เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 67188 เจ้านายวังหลัง
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 09:18

1.เจ้าขุนเณรเป็นเจ้านายวังหลังด้วยหรือเปล่า
2.วังเจ้าขุนเณร วังสวนมังคุด วังสวนลิ้นจี่ วังเจ้านครเชียงใหม่ วังเจ้าลาว วังเจ้านครเวียงจันทร์ วังบ้านปูน อยู่ตรงไหนบ้าง
  เป็นของเจ้านายพระองค์ไหน
3.วังหลวง วังหลัง วังหน้า วังเดิม วังสวนอนันต์ เดิมมีอาณาเขตแค่ไหน

เจ้าขุนเณรเป็นเจ้านายวังหลังด้วยหรือเปล่า น่าจะเป็นนะครับ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 09:36

วังหลัง-วังเจ้านครเชียงใหม่-วังเจ้าลาว หน้าจะที่เดียวกันนะครับ แต่ว่าผมยังไม่แน่ใจเพราะยังไม่เคยได้ยินครับแต่ผมอ่านเจอในเรือนไทย ในหัวข้อ เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ มีอยู่ตอนหนึ่งเมื่อพระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เดินทางลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2436 หลังจากที่เจ้าดารารัศมีเข้าถวายตัวเป็นพระสนมชั้นเจ้าจอมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ 7 ปี เจ้าบัวชุมได้ติดตามขบวนเจ้านายผู้ใหญ่อันมี พระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เดินทางลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รายงานข้าราชการต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคณะผู้ติดตามนอกจากเจ้าบัวชุม ก็มี เจ้าอุตรการโกศล (เจ้าน้อยศุขเกษม) เจ้ามหาวงศ์ เจ้าราชบุตร (คำตื้อ) เจ้าบุรีรันต์ (น้อยแก้ว) พระญาพิทักษ์เทวี (น้อยบุญทา) พระพี่เลี้ยงของเจ้าดารารัศมี การลงไปกรุงเทพฯครั้งนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของเจ้าดารารัศมีที่ต้องการจะอุปการะชุบเลี้ยงนั่นเอง    ขบวนเรือของเจ้าหลวงครั้งนั้นมีประมาณ 10 ลำ เดินทางโดยไม่รีบร้อน ใช้เวลากว่า 20 วันถึงกรุงเทพฯ เมื่อถึงกรุงเทพฯ ขบวนเรือเข้าจอดเทียบท่าที่วังหลัง และเจ้าหลวง พร้อมด้วยผู้ติดตามก็พักที่วังหลังนั่นเอง ขณะนั้นเรียกติดปากกันว่า วังเจ้าลาว เพราะได้จัดให้เป็นที่พักของเจ้าผู้ครองนครอื่นๆก่อนหน้านี้คติดต่อกันมา
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ไปเฝ้าพระราชชายา เจ้าดารารัศมีไต่ถามสาระทุกข์สุขดิบ ตามประสาพ่อลูก และได้เฝ้ารายงานข้อราชการแต่อพระเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระราชชายาก็ได้เสด็จไปเยี่ยมเจ้าพ่อที่วังหลัง เป็นการตอบแทน พร้อมกับเปิดโอกาสให้เจ้านายฝ่ายเหนือที่ตามขบวนเสด็จได้เข้าเฝ้า ขากลับ เจ้าบัวชุม วัย 7 ขวบจึงได้แยกกับขบวนเจ้าหลวง ตามเสด็จพระราชชายาเข้ามาอยู่ในวังหลวงด้วยตั้งแต่บัดนั้น

หน้าจะอยู่ที่วังหลังนั่นแหละครับ เพราะว่าเรียกติดปากว่า วังเจ้าลาว เพราะในสมัย ร.๕ จะเรียกชาวล้านนาว่าลาวพุงดำ ดังที่ในสมัย ร.๕ เรียกล้านนาว่ามณฑลลาวพุงดำ
ผิดถูกยังไงก็ขอโทษด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 19:26

เชิญคุณ werachaisubhong  ให้ความรู้อย่างนี้บ่อยๆ  เบาแรงดิฉันได้มาก ยิงฟันยิ้ม

ผมออกจะทึ่งกับจำนวนไพร่พลทั้งฝ่ายไทยและตรงข้าม มาก
ไม่แน่ใจว่าตัวเลขที่บอกจำนวน จะเป็นจริง
การสงครามแต่ละครั้ง ระยะเวลาก็ห่างกันไม่มากนัก
รบแต่ละคราว ก็ต้องเสียไพร่พล ฝ่ายละจำนวนมาก
แล้วจะเหลือไพร่พล มากน้อยแค่ไหน
คงต้องเร่งผลิตพลเมืองกันหน้าดูเลย
ผมมีเพื่อนคิดบ้างไหม


รับปากไว้ว่าจะเล่าถึงการรบของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทให้ฟัง  เพื่อดูว่าการเอาชนะข้าศึกที่กำลังมากกว่า เขาทำกันอย่างไร

ในสงครามเก้าทัพ   เมื่อกรมพระราชวังหลังยกทัพไปนครสวรรค์  วังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทก็ยกพลจำนวน ๓๐,๐๐๐ คน ไปรับทัพพม่าที่ลาดหญ้า กาญจนบุรี    ส่วนทัพพม่าที่พระเจ้าปดุงเป็นจอมทัพยกมาเอง เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีเหมือนกัน  มีจำนวน ๘๙,๐๐๐ คน    รวม ๕ ทัพ   ทัพใหญ่สุดคือทัพหลวงมีทหาร ๕๐๐๐๐ คน
คนสามหมื่นไปรบกับคนเกือบเก้าหมื่น    ถ้าเข้าประจัญบานกันแบบตัวต่อตัวเหมือนนักดาบฟันกัน     นักรบไทย ๑ คนจะต้องฟาดฟันกับพม่า ๓ คนพร้อมกันจึงจะเสมอกัน    ถ้าจะเอาตัวรอดกลับมาบ้านได้ต้องฆ่าพม่า ๓ คนที่รุมกินโต๊ะให้ได้หมด  คิดเป็นเปอร์เซ็นต์  ทหารไทยทุกคนมีโอกาสรอดเพียง ๓๓ % อย่างมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 19:35

ปะทะกันตอนแรก ทัพหน้าพม่า ๑๑๐๐๐ คนเข้ามาเจอทัพย่อยของไทย ๓๐๐๐ คน มีนายทัพคือพระยามหาโยธา   ทัพไทยก็แตกพ่ายเพราะสู้กำลังไม่ได้   พม่าก็รุกเข้ามาถึงท่าดินแดง ที่ทัพหน้าไทยตั้งอยู่ แล้วตั้งค่ายประจัญกันตรงนั้น
ฝ่ายไทยเอาปืนยิงค่ายพม่า  ทางโน้นยิงตอบมา  ถูกไทยตายระเนนระนาด   ไทยรบเท่าไรก็ตีค่ายพม่าไม่ได้สักที  ต้องถอยกลับเข้าค่ายไทย

กรมพระราชวังหน้าทรงใช้ไม้ตาย  สั่งให้ทำครกไม้และสากไม้ขนาดมหึมาขึ้น ๓ ชุด     ตั้งให้แม่ทัพนายกองและทหารเลวทั้งหลายดู  ทรงยื่นคำขาดว่าถ้าทหารไทยคนไหนถอยหนีพม่า  จะทรงเอาตัวลงครกโขลกเสียต่อหน้ากองทัพมิให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง

(ราวกับทหารไทยเป็นน้ำพริกป่าของคุณตั้งก็ไม่ปาน  ยิ้ม )

ในเมื่อทางฝ่ายเรามีคนน้อย  เกณฑ์กันมาจนหมดเมืองแล้วก็ยังมีได้แค่นี้     การรบด้วยการปะทะกัน ฝ่ายน้ำน้อยก็ต้องแพ้ไฟ  ยังไงไทยก็ตายเรียบ     กรมพระราชวังหน้าจึงทรงใช้สงครามกองโจร คือใช้คนน้อยให้ทำงานใหญ่    ทรงสั่งพระยาสีหราชเดโช  พระยาท้ายน้ำ  พระยาเพชรบุรี เป็นนายทัพกองโจร   พระยารามคำแหง พระยาเสนานนท์เป็นปลัดทัพ  ยกพล ๕๐๐ คน   ไปเป็นกองโจรอยู่ในป่าเส้นทาง   คอยตีชิงกองลำเลียงของพม่าที่เดินทางผ่านมา   ไม่ให้ส่งกำลังบำรุงกันได้
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 02 เม.ย. 12, 09:05

ได้ครับ อาจารย์ ผมจะเอาข้อมูลมาลงเท่าที่ผมได้อ่านมาครับ
มหายุทธสงคราม ๙ ทัพนี้ “กรมพระราชบวรมหาสุรสิงหนาท หรือ วังหน้าพระยาเสือ” ทรงเป็นผู้พิชิตศึกอย่างแท้จริง เพราะผลจากการรบในยกแรก ทำให้กองทัพใหญ่จำนวนมหาศาลของฝ่ายพม่าติดอยู่ในช่องเขา และต้องเผชิญกับกลศึกมากมายในสงครามกองโจรแบบ"จรยุทธ์" เคลื่อนที่ไปข้างหน้าก็ไม่ได้ เพราะทัพหน้าถูกตรึงอยู่กับที่ มีทางเดียวคือต้องถอยทัพ และนี่ก็คือเหตุผลที่ทำให้กองทัพพม่าเรือนแสนไม่มีโอกาสได้เข้าต่อรบ
ยุทธศาสตร์การสงครามของพระองค์ คือ “การสกัดกั้น” ตรึงกำลังผ่ายศัตรูให้ตั้งมั่นอยู่ในที่เสียเปรียบ และกักกันมิให้กองทัพใหญ่ตามออกมาจากช่องเขาได้ พระองค์จึงเร่งเคลื่อนทัพจากกรุงเทพ ฯ ขึ้นไปตั้งค่ายชักปีกกาอุดทางออกของช่องเขาบรรทัดของทุ่งลาดหญ้า ก่อนที่ทัพของพม่าจะมาถึง เพราะถ้ามาถึงได้ก่อน พม่าก็จะสามารถขยายพลรบในที่ราบกว้าง จัดทัพใหม่เก็บเสบียง ทัพหนุนจะตามออกมา กองทัพพม่าจะกลายเป็นกองทัพที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาในทันที
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงได้พระยาเจ่งและกองทัพมอญสวามิภักดิ์ ซึ่งมีความคุ้นเคยกับภูมิประเทศเป็นอย่างดีมาช่วยรบ กองทัพสยามตั้งค่ายชักปีกกา ขุดสนามเพลาะ ปักขวากหนาม ตั้งปืนกะระยะยิง และส่งทหารไปร่วมกับทัพมอญขึ้นไปสกัดถ่วงเวลาที่ด่านกรามช้าง
เมื่อกองทัพที่ ๔ ของพม่ายกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเมืองไทรโยคเข้ามาทางเมืองท่ากระดาน ตีด่านกรามช้างแตกอย่างยากลำบาก จึงยกเข้ามาเผชิญกับกองทัพของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ที่ตั้งค่ายรอรับอยู่แล้ว ฝ่ายพม่าจึงเร่งตั้งค่าย ปลูกหอรบประจันหน้ากับฝ่ายไทยบนเชิงเขา ซึ่งดูจะได้เปรียบด้านความสูงกว่า แล้วนำปืนใหญ่ขึ้นหอสูงยิงถล่มค่ายของฝ่ายสยาม จนยากจะหาที่ปลอดภัยจากกระสุนปืนใหญ่ฝ่ายพม่า ไพร่พลสยามเริ่มเสียขวัญและเริ่มระส่ำระสาย แต่ด้วยความเด็ดขาดของ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ที่ทรงประกาศว่า หากใครถอยหนีหรือไม่ยอมสู้รบ ให้ลงโทษอย่างหนักโดยจับตัวใส่ครกขนาดใหญ่และโขลกให้ร่างแหลกละเอียด ซึ่งนั่นก็ทำให้ไพร่พลหันหน้ากลับมาฮึดสู้กับฝ่ายพม่าอีกครั้ง  ดังที่อาจารย์ว่าทำครกใหญ่เพื่อจะโขลกทหารที่ถอยหนีหรือไม่สู้
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 02 เม.ย. 12, 19:24

ขอบคุณค่ะ คุณwerachaisubhong ที่มาช่วยตอบให้กระทู้เดินเร็วขึ้น  ไม่งั้นหยุดชะงักมาหลายวัน    หมู่นี้  ดิฉันไม่มีเวลาเข้ามาตอบ
ขอแก้ตัวด้วยการเล่าเรื่องต่ออีกหน่อย   คุณ ws จะเล่าซ้ำแบบขยายความก็ได้ หากว่าเตรียมข้อมูลมาแล้ว

แม่ทัพกองโจรทั้ง ๓ คนที่เอ่ยมา   ไปซุ่มโจมตีสกัดกองลำเลียง  ได้บ้างไม่ได้บ้าง  จะท้อใจหรือกลัวตายขึ้นมายังไงก็ไม่แน่ ก็เลยหลีกหนีออกไปซุ่มกำลังอยู่ที่อื่น    พูดง่ายๆว่าถอยหนีข้าศึกไปดื้อๆ   
พอความทราบถึงทัพหน้า  กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทก็ทรงให้ข้าหลวงแทนพระองค์ไปสอบสวนข้อเท็จจริง    แต่ไม่ต้องเยิ่นเย้อเสียเวลาเอาตัวกลับมาใส่ครกตำ    ประหารเสียตรงนั้นเลยรู้แล้วรู้รอด   
แต่โทษผิดกัน  คือระดับนายทัพให้ตัดหัวอย่างเดียว     ส่วนปลัดทัพหนักหน่อยต้องถูกขวานสับหัวเป็นสามเสี่ยง   ข้าหลวงไปสอบสวนได้ความตามนั้นก็ตัดหัวนายทัพใส่ชะลอมกลับมาถวาย   โปรดให้เสียบประจานไว้หน้าค่าย 
ส่วนครก เห็นจะยังว่างเปล่า   หรือว่าเอาทหารเลวมาตำให้แหลกเหลวเป็นตัวอย่างบ้างพอให้หลาบจำ  ข้อนี้พงศาวดารไม่ได้บอกไว้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 02 เม.ย. 12, 19:28

กรมพระราชวังบวรฯ ก็ทรงใช้นายทัพใหม่   คือพระองค์เจ้าขุนเณร ให้คุมพล ๑๐๐๐ คน ไปสมทบกับกองทหารเดิม ๕๐๐ คนเป็น ๑๕๐๐ คน  ไปคอยซุ่มโจมตีกองลำเลียงของพม่าที่พุไคร้เหมือนเดิม    คราวนี้นายทัพคนใหม่ทำงานได้ผล   แย่งชิงเสบียงของพม่ามาได้  ไม่ให้ถึงมือทัพหลวง
นอกจากนี้พระองค์เจ้าขุนเณรก็ส่งเชลยพม่าที่จับได้  ตลอดจนสัตว์พาหนะ เช่นช้าง ม้า โค มาถวายเป็นกำลังให้ทัพหน้า
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 02 เม.ย. 12, 20:41

ชักสนุกแล้วครับ
ผมเคยฟังเรื่องคล้ายๆแบบนี้เมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน
คุณพ่อเล่าให้ฟัง ก่อนนอน  เดี๋ยวนี้เทคโนโลยี่ดี เลยไม่ค่อยเล่ากัน
เด็กรุ่นลูกๆ จึงไม่ค่อยสนิทกับพ่อแม่ ครอบครัวไม่อบอุ่น
วีรบุรุษในดวงใจขาดหาย ความรักชาติ ความเคารพยกย่องบรรพบุรุษน้อยลง
ขอบคุณ คุณเทาชมพูมากครับ
เล่าต่อเถอะครับ เด็กรุ่นหลาน เหลน จะได้ภูมิใจในบรรพบุรุษของเขาบ้าง
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 03 เม.ย. 12, 08:59

เรื่องของกลศึกและการปลุกขวัญสร้างกำลังใจให้เหล่าหทารของกรมพระราชวังบวรฯ
มีอยู่ว่าเมื่อแนวหลังของทัพหน้าของพม่าถูกตัดขาดโดยกลศึกสงครามกองโจร จนเกิดความอดอยากและเสียขวัญไปทั่วค่ายพม่า กรมพระราชวังบวรฯ ทรงใช้กลยุทธ์หลอกฝ่ายพม่า โดยให้ทหารลอบออกนอกค่ายในเวลาค่ำคืน  แล้ว ให้ตั้งทัพถือธงทิวเดินเป็นกระบวนกลับมาในตอนเช้า ส่งเสียงสดชื่นอึกทึก ฝ่ายพม่าอยู่บนที่สูงกว่า เห็นกองทัพไทยมีกำลังหนุนเพิ่มเติมมาเสมอ ก็ให้ครั่นคร้ามจนเสียขวัญหนัก เมื่อถึงเวลาสุกงอมและเหมาะสมแก่แวลา กรมพระราชวังบวรสุรสีหนาท ก็ทรงประกาศปลุกขวัญแก่ไพร่ทหารว่า “ พวกเจ้าเป็นไพร่หลวง ข้าเป็นพระราชวงศ์ แต่เจ้ากับข้าเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือเราเป็นคนไทย เป็นเจ้าของแผ่นดินเหมือนกัน รบวันนี้เราจะแสดงให้ผู้รุกรานเห็นว่าเราหวงแหนแผ่นดินแค่ไหน รบวันนี้เราจะไม่กลับมาค่ายนี้อีกจนกว่าจะขับไล่ศัตรูไปพ้นชายแดน ข้าจะไม่ขอให้พวกเจ้ารบเพื่อใคร นอกจากรบเพื่อแผ่นดินของเจ้าเอง แผ่นดินที่เจ้ามอบให้ลูกหลานของเจ้าได้อยู่อาศัยอย่างเป็นสุขสืบไป”  ผมว่ากลยุทธ์แบบนี้ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยนะครับ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 03 เม.ย. 12, 09:05

แผนที่การเคลื่อนทัพในมหายุทธสงคราม ๙ ทัพ

ที่มาครับ
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=170.0


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 09:28

การรบกับพม่าครั้งนี้ทางไทยเราหากลยุทธ์ต่างๆนาๆในการสู้ศึกกับพม่า อาทิเช่น  กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จึงคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ โดยประยุกต์ปืนใหญ่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทรงให้ตัดไม้ยาวสองศอก เสียบเข้าปลายกระบอกปืนใหญ่แทนลูกกระสุน แล้วยิงใส่ค่ายพม่าจนหอรบปืนใหญ่ของพม่าพังลงมาทั้งหมด
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 11:00

อาวุธที่เรียกว่า “หัวรบพลังเพลิง”
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเกิดแนวคิดปรับปรุงลูกกระสุนปืนใหญ่ จากเคยใช้ดินระเบิดในสงครามสมัยกรุงธนบุรี เปลี่ยนเป็นท่อนไม้จากป่าเมืองกาญจฯ เลือกเฉพาะท่อนที่น้ำหนักเหมาะสม ปลายท่อนพันด้วยผ้าชุบน้ำมัน เมื่อสั่งยิงจุดไฟเป็นลูกกระสุน “หัวรบพลังเพลิง” อานุภาพแม้ไม่รุนแรงเหมือนดินระเบิด แต่ไปตกหลังคาค่าย ก็ทำให้ฝ่ายพม่าต้องโกลาหลในการ “ดับไฟ” จากลูกกระสุนมหาประลัยกันจ้าละหวั่น
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
ศิณาวรรณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 06 เม.ย. 12, 17:38

เรื่องที่หนึ่ง ขอเรื่องพระเจ้าตากนิดนึง ข้อเท็จจริงหลักฐานปรากฏอย่างไร ก็ต้องตามไปอย่างนั้น
แต่ที่ดูจะขัดใจอยู่บ้าง ก็ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องผิดขนบประเพณี ด้วยว่าการปลงพระมหากษัตริย์ประการหนึ่ง
ธรรมเนียมที่มิให้พระโลหิตตกต้องแผ่นดินประการหนึ่ง ธรรมเนียมที่จะไม่ประหารชีวิตในเขตพระบรมมหา
ราชวังอีกประการหนึ่ง แต่ก็มิได้เป็นข้อดื้อดึงประการใด หากแต่เป็นปัญหาที่อยากได้คำตอบอยู่ในเรื่อง
ของขนบประเพณีนี้บ้าง

เรื่องที่สองก็เป็นเรื่องของสถานที่ในข้อที่หนึ่ง หากประหารเสียสิ้นที่ป้อมวิชัยประสิทธิ ป้อมวิชัยประสิทธิ
ก็เป็นด้านหน้าของพระราชวัง อยู่ทางทิศตะวันออกติดแม่น้ำเจ้าพระยา ซ้ำตัวป้อมก็เป็นสถานที่สำคัญ
ที่ใช้ป้องกันข้าศึก และค้าขายกับชาวต่างชาติ ที่ขึ้นมาทางทิศใต้ของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อประหารที่ป้อม
วิชัยประสิทธิแล้วก็คงนำพระบรมศพผ่านทางประตูทิศใต้ที่ติดกับวัดท้ายตลาด ซึ่งเป็นย่านชุมชนการค้าใหญ่
ของเมือง คงเป็นที่เอิกเกริกอีกประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งทำไมจึงต้องเลยไปเกี่ยวข้องกับตำนาน
ศาลพระเจ้าตากสิน ที่วัดหงส์ หรือว่าเป็นแต่เพียงเรื่องชาวบ้าน อีกประการหนึ่งหากนำพระบรมศพ
ออกทางประตูอื่น ก็คงเป็นการแห่พระบรมศพกันไปทั่วพระราชวัง ซึ่งจะเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
หลังปราบดาภิเศก ผิดถูกประการใดผมก็ขอน้อมรับไว้ ณ ที่นี้

เรื่องที่สาม ก็เป็นเรื่องของวังหลังที่เป็นเรื่องของกระทู้นี้โดยตรง ในช่วงเวลาสั้น ๆ ตอนนั้น ทั้งสองรัชกาล
มีเรื่องเกี่ยวข้องกับ วังหน้า วังหลัง วังหลวง และวังต่าง ๆ อยู่มาก แม้จนย้ายพระบรมมหาราชวังมาอยู่ที่ฝั่ง
ตะวันออกแล้วก็ตาม เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ยังคงติดตามมาจนถึงคราวเกิดเพลิงใหม้ใหญ่ในพระบรมมหาราชวัง
ในรัชกาลที่ 3 ถึงการสร้างพระราชวังนันทอุทยานในรัชกาลที่ 4

สุดท้ายก็เป็นเรื่องของสถานที่ต่าง ๆ ที่ตกเป็นหลักฐานมาจนทุกวันนี้ เช่นเรื่องถนนอรุณอมรินทร์ที่เชื่อมปาก
คลองบางกอกน้อยกับปากคลองบางกอกใหญ่ซึ่งเป็นถนนทางลัดที่มีมาตั้งแต่ก่อนการขุดแม่น้ำเจ้าพระยา
ในสมัยพระชัยราชา พศ 2065 หรือเท่าไหร่ก็ไม่แน่นอน ถนนนี้เป็นถนนที่อยู่ทางทิศตะวันตกของวังหลัง
ขนานกับคลองคูเมืองตะวันตกที่ขุดขึ้นในตอนหลัง ถ้ดจากคลองคูเมืองก็เป็นกำแพงเมือง ซึ่งเมื่อตอนผมยังเด็ก
ยังเห็นเนินดินใหญ่ อยู่ตรงเนินดินใหญ่บริเวณศาลเจ้าเขาตก ถนนอรุณอมรินทร์ เนินดินทีว่าใหญ่นี้ใหญ่จริง ๆ
ใหญ่ขนาดปลูกบ้านอยู่กันได้หลายหลัง ข้ามเนินดินไปยังเป็นบ้านอีกหลายหลังติดกับคลองคูเมือง เนินดินนี้
ที่อยู่มาได้ก็ด้วยมีต้นโพธิ์ใหญ่ ใหญ่มาก ปกป้องคุ้มครองอยู่ เพิ่งจะมาทำลายราบลงก็เมื่อคราวขยายถนน
อรุณอมรินทร์ เมื่อปี 2518 นี่เอง มีถนนอีกสายหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกขนานกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่
ปากคลองบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช เชื่อมกับซอยวังหลัง ไปสุดที่คลองวัดระฆัง ถนนนี้คงเป็น
ถนนทางเดินที่ติดต่อเชื่อมถึงกันของหมู่วังต่าง ๆ ในวังหลัง ซอยศาลาต้นจันทร์ก็ว่าเป็นทางที่ทำขึ้นเพื่อเป็น
ทางพระราชดำเนินในรัชกาลที่ 6 เสด็จมาเรียนภาษาไทย กับหม่อมราโชทัย เท็จจริงอย่างไรก็ยังไม่มีใคร
ค้นคว้า ตรอก 8 คด เป็นทางเชื่อมขนานกับคลองวัดระฆังฯ ตั้งแต่หลังวัดระฆังฯ ถึงถนนอรุณอมรินทร์
มีมาแต่เดิมหลายร้อยปีทุกวันนี้ ก็ยัง 8 คดเท่าเดิม ส่วนตรอกวัดระฆังฯในปัจจุบัน แต่เดิมชาวบ้านเรียก
ตรอกฐาน หมายถึงส้วมของพระภิกษุ เป็นตรอกเล็ก ๆ ไม่ใหญ่เหมือนในปัจจุบัน ทุกวันนี้ตรอกวัดระฆังฯ
ขยายถนนจนใหญ่ขนาดมีเกาะกลางถนน รถวิ่งสวนกันได้ ส่วนตรอก 8 คด ยังขนาดเท่าคนเดินเหมือนเดิม
คนวัดระฆังฯเรียกด้านแม่น้ำเจ้าพระยาว่าหน้าวัด โบสถ์ก็หันหน้าลงแม่น้ำ เรียกด้านหลังโบสถ์ว่าหลังวัด
เรียกด้านถนนอรุณอมรินทร์ว่าปากตรอก (ปากกอก) ซอยวังหลังที่ติดกับถนนอรุณอมรินทร์แต่เดิมเรียก
ตรอกบ่อน มีบ่อนการพนันสมัยก่อนตั้งอยู่

ผมอยู่ในพื้นที่นี้มาตั้งแต่เกิด เห็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ อันมีอยู่มากมายมหาศาล ถูกทำลายลงทุกวัน
แม้คลองคูเมืองฝั่งตะวันตก ก็ดูด้อยค่า ไม่สง่างามไม่เหมือนคลองคูเมืองฝั่งตะวันออก แม้วันนี้ "วังหลัง"
จะได้รับมหากรุณาธิคุณเป็นที่ประทับในอีกบทบาทหนึ่งของสถานที่ แต่ก็อยากให้ทุกคนช่วยชายตามอง
พื้นที่ฝั่งธนฯ และช่วยอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ความเป็นมาต่าง ๆ ให้ตกทอดไปแก่ลูกหลานอย่างมีคุณค่าด้วยเถิด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 11 เม.ย. 12, 20:40

อ้างถึง
ซอยศาลาต้นจันทร์ก็ว่าเป็นทางที่ทำขึ้นเพื่อเป็นทางพระราชดำเนินในรัชกาลที่ 6 เสด็จมาเรียนภาษาไทย กับหม่อมราโชทัย เท็จจริงอย่างไรก็ยังไม่มีใครค้นคว้า
หม่อมราโชทัยถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ 4 ค่ะ  อายุท่านไม่ยืนยาวนัก    จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จะเสด็จมาเรียนภาษาไทยกับท่าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 12:30

มาดึงกระทู้ขึ้นด้วยรูปที่บอกว่าเป็นพระรูปกรมพระราชวังหลัง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง