เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 69831 เมื่อญี่ปุ่นบุก : ไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 02 มี.ค. 12, 13:00

ต่อจากกระทู้

ละเลงเลือด(ฝรั่งเศส)ที่สมรภูมิบ้านพร้าว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 13:21

ในพ.ศ. 2484  ญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจที่สยายกรงเล็บครอบคลุมเอเชียอาคเนย์เอาไว้ในตอนนั้น     แล้วตัดสินใจว่าจะไม่หยุดอยู่แค่นั้น  แต่จะแบ่งโลกออกเป็น 2 ซีก   ทางยุโรปเป็นของเยอรมันซึ่งมีอิตาลีเป็นพันธมิตร    ส่วนทางเอเชีย  ญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำ
แผนนี้ถ้าทำสำเร็จ  ญี่ปุ่นก็เป็นเจ้าครึ่งโลก    เหลือประเทศเดียวที่ขวางกลางเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ขวางคอ   ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากสหรัฐอเมริกา

ญี่ปุ่นตัดสินใจบุกสายฟ้าแลบ  ถือว่าใครลงมือก่อนคนนั้นได้เปรียบ    ด้วยเหตุนี้ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม 2484   ฐานทัพของอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล หรือเรียกทับศัพท์ว่าเพิร์ล ฮาเบอร์ ในรัฐฮาไวอิ  กลางมหาสมุทรแปซิฟิค ยังไม่ทันตั้งตัวว่าเกิดอะไรขึ้น    ฝูงเครื่องบินรบของญี่ปุ่นก็พุ่งเข้าทิ้งระเบิดปูพรม ถล่มเรือรบของอเมริกาอย่างไม่ยอมให้มีโอกาสตอบโต้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 13:26

แผนถล่มเพิร์ล ฮาเบอร์วางไว้ลึกล้ำเอาการ  เพราะเรื่องจะเข้าโจมตีฐานทัพระดับบิ๊ก ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ   ประเภทอยากบินก็บินเข้าไปทิ้งระเบิดได้ง่ายๆ    ทางโน้นเขามีการป้องกันตัวเหนียวแน่นอยู่แล้ว   ญี่ปุ่นจึงลงมือด้วยการซ่อนกองเรือบรรทุกเครื่องบินไว้ในเรือรบลำใหญ่  แล่นไปในมหาสมุทร ลอยลำเข้าใกล้อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   แล้วปล่อยเครื่องบินรบจากเรือ   บินต่ำเพื่อหลบคลื่นเรดาร์
ฐานทัพของอเมริกาตรวจพบเครื่องบิน 400 ลำกำลังบินใกล้เข้าเกาะ   แต่ไม่เฉลียวใจ คิดว่าเป็นเครื่องบินอเมริกันด้วยกันบินกลับมาจากจีน    จึงไม่ได้เตรียมตัวรับมือแต่อย่างใด   ว่ากันว่าเครื่องบินรบของกองทัพญี่ปุ่นบินอยู่เหนือหัว ในขณะที่ทหารเรืออเมริกันกำลังตกปลาอยู่เพลิดเพลินด้วยซ้ำไป

เจ้าของแผนการรบคือนายพลเรืออิโซโรกุ ยามาโมโต    เขาดัดแปลงระเบิดตอร์ปิโด ด้วยการใส่ไม้รูปทรงคล้ายๆกล่องเข้าไปที่ใบพัดจึงทำให้สามารถยิงในน้ำตื้นได้
ภายในไม่กี่นาทีที่ฝูงบินรบโจมตีแบบสายฟ้าแลบ   อเมริกาสูญเสียอย่างหนัก   เสียทหาร 2408 นาย เรือรบ 18 ลำ เครื่องบิน 400 ลำ
อีกสามชั่วโมงต่อมา  กองทัพญี่ปุ่นก็บุกฟิลิปปินส์   ฮ่องกง มาเลย์เซีย  และประเทศไทย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 13:55

จากฐานทัพญี่ปุ่นในอินโดจีนฝรั่งเศส   ญี่ปุ่นส่งกำลังพลมุ่งลงทางใต้   แบ่งกำลังเป็นกำลังทางบกผ่านเข้าทางจังหวัดพระตะบอง  เข้าชายแดนไทยทางอรัญประเทศ    แต่กองกำลังทางบกยังถือเป็นส่วนน้อย  กำลังหลักคือทางเรือ  เป็นขบวนเรือลำเลียง    มีเรือประจัญบาน   เรือลาดตระเวน   เรือพิฆาตคุ้มกัน     และกองบินรบคอยบินตระเวนและคุ้มกันกองเรือลำเลียงพล

ขบวนเรือลำเลียง พร้อมเรือรบคุ้มกันเคลื่อนพลจากท่าเรือซังจา ทิศใต้ของเกาะไหหลำ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2484    ในบ่ายวันที่ 6 ธันวาคม  เครื่องบินทะเลชื่อคาตาลีนาของฐานทัพอังกฤษในสิงคโปร์ เห็นกองเรือญี่ปุ่น  ก็ส่งรายงานให้รู้ พร้อมกับรายงานว่ามรสุมในอ่าวไทยค่อนข้างแรง  คลื่นสูง 1-2 เมตร  เมฆลอยต่ำและมีลมกรรโชกแรง
แต่เครื่องบินคาทาลีนาก็ชะตาขาด   ถูกเครื่องบินขับไล่จากฐานทัพอากาศที่ไซ่ง่อน 2 เครื่อง รุมกินโต๊ะ ยิงจนตกทะเล
คลื่นลมในทะเลยังรุนแรงต่อไปจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม  แต่ไม่ได้ทำให้กองทัพเรือญี่ปุ่นสะทกสะท้านแต่อย่างใด   คงเดินหน้าเข้ามาในอ่าวไทยไม่ละลด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 14:27

สารด่วนจากรัฐบาลอังกฤษถึงรัฐบาลไทย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 14:50

สารของทูตอังกฤษลงวันที่ 8 ธันวาคม   ถึงด่วนที่สุดยังไงก็ด่วนไม่ทันการเสียแล้ว  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 14:59

วันที่ 6 ธันวาคม  ท่านทูตบริติชยังไม่ทันจะร่างจดหมาย     จอมพลป.ผู้นำของไทยก็เกิดมีภารกิจต้องออกจากเมืองหลวงไปตรวจเยี่ยมทหาร  ดูความพร้อมของกำลังรบและตรวจตราสถานการณ์บ้านเมือง   ณ จังหวัดปราจีนบุรี  พิบูลสงครามและพระตะบอง   ท่านจะรู้หรือไม่รู้ก็ตามว่าญี่ปุ่นกำลังสวนทางเข้ามาแล้ว
ผู้ติดตามท่านนายกฯไป มีพลตรีหลวงวิชิตสงคราม  เสนาธิการกองทัพบก  และพลต.หลวงเสรีเริงฤทธิ์  อธิบดีกรมรถไฟ ติดตามขบวนไปด้วย   

ส่วนประชาชนชาวไทยไม่รู้เรื่อง   จึงไม่เฉลียวใจเรื่องใดๆทั้งหมด      เพราะเมืองหลวงในช่วงนั้นเป็นฤดูหนาว อากาศกำลังเย็นสบาย   เป็นเวลาที่จัดงานกลางคืนงานใหญ่คืองานฉลองรัฐธรรมนูญที่ยาวติดต่อกันหลายวันหลายคืน      นับเป็นงานโก้ออกหน้าออกตาของชาวพระนคร  ที่จะเดินเที่ยวกันได้ตั้งแต่เช้าไปจนดึกดื่น    คนไทยก็เลยเที่ยวงานกันอย่างร่าเริงบันเทิงใจ

วันที่ 7 ธันวาคม   เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นพร้อมกับทูตทหารขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี   เพื่อยื่นข้อเสนอให้ประเทศไทยเปิดทางให้กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนผ่านไปได้อย่างสะดวกสบาย   เพื่อจะไปรบกับอังกฤษในมลายู และพม่า 
ในคืนวันที่ 7 นั้นเอง  เรือเดินทะเลลำหนึ่งชื่อซิดนีย์มารู ก็ลอยลำเข้ามาจอดเงียบๆที่บางปู     ในนั้นมีทหารญี่ปุ่นขนมาเพียบเต็มกำลังเรือ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 15:00

ขอคั่น เอาลิงค์ไฟล์ บทความเกี่ยวกับญี่ปุ่นบุกปัตตานี และสงขลามาฝากครับ

http://www.4shared.com/office/eqlBoOwa/_online.html

http://www.4shared.com/office/-UCCM8wg/_online.html

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 15:09

^


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 15:22

ก่อนหน้านี้คนไทยคุ้นกับชาวญี่ปุ่นในฐานะชาวต่างชาติที่เป็นมิตรดี   จะว่าไปเราก็เปิดประตูต้อนรับคนต่างชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว  ไม่ได้รังเกียจรังงอน   ญี่ปุ่นทยอยกันเข้ามาตั้งร้านถ่ายรูปบ้าง เป็นหมอฟันบ้าง ขายสินค้าญี่ปุ่นในเมืองไทยมาหลายปี โดยไม่มีปัญหาอะไร    คนไทยไม่เคยระแวงสักนิดเดียวว่า คนเหล่านี้แท้จริงเป็นสายของกองทัพญี่ปุ่นทั้งสิ้น

แม้แต่กองทัพบก ซึ่งเล็งเห็นสถานการณ์ในอนาคตอันใกล้ว่าไทยเสี่ยงกับสงครามจากญี่ปุ่นบุกแน่นอน    ถึงกับมีการประชุมกันตั้งแต่เดือนตุลาคม   สั่งให้ตรวจภูมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายทะเลภาคใต้  มีพ.อ.หลวงสวัสดิกลยุทธ  เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 6  เป็นหัวหน้าคณะตรวจภูมิประเทศ      ผลการตรวจสรุปได้ว่า จังหวัดชายทะเลภาคใต้ทุกจังหวัดเป็นจุดที่ข้าศึกสามารถยกพลขึ้นบกได้ทุกแห่ง
ขนาดนายทหารที่มีวิสัยทัศน์ไกลคนหนึ่งชื่อร.อ. ประชุม ตาตะยานนท์ หรือต่อมาคือพล ท.ประชุม ประสิทธิ์สุรศักดิ์  ผู้บังคับกองร้อยที่ 4   เป็นผู้แทนของกองพันทหารราบที่ 39  ได้เสนอในที่ประชุมว่า  ข้าศึกอาจยกพลขึ้นที่ท่าแพ จ.นครศรีธรรมราช  แล้วเคลื่อนที่เข้ายึดหน่วยทหารต่อไปได้     
การประเมินของร.อ.ประชุม แม่นยำราวกับตาเห็น    เพราะญี่ปุ่นบุกตามนั้นจริงๆ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 15:33

คืนวันที่ 7 ล่วงเข้าวันใหม่ของวันที่ 8 ธันวาคม  ชาวกรุงเทพเที่ยวงานรัฐธรรมนูญจนเต็มอิ่มแล้วก็กลับเข้าบ้าน นอนหลับกันอย่างสุโข   ไม่ได้ระแคะระคายเลยว่าในถนนบางสายของเมืองหลวง  ชาวญี่ปุ่นที่ยิ้มแย้มติดต่อค้าขายอยู่กับชาวบ้านมาหลายปี  จู่ๆก็กลับเข้าห้อง เปิดหีบหยิบเครื่องแบบทหารญี่ปุ่นบ้าง  เครื่องแบบพลเรือนกลาโหมของญี่ปุ่นบ้าง ขึ้นมาผลัดเปลี่ยนกับชุดธรรมดา     แล้วรวมพลกันเคลื่อนกำลังออกไปอย่างพร้อมเพรียง  เพื่อสมทบกับกองทัพญี่ปุ่นที่กำลังยกพลขึ้นบก หลายทางด้วยกัน

ตั้งแต่ตีสองไปจนเช้ามืดวันที่ 8 ธันวาคม  กองทัพญี่ปุ่นที่มีเรือลำเลียงพล  เรือรบและเครื่องบินรบ  ก็บุกไทยแบบสายฟ้าแลบ  เข้าทางใต้ของไทยในหลายจุดด้วยกัน    ทหารและยุวชนไทยทางใต้ก็สู้รบกันเต็มที่ไม่ยอมถอย
ส่วนทางกรุงเทพก็เข้ามาทางปากน้ำ    คนไทยตื่นนอนขึ้นมาก็พบว่าญี่ปุ่นเข้ามาเต็มเมืองแล้ว   ทหารไทยในกรุงเทพก็ปักหลักยิงญี่ปุ่นไม่ยอมให้ล่วงล้ำเข้ามา

รัฐบาลประชุมกันอย่างเคร่งเครียดว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี      ในที่สุดก็ตกลงกันว่ายอมประนีประนอมดีกว่า เพื่อไม่ให้เสียเลือดเนื้อ  เพราะสู้ไปก็คงสู้ไม่ได้    คำสั่งจึงออกมาอย่างเร่งด่วน  ให้ทหารหยุดยิง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 15:39

พลต.บัญชา แก้วเกตุทอง   หรือร้อยโทบุญช่วย แก้วเกตุทอง ชื่อและยศในขณะนั้น   ได้เขียนบันทึกไว้ในเหตุการณ์วันนี้ ขอเรียบเรียงมาเล่าสู่กันฟัง

