เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 23115 甜蜜蜜 เทียนมี้มี – เพลงอมตะของจีน
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 06 มี.ค. 12, 08:25

เนื่องจากยามนี้เป็นฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้กำลังบาน เรามาฟังอะไรๆที่มันสดชื่นหน่อยดีกว่า

อย่างเพลง "เทียนมี้มี"

คิดว่าหลายท่านคงเคยฟังเพลงนี้มาก่อน

甜蜜蜜เทียนมี้มี ชื่อนี้อาจแปลว่า “หวานปานน้ำผึ้ง” แต่ข้าพเจ้าขอแปลเองว่า “หวานเหลือแสน”



คนที่พึ่งเรียนภาษาจีนหลายคนถ้าจะต้องฟังเพลงจีนเพื่อลองฝึกหรือลองร้อง หลายต่อหลายคนคงได้ฟังเพลง “เทียนมี้มี” (甜蜜蜜:tian mi mi):ซึ่งเป็นนักร้องนามอุโฆษชาวจีน (ไม่รู้จะบอกว่าแผ่นดินใหญ่ หรือไต้หวั่นดี) คือคุณ เติ้งลี้จุน (邓丽君:deng li jun) เพลงนี้เคยถูกนำมาสร้างเป็นหนังเรื่องหนึ่ง โดยใช้ชื่อเดียวกันในปี ๑๙๙๖ ภาพยนตร์เรื่องนี้ชื่อภาษาอังกฤษนามว่า Almost a Love Story และกลายเป็นภาพยนตร์ระดับตำนานของจีนอีกเรื่องหนึ่ง (ข้าพเจ้าดูไปหลายรอบเพราะชอบมาก)

ภาพนี้คือภาพโฆษณาของภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มี.ค. 12, 08:53 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 08:27

เพลงดังกล่าวได้เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกในปี ๑๙๗๙ เดือน ๑๑ ขับร้องโดยเติ้งลี่จูน ซึ่งในอัลบบั้มนี้ ค่ายเพลงเป่าลี้จิน (宝丽金公司:bao li jin gong si)  ได้จัดให้เป็นเพลงแรกในอัลบั้ม ไม่คิดไม่ฝันว่าเพลงนี้จะติดหูประชาชนภายในปีเดียวสามารถขายเทปได้ถึง ๑ ล้านแผ่น และนี้คงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปีนั้นเองคุณเติ้งลี่จุนผู้ขับร้องได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว

ภาพของเติ้งลี่จุนผู้ขับร้อง และภาพอนุสาวรีย์ "เที่ยนมี้มี" ของเติ้งลี่จุนภายในสุสานของเธอ



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 08:32

นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนบัดนี้ผ่านไปกี่ปีแล้วความดังและอมตะของเพลงดังกล่าวก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง มีนักร้องมากมายนิยมนำมาร้องใหม่ หรือนำมาดัดแปลง

แล้วใครคือคนแต่งเพลงนี้

ผู้แต่งคำร้องเพลงนี้คือท่าน จ่วงนู่ (庄奴:zhuang nu) ปรมาจารย์นั่งแต่งเพลงชาวจีนซึ่งลี้ภัยไต้หวั่นตั้งแต่ปี ๑๙๖๙ ท่านผู้นี้นามจริงคือ หวางจิ่งซี(王景羲:wang jing xi) เกิดเมื่อปี ๑๙๒๒ ในเมืองปักกิ่ง
ท่านผู้นี้เป็นนักประพันธ์มีงานเขียนทั้งหนังสือ บทกวี บทละครโทรทัศน์และเนื้อเพลง แต่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากการเขียนเพลงมากกว่าสิ่งอื่น โดยเฉพาะแนวเพลงฟังสบายๆ ฟังแล้วชื่นใจ งานประพันธ์ของท่านมีมากกว่า ๓๐๐๐ ชิ้น และงานทุกชิ้นโดยเฉพาะบทเพลง ตราบจนทุกวันนี้ก็มิได้ล้าสมัยเลยแม้แต่น้อยได้รับสมญานามว่า “ท่านผู้เฒ่าผู้ไม่เคยตกยุค” (与时间赛跑的老人) เพลงดังของท่านเติ้งลี่จุนหลายเพลงมีท่านจ่วงนู่ประพันธ์คำร้องให้

ส่วนทำนองเชื่อหรือไม่ นำมาจากเพลงพื้นบ้านของอินโดนีเซีย ไม่แน่ใจว่าผู้ใดประพันธ์ แต่ที่แน่ๆเติ้งลี้จูนเคยขับร้องเป็นภาษาอินโดนิเซียมาก่อนแล้ว โดยใช้ชื่อว่าเพลง Dayung Sampan

สามารถหาฟังได้จาก



ภาพของท่านอาจารย์จวงนู่



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มี.ค. 12, 08:54 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 08:39

เนื้อเพลงมีความดังนี้

甜蜜蜜你笑得甜蜜蜜

หวานเหลือแสนยิ้มของเธอช่างหวานแสน

好象花儿开在春风里

หวานประหนึ่งดอกไม้ที่ผลิบานในฤดูใบไม้ผลิ

开在春风里

ผลิบานในฤดูใบไม้ผลิ

在哪里在哪里见过你

ที่ใดหนาที่ฉันเคยพบพานเจอเธอมาก่อน

你的笑容这样熟悉

ยิ้มของเธอช่างคุ้นเคยยิ่งนัก

我一时想不起

ทำไมฉันนึกไม่ออกไปชั่วอึดใจ

啊~~在梦里

อ้า...ใช่แล้วในฝันนั้นเอง

梦里梦里见过你

ในฝันนั้นเองที่ฉันได้พบเจอเธอ

甜蜜笑得多甜蜜

ยิ้มอันแสนหวานนี้

是你~是你~梦见的就是你

คือเธอนั้นเอง คือเธอ ที่ฉันได้พบเจอในฝัน

在哪里在哪里见过你

ที่ใดหนาที่ฉันเคยพบพานเจอเธอมาก่อน

你的笑容这样熟悉

ยิ้มของเธอช่างคุ้นเคยยิ่งนัก

我一时想不起

ทำไมฉันนึกไม่ออกไปชั่วอึดใจ

啊~~在梦里

อ้า...ใช่แล้วในฝันนั้นเอง

(音乐演奏)
在哪里在哪里见过你
你的笑容这样熟悉
我一时想不起
啊~~在梦里
梦里梦里见过你
甜蜜笑得多甜蜜
是你~是你~梦见的就是你
在哪里在哪里见过你
你的笑容这样熟悉
我一时想不起
啊~~在梦里
   
หากจะแปลแบบไทยๆคงได้เป็นกลอนดังนี้

หวานเหลือแสนยิ้มเธอช่างหวานแสน      

หวานยิ่งแม้นบุปผาที่หวานหอม

ยามฤดูใบไม้ผลิพวงพะยอม               

ชวนให้น้อมฤทัยชื่นใจครัน

ฉันให้นึกสงสัยนี้ใครหนอ            

เพียงได้พอพบพักตร์ก็ชื่นสันต์

ยิ้มนี้คุ้นประหนึ่งเคยพบกัน               

ที่ใดนั้นที่ฉันพานพบนา

โอ้ใช้แล้วใช่แน่ที่ในฝัน            

เราพบกันในฝันนั้นแหละหนา

ฉันยังจำได้อยู่ในอุรา                  

คือพักตราเธอในฝันฉันพบเอย      

ตัวข้าพเจ้าเองฟังเพลงนี้มาตั้งแต่เด็ก โดยแม่เปิดให้ฟัง ถึงจะฟังแล้วไม่เข้าใจ แต่ก็ชอบฟัง เพราะรู้สึกชื่นใจ
ทุกทีที่ได้ ฟังตั้งแต่ยังไม่เข้าใจภาษาจีน จนกระทั่งปัจจุบันนี้เข้าใจแล้ว ความรู้สึกก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง บางครั้งเจอใครบางคน ไม่เคยเจอหน้ามาก่อน แต่คุ้นเคยมากๆ เหมือนรู้จักกันมานานแล้ว ในใจจะนึกถึงเพลงนี้ทุกที

เคยเอาไปเขียนเป็นความเรียงสั้นๆหนหนึ่ง ได้ลงหนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัยด้วย แต่ด้วยความโคมลอย ไม่ค่อยจะเก็บ และไม่ได้พิมพ์ไว้ เลยไม่รู้หายไปไหนหมดแล้ว   

ข้อมูลนำมาจาก

http://zhidao.baidu.com/question/88998412.html?an=0&si=10
http://zhidao.baidu.com/question/1465136.html?an=0&si=1
http://baike.baidu.com/view/298613.html?wtp=tt#sub5951039

ขอนำภาพเมืองนานกิงยามฤดูใบไม้ผลิมาให้ชมประกอบเพลง

สองภาพแรกเป็นมหาวิทยาลัยที่ข้าพเจ้ากำลังเรียนปริญญาโท คือ มหาวิทยาลัยหนานจิง (南京大学:nan jing da xue) Nanjing University

สองภาพหลังคือภาพมหาวิทยาลัยที่ข้าพเจ้าเรียนภาษา คือ มหาวิทยาลัยหนานจิงซือฟาน (南京师范大学:nan jing shi fan da xue) Nanjing Normal Univesity




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 08:53

เกร็ดเล็กๆน้อยๆ

มหาวิทยาลัยหนานจิงซือฟาน (南京师范大学:nan jing shi fan da xue) Nanjing Normal Univesity ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดในแถบเจียงซู งามพร้อมด้วยดอกไม้นานาพรรณ ยามฤดูใบไม้ผลิ จะมีคนไปถ่ายรูปและเดินเที่ยวมากมาย ได้รับฉายาว่า "สวนดอกไม้แห่งเจียงหนาน" (江南公园大学) ซึ่งเจียงหนานนี้หมายถึงเขตใต้แม่น้ำแยงซีเกียง หมายถึงแถบเจียงซู อันฮุย และเจ้อเจียงบางส่วน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 09:11

บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 10:49

ราว ๆ ต้น ค.ส.1980 ดิฉันไปติดต่อเรื่องงานและต้องแวะ HK ได้พบปะญาติที่หลงเหลืออยู่ที่นั่น

1 ในนั้นเป็นญาติผู้น้องที่ทิ้งการเรียนทางการสร้างภาพยนต์จาก UCLA มาเพื่อสานต่อความฝันของเขาที่HK เราคุยกันเรื่องร่องรอยของบรรพบุรุษสายตรงของเรา

ที่สถานีรถไฟสายชิมจุ่ง(สำเนียงแต้จิ๋ว) ดิฉันต้องเข้าจีนด้วยเรื่องาน ได้พบเห็นภาพคนจีนลักลอบเข้าเมือง เชย ๆ เก้ ๆ กัง ๆ และ แก่งแย่งกันเพื่อความอยู่รอด

สะเทือนใจมาก เพราะบรรพบุรุษของเรา ก็เคยอาศัยเส้นทางสายนี้หลบหนีภัยการเมืองเมื่อหลายทศวรรษก่อน

เราสองพี่น้องได้คุยกันเรื่องหาทางสะท้อนภาพการดิ้นรนของคนจีนในยุคสมัยต่าง ๆ กัน

ก่อนจีนได้รับ HK คืนในปี 1997 ญาติผู้น้องก็ทำความฝันให้เป็นจริงเป็นภาพยนต์หลายเรื่อง หนึ่งในนั้น ก็คือเรื่องนี้ เถียน มี่ มี่

ดิฉันชอบความ Romantic ของเรื่องนี้ แต่ที่ยังสะเทือนใจไม่หายคือ ภาพการดิ้นรนของคนจีนค่ะ ชนชาตินี้ เดินทางข้ามโลกไปแสวงโชคแบบนี้มาเป็นพัน ๆ ปีแล้ว

ชาวจีนล่าเมืองขึ้นอย่างสงบโดยเจ้าของประเทศยินยอมหรือไม่รู้ตัว ใช้อาวุธเพียงไม่กี่อย่าง คือ ความขยันอดทน ประนีประนอม รักษาประเพณีวัฒนธรรมของตน สร้างครอบครัวขยาย ออกลูก ออกหลาน แผ่ขยายไปทั่วโลก

ไม่มีทวีปใดในโลกที่ไม่มีคนจีน

สำหรับ เติ้ง ลี่ จวิน นั้น ก็เป็นผู้อพยพหนีภัยการเมืองจากแผ่นดินใหญ่ มาใต้หวัน นับเป็นโชคของเธอที่ได้มาเติบโตที่นี่ มีเสรีภาพ ได้รับโอกาสไปศึกษาการร้องเพลงต่อที่ญี่ปุ่น จึงสามารถสร้างเสียงเพลงที่ตรึงใจคนจีนทุกรุ่นอายุ ทุก ๆ ทวีปในโลกนี้ได้ ทุกคนรักเธอ ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำหลายคนในพรรคคอมมิวนิสต์จีน

การจากไปของเหมา เจ๋อ ตง สะเทือนใจคนจีนทั้งประเทศ

แต่การตายของ เติ้ง ลี่ จวิน สะเทือนคนจีนไปทั่วโลกค่ะ

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 17:05

ขอแทรกอีกนิด

เพลงเทียนมี้มีที่ท่านได้ยินเสียงเป็นผู้ชายร้องในคลิปที่อาจารย์เทาชมพูนำมาให้ชมกัน

เป็นเสียงของนักแสดงนำชายในภาพยนตร์เรื่องเทียนมี้มี ชื่อว่าคุณ หลี่หมิง (黎明:li ming) ถือว่าเป็นนักแสดงชายระดับตำนานของฮ่องกง เป็นหนึ่งในกลุ่ม "สี่องค์ชายเทวดา" (四大天王) อันเป็นกลุ่มดารานำชายอมตะของฮ่องกง - หนึ่งในนั้นก็คือพี่หลิวเต๋อหัวของเรานั้นเอง

คุณเกิดเมื่อปี ๑๙๖๖ เดือน ๑๒ วันที่ ๑๑ เกิดที่ปักกิ่ง ภายหลังย้ายไปฮ่องกง ต่อมาได้ไปศึกษาต่อที่อเมริกา ในปี ๑๙๘๖ จึงได้เริ่มเข้าวงการบันเทิง

ปัจจุบันนี้ยังทำงานให้แก่องค์การยุนิเซฟด้วย จนได้รับฉายานามอีกว่า "องค์ชายเทวดาใจการุณ" (慈善天王: ci shan tian wang)

ข้าพเจ้าขอเสนอภาพครั้งเป็นหนุ่มรุ่นและ และในปัจจุบันขณะช่วยงายให้กับยูนิเซฟ

ข้อมูลนำมาจาก

http://baike.baidu.com/view/19853.htm

ใครอยากดูว่าองค์ชายเทวดามีใครบ้างอาจดูได้จากเว็ปนี้ (ครั้นจะเขียนไปก็ไม่เข้ากับเรื่อง จะกลายเป็นตำนานหนังฮ่องกงแทน)

http://hk.pway.cn/news.jsp?id=7458



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 17:07

จำได้ว่าเธอมาตายที่เมืองไทยที่เชียงใหม่ในวัย49ด้วยอาการหอบหืด ตอนนั้นรู้สึกตกใจและเสียดายเธอมากเพราะเป็นแฟนเพลงของเธอและฟังเพลงของเธอมาตั้งแต่เด็กเหมือนกัน ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆที่ทำให้คิดถึงเธอครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 17:46

      
อ้างถึง
"สี่องค์ชายเทวดา" (四大天王)

          หนังสือพิมพ์ไทยเรียก จตุรเทพ ครับ

          พูดถึงพระเอกแล้ว ขอชื่นชมนางเอก - จางมั่นอวี้ เธอเป็นนักแสดงมากฝีมือชื่อเสียงโด่งดัง
ได้เคยเล่าเรื่องหนังที่เธอนำแสดงในกระทู้หนังประทับใจ (เรื่อง In the Mood for Love) กับ
กระทู้ ส.ค.ส. ภาพยนตร์วิจิตร (เรื่อง Hero)  


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 17:52

        ส่วนผู้กำกับหนังเรื่องนี้ - ปีเตอร์ ชาน เป็นคนไทย

เชิญชมคลิปสัมภาษณ์ทางทีวี ครับ

     


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 21:43

รูปเก่าไม่มากหญิงคนนี้คือใครกัน  ยิงฟันยิ้ม เป็นคนจีน




 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 21:56

อ้างถึง
ขอแทรกอีกนิด

เพลงเทียนมี้มีที่ท่านได้ยินเสียงเป็นผู้ชายร้องในคลิปที่อาจารย์เทาชมพูนำมาให้ชมกัน

เป็นเสียงของนักแสดงนำชายในภาพยนตร์เรื่องเทียนมี้มี ชื่อว่าคุณ หลี่หมิง (黎明:li ming)

ขออนุญาตนอกเรื่องสักนิดค่ะ ต้องถามคุณ Han Bing บ้างว่า

เสียงร้องงิ้วของ Li Ming ในหนังเรื่อง Forever Entrailed (ชีวะประวัติของ Mei Lan Fang) นั้น

เป็นเสียงของ Li Ming ด้วยหรือเปล่าคะ มหัศจรรย์มากจริง ๆ

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 มี.ค. 12, 15:19

ลองเข้าไปค้นแล้วครับ เขาไม่ได้เขียนไว้ว่าใครร้องงิ้ว ไว้โอกาสหน้าพบข้อมูลแล้วจะแจ้ง

บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 12:05

เธอเป็นนักร้องที่ผมฟังเพลงของเธอแล้วไม่เคยเข้าใจ เพราะไม่เข้าใจภาษาจีนกลาง
แต่เธอเป็นนักร้อง ที่ผมฟังเพลงของเธอได้ไม่รู้เบื่อ โดยเฉพาะอัลบั้มครบ 25 ปีของเธอ
เธอเป็นหนึ่งในสามที่ผมมักแนะนำให้คนที่อยากฟังเพลงต้องฟัง
อีกสองนักร้องได้แก่ The Carpenters และ อรวี สัจจานนท์
ทั้งสามเป็นนักร้องที่เรียกได้ว่า เป็น "นายของภาษา" เป็นบุคคลที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราออกเสียงถูกอักขระ และ สื่อด้วย "อารมณ์เพลง" เพลงทุกชาติทุกภาษาล้วนเราะทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 19 คำสั่ง