เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 108404 ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 13:02

อากู๋ ...เล่าไว้ว่า... ยิงฟันยิ้ม
รัตนชาติ หมายถึง แร่หรือหินมีค่า หรือกึ่งมีค่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
มีส่วนน้อยที่เกิดจากสารอินทรีย์ เช่นไข่มุก อำพัน ปะการัง ฯลฯ

จะขอเริ่มต้นด้วยการขอความกระจ่างสักหน่อยว่า อัญมณี และรัตนชาติ หมายความว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

รอยอินท่านให้ความกระจ่างไว้ดังนี้

รัตนชาติ น. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงามคงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.

ว่ากันตามคำนิยามของท่านรอยอิน

ไข่มุกและอำพันไม่จัดเป็น "รัตนชาติ"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 13:32

มุกตา  หนึ่งในนพรัตน์  หมายถึงไข่มุก ไม่ใช่พลอยสีขาวที่เราเรียกว่ามุกดา

มุกดา (มุกตา) - คือแก้วชนิดหนึ่งที่เราเรียกกันในกาลปัตยุบันนี้ว่า "ไข่มุก"    ตามความเข้าใจกันโดยมากนั้น  มักว่าแก้วมุกดา  คือพลอยสีขาวๆชนิดหนึ่ง    ซึ่งเป็นพลอยอย่างเลว   ที่พลอยชนิดนี้เกิดมาเป็นมุกดาขึ้นนั้น  เป็นเพราะแก้วมุกดาแท้หรือไข่มุกนั้นหายาก    ในเมืองไทยเราแต่ก่อนๆ จะไม่ใคร่เคยเห็น     ครั้นเมื่อจะทำแหวนนพเก้า ก็ปรึกษาหารือครูบาอาจารย์  มีมุกดาอยู่ในพวกนพรัตน์อันหนึ่ง     อาจารย์คงบอกว่า "เป็นแก้วสีขาวซึ่งงมมาจากในมหาสมุทร"  ก็คงร้องกันว่า " แก้วอะไรจะอยู่ในมหาสมุทร  ช่างเถอะ" ดังนี้   แล้วก็เลยมองหาพลอยอะไรที่มีสีขาวมาได้    และพูดว่า  "นี่เองแหละนะ  แก้วมุกดา   ตาอาจารย์แกพูดวิจิตรพิสดารไปกระนั้นเอง    ว่างมแง็มอะไรจากท้องทะเล    มันก็บนบกนี้แหละ"  ทั้งถึงแม้ว่าจะไปงมเอาไข่มุกมาให้   ก็ทีจะไม่ใคร่ชอบด้วยซ้ำ    เพราะเห็นไม่เป็นแก้วเป็นพลอย   ไม่แวมๆวาวๆ   ไม่เป็นลูกปัด   ที่ไหนจะชอบ
จาก อภิธานสังเขป
พระราขนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตามพระราชอรรถาธิบาย  ไข่มุกคือรัตนะ หนึ่งใน 9 อย่างของนพรัตน์  ถือเป็นรัตนชาติได้หรือไม่
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 13:49

ไข่มุก จัดเป็นรัตนชาติ ค่ะ.. ยิงฟันยิ้ม
เป็นอัญมณีอินทรีย์ (organic gems) ชนิดหนึ่ง
มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งมีปริมาณมากกว่าร้อยละ 90
ส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ประมาณร้อยละ 0.34
นอกนั้นยังประกอบด้วยแมกนีเซียม เหล็ก เกลือซิลิเกท เกลือซัลเฟต เกลือฟอสเฟต และสารคลอไรด์ ซึ่งเป็นส่วนน้อย
เมื่อทำการเผา เกลือคาร์บอเนตจะถูกทำลาย เกิดเป็นแคลเซียมคาร์ไบด์ และสารอินทรีย์ก็จะถูกสลายไปด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 14:17

เอารูปมุกดากับไข่มุกมาให้ดูกันค่ะ  แยกออกไหมคะว่าอย่างไหนเป็นอย่างไหน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 14:22

อ้างถึง
พลอยหุงจัดเข้าประเภทพลอยไม่แท้ แทบไม่มีราคาเลย

          เมื่อแรกเชื่อว่าเนื้อทับทิมแท้     มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้

          กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ          ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา

ขุนแผนหมิ่นนางวันทอง และ

แม่พลอยหุงในจอแก้ว ผู้จากไกลไปลับแล้ว



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 14:27

ความทรงจำของคุณ SILA ปานประหนึ่งสลักคำลงบนหินผา  ผ่านไปพันปีก็ไม่ลบเลือน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 14:42

เดิมพลอยหุงไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากพลอยดิบมีจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันนั้นพลอยงาม ๆ หาได้ยากจึงต้องการพัฒนาพลอยที่ด้อยค่าน้ำมาให้ความร้อนสูงเพื่อเปลี่ยนแปลงสี น้ำ ของตัวพลอย ดังเช่น บุศราคัมแห่งจันทบุรีนี้หายากยิ่งนัก ก็เลยนำเขียวส่องมาหุงจนได้บุศย์น้ำงาม ๆ

การหุงพลอยนั้นมีประโยชน์ในการไล่มลทินในเนื้อหินออกไปด้วยนะครับ พลอยบางเม้ดสีงามมาก แต่ก็มีตำหนิคือ มีมลทินในเนื้อหิน จึงต้องเข้าหุงพลอยเพื่อไล่มลทินออกไป แต่การหุงพลอยก็เปรียบกับเล่นกับดวง จะดีหรือร้าย ก็แล้วแต่การหุงในแต่ละครั้ง พลอยดี หุงแล้วเสียก็มี พลอยเกรดต่ำหุงแล้วงามระดับโลก ก็มีครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 15:34

เว็บนี้บรรยายว่า พลอยที่เห็นเป็นพลอยหุง หรือพลอยเผา    เป็นบุษราคัมบางกะจะ เผาเก่า (ไม่ใช่เขียวส่องเผาใส่แบริเลียม) เป็นบุษราคัมสีแม่โขงที่นิยมกันมาก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 16:19

มุกตา  หนึ่งในนพรัตน์  หมายถึงไข่มุก ไม่ใช่พลอยสีขาวที่เราเรียกว่ามุกดา

ท่านรอยอินชี้แจงเป็นทั้ง ๒ อย่าง

มุกดา, มุกดาหาร น. ไข่มุก; ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในพวกนพรัตน์ สีหมอกอ่อน ๆ. (ส. มุกฺตา, มุกฺตาหาร; ป. มุตฺตา, มุตฺตาหาร, ว่า สร้อยไข่มุก).

ตำราไม่ได้อยู่ใกล้มือ ตอบจากความทรงจำนะคะ
เดิมในตำรารัตนชาติของอินเดีย พูดถึง มุกดา ว่าเป็นมณีที่เกิดจากท้องทะเล  สีขาว สัณฐานกลมเหมือนไข่จิ้งจก    ฟังแล้วก็รู้ว่าหมายถึงไข่มุก
แต่ไข่มุกไม่ใช่รัตนชาติกำเนิดในอินเดียหรือ ยังไงก็ไม่ทราบ  เมื่อมีการรวบรวมกันขึ้นมาภายหลัง เพื่อเป็นเครื่องประดับ   จึงไปเลือกแก้วสีขาวชนิดหนึ่งมาเป็นหนึ่งในเก้า  แล้วเรียกว่าคือมุกดา
ไข่มุกก็เลยหลุดจากตำแหน่ง   แก้วอย่างนั้นก็อยู่แทนที่ มาจนทุกวันนี้ค่ะ

มีศัพท์ในภาษาสันสกฤตคำหนึ่ง คือ  मुक्तारत्न muktaratna

ดูเหมือนจะยืนยันตำรารัตนชาติของอินเดียว่า

ไข่มุก เป็น รัตนะ

 ยิงฟันยิ้ม
 


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 18:25

ผมไปเริ่มต้นถามว่ารัตนชาติที่มีชื่อเกี่ยวกับสัตว์มีอะไรบ้าง ลืมนึกไปว่าในภาษาไทยมีชื่อเรียกอยู่มากมาย ในภาษาอังกฤษนั้นดูจะมีเพียง tiger's eye, cat's eyes, และ ox's eye หรือ bull's eye

สำหรับคำว่าอัญมนีก็ดี รัตนชาติก็ดี หินสีก็ดี เครื่องประดับก็ดี จินดาก็ดี ท่านผู้รู้ได้วิพากษ์กันแล้วอย่างมากมาย ที่ผมยกขึ้นมาเป็นความสงสัยก็เพราะว่า ความหมายของคำเหล่านี้ต่างคนต่างก็ใช้ในความหมายและขอบเขตที่ต่างกันไป ผมคิดว่าไม่เว้นแม้แต่ศัพท์ในภาษาอังกฤษเอง lapidary ซึ่งดูจะหมายถึงเครื่องประดับที่เอาเพชรนิลจินดาทั้งหลายมาประกอบกันเป็นชิ้นงาน แต่ก็มีความหมายในเชิงของผู้ผลิตและอุตสาหกรรมด้วย รวมถึงช่างฝีมือผู้ออกแบบและประดิษฐ์อีกด้วย, color stone มีความหมายทั้งตัวเพชรนิลจินดา (รัตนชาติทั้งหลาย) และหินที่มีสีสรรค์ต่างๆ ส่วน ornamental นั้นดูจะใช้เฉพาะกับเครื่องประดับประจำกายที่ใช้ใส่อยู่ทุกวัน จึงมักจะจำกัดไปในเชิงของประคำและลูกปัดต่างๆที่คนโบราณใช้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเพชรนิลจินดา จะเป็นอะไรก็ได้แม้กระทั่งดินเผาสีต่างๆ, jewelries ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้กันโดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นเพชรนิลจินดาเท่านั้น

แยกเข้าซอยไปนี๊ดเดียวนะครับ เพียงอยากจะยกตัวอย่างกับคำที่สื่อความหมายไม่ตรงกันในระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย __ฝรั่งงงกับคำว่า commerce และ trade ของไทย เรามีกระทรวงพาณิชย์ฯ ซึ่งใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Ministry of Commerce แต่เป็นผู้แทนไปเจรจาในาเรื่องของ Trade ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้อยู่บนพื้นฐานที่ต่างกัน ระบบคิดและระบบปฏิบัติก็ต่างกัน เขาก็งงเราก็งง ไปใหนมาสามวาสองศอก   
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 19:51

^
ถ้าคุณปัญจมาไม่กลับมาเขียนภาษาอเมริกันวันละคำ   คุณตั้งจะตั้งกระทู้เรื่องภาษาอังกฤษวันละคำ  commerce กับ trade ก็ได้นะคะ
ดิฉันก็อยากรู้เหมือนกันว่า มันต่างกันยังไง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 21:05

ผมคิดว่าท่านสมาชิกทั้งหลายมีความรู้เกี่ยวกับเพชรพลอยในระดับที่ดีมากทีเดียว ดีกว่าผมเยอะมากจริงๆ

เรื่องที่ผมจะเล่านี้ เป็นเพียงองค์ประกอบทางวิชาการที่อาจจะให้แง่มุมคิดที่เป็นประโบชน์ในการซื้อ แสวหา และสะสม ซึ่งเรื่องต่างๆคงจะค่อยๆประสานเข้าไปเป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน

เกริ่นไว้เสียก่อนแต่แรกว่า ผมเรียนเรื่อง mineralogy เป็นวิชาแรกๆของความรู้ในวิชาชีพเมื่อเกือบจะห้าสิบปีมาแล้ว อาจจะหลงลืมไปบ้าง แต่เรื่องที่จะเล่านี้จะเป็นเพียงสรุปง่ายๆสำหรับความเข้าใจ  

เริ่มด้วย หินทั้งหลายในโลกนี้มีองค์ประกอบเป็นแร่ชนิดต่่างๆ เรียกกันว่าแร่ประกอบหิน (Rock forming minerals) เมื่อหินที่หลอมละลายค่อนๆเย็นตัวลง แร่ต่างๆก็จะเริ่มตกผลึกเรียงลำดับไปตามสัดส่วนและปริมาณของธาตุที่เป็นประกอบทางเคมีของหินละลายนั้นๆ การตกผลึกนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพและสภาวะของปริมาณธาตุต่างๆ (Chemical composition) ความดัน (Pressure) อุณหภูมิ (Temperature) สภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) สถานะของปฎิกริยา (oxidation-reduction_Eh) และส่วนประกอบทางเคมีของบรรยากาศ

ในระหว่างการตกผลึก สภาพแวดล้อมจะค่อยๆเปลี่ยนไป ธาตุดั้งเดิมบางตัวจะถูกเข้ามาแทนด้วยธาตุอีกตัวหนึ่ง เช่น ธาตุแมกนีเซียมถูกแทนด้วยธาตุเหล็ก หรือธาตุแคลเซียมถูกแทนด้วยธาตุโซเดียม (เรียกว่า Solid solution) การถูกแทนที่นี้มีทั้งแบบที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ พร้อมๆกันนั้นก็ยังมีธาตุบางตัวที่เข้ามาร่วมอยู่ในกระบวนการตกผลึกในสภาพและสถาวะการณ์ต่างๆอีกด้วย แร่ที่เกิดขึ้นจึงมีไม่บริสุทธิ์ หากเห็นเป็นจุดๆก็เรียกว่ามี Impurities รอยต่อระหว่างหน้าผลึกต่างๆก็ไม่สมบูรณ์เสมอไป บางทีก็มีสารอื่นมาตกผลึกแทรกอยู่เป็นเส้นๆ เรียกว่า Needles เกิดเป็นผลึกแฝดบ้าง เรียกว่า Twin crystal บางทีแกสหรือสารละลายบางตัวก็ถูกกักไว้ในผลึกของแร่ เห็นเป็นก้อนๆ ก็เรียกว่า Inclusions ซึ่งในภาษาทางผู้ค้าอัญมณีเรียกว่ารวมๆกันว่า Flaws    
เมื่อเกิดเป็นตัวหินแล้ว ก็ยังคงมีสารละลายที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งจะแทรกดันเข้าไปในระหว่างช่องว่างต่างๆในช่วงหลัง กลายเป็น vein ที่เราเรียกว่าสายแร่ ส่วนที่เหลือมากจริงๆก็จะค่อยๆตกผลึก ซึ่งสายแร่นี้เกือบทั้งหมดจะเป็นแร่ Quartz ผสมกับแร่ Feldspar ซึ่งบางจุดมีโพรง น้ำแร่ Quartz ก็จะตกผลึกเป็นแท่งใส เรียกว่าเขี้ยวหนุมาณ หากเป็นก้อนใสขนาดใหญ่หน่อย เอามาเจียรนัยได้ก็จะเป็นโป่งข่าม หากมีสีม่วงก็เรียก Amethyst หากมีสีชมพูก็เรียกว่า Rose quartz หากเห็นเป็นก้อนกลมๆ (Geode) เอามาผ่าออกก็จะเห็นเส้นวงกลมหลากสี เรียกว่า Agate หากแยกออกส่วนสีออกแสดๆอกมาได้ก็เรียกว่า Jasper หรือขยายไปเป็นหยกหายากเสียเลย ฯลฯ ตัวแร่ Feldspar เอง หากมีธาตุ Potassium เป็นส่วนประกอบมากกว่า Sodium และหากเป็นก้อนผลึกใสหน่อย เอามาเจียรนัยก็จะได้ Moonstone
ในสายแร่ Quartz ผสมแร่ Feldspar นี้ หากมีองค์ประกอบเป็นแร่ Feldspar มาก ก็จะเรียกว่าสาย Pegmatite ซึ่งในบางแหล่งจะให้แร่ เช่น Garnet, Tourmaline, Beryl, Cassiterite เป็นต้น

ผลึกของแร่ดังเช่นที่กล่าวมาเหล่านี้ หากเม็ดโตก็จะนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ที่จะแปลกอยู่สักหน่อยก็คือ ในตัวสายแร่เองมักจะไม่ค่อยพบก้อนใหญ่ๆ แต่ที่มีผุพังตกอยู่ในชั้นดินกรวดทรายมักจะได้ก้อนใหญ่ๆ        
  
  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 21:26

อ้างถึง
สายแร่ Quartz ผสมแร่ Feldspar นี้ หากมีองค์ประกอบเป็นแร่ Feldspar มาก ก็จะเรียกว่าสาย Pegmatite ซึ่งในบางแหล่งจะให้แร่ เช่น Garnet, Tourmaline, Beryl, Cassiterite เป็นต้น


จากซ้ายไปขวา
Garnet, Tourmaline, Beryl, Cassiterite


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 21:30

Jasper =  โมรา ?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 15:03

มีอยู่ยุคหนึ่ง นานมาแล้ว  โป่งข่ามเกิดฮิทขึ้นมาในตลาดอัญมณี   ผู้หญิงมักจะมีแหวนโป่งข่ามกันอย่างน้อยคนละวงสองวง   เพราะตอนนั้นมีเสียงโฆษณาเล่าลือถึงความวิเศษของโป่งข่าม   สวมใส่แล้วจะมีโชคลาภ คุ้มกันอันตราย มีเงินทอง มีเสน่ห์ ฯลฯ แล้วแต่จะพูดกันไป  ว่ากันว่าโป่งข่ามสวยๆราคาเม็ดละเป็นหมื่น ในยุคที่เงินเดือนข้าราชการเริ่มด้วยพันต้นๆ
โป่งข่ามมีชื่อไพเราะมาก สีสันก็หลากหลาย   โดยมากเป็นสีขาวโปร่งแสง  มีลายอยู่ข้างใน  นอกจากนี้ก็มีสีอ่อนๆ อย่างชมพูและม่วง  ยังจำได้ว่ามีชื่อหนึ่งคือ "แก้วมุงเมือง"
ตัวเองไม่ได้สนใจของพวกนี้  ก็เลยไม่เคยมีโป่งข่ามกะเขาเลยสักเม็ด     ได้แต่ไปหารูปมาจากกูเกิ้ลมาทบทวนความหลัง เมื่อคุณตั้งเล่าถึงเรื่องนี้ขึ้นมา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง