงคือเมืองอะไร  เป็นเมืองที่มีเหมืองพลอย หรือเป็นตลาดค้าพลอย

ส่วนกระจกเกรียบ ดิฉันนึกว่าคนไทยทำเองได้เสียอีก  จึงมีกรมหุงกระจก ไว้ทำกระจกเกรียบติดโบสถ์วิหารทั้งหลาย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 18:04

ฝากไว้เป็นอีกข้อมูลนึง ไม่ได้ขัดคอนะครับ ขอเชิญคุณตั้งดำเนินเรื่องต่อไปเลย......

ก็เป็นข้อมูลที่ถูกต้องแล้วครับ แล้วก็คงจะผนวกไปด้วยการมีทับทิมสะสมอยู่มากด้วยเช่นกัน
 
เรื่องที่เขียนเล่ามานี้ ผมสรุปเนื้อความมาจากหนังสืองานศพดังที่ได้กล่าวไว้ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 18:28

พวกตาตาร์ คือ ชนกลุ่มน้อยทางเหนือของจีน ซึ่งเราเรียกว่า "ชาวมองโกล"
ชาวมองโกลในประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีคือ เจงกีสข่าน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หยวน และในโลกของกำลังภายในคือ ก๋วยเจ๋ง
ทหารมองโกลเคยมีประวัติว่ามีการบุกและทำศึกมาถึงพม่าเลยครับ

ขอบคุณมากครับ ความจำของผมเริ่มเสื่อมแล้ว
พอได้อ่านข้อความของคุณหนุ่มสยาม ก็ทำให้นึกออกในทันทีเลยว่าใช่ครับ

นำพาไปให้คิดถึงคำว่า Tatar steak ซึ่งคือสเต็กเนื้อแบบดิบจัด (Raw) ดิบยิ่งกว่าเนื้อย่างน้ำตกเสียอีก เคยลองกินอยู่ครั้งหนึ่ง รู้สึกตัวเองว่าจะเถื่อนไปหน่อยจึงกินเฉพาะ medium rare   ว่ากันว่าเป็นลักษณะเนื้อที่พวกมองโกลในสมัยรบพุ่งอยู่บนหลังม้าเขากินกัน เนื่องจากไม่มีเวลาพักทำอาหาร วิธีการคือเอาเนื้อใส่ไว้ระหว่างช่องในอานม้า ในระหว่างที่ขี่ม้าไปเนื้อก็จะถูกบดขยี้ด้วยน้ำหนักของตัวเรา เส้นใยเนื้อจะถูกบดขยี้จนแหลกและมีความร้อนระอุพอให้รู้สึกว่าสุก ก็เอามากินในระหว่างเดินทางเคลื่อนพล   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.346 วินาที กับ 20 คำสั่ง