" เมื่อรัฐบาลไทยตกลงยินยอมให้ญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังทหารผ่านประเทศไทย    เพื่อเข้ายึดพม่า    มณฑลทหารบกที่ 6  จึงสั่งให้ทหารหยุดยิง   โดยพ.อ. หลวงสวัสดิกลยุทธ  นั่งรถยนต์ปักธงขาวไปทางถนนราชดำเนิน    แล้วออกคำสั่งให้ทหารไทยหยุดยิง
ผมได้นำทหารถอนกลับมา   เมื่อผ่านกองรักษาการ ได้เห็นพันตรีทหารญี่ปุ่นกำลังเจรจากับพลตรีหลวงเสนาณรงค์    มีข้อความในการเจรจาตอนหนึ่งซึ่งผมได้ยินด้วยหูผมเอง  (ไม่ใช่คำบอกเล่า)ดังนี้   
หลวงเสนาณรงค์ได้พูดกับพันตรีทหารญี่ปุ่นว่า "เราหยุดยิง   และถอนกำลังมา  ตามคำสั่งของรัฐบาล   มิใช่เรายอมแพ้ท่าน    ถ้าท่านคิดว่าเรายอมแพ้   ข้าพเจ้าจะสั่งให้กำลังของเราเข้าประจำแนว แล้วรบกับท่านต่อไป"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 15:40

ขอพักรบก่อนค่ะ    เชิญท่านปุจฉาวิสัชนากันต่อไปตามสะดวก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 16:18

มีคำถามที่ถามกันตั้งแต่วันนั้น มาถึงบัดนี้ไม่มีคำตอบ คือ

๑ กองทัพเรือของเราไปอยู่ที่ไหนกันหมด ญี่ปุ่นยกพลมาขนาดนี้ ทำไมไม่รู้ไม่เห็น

ถ้ารู้ถ้าเห็นคงเป็นอย่าง เรือปริ็นซ์ออฟเวลส์ อันเป็นเรือประจันบานที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของอังกฤษ กับเรือรีพัลส์ซึ่งใหญ่ใกล้เคียงกันซึ่งถูกส่งมาคุ้มครองอาณานิคมมลายูและสิงคโปร์ เรือสองลำนี้ออกเดินทางมุ่งมาอ่าวไทยในทันทีที่ได้รับรายงานการเคลื่อนไหว ญี่ปุ่นรออยู่แล้วจึงส่งเครื่องบินจากไซ่ง่อนเข้าโจมตีด้วยระเบิดและตอร์ปิโด ส่งเรือที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองลงไปสู่ท้องทะเลในเวลาเพียงไม่กี่นาที

เพราะทหารเรือจะรู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง หรือมีใครส่งสัญญาณให้อยู่นิ่งๆ เงียบๆไว้

๒ ทำไมเช้าวันนั้น ก่อนจะได้รับสารจากอังกฤษ จอมพลป.พิบูลสงครามจึงเกิดความจำเป็นจะต้องไปตรวจราชการโดยรถยนต์ที่อรัญประเทศ และเลยไปถึงพระตะบองโดยเร่งด่วนไม่มีกำหนดการล่วงหน้า นอกจากทำหนังสือมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการสำคัญแทนทิ้งเอาไว้ที่ทำเนียบ

การที่ทหารญี่ปุ่นยกพลลงเรือมาทั้งกองทัพจากไซ่ง่อน ถ้าสายลับไทยไม่รู้ไม่เห็นไม่รายงาน ก็น่าจะถูกเขกกระบาน เป็นไปได้ไหมว่าท่านนายกรู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นในไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า แต่ไม่ต้องการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ ยอมหรือไม่ยอม ต่อคำขอของกองทัพญี่ปุ่น ในนาทีแรก

รอให้สถานการณ์อะไรสักอย่างเกิดขึ้นไปทีหนึ่งก่อน แล้วตนจึงจะเข้าไปแก้ไข ดีกว่าจะเป็นผู้ตัดสินใจจะไปซ้ายหรือขวาเสียเอง ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหายทั้งขึ้นทั้งล่อง



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 02 มี.ค. 12, 16:29

ทหารญี่ปุ่นมาถึงอรัญประเทศหลังจากที่นายกรัฐมนตรีบึ่งรถกลับเข้ากรุงเทพได้ไม่นาน ท่านเข้าไปลึกถึงพระตะบอง หรือท่านไม่ทราบจริงๆว่ากองทัพญี่ปุ่นกำลังมุ่งหน้ามาไทยแล้ว

ถนนหนทางในสมัยนั้นย่ำแย่พอๆกับรถ ถึงจะเป็นรถประจำตำแหน่งของนายกก็เถอะ ถ้าเกิดยางแตกหยุดเปลี่ยนยาง ก็มีสิทธิ์ตกเป็นเชลยของญี่ปุ่นได้ง่ายๆ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง