เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 108403 ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 15:08

อาเกต (agate)


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 15:56

Jasper =  โมรา ?

ใช่ครับ โมรา แต่ที่เห็นนิยมกันมักจะเป็นสีน้ำตาลแดงเนื้อเป็นแก้วขุ่นๆ (ดังรูปในความเห็นที่ 60) ซึ่งคล้ายๆกับสีของหยกหายากที่คนจีนชอบกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 16:15

มีอยู่ยุคหนึ่ง นานมาแล้ว  โป่งข่ามเกิดฮิทขึ้นมาในตลาดอัญมณี   ผู้หญิงมักจะมีแหวนโป่งข่ามกันอย่างน้อยคนละวงสองวง   เพราะตอนนั้นมีเสียงโฆษณาเล่าลือถึงความวิเศษของโป่งข่าม   สวมใส่แล้วจะมีโชคลาภ คุ้มกันอันตราย มีเงินทอง มีเสน่ห์ ฯลฯ แล้วแต่จะพูดกันไป  ว่ากันว่าโป่งข่ามสวยๆราคาเม็ดละเป็นหมื่น ในยุคที่เงินเดือนข้าราชการเริ่มด้วยพันต้นๆ
โป่งข่ามมีชื่อไพเราะมาก สีสันก็หลากหลาย   โดยมากเป็นสีขาวโปร่งแสง  มีลายอยู่ข้างใน  นอกจากนี้ก็มีสีอ่อนๆ อย่างชมพูและม่วง  ยังจำได้ว่ามีชื่อหนึ่งคือ "แก้วมุงเมือง"
ตัวเองไม่ได้สนใจของพวกนี้  ก็เลยไม่เคยมีโป่งข่ามกะเขาเลยสักเม็ด     ได้แต่ไปหารูปมาจากกูเกิ้ลมาทบทวนความหลัง เมื่อคุณตั้งเล่าถึงเรื่องนี้ขึ้นมา

ใช่ครับ โป่งข่ามนั้นนิยมกันเมื่อยุคประมาณ พ.ศ.2510++ แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่ อ.เถิน มีการเจียรนัยอยู่ทรงเดียว คือแบบหลังเต่า มีอยู่หลายขนาด ไม่ซื้อขายกันด้วยน้ำหนักเป็นกะรัต (สะกด carat หากใช้กับทองคำจะสะกด karat) ขนาดเล็กใหญ่ก็ไม่ใช่ตัวกำหนดราคา ราคาไปอยู่ที่ลวดลายที่แทรกอยู่ในเนื้อ เป็นทรงเข็มบ้าง เป็นทรงหญ้ามอสบ้าง เป็นจุดๆบ้าง คือไปเล่นกันที่ความแปลก สีและความสวยงามของ impurities ที่อยู่ในเนื้อ ราคาก็มีตั้งแต่หลักสิบไปจนหลักหมื่นตามที่คุณเทาชมพูกล่าวไว้ ส่วนมากจะเป็นหลักร้อย แถวๆห้าร้อยบาท
สำหรับการตั้งชื่อนั้นมีมากมาย ผมจำไม่ได้แล้ว นอกจากจะซื้อหาเก็บกันแล้วก็ยังมีการเอาไปทำการปลุกเสกอีกด้วย ทำให้มีค่าและราคาเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตังเลยทีเดียว
ที่จริงแล้ว แร่ quartz ใสๆนี้พบอยู่ทั่วประเทศไทยในพื้นที่ๆเป็นเขาหิน จะพบค่อนข้างน้อยมากก็ในอีสาน ผมคิดว่าแหล่งผลิตและความโด่งดังนี้เกิดจากคนในพื้นที่เอง ในสมัยโบราณนั้น คนทางภาคเหนือนิยมแกะสลักพระจากแร่ Quartz       

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 16:23

พระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินแร่ เป็นเรื่องที่คงจะคุยกันได้อีกยาว     เมื่อดิฉันไปเที่ยวเชียงรายหลายปีมาแล้ว ข้ามไปในเขตพม่า  ตลาดชายแดนมีพระพุทธรูปองค์เล็กๆมาให้เช่ามากมาย   เป็นพลอยสีเขียวสีแดง  คงจะเป็นหินแร่อย่างใดอย่างหนึ่งที่คุณตั้งเล่ามา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 16:40

ตะกี้นี้กดผิด ขอส่งข้อความที่ได้เขียนครบถ้วยดังนี้

ใช่ครับ โป่งข่ามนั้นนิยมกันเมื่อยุคประมาณ พ.ศ.2510++ แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่ อ.เถิน มีการเจียรนัยอยู่ทรงเดียว คือแบบหลังเต่า มีอยู่หลายขนาด ไม่ซื้อขายกันด้วยน้ำหนักเป็นกะรัต (สะกด carat หากใช้กับทองคำจะสะกด karat) ขนาดเล็กใหญ่ก็ไม่ใช่ตัวกำหนดราคา ราคาไปอยู่ที่ลวดลายที่แทรกอยู่ในเนื้อ เป็นทรงเข็มบ้าง เป็นทรงหญ้ามอสบ้าง เป็นจุดๆบ้าง คือไปเล่นกันที่ความแปลก สีและความสวยงามของ inclusion และ impurities ที่อยู่ในเนื้อ ราคาก็มีตั้งแต่หลักสิบไปจนหลักหมื่นตามที่คุณเทาชมพูกล่าวไว้ ส่วนมากจะเป็นหลักร้อย แถวๆห้าร้อยบาท
สำหรับการตั้งชื่อนั้นมีมากมาย ผมจำไม่ได้แล้ว นอกจากจะซื้อหาเก็บกันแล้วก็ยังมีการเอาไปทำการปลุกเสกอีกด้วย ทำให้มีค่าและราคาเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตังเลยทีเดียว
 
ที่จริงแล้ว แร่ quartz ใสๆนี้พบอยู่ทั่วประเทศไทยในพื้นที่ๆเป็นเขาหิน จะพบค่อนข้างน้อยมากก็ในอีสาน ผมคิดว่าแหล่งผลิตและความโด่งดังนี้เกิดจากคนในพื้นที่เอง ในสมัยโบราณนั้น คนทางภาคเหนือนิยมแกะสลักพระจากแร่ Quartz และแร่ Fluorite (ชาวบ้านก็เรียกแร่นี้ว่าหินสีเหมือนกัน) ในกรุพระเก่าๆ เช่น ที่เรียกกันว่า กรุฮอด นั้นก็มีพระทำจากแร่เหล่านี้ ส่วนมากจะเป็นพระพุทธรูป มีสีชมพูบ้าง สีม่วงบ้าง สีเขียวบ้าง แหล่งแร่ Fluorite ที่สำคัญก็พบอยู่นย่านนี้ แร่ชนิดนี้พบสะสมอยู่เป็นกระเปาะๆก็มี เป็นสายแร่ขนาดต่างๆตั้งแต่ขนาดเท่านิ้วมือไปจนถึงขนาดกว้างเป็นหลายเมตร เท่าที่ทราบ ในกรุของเชียงแสนก็มีพระแก้วเหล่านี้ จะเป็นองค์เล็กๆและเป็นแร่ Quartz บรรจุไว้ไม่กี่องคตามเจดีย์ต่างๆ ที่เล่ามาก็เพียงเพื่อจะบอกว่าคนในย่านนี้มีความสัมพันธ์และความเชื่อเกี่ยวกับแก้วและหินสี ดังนั้น เรื่องของอภินิหาร ปาฎิหาร เมื่อได้ใช้แก้วแหวนที่มีรูปทรงของ inclusion แปลกๆที่สามารถจะบรรยายได้เป็นเป็นเรื่องเป็นราว จึงมีปรากฏอยู่มากมาย คนต่างถิ่นก็พลอยเชื่อ จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในยุคนั้น และมีราคาสูงมากขึ้นเรื่องๆ
       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 18:16

ได้เล่าเรื่องของกำเนิดแร่อย่างรวบรัดไปบางส่วนแล้ว โดยสรุป_แร่เกือบทั้งหมดเกิดจากการตกผลึก จะเกิดเป็นก้อนใหญ่หรือเล็กก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมต่างๆ แร่เป็นสารประกอบทางเคมี ดังนั้นในสภาพบางอย่างที่เปลี่ยนไป ก็อาจจะมีการแทนที่กันระหว่างธาตุบางธาตุ นอกจากนั้นแล้วในผลึกของแร่ต่างๆมักจะไม่มีความบริสุทธิ์ มักจะมีธาตุอื่นๆเจือปนอยู่ด้วย จึงทำให้มักจะมีสีที่แปลกแหวกแนวไปจากสีตามปกติ 

เมื่อเป็นผลึก ก็ต้องมีวิชาการเกี่ยวกับผลึก (Crystallography) วิชานี้เรียนยาก เป็น abstract แต่ก็เรียนเพราะใช้ในการใช้วิเคราะห์แร่
ในรูปทรงสามมิติต่างๆนั้นมีอยู่สามแกน ในวิชาเรขาคณิตนั้นเราแกน x, y, z แต่ในทางแร่นั้น เราใช้แกน a, b, c แกน a เป็นแกนตั้ง แกน b และ c นั้นอยู่ในแนวนอน ปรากฎว่า ผลึกทั้งหลายในโลกนี้ เกิดอยู่ในระบบแกนทั้งหมดเพียง 7 ระบบ คือ 1). ในกลุ่มระบบที่แกนทั้งหมดตั้งฉากกัน ซึ่งประกอบไปด้วย ทั้งสามแกนยาวเท่ากัน (Isometric) สองแกนยาวเท่ากัน (a,b) แต่อีกแกนหนึ่ง (c) สั้นหรือยาวกว่า (Tetragonal) และทั้งสามแกนยาวไม่เท่ากัน (Orthorhombic)   2). ในกลุ่มที่แกนสองแกน (a,b) ยาวเท่ากัน ทั้งสองแกนนี้ทำมุมตั้งฉากกับแกนตั้ง (c) ซึ่งอาจจะยาวกว่าหนือสั้นกว่าก็ได้ แต่ แกน a และ b ทำมุมระหว่างกัน 120 องศา (Rhombohedral) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 18:35

หรือ 60 อาศา (Hexagonal)   3). ในกลุ่มที่เอียงๆ คือ แกนตั้งไม่ตั้งฉากกับแกนนอน (monoclinic) และ ทั้งสามแกน สามมุมไม่เท่ากันเลย (Triclinic)
แกนผลึกเหล่านี้ทำให้เกิดรูปผลึกได้นับเป็นร้อยๆรูปร่าง

ที่สำคัญก็คือ ทรงผลึกเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นของเฉพาะตัวของแร่แต่ละชนิด เช่น เพชร มีทรงผลึกอยู่ในระบบ Isometric เป็นรูปปิรามิดคว่ำหงายฐานชนกัน รูปทรงเป็นแบบ Octahedral และ พลอยในตระกูล corundum อยู่ในระบบ Hexagonal (เช่น รูปทรงเป็นแบบ prismatic shape เป็นต้น)

ยุ่งยากนะครับ แต่ไม่ต้องไปจดจำหรือต้องรู้อะไรมากนัก ที่เล่ามาก็เพื่อจะต่อไปถึงแสงที่ผ่านตัวมัน
แสงอาทิตย์ที่เราเห็นและสัมผัสด้วยตาอยู่ทุกวันนั้น เป็นแสงที่เราเรียกว่า     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 19:35

เครื่องคอมของผมมันรวนยังไงพิลึก ยังไม่จบมันรีบส่งเลย ต่อนะครับ

เราเรียกว่าแสง white light ซึ่งช่วงเวลาที่แสงทั้ง spectrum มีครบสมบูรณ์นั้น (ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง) เชื่อกันว่าอยู่ที่เวลาประมาณ 10 โมงเช้า หากเช้ากว่านี้หรือบ่ายกว่านี้ไปจนช่วงเย็น spectrum ของแสงบางช่วง (สี) ก็จะจางไปไม่สมบูรณ์
แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างหนึ่ง ช่วงคลื่นที่เราเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็มีอยู่ในช่วงหนึ่งซึ่งเราเห็นเป็นแสงสีขาว คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เมื่อไปกระทบกับอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมของธาตุต่างๆ หรือของสารประกอบบางอย่าง ก็อาจจะถูกกลืน (absorb) หรือถูกสะท้อน (reflex) หรือไปเตะให้อิเล็กตรอนของธาตุวิ่งชนกัน ทำให้เกิกประกายสีขึ้นมา (fluorescence)
แสงที่วิ่งผ่านตัวกลางที่เป็นเนื้อแร่ก็จะเป็นเช่นนี้ แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ แสงที่หลุดออกมาให้เห็นตามแกนต่างๆที่เล่ามานั้น บางช่วงแสงจะถูกกลืนไป บางช่วงแสงจะเสียเวลาเดินทางผ่านเนื้อแร่ตามความยาวของแกนที่ไม่เท่ากัน และทิศทางการแกว่งตัวของคลื่น (แนวนนอน แนวตั้ง) ก็เปลี่ยนไป เราจึงใช้ polarized lens เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการตรวจสอบแร่ว่าเป็นชนิดใดภายใต้กล้องจุลทรรศน์

พอแล้วนะครับสำหรับความน่าเบื่อ ไปดูผลจากความรู้อันนี้กันนะครับ

ที่เล่ามานี้ก็เพื่อจะพยายามอธิบายในหลายๆเรื่องที่น่าสนใจ (แทรกเป็นระยะๆจะได้ไม่เบื่อครับ)
เรื่องหนึ่งนั้น คือ พลอยในตระกูล corundum ที่เราเรียกว่า Sapphire นั้น หากเป็นของธรรมชาติแท้ๆ (Genuine stone) นั้น เรามักจะต้องเห็นสีที่ด้านบนหน้าพลอย (pavilion) เป็นสีหนึ่ง และด้านข้างบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างส่วนที่เป็น crown กับ pavilion เป็นอีกสีหนึ่ง กรณีพลอยสีน้ำเงินนั้นด้านบนมักจะเป็นสีน้ำเงินแต่ด้านข้างจะออกสีไปทางสีตองอ่อน ซึ่งหากไปกับคนที่ใส่แว่น polarized lens ก็คงจะต้องเห็นสีของพลอยต่างกันแน่ๆและบรรยายสีต่างกัน
สำหรับเพชรนั้น เนื่องจากแร่เป็นผลึกอยู่ในตระกูล Isometric (ในกรณีที่ยังไม่เจียรนัย) เมื่อดูจากแสงที่ผ่าน polarized lens จะเห็นดำมืดเลย    ผมไม่เคยทดลองด้วยตัวเอง แต่เชื่อว่าคนที่ใส่แว่นตา polarized lens นั้น จะเห็นสีแสงประกายของเพชรพลอยต่างไปจากสายตาปกติ
แว่นขยาย (hand lens) ชั้นดีขนาดขยาย 10 เท่า ที่นักค้าเพชรพลอยใช้จึงมีราคาสูงมาก ก็เพราะเรื่องของแสงสีนี้แหละครับ   
   
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 20:22

รูปร่างของผลึกเพชร 8 เหลี่ยมและ 12 เหลี่ยม เป็นโครงสร้างของอะตอมคาร์บอน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 20:40

กระทู้นี้ทำท่าจะวูบวาบพรรณราย  นำขบวนโดยคุณหนุ่มสยาม
เอาเพชรมาสมทบค่ะ
ซ้าย เพชรดิบ 
ขวา  เพชรเจียระไนแล้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 20:41

ถามคุณกู๊กเมื่อเจอรูปซ้ายว่าเป็นอะไร  เขาตอบกลับมาว่าเป็นเพชรสีเขียวที่ยังไม่ได้เจียระไน   เป็นสีที่หายากมากที่สุด
ส่วนรูปขวาเป็นเพชรเขียวเจียระไนแล้ว  ชื่อ Dresden green diamond


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 21:01

คนเรานี่แปลกเนาะ บางอย่างก็ชอบของที่บริสุทธิ์ บางอย่างก็ชอบของที่มีราคี
เพชรบริสุทธิ์จริงๆมีสีขาวใส แต่หากเนื้อในมีธาตุอื่นทำให้เกิดสีผิดไป กลับกลายเป็นของที่มีค่ายิ่ง
ด้วยเหตุนี้ ซื้อเพชรพลอยก็ต้องระวัง ที่จุดยอดแหลมของ pavilion แต้มสีไปสักหน่อยก็จะได้สีสรรออกมาแพรวพรายเหมือนกัน

เอาไว้ค่อยๆเล่าไปนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 21:52

รูปข้างล่างนี้ คุณกู๊กยืนยันว่าเป็นเพชรสีธรรมชาติ ไม่ใช่ใส่สารเคมีเข้าไป     ว่ากันว่าขุดหาเพชรไม่มีสี 1000 เม็ด จึงจะเจอเพชรสีเข้าสักเม็ด   ทำให้ราคามันสูงลิบลิ่ว
ของมีราคีเลยกลับตาลปัตร แพงกว่าของบริสุทธิ์ เพราะหายากกว่านี่ละค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 22:53

เพชรสีดำค่ะ.... ยิงฟันยิ้ม
ดูเหมือน นิล เลยนะคะ



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 11 มี.ค. 12, 09:36

หารูปประกอบเรื่อง
        
อ้างถึง
ผลึกทั้งหลายในโลกนี้ เกิดอยู่ในระบบแกนทั้งหมดเพียง 7 ระบบ

รูปมีขนาดใหญ่ (ถ้าย่อลงเล็กไปอาจเห็นไม่ชัด) ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง