เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 246306 โคลงสี่สุภาพ
อุ้ยครับ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 30 เม.ย. 01, 18:20

พี่ต๊องน้า..ไม่ทักอุ้ยซักคำเลยหรือครับ
บันทึกการเข้า
pink ribbon
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 30 เม.ย. 01, 22:37

เก็บก้อนกรวดเกลื่อนกลิ้ง.............กระดอน
หนาวเหน็บนั่งเอนนอน..................อ่อนล้า
ยินเสียงแว่วเห่าหอน.................เย็นเยือก  วังเวง
ไหวหวั่นหวาดวุ่นว้า...................ด่าวดิ้น เดียวดาย
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 30 เม.ย. 01, 22:39

---> มาดูการบ้านที่หลานอุ้ย ส่งมาก่อนแล้วกันครับ
...แต่งมาเป็นโคลงกระทู้ ผสมกลบทสายไหม แบบมั่วมาสุดๆ อันนี้ปู่ขอเอาโคลงที่หลานแต่งมาแปะไว้อีกทีแล้วกัน

@ กล..กามตามเร่งเร้า......เร่งเรา
บท..สื่อข้อความเขลา.........คิดเคล้า
สาย..ใดยุ่ยบางเบา...........สายเก่า
ไหม..มุ่นมวยมัดเกล้า........ศกเข้าสวยสม

...อันนี้ที่มั่วก็คือรสความครับ ตรวจดูแต่ละบาทความหมายไม่เข้ากันเลย อันนี้ก็เข้าใจว่าหลานแต่งมา ผสมโคลงกระทู้ กับ โคลงกลบท ทำให้การแต่งโคลงยากขึ้นมาก แต่อยากจะสอนหลานครับว่า การแต่งโคลงฯ ถึงเราจะแต่งยากแค่ไหน ถ้ารสความไม่เข้ากัน ก็ไม่มีความหมายครับ อยากให้ลองพิจารณาโคลงกระทู้ของศรีปราชญ์ บทนี้

@ ทะ..เลแม่ว่าห้วย......เรียมฟัง
ลุ่ม..ว่าดอนเรียมหวัง......ว่าด้วย
ปุ่ม..เปือกว่าปะการัง......เรียมร่วม คำแม่
ปู..ว่าหอยแม่กล้วย........ว่าคล้ายเรียมตาม

...จากโคลงที่ยกมาจะเห็นว่า ในส่วนของคำกระทู้คือ ทะ ลุ่ม ปุ่ม ปู แม้ไม่มีความหมายต่อเนื่องกัน แต่ศรีปราชญ์สามารถนำคำเหล่านี้มาสร้างบทโคลง จนมีความหมายต่อเนื่องกันทั้งบทอย่างสุดยอดจริงๆ อันนี้อยากให้ทุกคนดูไว้เป็นตัวอย่างครับ
...ดังนั้น ปู่ขอให้การบ้านหลานอุ้ยแต่งมาใหม่ก็แล้วกัน ให้เป็นโคลงกระทู้ กล บท สาย ไหม เหมือนเดิม แต่แต่งมาให้มีรสความโดยรวมทั้งบทไปกันได้ก็แล้วกัน ไม่จำเป็นต้องบังคับคำสัมผัสแบบกลบทสายไหมก็ได้

@ กล..โคลงมาเร่งอุ้ย......ให้ลุย
บท..รจน์จึงกระจุย............หลุดหลุ้ย (ลุ่ย)
สาย..เลือดอยากลองฉลุย.....ดุ่ยดุ่ย
ไหม..หละจึงโดนคุ้ย...........ว่าวุ้ยเสียความ

...โคลงพาไปนะหลาน แต่งมาใหม่แล้วกันนะ

----> ชายต๊อง

@ รักเร่เร่รักล้น.......ให้หลง
รักร่วงร้างปลดปลง....ขื่นเศร้า
รักแรกบ่มั่นคง.........อย่างจิต คิดนา
รักจบจึงอ่อนล้า.......เมื่อร้างจางรัก

...โคลงฯบทนี้ที่แต่งมา ดีกว่าบทแรกที่แต่งมาส่งเยอะ แสดงว่าชายมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก แต่ถ้าชายอ่านกฎการแต่งโคลง ที่อาบอกไว้ในตอนเปิดกระทู้ อาจะบอกถึงการจบโคลงไว้นะ ว่าให้จบด้วย เสียงจัตวา หรือสามัญเท่านั้น และต้องไม่เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์ แต่นี่ชายจบด้วยคำว่า รัก ซึ่งเป็นเสียง ตร๊ และ สำคัญที่สุดคือเป็นคำตาย ซึ่งไม่นิยมใช้กัน ตรงนี้อาพลายฯอยากให้ชายแก้มาก่อน ซึ่งแก้ได้ไม่ยากเลย และอยากให้แค่บาทแรกมาด้วย เปลี่ยน รักเร่ เป็น รักแรก เหมือน บาท ๓ ยังจะให้ความชัดกว่า เป็น " รักแรกแรก(?)(?) .....(?)หลง " ดีหละ  ลองคิดดูนะ แต่อย่างไรก็ตามบทนี้ให้ ๗๐ คะแนน
บันทึกการเข้า
pink ribbon
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 30 เม.ย. 01, 23:02

คุณครู พลายงาม ลืมตรวจการบ้าน นักเรียนในความเห็นที่ 31 ค่ะ
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 30 เม.ย. 01, 23:14

----> คุณ pink ribbon

@ เก็บก้อนกรวดเกลื่อนกลิ้ง......กระดอน
หนาวเหน็บนั่งเอนนอน............อ่อนล้า
ยินเสียงแว่วเห่าหอน...............เย็นเยือก วังเวง
ไหวหวั่นหวาดวุ่นว้า...............ด่าวดิ้นเดึยวดาย

...อันนี้ก็เหมือนกันครับ คือรสความของโคลงไม่ชัด ไม่แน่ใจว่าจะสื่อความหมายไปทางไหน ดูที่บาทแรก กับ บาทที่ ๒ นะครับ บาทแรกบอก เก็บก้อนกรวดที่กระดอน แต่ บาท ๒ ถึงกับหนาวเหน็บแล้วอ่อนล้า ตรงนี้ไม่น่าจะใช้คำว่า หนาวเหน็บครับ เพราะทำให้โคลงเพี้ยนไปเลย ผมจะแก้ บาท ๑ กับ บาท ๒ ให้นะครับ

@ เก็บก้อนกรวดเกลื่อนพื้น......ดินดอน
ลุกนั่งไม่ได้นอน.....................อ่อนล้า

...จะเห็นว่า ๒ บาททีแก้ให้ จะได้ความชัดเจนกว่า คือบอกความหมายตรงๆออกไปเลย
...ส่วนบาทที่ ๓ ผิดตรงสร้อยโคลงครับ ถ้ากลับไปอ่านที่ผมอธิบายไว้ เรื่องการเติมสร้อยโคลง จะให้ใช้คำที่มีความหมายต่อเนื่องแค่คำเดียว แล้วมาเติมสร้อยคำ เช่น ฤๅ แม่ นา เอย แฮ เป็นต้น ดังนั้น การเติมสร้อยโคลงในบาทนี้ผิดครับ วังเวง เป็นคำ เจตนัง ที่มีความหมายในตัวไม่สามารถใช้เป็นสร้อยโคลงได้ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นแบบนี้

"ยินเสียงแว่วเห่าหอน.......สุดเยือก เย็นนา "  

อย่างนี้ใช้ไดครับ สุดเยือก ยังไม่จบความหมาย ต้องเติมคำว่า เย็น จึงจะมีความหมายชัดเจน จึงต้องเติมสร้อยคำคือ นา เพือให้จบด้วยสร้อยโคลง ในบาทนี้

...แต่ความจริง "ยินเสียงแว่วเห่าหอน......เย็นเยือก " ก็มีความหมายชัดเจนไม่ต้องเติมสร้อยโคลงก็ได้ครับ
...การปิดบททีบาทสุดท้ายก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร คือยังไม่ค่อยมีความหมายเข้ากับ ๓ บาทแรก ถ้าปิดในความหมายที่ว่า อยากให้ลองแต่งมาใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
อุ้ยครับ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 01 พ.ค. 01, 07:53

แหะๆๆ..ครับผม..ลองใหม่ละกันครับ

...กล..กานท์การแต่งต้อง......เลียมลอง
บท..บาทขาดตริตรอง...........พลัดพร้อง
สาย..ฤๅจักจิตจอง...............ใจส่อง
ไหม..เหมาะควรคิดคล้อง.......ปกป้องรักษา
บันทึกการเข้า
pink ribbon
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 01 พ.ค. 01, 09:51

เก็บก้อนกรวดเกลื่อนพื้น......ดินดอน
ลุกนั่งไม่ได้นอน.....................อ่อนล้า
ยินเสียงแว่วเห่าหอน.......สุดเยือก เย็นนา
ไหวหวั่นหวาดวุ่นว้า........ห่มผ้าคลุมโปง


มาส่งการบ้านค่ะ คุณครู ได้ข่าวว่าคุณครูจะลาสิกขาบทกลางเดือนนี้ ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
ครูไหวใจร้าย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 01 พ.ค. 01, 12:52

ขอโทษนะคะคุณ pink ribbon ขา ครูไหวขออนุญาตค่ะ

กลางเดือนนี้พ่อพลายฯจะบรรพชาอุปสมบทค่ะ

โบร่ำโบราณสองคำนี้แปลเหมือนกัน(อ้างถึง "มีศัพท์มีแสง" ของ เสฐียรพงศ์ วรรณปก ราชบัณฑิต)

แต่ปัจจุบัน บรรพชา ใช้กับการบวชเณร

อุปสมบท ใช้กับการบวชพระ

แต่ว่าคนที่จะบวชพระได้ ต้องบวชเณรก่อนค่ะ เพราะฉะนั้นจะบอกว่าพ่อพลายฯบรรพชาอุปสมบทก็ได้ค่ะ (เพราะตอนนี้ยังเป็นคฤหัสถ์ ไม่ได้เป็นเณรไงคะ)

ส่วนคำว่า สิกขาบท แปลว่าหนังสือค่ะ (สิกขา = ศึกษา) ถ้าคุณ Pink ribbon จะหมายความว่าสึกหาลาเพศ(สมณะ) ใช้คำว่า"สึก" ธรรมดา หรือ "ลาสิกขา" ซึ่งหมายถึงการลา(จาก)การศึกษา ทางไปสู่นิพพานค่ะ

ครูไหวขอโทษอีกครั้งนะคะ...หวังว่าคงไม่โกรธครูไหว(มาก)นะคะ
บันทึกการเข้า
pink ribbon
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 01 พ.ค. 01, 13:47

ว้าย  หนูผิดเองค่ะ สับสนไปหน่อยค่ะ จริงๆแล้วตั้งใจจะบอกว่าคุณครูพลายงามจะไปอุปสมบทน่ะค่ะ
แต่ดันไปเขียน ผิดเข้าค่ะ
หนูคงไม่บาปนะคะ หนูไม่ตั้งใจค่ะ ครูไหวใจดี
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 01 พ.ค. 01, 18:37

ขอบคุณที่ช่วยวิจารณ์ครับ
สําหรับ การที่ผมใช้จันทร์เจ้านั้น  ผมไปอ่านมาจากไหนก็จําไม่ได้เหมือนกัน
บอกว่า วรรค๒ กาพย์ ต้อง สัมผัสกับคําสุดท้ายของบาท๔โคลง
ผมก็พึ่งรู้เหมือนกัน หลังจากเข้าใจผิดมากว่า๑๐ปี

เพลงคุดทะราดเหยียบกรวด มีทํานองกระโดดไปมาจริง มันดี
แต่ผมไม่คิดว่า จะสามารถนํามาเอื่อนโคลงได้ ไม่รู้จริงๆจะมีความสัมพันธ์แค่ไหน
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 01 พ.ค. 01, 22:46

...ตอนแรกว่า ว่าจะคุยถึงทฤษฎีต่อ เกี่ยวกับเรื่องรสความ แต่กลัวจะไม่ต่อเนื่อง เพราะอีกไม่กี่วัน ผมต้องไปบวชแล้ว ขอติดไว้ก่อนแล้วกันครับ

...ขอตรวจการบ้าน และคุยกับผู้มาเยี่ยมต่อครับ

----> หลานอุ้ย
...โคลงที่แก้มา ดีขึ้นเยอะ เกือบเข้าขั้นแล้ว ไม่มั่วเหมือนบทแรก อยากให้หลานตั้งใจแต่งแบบนี้ทุกครั้งที่แต่งร้อยกรองนะ

----> pink ribbon
...การบ้านที่แก้มาก็ดีขึ้นมากเหมือนกันครับ แต่ สังเกตดู ความต่อเนื่องระหว่าง ๒ บาทแรก กับ ๒ บาทหลัง ยังไม่กลมกลืนกันครับ เหมือนจะไม่ เกี่ยวกันเลย แต่เรื่องนี้ คงไว้ว่าในเรื่อง รสความ อีกที แต่ตอนนี้ต้องให้ A ไว้ก่อนครับ ในฐานะที่มีพัฒนาการเร็วมาก ถ้าสนใจในเรื่องนี้จริงๆ จะไปได้ไกลครับ

----> ขอบคุณ ครูไหว ที่เข้ามาเยี่ยมครับ ผมก็อีกคนครับ ที่ใช้คำผิดบ่อยๆ โดยเฉพาะ ไม้ม้วน ไม้มลาย ใช้สลับกันบ่อยมาก ยังไงถ้าผมผิดพลาดตรงไหนช่วยบอกผมด้วยนะครับครู

----> ยินดีที่คุณภูมิ แวะมาอีกครั้งครับ การใช้สัมผัสระหว่างบท ในการแต่งร้อยกรองต่างชนิดกันนั้น ใช้ในการแต่ง กวีวัจนะ ครับ คือต้องแต่งทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และใช้สัมผัสระหว่างบท แบบคุณภูมิเข้าใจถูกต้องแล้วครับ
...ส่วนการสัมผัส ระหว่าง โคลง กับ กาพย์ อีกแบบ จะเจอใน กาพย์ขับไม้ห่อโคลง ครับ ซึ่งจะบังคับสัมผัส ระหว่าง กาพย์ขับไม้ กับ โคลง เหมือนกัน แต่สัมผัสบท ระหว่างกาพย์ฯ กับ โคลงฯ จะใช้คำสุดท้ายของกาพย์ฯ สัมผัส กับคำที่ ๕ บองโคลงฯ บาทแรกครับ
บันทึกการเข้า
ครูไหวใจร้าย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 พ.ค. 01, 20:19

นึกอะไรได้ออกอีก ๒ อย่างค่ะ อย่าถือสาหาความคนแก่เลยนะคะ หลงๆลืมๆอย่างนี้แหละค่ะ

ประการแรกชื่อของท่านราชบัณฑิต ครูไหวพิมพ์ผิดค่ะ...ที่ถูกคือ..เสฐียรพงษ์ วรรณปก ชื่อของท่าน ใช้ ษ์ ค่ะ

ประการที่สองเพื่อเพิ่มพลังความจำนะคะ ครั้งนึงครูไหวเคยอ่านข้อเขียนของคุณชายคึกฤทธิ์เรื่องนี้แหละค่ะ...เรียบเรียงจากความจำนะคะ คิดว่าคงไม่ถูกต้องทุกตัวอักษรหรอกค่ะ

คุณชายท่านว่าไว้อย่างนี้ค่ะ

...ผมล่ะรำคาญคำว่าลาสิกขาบทเสียจริง
สิกขาบทแปลว่าหนังสือ สิกขามันก็ศึกษานั่นแหละ
แล้วจะไปลามันทำไมหนังสือน่ะ
สู้ขายเจ๊กเอาเงินไปซื้อกางเกงนุ่งยังดีกว่า...

เพราะครูไหวอ่านบทความเรื่องนี้แหละค่ะ เลยจำแม่นเลย
บันทึกการเข้า
อุ้ยครับ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 พ.ค. 01, 20:26

เย้ๆๆๆๆๆ...สวัสดีครับคุณครู...ดีใจจัง ตานี้อุ้ยก็รู้จักคนเพิ่มอีก 2 คนละ ปู่รึกก็มาละ ครูไหวก็มาละ แล้วปู่ก๊องจะมามะครับ

ปู่เมฯครับ อุ้ยแก้อีกทีละกันครับ

...กล..กานท์การแต่งต้อง......ตริตรอง
บท..บาทขาดทำนอง............พลัดพร้อง
สาย..ฤๅจักจิตจอง...............ใจส่อง
ไหม..เหมาะควรคิดคล้อง.......ไป่ข้องขัดความ
บันทึกการเข้า
ผึ้งไผ่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 04 พ.ค. 01, 18:26

ขอศึกษาก่อนนะคะ  เพิ่งเข้ามาอ่านค่ะ  หลังจากวนเวียนมาบ้างไม่มาบ้าง  ทึ่งในฝีมือการแต่งโคลงของคนที่นี่จังค่ะ  นับถือ ๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 04 พ.ค. 01, 20:00

คุณอุ้ย และท่านอื่นๆ  
มาต่อโคลงกันดีกว่าค่ะ
เรียกว่ากลบทอะไรจำไม่ได้ แต่ใช้พยัญชนะเดียวกันในแต่ละบาท     อนุโลมให้ใช้อักษรสูงต่ำคู่  อย่าง ข ค /ส ซ ได้

กวาดแก้วกลมเกลื่อนกลิ้ง...........กองไกล
๐ ๐ ๐ ๐ ๐............................๐ ๐
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 20 คำสั่ง