เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 108390 ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 13 มี.ค. 12, 18:53

เห็นมรกตก้อนนี้แล้ว น่าเอามาหนุนแทนหมอน ถ้าคอไม่หักก็คงจะหลับแล้วฝันดีว่าเป็นเจ้าของมัน...อิอิ

มรกตที่ดีที่สุดอยู่ที่ประเทศไหนค่ะ  เคยเห็นมรกตรัสเซียสีสวย น้ำใส แต่มีรอยแตก(เหมือนมีหลามสั้นๆฝังอยู่)

ข้างใน สีเขียวกำลังดี  แต่ก็เคยเห็นที่สีเขียวเข้มเหมือนเขียวใบไม้ อันไหนเป็นที่นิยมกว่ากันค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 13 มี.ค. 12, 18:55

ขอแก้คำผิด...(เหมือนมีหนามสั้นๆฝังอยู่ข้างใน)

และที่เขาบอกว่ามรกตต้องมีผักชี ในเนื้อหินเป็นแบบไหนค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 13 มี.ค. 12, 19:31

เราคงไม่มีโอกาสจะครอบครองโคตรมรกตนี้ แต่อยากจะขยายความเพื่อเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆสำหรับท่านทั้งหลายที่ยังไม่ทราบ

ผมได้กล่าวถึงเรื่องการเคลือบด้วยน้ำมัน การกระทำเช่นนี้ได้ทำกับมรกตที่ซื้อขายกันเป็นปกติที่วางขายกันในร้านเพชรพลอย สังเกตใหมครับว่า พลอยบางชนิดที่เราเห็นๆกันมักจะมีผิวเหมือนถูกเปื้อนด้วยน้ำมัน
น้ำมันที่ว่านี้ คือ Refractive index oil เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้กันในการวิเคราะห์เพื่อตรวจดูแร่ที่เป็นเม็ดเล็กๆขนาดเม็ดทรายว่าเป็นแร่อะไร ผมจะไม่อธิบายขยายความให้เป็นเรื่องเบื่อหน่ายนะครับ สรุปง่ายๆ คือ แสง White light ที่เดินทางทะลุผ่านของตัวกลางที่โปร่งแสง (translucent) หรือโปร่งใส (transparent) แนวลำแสงจะถูกเบี่ยงเบนออกไม่เป็นเส้นตรง เหมือนเรายืนดูปลาในน้ำ ตำแหน่งของปลาที่แท้จริงในน้ำจะไม่อยู่ ณ.จุดที่เป็นเส้นตรงที่ลากจากแนวของสายตา หากเราสามารถแยกแสงที่หักเหออกไปได้ด้วยตาเปล่าเมื่อผ่าตัวกลางนั้นๆ เราจะพบว่าคลื่นแสงจะแยกตัวออกเป็นหลายๆสี เหมือน prism   รวบยอดไปอีกทีหนึ่ง คือ ในมุมย้อนกลับ เราก็สามารถผสมสารประกอบของเหลวที่มีคุณสมบัติในการหักเหของแสงให้เท่ากับเนื้อของสารในธรรมชาตินั้นๆได้

ในทางการค้า เขาจะใช้สารประกอบนี้ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำมันที่มีค่าความหักเหของแสงเท่ากับพลอยนั้นๆ เคลือบที่ผิว ซึ่งน้ำมันนั้นจะมีคุณสมบัติในการให้แสงผ่านเหมือนกับเนื้อรัตนชาตินั้นๆ โดยไม่แปรเปลี่ยนสีทีเราเห็นในธรรมชาติ แต่เนื่องจากเป็นของเหลว มันจึงสามารถแทรกไปอยู่ในร่องรอยแตกในเนื้อของรัตนชาติ ทำให้รัตนชาตินั้นๆดูเหมือนไม่มีร่องรอยแตกใดๆ

ดังนั้น เทคนิคอย่างหนึ่งในการทำให้รัตนชาติดูเหมือนไม่มีรอยแตกร้าวใดๆ ก็คือ การชะโลมด้วยน้ำมันที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมานี้ เมื่อดูในร้านก็ดูสวยดี งามไม่มีที่ติ เก็บไว้กว่าจะใช้ก็ดูเริ่มหมองด้วยมีฝุ่นละเอียดเกาะผิวหน้า เช็ดไปเช็ดมาก็เห็นเป็นคราบน้ำมัน ดูไม่ดีเลย ก็เลยเอาไปล้างน้ำ ล้างด้วยสบู่ ก็ยังไม่หมดจด คราวนี้ก็เลยเอาไปล้างในอ่างล้างแว่นตา Ultrasonic ผลที่ออกมา รัตนชาติเม็ดนั้นๆหายความงามไปเลย ก็เพราะด้วยนำ้มันที่ชะโลมอยู่นั้นถูกล้างออกไปหมด เห็นแต่รอยแตกเต็มไปหมด

สรุปครับ ว่า อย่าได้เอาแหวนหรือจี้มรกตไปล้างด้วย ultrasonic นะครับ ผลที่ได้ออกมา ขออนุญาตใช้คำว่า จะรู้สึกเซ็งเป็ดเลยทีเดียว    
  
      
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 13 มี.ค. 12, 20:04

เห็นมรกตก้อนนี้แล้ว น่าเอามาหนุนแทนหมอน ถ้าคอไม่หักก็คงจะหลับแล้วฝันดีว่าเป็นเจ้าของมัน...อิอิ
มรกตที่ดีที่สุดอยู่ที่ประเทศไหนค่ะ  เคยเห็นมรกตรัสเซียสีสวย น้ำใส แต่มีรอยแตก(เหมือนมีหลามสั้นๆฝังอยู่)
ข้างใน สีเขียวกำลังดี  แต่ก็เคยเห็นที่สีเขียวเข้มเหมือนเขียวใบไม้ อันไหนเป็นที่นิยมกว่ากันค่ะ

เรื่องของความสวยงามเป็นเรื่องนานาจิตตัง

สำหรับผม มรกตที่ผมคิดว่าสวยจนตามตื้อขอซื้อในครั้งหนึ่งนั้น ก็ที่ออสเตรเลีย
ตอนไปอบรม (ก่อนที่จะได้โอปอล์) เขาก็จัดให้มีเจ้าของเหมืองพลอยหลายเจ้า เอาของมาให้ดูเผื่อขายได้และอธิบายความรู้ต่างๆในทางวิชาการ (เนื่องจากเป็นการอบรมแบบครบเครื่องในเรื่อง Mineral exploration ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของการบริหารจัดการของภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคการปฏิบัติ เิริ่มตั้งแต่เรื่องของแสวงหา การลงทุน ไปจนกระทั่งการจำหน่ายค้่าขาย)
ผมได้เห็นมรกตบนแหวนของภรรยาเจ้าของเหมืองรายหนึ่ง เป็นรูปทรงผลึกยาวประมาณ 1 ซม.นิดๆ กว้างประมาณเกือบๆครึ่ง ซม. เจียรนัยแบบลบเหลี่ยมธรรมดา ไม่ได้เล่นแสงอะไรมากมาย แต่สีและความสมบูรณ์งามมาก ถามเขาว่าขายด้วยหรือไม่ เขาบอกว่าราคาสูง คงจะประมาณ 300 เหรียญ ผมคิดไปคิดมาว่าสู้ราคา จะเอาจริงๆ แต่ภรรยาเขาไม่ขาย บอกว่า เพราะเป็นมรกตของเหมืองของสามีและสามีเป็นคนเลือกแบบเจียรนัยและมอบให้ ยังจำได้ติดตาจนปัจจุบันนี้ครับ

เรื่องรายละเอียดและคำถามเกี่ยวกับมรกตนี้ ขอเว้นวรรคไปครั้งหน้านะครับ และก็คงจะเป็นการเล่าและตอบแบบไม่ใช่ผู้รู้จริงๆนะครับ     
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 13 มี.ค. 12, 20:47

มามรกต ก็ต้องจัดปั้นเหน่งมรกต ของหลวงมาให้ชมกัน  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 13 มี.ค. 12, 22:08

มามรกต ก็ต้องจัดปั้นเหน่งมรกต ของหลวงมาให้ชมกัน  ยิ้มเท่ห์

คงจะล้างสะอาดเกินไปนะครับ เลยเห็น crack ชัดเจนเต็มไปหมดเลย
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 14 มี.ค. 12, 10:47

น้ำมันที่เคลือบพลอยเหล่านี้ เป็นน้ำมันเฉพาะหรือเปล่าค่ะ

ชาวบ้านอย่างเราถ้ามีพลอยที่มีรอยเยอะๆ ควรใช้อะไรดีค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 14 มี.ค. 12, 13:51

ได้ภาพมรกตที่งามมากมาให้ชมกันค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 14 มี.ค. 12, 18:57

น้ำมันที่เคลือบพลอยเหล่านี้ เป็นน้ำมันเฉพาะหรือเปล่าค่ะ ชาวบ้านอย่างเราถ้ามีพลอยที่มีรอยเยอะๆ ควรใช้อะไรดีค่ะ

น้ำมันที่ใช้เคลือบเป็นน้ำมันเฉพาะครับ สำหรับมรกตนั้นจะใช้ Cedar oil หรือน้ำมันสังเคราะห์ ที่มีค่าดัชนีการหักเหของแสง (refractive indices) ใกล้เคียงมากที่สุดกับแร่ชนิดนี้
สำหรับรัตนชาติอื่นๆก็จะมีน้ำมันเฉพาะสำหรับตัวมัน ในทางการค้ามักจะไม่บอกกัน แต่ในทางวิชาการแล้วจะสั่งซื้อได้ หากเราทราบค่าดัชนีการหักเหของแสงของแร่รัตนชาตินั้นๆ เนื่องจากเป็นวัสดุทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ แต่ราคาค่อนข้างแพงและปริมาณบรรจุในแต่ละขวดก็มากเกินพอที่จะใช้ ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 14 มี.ค. 12, 19:05

น้ำมันที่เคลือบพลอยเหล่านี้ เป็นน้ำมันเฉพาะหรือเปล่าค่ะ ชาวบ้านอย่างเราถ้ามีพลอยที่มีรอยเยอะๆ ควรใช้อะไรดีค่ะ

น้ำมันที่ใช้เคลือบเป็นน้ำมันเฉพาะครับ สำหรับมรกตนั้นจะใช้ Cedar oil หรือน้ำมันสังเคราะห์ ที่มีค่าดัชนีการหักเหของแสง (refractive indices) ใกล้เคียงมากที่สุดกับแร่ชนิดนี้
สำหรับรัตนชาติอื่นๆก็จะมีน้ำมันเฉพาะสำหรับตัวมัน ในทางการค้ามักจะไม่บอกกัน แต่ในทางวิชาการแล้วจะสั่งซื้อได้ หากเราทราบค่าดัชนีการหักเหของแสงของแร่รัตนชาตินั้นๆ เนื่องจากเป็นวัสดุทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ แต่ราคาค่อนข้างแพงและปริมาณบรรจุในแต่ละขวดก็มากเกินพอที่จะใช้ ครับ

ใช้น้ำมันมะกอกได้ไหมครับ ใช้ชโลมอยู่ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 14 มี.ค. 12, 19:21

มรกต

มรกตเป็นแร่ในตระกูล Beryl มีทรงรูปผลึกหกเหลี่ยม แร่ Beryl นี้ มีได้หลายสี และมีได้ตั้งแต่ค่อนข้างจะทึบแสงไปจนโปร่งใส เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกทางรัตนชาติหลายชื่อ หากมีสีเขียวและค่อนข้างทึบแสงจะเรียกกันว่า emerald หากมีสีเขียวน้ำทะเลหรือฟ้าอ่อนค่อนข้างโปร่งใสจะเรียกกันว่า Aquamarine หากมีสีออกไปทางเหลืองทองจะเรียกกันว่า Heliodor หากมีสีชมพูจะเรียกว่า Morganite และหากมีสีเขียวอ่อนๆและโปร่งใสมากๆก็จะเรียกกันว่า Green beryl

เรื่องสีเขียวของมรกตนั้น เป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติว่าเขียวอย่างไร สีเขียวมรกตนั้นมีได้ตั้งแต่เขียวสดใส เขียวอมเหลือง และเขียวอมน้ำเงิน ไม่มีข้อจำกัดว่าสีใดเป็นสีมาตรฐานและสีใดมีคุณค่าและมีราคามากกว่ากัน ทั้งหมดขึ้นอยู่รสนิยมของผู้ซื้อและผู้ขาย ผมอาจจะเรียกว่า green beryl ซึ่งทำใ้ห้เห็นว่าราคาน่าจะต่ำ ในขณะที่อีกคนอาจจะเรียกว่ามรกตซึ่งทำให้เห็นว่ามีราคาสูง ที่สำคัญที่จะต้องพิจารณา คือ เมื่อเอาใส่เรือนโลหะ หรือเรือนที่มีรัตนชาติอื่นๆประกอบด้วยแล้ว ความงามและสีของมันจะต้องไม่ถูกเบียดบัง แต่จะต้องถูกขับออกมาใ้ห้เปล่งปลั่งเห็นชัดเด่นเป็นสง่า    

ที่ผมได้กล่าวมาแล้วว่า มรกตเป็นแร่ที่มีรอยแตก (crack) มากจึงต้องใช้น้ำมันช่วยในการปกปิด คำว่ารอยแตกนี้เป็นคำรวมๆที่ผมใช้เพียงเพื่ออยากจะให้เห็นภาพเท่านั้น ที่จริงแล้วร่องรอยเหล่านั้นเป็น inclusion และ fracture ทีมีอยู่เป็นปกติอยู่ในเนื้อของแร่ชนิดนี้ (ไม่อธิบายต่อนะครับ) อย่างไรก็ตาม ก็มีแบบทีีมีมากและมีน้อย พวกที่มีน้อยจึงมีราคาที่สูงมาก
นึกดูนะครับเมื่อเนื้อในไม่แน่น การเจียรนัยก็จึงยากเพราะจะแตกง่าย จึงทำให้เรามักจะเห็นมรกตที่เม็ดที่ไม่ใหญ่โตนักในร้านค้า และอีกประการหนึ่ง เนื่องจากมันมี inclusion มาก เนื้อมันจึงไม่แน่น เมื่อวัดกันด้วยน้ำหนักเป็นกะรัต มรกตจึงมีเม็ดค่อนข้างจะใหญ่กว่าพลอยอื่นๆ
มรกตเม็ดที่เมื่อมองด้วยตาเปล่าแล้วเห็นว่าเนื้อใสดี แสดงว่ามี inclusion น้อย จึงจัดได้ว่าเป็นมรกตคุณภาพดี จึงมีราคาสูงมาก  

ว่ากันง่ายๆอย่างนี้ดีกว่า หากพอใจที่จะเรียกพลอยสีเขียวๆนั้นว่ามรกตก็เรียกว่ามรกต ตราบใดที่มันเป็นแร่ Beryl และตราบใดที่มันไม่ใช่แร่สีเขียวอื่นๆ
ที่จะต้องให้ความระวังค่อนข้างจะมากสำหรับมรกต คือ มันค่อนข้างจะเปราะ ต้องระวังอย่าให้ตกหรือกระทบกับของแข็งต่างๆ นะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 14 มี.ค. 12, 19:37

อ้างจาก: siamese link=topic=5014.msg102162#msg102162 date=1331726700
ใช้น้ำมันมะกอกได้ไหมครับ ใช้ชโลมอยู่ ยิงฟันยิ้ม
[/quote

ตรวจสอบข้อมูลแล้ว น้ำมันมะกอกมีค่าดัชนีต่ำกว่าแร่เบอริลมาก คือ น้ำมันมะกอก 1.4+ ในขณะที่แร่เบอริล 1.5+ หากจะใ้ห้งามเปล่งปลั่งคงจะใช้แทนกันไม่ได้ แต่หากเพียงเพื่อกลบร่องรอยก็คงพอใหว
 
กำลังทำอยู่เห็นผลเป็นอย่างไรบ้างครับ

ที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้เป็นเพียงหลักทางวิชาการ ในทางการค้าแล้ว ผมคิดว่าเขาอาจจะใช้น้ำมันที่มีค่าดัชนีมากกว่าหรือน้อยกว่าเพื่อ enhance (ภาษาไทยจะแปลว่าอย่างไรดีครับ?) การเปล่งสีสรรให้ได้ตามต้องการและเหมาะสมกับเม็ดพลอยนั้นๆ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 14 มี.ค. 12, 21:17

เคยมีเพื่อนที่เป็นเจ้าของร้านจิเวลรี่ เล่าให้ฟังว่า แม้เขาจะขายของพวกนี้
แต่เขาก็ไม่ใช่ผู้ชำนาญ ทางการดูพลอยมากนัก เขาเล่าว่าการตัดต่อหน้าพลอยทำได้แนบเนียนมาก
จนเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกหลอกหรือไม่

เห็นหน้าทับทิมหลังเบี้ยในรูปนี้บางเม็ด เหมือนมีกรอบสี่เหลี่ยม หรือ ห้าเหลี่ยมบนผิว
เป็นการตัดต่อผิวใช่หรือไม่คะ หรือเป็นผลึกพลอยตามธรรมชาติ


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 14 มี.ค. 12, 21:31

ก่อนจะผ่านเรื่องมรกตไป หัวแหวนสีเขียวเข้มแบบนี้ใช่มรกตไหมคะ
หรือเป็นเขียวส่อง และเป็นสีตามธรรมชาติหรือ เผาให้มีสีเข้มขึ้น

แล้วพลอยอีก 4-5 เม็ดนี้เป็นเขียวส่องที่ อยู่ในเกรดไหนค่ะ


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 14 มี.ค. 12, 21:35

พยายามจะส่งอีกภาพแต่เท่าไหร่ๆก็ส่งไม่ได้ ถ้างั้นถามแค่ภาพเดียวค่ะ (คือเขียวส่อง)ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง