เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18
  พิมพ์  
อ่าน: 108649 ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 08 ก.ย. 22, 19:25

เอาเรื่องแสงกับเรื่องระบบผลึกมาผสมกัน  ก็จะเห็นภาพซึ่งจะขออธิบายเป็นเรื่องราวเปรียบเทียบแบบการ์ตูน

กองพลทหารหนึ่งประกอบไปด้วยหน่วยรบ 7 กองพัน (แสง 7 สี)  มีภารกิจต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อบุกพื้นที่หนึ่งเพื่อไปปฏิบัติการในอีกพื้นที่หนึ่ง  เมื่อเข้าไปพื้นที่นั้นก็ถูกต่อต้าน แตกกระจายไปหลายทิศทาง ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง อยู่ในที่สูงบ้าง ในที่ต่ำบ้าง  บ้างก็ถูกต่อต้านอย่างหนัก เสียหายมาก บ้างก็ต้องผ่านภูมิประเทศที่ไม่อำนวย  มีการแยกไปใช้เส้นทางที่สั้นบ้าง ยาวบ้าง    เมื่อพ้นพื้นที่นั้นออกมา ณ เวลาหนึ่ง  กองพลนั้นก็จะมีสภาพของการคละกันในเชิงของปริมาณกำลังพลคงเหลือของกองพันต่างๆ บ้างก็มาก บ้างก็น้อย   ทั้งนี้ ในระหว่างการสู้กันนั้น เมื่อมองภาพจากด้านบนก็จะเห็นภาพการเกาะกลุ่มกองพันต่างๆภาพหนึ่ง  เมื่อเลาะมองด้านข้างไปรอบๆก็จะเห็นอีกภาพหนึ่งของการกลุ่มกองพันต่างๆ

พลอยธรรมชาติ ที่โปร่งแสงก็เป็นเช่นนั้น สีด้านบนกับสีด้านข้างก็จะต่างกัน

แต่ก็มีเรื่องอื่นๆที่จะต้องนำมาพิจาณาประกอบด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 08 ก.ย. 22, 19:28

นึกภาพไม่ออกค่ะ   

ขอขยายความพรู่งนี้นะครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 09 ก.ย. 22, 18:45

ขอขยายความเรื่องแกนของผลึกแร่ (Crystal axis) ครับ

ผลึกแร่มีรูปทรงเป็น 3 มืติ คือมีหน้าผลึกด้านข้างที่เป็นระนาบขนานกัน 2 ชุด ชุดหนึ่งให้ชื่อว่าด้าน a (หรือด้าน x)   อีกชุดหนึ่งให้ชื่อว่าด้าน b (หรือด้าน y)   ในด้านของความสูงของด้าน a และ b (หรือด้าน x และ y) ให้ใช้ชื่อว่า c หรือ z    ซึ่งโดยนัยก็คือเรื่องของด้านกว้าง  ด้านยาว และด้านสูง ที่ใช้อธิบายเรื่องของทรงสามมิติต่างๆ   

หากแต่ในเรื่องของผลึกแร่ที่เกิดตามธรรมชาติที่นั้น หน้าผลึกของด้าน a และ b (หรือ x, y) นั้น มันไม่ประกอบกัน(ชนกัน)ในลักษณะที่เป็นมุมฉาก(ดังกล่องกระดาษ)เสมอไป   มันมีทั้งแบบที่ชนกันเป็นมุมฉาก 90 องศา (Isometric system _ทุกด้านห่างจากจุดกี่งกลางเท่ากัน  และ Orthorhombic system_ทุกด้านห่างจากจุดกึ่งกลางไม่เท่ากัน)   แบบที่ชนกันเป็นมุม 60 องศาสองด้านและ 120 องศาสองด้าน (Rhombic system)   แบบที่ชนกันเป็นมุม 60 องศาหกด้าน (Hexagonal system)    และแบบที่เรียกว่า Monoclinic system และ Triclinic system  ซึ่งทั้งสองระบบนี่ไปเกี่ยวกับแกน c (หรือแกน z) ซึ่งจะไม่ขอขยายความ

คิดว่าน่าจะพอเห็นภาพบ้างแล้วนะครับ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 10 ก.ย. 22, 17:56

เล่าเรื่องกองพลหทารลุยพื้นที่ต่อ ครับ

เมื่อลุยเข้าไปในพื้นที่ ก็มีทหารบางกองร้อยหรือทั้งกองพันเดินเข้าสู่พื้นที่กับดัก หลงจนไม่สามารถหาทางโผล่ออกมาได้    ก็มีที่เดินทางไปพบกับสภาพทางตัน ต้องแยกทางกันเดินเป็นกลุ่ม    และก็มีที่บางกองพันพบเส้นทางตรงที่ไม่มีอุปสรรคขัดขวางและไม่ได้มีความเสียหายใดๆ     

เรื่องทั้งหมดของกองท้พทหารที่เล่ามา ก็คือเรื่องลักษณะของแสงที่ส่องผ่านตัวกลาง    ซึ่งในกรณีที่เป็นพลอย บางตระกูลก็จะยอมให้แสงทะลุผ่านได้ทุกทิศทางโดยแสงที่โผล่่ออกมาจะมีคุณสมบัติเหมือนเดิมก่อนที่ผ่านตัวพลอยทุกปรระการ เรียกกันว่า Isotropic gems stone  เช่น เพชร และ โกเมน

ต้องขอเวลานอก หนีฝนครับ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 11 ก.ย. 22, 19:15

เมื่อมี Isotropic ก็ต้องมี Anisotropic แล้วก็มีเรื่องอื่นในกลุ่มเรื่องของแสงเดินทางผ่านตัวกลางตามมา....  ก็เลยจะขอไม่ขยายความต่อ เป็นเรื่องทางวิชาการมากเกินไป และก็เป็นเรื่องของความรู้ในการแปรรัตนชาติไปเป็นอัญมณีที่มีราคาสูง     เอาเพียงนึกถึงภาพมโนเรื่องกองพลทหารเดินทัพผ่านพื้นที่หนึ่งใด ก็น่าจะพอทำให้เห็นภาพในเรื่องของความต่างหรือความไม่เสมอกันของสีของอัญมณีเมื่อมองในตำแหน่งต่างๆ     

บนพิ้นฐานเปรียบเทียบเรื่องกองพลทหารนี้   ในชีวิตจริง เราใช้ชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมของแสงที่เกิดมาจากต้นตอต่างๆกันในช่วงเวลาต่างๆกัน  มีทั้งแสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากหลอดไฟ LED ที่ระบุว่าให้แสง day light, cool day light, warm white   แสงจากหลอดไฟที่ใช้ใส้  หรือแสงผสมผสานจากแหล่งกำเนิดต่างๆ   จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า แล้วอัญมณีที่สวมใส่จะแสดงสีสันต่างกันเช่นใดหรือต่างกันในความแวววับเช่นใดในสิ่งแวดล้อมของแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดต่างๆกัน     กำลังจะชี้นำว่า  ยิงฟันยิ้ม  จะซื้ออัญมณีก็พึงจะต้องพิจารณาถึงช่วงเวลาและสิ่งแวดล้อมที่จะนำออกมาใช้ด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 16 ก.ย. 22, 19:28

เว้นวรรคไปก็ด้วยมีนัดกับหมอบ้า่ง มีธุระติดพันบ้าง   กลับมาต่อให้จบกระบวนความครับ

ในปัจจุบันนี้มีแร่อยู่หลากหลายชนิดที่สามารถเอามาทำเป็นอัญมณีที่สวยๆงามๆได้  แร่เหล่านั้น บ้างก็รู้มาแต่เดิมว่ามันเอามาทำเป็นเครื่องประดับได้ และที่ยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะเรียกว่าอัญมณี  บ้างก็เห็นว่ามันพอจะมีศักยภาพที่จะเอามาทำเป็นอัญมณี  แล้วก็มีแร่อีกมากมายที่ไม่เคยได้ยินชื่อของมัน   แต่ด้วยที่มีความรู้พื้นฐานเรื่องของแร่มากพอควร ก็เลยรู้ว่าส่วนมากแล้วมันจะเป็น Variety ของแร่หลักๆที่รู้จักนั้นเอง หากแต่เกิดในสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป   

อัญมณีที่เรา(คนไทย)คุ้นเคยแต่ก่อนนั้น ดูจะแบ่งออกเป็นเพียง 2 กลุ่ม คือ เพชร กับ พลอย  ซึ่งคำว่าพลอยนั้นมีความหมายอยู่ 2 นัย นัยหนึ่งหมายถึงอัญมณีที่มีสีโดยทั่วๆไป กับอีกนัยหนึ่งที่ดูจะเฉพาะเจาะจงถึงแร่ในตระกูลแร่ Corundum  สำหรับอัญมณีที่มิใช่ Corundum ก็จะมีชื่อกำกับแยกออกไปโดยตรง (มุกดา โกเมน บุษราคำ....)   

ในปัจจุบันมีอ้ญมณีมากมายที่จัดอยู่และไม่อยู่ในตะกูลพลอยพื้นฐาน(ที่เรารู้จักกัน)  ก็เลยมีการเรียกชื่ออัญมณีนั้นๆตามชื่อแร่ของมัน เช่น ในตระกูล โกเมน ที่เรารู้ว่าก็คือแร่ Garnet นั้น จะมีชื่อตาม Variety ของมัน ซึ่งจะมีสีไม่เหมือนกัน ก็มีอาทิ Pyrope (สีแดงเข้มมาก), Spessartite (สีออกไปทางน้ำตาลเข้ม), Almandine (สีไวน์แดง), Rhodolite (สีออกไปทางสีชมพู), Tsavorite (สีเขียวต้นกล้วย)... เป็นต้น   หากจะรู้ลึกลงไปอีกนิดนิดนึง แร่พวกนี้โดยพื้นฐานจะเป็นพวกที่มองในทิศทางใด ในมุมใด ก็จะเห็นสีเหมือนเดิม (เป็นพวก Isotropic mineral)   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 16 ก.ย. 22, 20:20

Uncut pyrope  garnets


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 16 ก.ย. 22, 20:24

Spessartite


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 16 ก.ย. 22, 20:28

Almandine


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 16 ก.ย. 22, 20:31

Rhodolite


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 16 ก.ย. 22, 20:34

Tsavorite


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 18 ก.ย. 22, 18:11

เมื่อวานไม่ได้เข้ากระทู้ เพราะไปทำ CT Scan เรื่องนิ่ว ตามนัด   วันพรุ่งนี้ก็ไม่ได้เข้าอีก เพราะต้องไปพบหมอเพื่อฟังผล ครับ

นอกจากสีต่างๆที่พบตามธรรมชาติของแร่ variety ต่างๆของกลุ่มแร่(ชื่อหนึ่ง)แล้ว  สีต่างๆก็อาจจะถูกตั้งใจทำให้มันปรากฎเด่นออกมาโดยฝีมือการกระทำของคน(นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว...การเผา_heat treatment, การอาบรังษี_irridiation treatment, การย้อม_dyeing treatment, ...) ก็จะเป็นเรื่องของฝีมือในการเจียรนัย

ในการเจียรนัยนั้น จะเริ่มต้นด้วยการตั้ง(ติดกาว)รัตนชาติที่ได้มาชิ้นนั้นๆบนปลายของก้านเจียรนัยให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อจะทำให้การเจียรนัยออกมาดีที่สุด ให้ได้คุณสมบัติของอัญมณีชิ้นนั้นๆใน 2 เรื่องไปพร้อมๆกัน คือไ้ิด้งานอัญมณีชิ้นใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควบคู่ไปกับการเล่นแสงที่ดีที่สุดของอัญมณีนั้นๆ (ความสมดุลย์ระหว่างน้ำหนัก ความสวยงาม และราคา)

ในประสบการณ์ของผมที่ได้เคยได้สัมผัสกับผู้ปฏิบัติในอุตสาหกรรมอัญมณีของไทยเราตั้งแต่กระบวนการขุดพลอยไปจนถึงการเจียรนัยออกมาเป็นชิ้นงาน เมื่อครั้งมีการตื่นพลอยที่จันทบุรีและตราด และกาญจนบุรี  รวมทั้งการเผาพลอยในยุคแรกๆของการเรียนรู้  ในช่วง พ.ศ. 2512 ++/--     ผมเห็นว่าบุคคลในวงการพลอยของไทยเรา ตั้งแต่ชาวบ้านที่ขุดหาพลอย นายหน้า ช่างเจียรนัย ไปจนถึงพ่อค้า/นายทุน ล้วนมีความสามารถในเชิงของการปฏิบัติการที่น่าทึ่ง     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 18 ก.ย. 22, 19:15

เล่าเรื่องคั่นมาเพื่อจะขยายความว่า รัตนชาติแต่ละเม็ดนั้น ความมีราคาของมันจะเริ่มเด่นออกมาตั้งแต่แรกของการค้าระหว่างผู้ที่ขุดได้กับนายหน้าผู้ซื้อรวบรวม การประเมินราคาของมันดูจะอยู่บนพื้นฐานของการมองทะลุไปถึงชิ้นงานอัญมณีที่เป็นผลงานสุดท้าย  วิธีการที่เขาใช้กันก็ดูง่ายๆ เป็นเพียงการส่องกับแสงสว่าง การค้าขายจึงค่อนข้างจะคึกคักในช่วงเวลาประมาณ 10 โมงเช้า ถึงเวลาประมาณ บ่าย 3 โมงเย็น   การประเมินมูลค่าและราคาในลักษณะนี้ ดูคล้ายกับจะเกี่ยวแต่เฉพาะเรื่องของสี ความใส การปราศจากรอยแตก

เมื่อพ่อค้าคนกลางด่านแรกเอาไปขายต่อให้กับฝ่ายผู้ทำการเจียรนัย ก็จะมีการพิจารณาดังภาพในกระทู้ที่ผ่านมา  ในขั้นตอนนี้ประเด็นไปอยู่ตรงที่มันเป็นเรื่องของการหาจุดที่เปล่งปลั่งที่สุดของๆที่จะเป็นอัญมณีเม็ดนั้นๆ  ซึ่งนอกจากเรื่องของมุมเหลี่ยมในการเจียรนัยซึ่งจะทำให้เกิดความระยิบระยับแล้ว ก็เกี่ยวกับสีแสงเมื่อหมุนไปรอบๆหรือเมื่อพลิกไปพลิกมา(Pleochroism) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 21 ก.ย. 22, 18:30

Pleochroism คือการที่ผลึกแร่เปลี่ยนสีเมื่อหมุนมองในทิศทางต่างๆ    สำหรับรัตนชาติที่ได้เจียรนัยเป็นอัญมณีแล้ว ส่วนมากเราจะสังเกตุเห็นได้ชัดเจนเมื่อหมุนไปมามองด้านข้าง

คุณวิกกี้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของ pleochroism แบบสรุปได้ดีมาก https://en.wikipedia.org/wiki/Pleochroism   และได้ให้ข้อมูลเกียวกับสีที่เปลี่ยนไปของอัญมณีที่ทำมาจากรัตนชาติหลากหลายชนิด  อ่านแล้วก็น่าจะพอเข้าใจในพื้นฐานที่ทำให้มันเกิดขึ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 21 ก.ย. 22, 19:00

Pleochroism


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง