เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 69649 เมื่อญี่ปุ่นบุก : ไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 16:34

แต่ก็ยังแปลกอยู่ดี ที่ทหารไทยซึ่งรักษาเมืองเขมรต่างๆที่เพิ่งยึดคืนมาจากฝรั่งเศส ไม่มีจุดใดที่ยิงต่อสู้กับญี่ปุ่นก่อนคำสั่งหยุดยิงจะประกาศออกไปเลย ให้ผ่านทั้งนั้น

ไม่เหมือนทหารที่รักษาแผ่นดินแม่ ญี่ปุ่นทะเล่อทะล่ายกพลขึ้นบกมาถูกยิงตายเกลื่อน ด่ากันให้ขรมไหนบอกว่าเจรจากับไทยไว้แล้วว่าให้ผ่าน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 16:47

การยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นในเมืองไทย ขาดปฏิบัติการที่สำคัญคือการถล่มชายหาดเพื่อกวาดล้างการต่อต้าน แฟนหนังสงครามคงจะจำได้ วันD-dayก่อนจะส่งทหารลงเรือเปิดหัวเข้าไปยึดหัวหาด เรือรบอเมริกันยิงถล่มหาดนอร์มังดีเสียไม่รู้กี่พันนัดได้ นั่น มันควรจะเกิดอย่างนั้น การยกพลขึ้นบกในมลายู ญี่ปุ่นยังส่งกองทัพอากาศไปปูพรมแนวรับของทหารอังกฤษเสียจนเสียศูนย์

ดังนั้นจะประหลาดใจอะไร ที่นายกรัฐมนตรีกลับถึงกรุงเทพก็วิ่งตรงดิ่งเข้าห้องประชุม ไม่นานนักมติค.ร.ม.เรื่องยินยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านได้ก็คลอด





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 17:00

ทหารญี่ปุ่นมาถึงอรัญประเทศหลังจากที่นายกรัฐมนตรีบึ่งรถกลับเข้ากรุงเทพได้ไม่นาน ท่านเข้าไปลึกถึงพระตะบอง หรือท่านไม่ทราบจริงๆว่ากองทัพญี่ปุ่นกำลังมุ่งหน้ามาไทยแล้ว

ถนนหนทางในสมัยนั้นย่ำแย่พอๆกับรถ ถึงจะเป็นรถประจำตำแหน่งของนายกก็เถอะ ถ้าเกิดยางแตกหยุดเปลี่ยนยาง ก็มีสิทธิ์ตกเป็นเชลยของญี่ปุ่นได้ง่ายๆ

พอจะตอบเส้นทางไปราชการของจอมพลป. ได้ค่ะ  มีบันทึกไว้ละเอียดในหนังสืองานอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ว่า
จอมพลป.และคณะนั่งรถยนต์ออกจากกรุงเทพไปตั้งแต่เช้ามืด  แวะรับประทานมื้อกลางวันแล้วเดินทางต่อไปยังอรัญประเทศ  วันรุ่งขึ้นคือ 7 ธันวาคม  ไปถึงวัฒนานคร  ออกจากวัฒนานครแล้วไปกินมื้อกลางวันที่พระตะบอง   แล้วเดินทางต่อไปยังอ.พิบูลสงคราม   แต่ไปไม่ถึง เพราะมืดเสียก่อน    ท่านกับคณะจึงกลับมาพักที่วัฒนานครตามเดิม
ที่วัฒนานครนี้เอง ได้รับโทรเลขจากพล ต.ต.อดุล อดุลเดชจรัสตอนห้าทุ่มถึงการเคลื่อนไหวของกองทัพญี่ปุ่น     ท่านก็เดินทางกลับมาทันที  มาถึงหินกอง สระบุรีตอนสว่าง    พอถึงกรุงเทพก็เข้าประชุมรัฐมนตรีทันที
คืนที่นายกรัฐมนตรีเดินทางจากวัฒนานครมาถึงหินกอง     ทางใต้และตะวันออกก็รบพุ่งกันทั้งคืน   ล้มตายกันไปมากมายทั้งสองฝ่าย

สรุปว่าท่านนายกฯ ไปถึงพระตะบอง  แต่ไม่เจอกองทัพญี่ปุ่นที่ยกไปทางนี้    คงจะเดินกันคนละเส้นทาง   ทหารไทยทางด้านอรัญประเทศ วัฒนานคร  พระตะบอง  พิบูลสงคราม  ก็ไม่ได้ยินเสียงกระโตกกระตากอะไรจากกองทัพญี่ปุ่นที่ผ่านเข้าไปในเขตไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 17:16

อ้างถึง
มีคำถามที่ถามกันตั้งแต่วันนั้น มาถึงบัดนี้ไม่มีคำตอบ คือ

๑ กองทัพเรือของเราไปอยู่ที่ไหนกันหมด ญี่ปุ่นยกพลมาขนาดนี้ ทำไมไม่รู้ไม่เห็น

กองทัพอากาศด้วยค่ะ

ข้อความต่อไปนี้คงจะเป็นคำตอบได้ส่วนหนึ่ง

" กองกำลังทุกหน่วยเหล่าได้เข้าประจำที่ตั้งตามแผนการณ์แล้ว     ตั้งแต่ได้รับคำสั่งจากผู้บัญชาการทหารสูงสุด  เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2484    กองทหารทุกหน่วยในแนวหน้า ไม่เลือกว่าจะเป็นกองทหารด้านเหนือ   ด้านตะวันออก หรือด้านใต้นั้น   ต่างก็มีความเข้าใจในภาระหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี    ทางฝ่ายทหารทุกคนอยู่ในอาการพร้อมทุกขณะ  ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนในทันทีทันใด    ในเมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับสายงานของทางราชการฝ่ายทหาร   ตามที่ได้สั่งการและวางแผนเรียบร้อยแล้ว"

ทหารเขาต้องอยู่ใต้คำสั่ง    ถ้าไม่มีคำสั่งให้ลงมือปฏิบัติการ  ก็ได้แต่เตรียมพร้อมอยู่อย่างนั้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 17:42

อ้างถึง
สรุปว่าท่านนายกฯ ไปถึงพระตะบอง  แต่ไม่เจอกองทัพญี่ปุ่นที่ยกไปทางนี้    คงจะเดินกันคนละเส้นทาง   ทหารไทยทางด้านอรัญประเทศ วัฒนานคร  พระตะบอง  พิบูลสงคราม  ก็ไม่ได้ยินเสียงกระโตกกระตากอะไรจากกองทัพญี่ปุ่นที่ผ่านเข้าไปในเขตไทย

ครับ ท่านไปถึงพระตะบอง ที่ไม่เจอกองทัพญี่ปุ่นเพราะท่านกลับมาก่อน ไม่ใช่เพราะเดินกันคนละเส้นทาง เขมรตอนนั้นมีถนนหลักเส้นเดียว ไม่ได้มีให้เลือกทางอื่น แล้วกองทัพญี่ปุ่นออกจากไซ่ง่อนก็มุ่งมาอรัญประเทศเพราะเรามีรถไฟที่ญี่ปุ่นจะใช้บริการได้ (ตามรูปที่ผมเอามาลงไปแล้ว)

ถนนดังกล่าวผ่านเข้าประเทศไทยตอนนั้นที่พระตะบอง มาศรีโสภณ และอรัญประเทศ ที่ว่า ทางฝ่ายทหารทุกคนอยู่ในอาการพร้อมทุกขณะ  ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนในทันทีทันใด    ในเมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับสายงานของทางราชการฝ่ายทหาร   ตามที่ได้สั่งการและวางแผนเรียบร้อยแล้ว ผมก็งงต่อไปว่า แล้วเมื่อเห็นขบวนรถญี่ปุ่นที่ผ่านไปต่อหน้าต่อตานั้น ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทำอะไรตามแผนที่ว่านั่น

ส่วนทหารอากาศก็เช่นกัน ทูตทหารญี่ปุ่นที่มารอคำสั่งจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทยออกอาการหงุดหงิดมากเมื่อทราบว่านายกรัฐมนตรีไม่อยู่ รองนายกรัฐมนตรี หลวงอดุล เกลอเก่าก็เก๋ากึ่กรู้เชิง ไม่ยอมปฏิบัติราชการแทนในเรื่องนี้ เมื่อไม่มีคำตอบว่าท่านนายกจะกลับเมื่อไหร่ ก็ขู่ว่าทหารญี่ปุ่นตายไปหลายคนแล้ว ตอนนี้ความอดทนใกล้จะถึงที่สุดรอมร่อ ขู่ไม่ขู่เปล่า สั่งเครื่องบินรบจากไซ่ง่อนมาบินลงจอดรอปฏิบัติการขั้นต่อไปที่สนามม้าราชตฤณามัยข้างทำเนียบนั่นเอง

อย่ามาถามผมต่อนะครับว่าผู้บัญชาการทหารอากาศท่านสั่งลูกน้องว่าอย่างไร เมื่อเครื่องบินญี่ปุ่นข้ามหัวมาหลายสนามบินแล้วลงจอดเป็นคุณเฉยอยู่กลางกรุง ผมไม่ทราบจริงๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 17:48

วันที่๘ ยังมืดอยู่ ทหารญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกมารอที่สพานสุขตา ศาลาสุขใจเรียบร้อย ไทยจัดกองทัพยุงไปต้อนรับถูกทหารญี่ปุ่นตบดิ้นไปหลายร้อยหลายพันตัวก็ไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทหารบ่นกันพึมเมื่อไหร่จะมีคำสั่งให้เคลื่อนทัพเข้ากรุงเทพเสียที

ในภาพมีตำรวจไทยของหลวงอดุลไปถ่ายรูปร่วมกับเขาด้วย

อย่าถามผมอีกเช่นกันนะครับว่า ทำไมตำรวจปากน้ำจึงไม่แจ้งข้อหาญี่ปุ่นว่าลักลอบเข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 17:54

วันรุ่งขึ้น พอไฟเขียวผ่านตลอด กองทัพญี่ปุ่นก็นั่งรถทหารอย่างโก้เข้ากรุง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 17:55


ถนนดังกล่าวผ่านเข้าประเทศไทยตอนนั้นที่พระตะบอง มาศรีโสภณ และอรัญประเทศ ที่ว่า ทางฝ่ายทหารทุกคนอยู่ในอาการพร้อมทุกขณะ  ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนในทันทีทันใด    ในเมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับสายงานของทางราชการฝ่ายทหาร   ตามที่ได้สั่งการและวางแผนเรียบร้อยแล้ว ผมก็งงต่อไปว่า แล้วเมื่อเห็นขบวนรถญี่ปุ่นที่ผ่านไปต่อหน้าต่อตานั้น ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทำอะไรตามแผนที่ว่านั่น

อย่ามาถามผมต่อนะครับว่าผู้บัญชาการทหารอากาศท่านสั่งลูกน้องว่าอย่างไร เมื่อเครื่องบินญี่ปุ่นข้ามหัวมาหลายสนามบินแล้วลงจอดเป็นคุณเฉยอยู่กลางกรุง ผมไม่ทราบจริงๆ

ผู้บังคับบัญชาคงสั่งให้เตรียมพร้อมทุกขณะ อยู่เช่นเดิมละมังคะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 18:09

^
ต้องมีใครคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคน รู้อยู่แล้วว่าญี่ปุ่นจะบุก และเราจะยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ผู้ที่ไม่รู้คือคนที่เขาไม่ให้ค่าและประชาชนคนไทยทั้งประเทศ

พอรัฐบาลไทยทำตามคำขอของญี่ปุ่นปั๊บ ญี่ปุ่นก็ติดโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อปั๊บ

สมัยนั้นยังไม่มีPowerpoint และInkjet Printer การพิมพ์ต้องใช้เวลาออกแบบ กัดบล๊อก ขึ้นแท่น อย่างเร็วก็สองสามวัน อย่างช้าเป็นอาทิตย์ นี่แสดงว่าพี่ยุ่นรู้การไกลมานานพอสมควร



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 18:10

เอ๋ นี่ผมไปทำให้กระทู้ของท่านอาจารย์ใหญ่ผิดแนวหรือเปล่านั่น ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 18:19

ตรงแนวเป๊ะเลยค่ะ   เชิญต่อตามอัธยาศัย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 18:26

ขอบคุณครับ มีอีกนิดเดียวก็จะจบแล้วครับ

ตรงที่ยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่าน คนก็พอเข้าใจได้ แต่อันนี้ อีนี่ฝาหรั่ง ม่ายข้าวจาย นะนายจ๋า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 18:36

เปลี่ยนอารมณ์พักไปอู้ในซอยเล็กน้อย

ขอตั้งคำถามเป็นการเชคเรทติ้ง

นี่เป็นสิ่งประดิษฐ์ลึกล้ำอย่างหนึ่งของญี่ปุ่นที่มีใช้ในสงครามคราวนี้ อยากถามว่า มันคืออะไรครับ
บอกใบ้ให้ว่า ไม่ได้ใช้ในการบรรเลงตอนสวนสนาม แต่ถือเป็นยุทโธปกรณ์อย่างหนึ่ง

ใครตอบถูกเชิญไปรับรางวัลใหญ่ที่จขกท. ที่ดินพร้อมบ้านทรงไทย๑รูป ๑รางวัลเท่านั้นนะครับ ใครตอบถูกก่อนได้ก่อน


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 18:40

สาเหตุที่ญี่ปุ่นโจมตีเพริลฮาร์เบอร์พร้อมกับยกพลขึ้นบกที่คาบสมุทรมลายูของไทยโดยอ้างว่า จะขอเดินทัพผ่านประเทศไทยไปพม่านั้นน่าจะเป็นเพียงข้ออ้าง  คำตอบสำหรับโจทย์ข้างต้นน่าจะเป็นไปไดังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชวิจารณ์ไว้ใน  พระราชหัตถเลขาที่พระราชทานไปยังนายเมนาร์ด วิลโลบี คอลเชสเตอร์-วีมซ (Maynard Willoughby Colchester-Wemyess) พระสหายชาวอังกฤษ  เมื่อวันที่   ๒๐   มกราคม  พ.ศ. ๒๔๖๗ ที่ว่า

“ที่คุณถามมาในจดหมายฉบับที่ ๓๑๓  เกี่ยวกับฐานทัพเรือที่สิงคโปร์นั้น ฉันเกรงว่าจะไม่สามารถพูดอะไรได้มากนัก  คงได้แต่ให้ความเห็นส่วนตัวของฉัน  ถ้าจะมีค่าอะไรบ้าง
ฉันคิดว่าทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าฐานทัพนี้จำเป็นอย่างยิ่ง  ถ้าบริเทนใหญ่ตั้งใจจะเสนอความช่วยเหลือที่ได้ผลจริงๆ ต่อออสเตรเลีย  หากว่าทวีปนั้นถูกคุกคามด้วยกองกำลังต่างชาติ  โดยไม่ต้องพูดอ้อมค้อมทุกคนรู้ (แม้ว่าน้อยคนจะยอมรับ) ว่า กองกำลังซึ่งอาจคุกคามออสเตรเลียก็คือญี่ปุ่น  และคนญี่ปุ่นก็รู้ข้อเท็จจริงดีว่าฐานทัพเรือสิงคโปร์นั้นจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นเสมือนเครื่องสกัดกั้นความทะเยอทะยานของตน  ในสำนวนไทยของเรา  ฐานทัพที่สิงคโปร์ในสายตาของญี่ปุ่นคือ “ก้างขวางคอ”  เพราะฐานทัพนี้จะหยุดยั้งการใช้กำลังโจมตีออสเตรเลียโดยฉับพลันได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก  ถ้าหากญี่ปุ่นเกิดมุ่งหมายจะทำอะไรแบบนั้น  แน่นอนที่ปัจจุบันนี้ญี่ปุ่นไม่อยู่ในสภาพที่จะขยายจักรวรรดิออกไปและจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้อีกเป็นเวลานานหลายปีทีเดียว  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าญี่ปุ่นได้ล้มเลิกความความทะเยอทะยานทั้งหมด  ญี่ปุ่นไม่เคยทำเช่นนั้นเลย  คนญี่ปุ่นมีความอดทนที่น่าอัศจรรย์อย่างที่สุด  และเขาอาจต้องรอคอยเป็นปีๆ หรือแม้กระทั่งหลายชั่วอายุคน  ก่อนที่จะสมารถหวังที่จะทำให้เป็นความจริงขึ้นมา...”

พระราชหัตถเลขาชุดนี้ทรงไว้เป็นลายพระราชหัตถ์ภาษาอังกฤษ  ท่าน ม.ล.ปิ่น  มาลากุล สำเนากลับมาจากอังกฤษเมื่อราว ๒๐ ปีก่อน  และวชิราวุธวิทยาลัยได้ขอความกรุณาให้  รศ.มาลิทัต  พรหมทัตตเวที แปลเป็นภาษาไทย  แล้วจัดพิม์เผยแพร่ในชื่อ "พระราชากับคหบดีชนบท"
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 18:48

เรื่องการเตรียมพร้อมของทหารนั้น
พันตรี วิลาศ  โอสถานนท์ ท่านเล่าไว้ในทีี่ชุมนุมนักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ รัชกาลที่ ๖ คราวหนึ่งว่า  ก่อนที่ญี่ปุ่นจะบุกนั้นท่านผู้นำได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้แทนไปเจรจาซื้อน้ำมันที่สิงคโปร์  แต่ภารกิจสำคัญคือ ให้ท่านไปเจรจากับแม่ทัพอังกฤษที่สิงคโปร์ว่า ถ้าญี่ปุ่นบุกไทยจริงๆ  อังกฤษจะส่งทหารขึ้นมาช่วยตามพันธกรณีที่ตกลงกันไว้ครั้งสยามกู้ยืมเงิน FMS มาสร้างทางรถไฟสายใต้หรือไม่?  และเพื่อให้การเจรจากับอังกฤษมีน้ำหนัก  ท่านผู้นำจึงขอพระราชทานยศให้ท่านเป็นนายพันตรี  คุณวิลาศท่านเล่าว่า เมื่อไปเจรจากับอังกฤษนั้น  อังกฤษรับปากเต็มที่ว่าจะส่งทหารขึ้นมาช่วย  นี่จึงน่าจะเป็นที่มาของคำสั่งให้ทหารเตรียมพร้อมโดยไม่ต้องรบกับญี่ปุ่น  เพราะจะรอดูท่าทีของอังกฤษ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง