เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 90 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 15:39
|
|
โอปอล์ เป็นพลอยประจำราศีตุลย์ เช่นเดียวกับทัวมาลีน เป็นพลอยสวยมาก แม้ไม่ได้ถูกจัดเข้ากลุ่มนพรัตน์ เนื้อพลอยเลื่อมพรรณรายหลากสี เข้าเรือนแล้วดูไม่จืดตา
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 91 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 15:43
|
|
ใครที่ไม่รู้จักโอปอล์ ถ้าพิมพ์คำนี้ลงในกูเกิ้ล คุณกู๊กเธอก็จะส่งโอปอล์ที่ไม่ใช่อัญมณีมาให้ดูกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
:D :D
|
ความคิดเห็นที่ 92 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 16:10
|
|
เรียนถามคุณตั้ง ว่า โอปอล์ ขุดได้ในไทยไหมคะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 93 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 16:21
|
|
พระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินแร่ เป็นเรื่องที่คงจะคุยกันได้อีกยาว เมื่อดิฉันไปเที่ยวเชียงรายหลายปีมาแล้ว ข้ามไปในเขตพม่า ตลาดชายแดนมีพระพุทธรูปองค์เล็กๆมาให้เช่ามากมาย เป็นพลอยสีเขียวสีแดง คงจะเป็นหินแร่อย่างใดอย่างหนึ่งที่คุณตั้งเล่ามา
พระแกะสลักด้วยหินเรียกกันว่า จุยเจีย ซึ่งมีด้วยกันหลายสี มีน้ำหนักตึงมือ และแกะด้วยแร่ควอซ์สีขาวใสบริสุทธิ์ที่เรียกว่า หินเพชรน้ำค้าง เป็นงานศิลปะทางล้านนา ล้านช้าง และส่งผลมายังลาวและอุบลราชธานี ต่างก็ให้ความเคารพในพระแกะสลักหินเหล่านี้ พระที่โดดเด่นที่สุดเมื่อคราวขุดโบราณสถานวัดต่าง ๆ ที่ถูกผลกระทบน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนภูมิพล ที่อำเภอฮอด จังหวัดตาก พบพระพุทธรูปและสิ่งของต่าง ๆ จากเจดีย์เก่ามากมาย เรียกว่า "พระหินสีกรุฮอด"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 94 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 16:31
|
|
อินทรเนตรช่วยมองหาพระพุทธรูปที่สลักด้วยหินสีให้ด้วย ได้มา 2 รูปค่ะ รูปซ้ายเป็นพระแกะจากหินสีแดง อย่างที่เคยเห็น รูปขวา ไม่ทราบว่าองค์พระเป็นหินควอทซ์หรืออะไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 95 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 16:49
|
|
อินทรเนตรช่วยมองหาพระพุทธรูปที่สลักด้วยหินสีให้ด้วย ได้มา 2 รูปค่ะ รูปซ้ายเป็นพระแกะจากหินสีแดง อย่างที่เคยเห็น รูปขวา ไม่ทราบว่าองค์พระเป็นหินควอทซ์หรืออะไร
พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย องค์งามบริสุทธิ์นี้ รัชกาลที่ ๒ ทรงได้มาจากแขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งเมื่อได้มามีการทวนตรวจสอบว่าทำจากแก้วเป่า หรือ หิน ซึ่งจุดชี้ขาดคือ หมอกสลัวในส่วนล่างเป็นตัวชี้ว่าแกะจากหินควอซ์ อย่างแน่นอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 96 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 17:10
|
|
จะบอกว่าไม่มีโอปอล์ในประเทศไทยก็ดูจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริง บางครั้งเราพบในหิน Pegmatite และในไม้กลายเป็นหิน (Petrified wood) แต่ไม่เป็นลักษณะดังที่เขาเอาทำเครื่องประดับกัน คือ มีเพียงสีขาวขุ่นๆมันแววและเหลือบแสง จะเรียกว่าไม่พบในเมืองไทยก็ได้ครับ
คนไทยและชาวเอเซียทั่วๆไปนิยมโอปอล์สีอ่อนๆ ต่างกับพวกฝรั่งที่ชอบโอปอล์สีเข้ม (ฺblack opal) ผมชอบพวกสีที่ออกสีสดใสจัดจ้านและกระเดียดไปทาง black opal เมื่อครั้งไปอบรมที่ออสเตรเลีย แหล่งโอปอล์ที่สำคัญแหล่งหนึ่งของโลก จะซื้อที่เขาตัดแล้วก็ไม่มีเงิน จึงไปค้นในลิ้นชักที่เขาขายเป็นก้อนๆ เป็นของที่ระลึก ราคาก้อนละเหรียญเดียว ไปถูกใจมากอยู่ก้อนหนึ่ง จะชำระเงิน คนขายก็บอกว่าก้อนนี้สวยมาก ถามว่าจะเอาไปทำอะไร ผมบอกว่าจะเอาไปตัดให้สวยที่เมืองไทย เขาบอกว่าตัดไม่ได้หรอกไม่มีเครื่องมือ ผมก็บอกว่าจะใช้เครื่องตัดหินที่ใช้ตัดหินแผ่นบางสำหรับส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เขาถามว่าเป็นนักธรณีเหรอ ก็บอกว่าใช่ เขาเลยบอกว่ามิน่าเล่าถึงได้เลือกก้อนนี้เพราะมีเนื้อหนาและต้องการจะให้เขาตัดให้ใหม จะเอาอย่างไร ผมบอกว่าทำเป็นสองชิ้น หากได้สามชิ้นก็จะดี เอามาให้ภรรยาทำตุ้มหูและแหวน ราคาค่าตัดอย่างเห็นใจกันก็ 70 เหรียญ ผมก็เลยตกลง ซื้อเหรียญเดียวค่าตัดเจ็ดสิบเหรียญ อีกสัปดาห์หนึ่งก็ไปรับของ ตัดได้เพียงสองชิ้น สวยมากจริงๆครับ ภรรยาผมเอามาทำเป็นตุ้มหูง่ายๆ คือ เกาะทอง ใส่เมื่อไรก็จะต้องมีคนแอบดู ขอชม สีเขียวครับ หายาก ไม่ค่อยจะได้เห็นกัน
ความรู้ที่ได้จากการสนทนา คือ เนื่องจากโอปอล์ค่อนข้างจะหายากและปริมาณการผลิตค่อนข้างจะจำกัด การเอามาตัดขัดเป็นหลังเต่าก็อาจจะไม่ได้ขนาดที่สวย แล้วก็แพงมาก ขายยาก เขาเลยเอามาตัดให้บางมากๆแล้วเอาพลาสติค (ในความหมายรวมๆถึงวัสดุสีขาวใสนะครับ) ปิดทับทำให้นูนเป็นหลังเต่า มันก็จะเปล่งแสงดูดีเหมือนดูผ่านแว่นขยาย ลักษณะนี้เรียกว่า Doublet แต่ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถตัดให้ได้แผ่นบางมากๆจนแทบจะมองทะลุได้ เขาจึงเอาวัสดุทึบแสงสีดำมาปะติดไว้ที่ก้นด้วย เรียกลักษณะนี้ว่า Triplet เมื่อจะซื้อหากันก็ระวังด้วยนะครับ คุณภาพของแต่ละผู้ผลิตอาจจะไม่เท่ากัน เช่นกระเทาะร่อนได้ เป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย ของดีๆก็มีขายแต่ราคาจะสูงหน่อย หากจะหาซื้อมาเป็นของฝากแบบแจกก็ดูซื้อที่เป็นแผงได้เลย เข้าใจว่ายังมีการทำในลักษณะนี้ขายอยู่เหมือนกัน
Black opal ราคาค่อนข้างจะสุงมากกว่าพวก white opal
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 97 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 17:14
|
|
อินทรเนตรช่วยมองหาพระพุทธรูปที่สลักด้วยหินสีให้ด้วย ได้มา 2 รูปค่ะ รูปซ้ายเป็นพระแกะจากหินสีแดง อย่างที่เคยเห็น รูปขวา ไม่ทราบว่าองค์พระเป็นหินควอทซ์หรืออะไร
พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย องค์งามบริสุทธิ์นี้ รัชกาลที่ ๒ ทรงได้มาจากแขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งเมื่อได้มามีการทวนตรวจสอบว่าทำจากแก้วเป่า หรือ หิน ซึ่งจุดชี้ขาดคือ หมอกสลัวในส่วนล่างเป็นตัวชี้ว่าแกะจากหินควอซ์ อย่างแน่นอน ขนาดหน้าตักกว้างเท่าไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 98 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 17:17
|
|
พระพุทธบุษยรัตนฯ ขนาดหน้าตักกว้าง ๗.๕ นิ้ว สูงเฉพาะองค์ ๑๒.๕ นิ้ว สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๒๐.๔ นิ้ว ค่ะ
อยากเห็นตุ้มหูโอปอล์ของภรรยาคุณตั้ง คราวหน้าถ้าพบกันอีก เห็นจะต้องขอให้เธอสวมมาให้ดูเป็นขวัญตา เพิ่งรู้ว่า black opal มีหลายสีในเนื้อ ไม่ใช่ดำอย่างเดียว
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 99 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 17:23
|
|
เคยอ่านพบว่า พระแก้วมรกตคู่บ้านคู่เมือง แกะสลักจากหยก ไม่ใช่มรกต เป็นหยกรัสเซีย อยากทราบว่าเป็นหินแร่ประเภทไหนคะ และพบได้ในประเทศไทยหรือไม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 100 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 20:03
|
|
ไปเรื่องของพระพุทธรัตนะฯ ขนาดหน้าตักกว้าง 7.5 นิ้ว สูงเฉพาะอวค์ 12.5 นิ้ว ก็คือขนาดประมาณเกือบๆ 20 ซม. คูณ 30 ซม. จากที่คุณหนุ่มสยามบอกว่าได้วินิจฉัยกันแล้วว่าเป็นหิน quartz
หากเป็น quartz ก็ต้องเป็น quartz ที่เป็นแท่งผลึก จึงจะใสได้ขนาดนั้น ซึ่งหมายความว่าก้อนผลึก quartz นี้จะต้องเป็นแท่งหกเหลี่ยมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 20 ซม. และเป็นแท่งยาวไม่น้อยกว่า 30 ซม. หรือมีปริมาตรเท่ากับประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 27 กก. (ความถ่วงจำเพาะของแร่ quartz ประมาณ 2.7) ผมไม่ทราบว่าท่านมีฐานแหลมเป็นทรงลิ่มหรือไม่ พิจารณาดูจากทรงฐานที่รองรับท่านอยู่ ก็คิดว่าน่าจะต้องมี ซึ่งดูจะเป็นลักษณะของเหมือนพระแก้วมรกต หากมีก็คงจะลงไปอีกประมาณไม่น้อยกว่า 10 ซม. ทำให้น้ำหนักของแท่งผลึก quartz ที่นำมาแกะพระนี้รวมๆกันคงจะประมาณ 30 กก. ตัวท่านที่เป็นรูปองค์พระแล้วก็คงน่าจะมีน้ำหนักระหว่าง 10 -15 กก. แต่หากองค์พระทำมาจากแร่ fluorite น้ำหนักของท่านก็น่าจะประมาณ 20 กก. (ความถ่วงจำเพาะของแร่ fluorite ประมาณ 3.1)
มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่สองประการ คือ
ประการแรก แท่งผลึก quartz ขนาดนี้ ไม่น่าเกิดขึ้นในสภาพทางธรณีวิทยาแถบรอบๆบ้านเรา (เป็นไปได้ที่จะพบในจีน) เนื่องจากว่าผลึกขนาดใหญ่ของแร่นี้จะเกิดได้ในโพรงที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวมันหลายเท่ามากๆ และไม่น่าจะเกิดอยู่เพียงผลึกเดียว ซึ่งหากมีหลายผลึกขนาดใกล้เคียงกับผลึกนี้ เราก็น่าจะได้พบพระพุทธรูปที่แกะมาจากแร่ quartz องค์ขนาดใกล้ๆกันอีกมากมาย ซึ่งผมไม่ทราบว่าได้พบว่ามีอยู่หรือไม่ แท้จริงแล้ว เพิ่งจะมีการค้นพบโพรงขนาดใหญ่ที่มีผลึกของแร่ quartz ขนาดใหญ่ๆประมาณขนาดนี้ โพรงนี้ใหญ่มากพอที่คนจะเดินเข้าไปสำรวจได้ แต่จะเดินยากเหมือนกับต้องเดินในป่าที่มีแต่ต้นไม้ล้ม ผมจำไม่ได้ว่าพบที่ประเทศใด คิดว่าน่าจะเป็นในแถบทวีปอเมริกาใต้ (ผมไม่ใช้คำว่าถ้ำเพื่อเลี่ยงไม่ให้ไปซ้ำกับคำว่าถ้ำ (cave) ซึ่งเกิดในหินปูน แต่ใช้คำว่าโพรงเนื่องจากมันเป็น Geode ขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งพบอยู่ในภูเขาหินพวก Granitic rock) ประการที่สอง แร่ quartz นี้มีความแข็งประมาณ 7 ซึ่งหมายความว่า เครื่องมือโลหะหรือโลหะผสมซึ่งมีความแข็งประมาณ 5-6 ไม่สามารถที่จะใช้ในการสกัดแต่งให้เรียบสวยงามได้ สามารถจะทำได้เพียงค่อยๆกระเทาะออกไปเป็นชิ้นเล็กทีละน้อย ช่างจะต้องมีฝีมือมากทีเดียว จะเทียบได้กับการแกะสลักหินก็ไม่ได้นัก เพราะผลึก quartz จะเปราะและแตกร้าวได้ง่ายกว่าเนื้อหินซึ่งเหนียวกว่า เอาเป็นว่าขึ้นรูปร่างได้แล้ว จากนั้นก็ต้องขัดให้ราบเรียบ ตัวผงขัดก็จะต้องมีความแข็งกว่า quartz จึงจะขัดได้ง่าย ผงขัดในสมัยนั้นก็คงไม่หนีทราย ช่างจะต้องมีความรู้มากพอที่จะต้องเลือกแหล่งทรายที่มีแร่ที่มีความแข็งกว่าปนอยู่ด้วยในปริมาณมากพอสมควร (เช่น มี topaz และ zircon ผสมอยู่มาก) แหล่งทรายประเภทนี้พบได้ในบริเวณที่มีแร่ดีบุก ซึ่งสถานที่ที่พบพระพุทธรูปองค์นี้ก็อยู่ในแถบนั้น ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้จะต้องคงเหลือถ่ายทอดให้ได้พบเห็นในรูปลักษระอื่นๆกันบ้าง
เล่ามาก็เพื่อจะบอกว่ายังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมากมาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 101 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 20:19
|
|
มีรูปใหญ่มาให้ดู พร้อมกับคำอธิบายเพิ่มว่า
พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย เป็นพระพุทธรูปทำด้วยแก้วผลึกอย่างที่ช่างเรียกว่า “เพชรน้ำค้าง” หรือ “บุษย์น้ำขาวเนื้อแก้วสนิท” และเป็นแท่งขนาดใหญ่ พระพุทธรูปประทับนั่งแบบวีราสนะ แสดงธยานะมุทราโดยพระหัตถ์ขวาซ้อนเหนือกรพหัตถ์ซ้ายบนพระเพลา มีพระพักตร์เป็นรูปวงรี พระนลาฎค่อนข้างแคบ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว มีพระหนุเป็นปมกับทั้งมีอุณาโลมที่กึ่งกลางพระนลาฏ พระกรรณยาว หากพระกรรณข้างขวาแตกชำรุดเล็กน้อย พระเศียรประดับด้วยพระเกตุทองคำประกอบด้วยเม็ดพระศกขนาดเล็ก โดยมีเกตุมาลาและรัศมีรูปเปลวไฟแหลมประดับด้วยอัญมณีอยู่เบื้องบน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 102 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 21:25
|
|
^ จากตำนานการได้มาแห่งพระองค์นี้ เบื้องต้นกล่าวว่า "ชาวบ้านแขวงนครจำปาศักดิ์ ได้รูปสลักรูปมนุษย์แล้วนำมาให้ลูกเล่น ลูกนั้นก็สำคัญว่าเป็นรูปมนุษย์น้อย จึงใช้เชือกผูกลากวิ่งเล่นจนหูลิหักไป จนเมื่อเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ทราบจึงได้นำเข้าเมืองจำปาศักดิ์และเห็นว่าเป็นพระพุทธรูปงดงาม เกินกว่าเมืองจำปาศักดิ์ครอบครองได้ จึงได้ถวายแก่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ"
ซูมภาพลักษณะเนื้อหินบริเวณองค์พระครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 103 เมื่อ 13 มี.ค. 12, 17:14
|
|
มรกตก้อนนี้ชื่อ Teodora (ของขวัญจากพระเจ้า) หนัก57500กะรัต หรือ11.5 กิโลกรัม ขุดได้จากบราซิลและนำไปเจียระไนที่อินเดีย เจ้าของร่วมคนหนึ่งชื่อReagan Reaney ได้นำมาประมูลในบริติชโคลัมเบีย คานาดา โดยมีกำหนดในวันที่26มกราคม2012 ที่ผ่านมานี้เอง แต่ปรากฏว่าการประมูลถูกยกเลิกไปก่อนเพียงหนึ่งวัน เพราะเจ้าของมีธุระต้องไปติดตะรางเสียก่อนด้วยข้อหาเยอะแยะที่ไม่เกี่ยวกับมรกตยักษ์ก้อนนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 104 เมื่อ 13 มี.ค. 12, 18:23
|
|
ภาพที่คุณนวรัตน์นำมาให้ดูนี้ คงจะต้องจัดเป็นโคตรมรกตเลยทีเดียวนะครับ
ขอให้สังเกตดูนะครับว่า ผิวของมันดูจะด้านๆ ไม่มันแวววาว และก็ไม่เล่นกับแสงให้ระยิบระยับเหมือนกับก้อนเล็กๆที่เอามาทำแหวน
ข้อเท็จจริงประการแรก คือ มรกตที่มีเนื้อใสดังแก้วนั้นหายาก ส่วนมากจะมีรอยแตกเป็นเส้นเข็มเล็กๆเต็มไปหมด ดังนั้น มรกตที่ขายอยู่ตามร้านเพชรพลอยต่างๆจึงมีการเคลือบผิวด้วยน้ำมัน ซึ่งจะกลบเกลื่อนรอยแตกแล้วทำให้มันดูเป็นเนื้อแก้วสะอาดสดใส สำหรับโคตรมรกตก้อนนี้นั้นยังไม่มีการเคลือบน้ำมัน ซึ่งจะทำท่านทั้งหลายได้เห็นเนื้อแท้ๆของมันว่าเป็นอย่างไร ประการที่สอง จำนวนผิวหน้าและมุมเหลี่ยม (facet) และรูปทรง (การเจียรนัยในองค์รวม) สำหรับก้อนแร่รัตนชาติที่มีขนาดต่างกัน (มีความเล็กใหญ่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ หรือใหญ่ผิดปกติ) จะต้องมีการวิเคราะห์ก่อนการดำเนินการ จะต้องตัดสินใจว่าลักษณะใดจึงจะเหมาะสมที่สุดที่จะสามารถทำให้มีการดึงเอาความงามและความมีค่าออกมาได้มากที่สุด การขยายรูปแบบการเจียรนัย (รูปทรง มุมเหลี่ยม ผิวหน้า) จากตามปกติที่ทำกันอาจจะไม่ใช่ข้อสรุปที่ดี สำหรับโคตรมรกตก้อนนี้ ผมเห็นว่าเป็นเพียงการเจียรนัยในเบื้องต้น เพียงเพื่อจะแสดงว่ามันเป็นรัตนชาติ ผู้ที่จะประมูลไปก็อาจเป็นเพียงเพื่อการเก็บไว้เป็นของสะสมที่มีอยู่หนึ่งเดียวในโลก หรืออาจจะถูกนำไปปรับแต่งเจียรนัยใหม่ให้เป็นที่สวยมากที่สุด เพื่อเป็นการแสดงฝีมือชั้นบรมครูของผู้อยู่ในธุรกิจนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|