เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 67076 เจ้านายวังหลัง
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 19 มี.ค. 12, 21:43

ขออนุญาตแสดงความเห็นเรื่องการสำเร็จโทษประเจ้าตากฯ หน่อยนะครับ

เท่าที่ทราบมาก็อย่างที่อ่านอาจารย์เทาชมพูว่า ใช้การตัดศีรษะ ไม่ใช่การทุบด้วยท่อนจันทร์ ซึ่งน่าแปลกเมื่อคิดถึงว่านี่เป็นการประหารอดีตพระเจ้าแผ่นดิน
แถมจริงๆ แล้ว ต้นเหตุของการปลี่ยนแปลง ก็ไม่ได้มีการเริ่มต้นมาจากสมเด็จเจ้าพระยา(ร.1) หรือพระอนุชาด้วยซ้ำ
การผลัดแผ่นดิน ดูเผินๆ เหมือนเป็นการตกกระไดพลอยโจน แต่จริงๆ ก็น่าคิดถึงอะไรลึกๆ มากกว่านั้น

ดังนั้นการสำเร็จโทษด้วยการดัดศีรษะ ในความรู้สึกผม ออกจะน่าแปลกใจไม่น้อย เพื่อคิดถึงการเคยเป็นข้าเป็นนายกันมา  แม้ ร. 1 จะเคยถูกโทษโบยมาก่อน ก็ไม่น่าจะทรงแค้นเคืองขนาดนี้
ไม่แน่ใจว่าสำหรับเชื้อพระวงศ์อื่นๆ ของพระเจ้าตาก ถูกสำเร็จโทษแบบไหน
จริงๆ แล้วน่าจะมีความขัดแย้งบางอย่างที่น่าจะมีมายาวนาน หรือมีอะไรที่ลึกซึ้งมากกว่าที่มีการบันทึกกันไว้
อาจจะมีการชิงดีชิงเด่น การส้องสุมกำลัง หาสมัครพรรคพวก แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมาก่อนหน้าเป็นระยะเวลานานพอสมควร

อำนาจของพระเจ้าตากเองก็อาจจะสั่นคลอนมานานแล้ว  การบริการจัดการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ อาจจะไม่ได้เป็นพระราชอำนาจของพระเจ้าตากฯพระองค์เดียวมานานแล้วก็ได้
อำนาจของเจ้าพระยาจักรีและพระอนุชาฯ อาจจะมีมากจนแม้แต่พระเจ้าตากก็ทำอะไรไม่ได้
เพียงแต่ยังไม่มีโอกาสในการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน จนมีกรณีพระยาสรรค์กบฏ ก็เลยเป็นโอกาสเปลี่ยนแผ่นดินกันไปเลย
สถานการณ์อาจจะคล้ายๆ สมัยปลาย ร. 3 ก็ได้ เพียงแต่สถานการณ์ตอนนั้นไม่เอื้อและไม่สุกงอมเหมือนสมัยธนบุรี


กรมพระราชวังบวรฯเอง ก็รับราชการกับพระเจ้าตากมาก่อนเป็นเวลานาน ทำไมจึงวางเฉยเรื่องการสำเร็จโทษแบบไม่สมพระเกียรติได้ แถมมีบทบาทมากในเรื่องการกำจัดเสี้ยนหนามด้วย
เพราะจริงๆ แล้ว รัชกาลที่หนึ่งกับพระอนุชา(วังหน้า) ก็เหมือนจะไม่น่าจะลงรอยกันนัก แต่ไม่แน่ใจว่าเพิ่งเป็นในตอนหลังจากการเปลี่ยนราชวงศ์แล้วแล้ว หรือก่อนหน้า
เห็นได้จากพระโอรสของกรมพระราชวังบวรเอง ตอนหลังก็ถูกสำเร็จโทษเช่นกัน
ด้วยเรื่องวัฒนธรรมไทย เรื่องของบุญคุณ การเป็นข้าเป็นเจ้ากัน  จึงดูออกจะเป็นเรื่องที่แปลก 
ระดับความร้อนแรงขัดแย้งทางการเมืองในสมัยธนบุรี น่าจะมีมากและแรงกว่าที่เรารับทราบกันจากพงศาวดาร
เพราะขนาดเมื่อสิ้นสมัยรัชกาลที่ 1 ยังต้องมีการล้างบางพระญาติพระวงศ์สายพระเจ้าตากกันอีกรอบเลย


ผมเคยอ่านการเมืองไทยสมัยพระเจ้าตากฯ ของ อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์เมื่อนานมากกว่าสิบปีมาแล้ว  อาจจะพอสรุปคร่าวๆ ได้ถึงความขัดแย้งและความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ดีเก่าที่สืบเชื้อสายข้าราชการมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
กับกลุ่มขุนนางที่ไต่เต้ามาจากระดับไพร่  ซึ่งแม้แต่พระเจ้าตากเองก็อาจจะมีที่มาจากกลุ่มนี้ คือไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มผู้ดี ดังนั้นเมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์ อาจจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่จากข้าราชการระดับต่างๆ ที่เป็นเชื้อสายผู้ดีเก่า

ปล  ความเห็นนี้ถ้าหมิ่นเหม่ไป อ. เทาชมพูลบไปก็ได้นะครับ เรื่องพวกนี้อาจจะยังไม่ถึงเวลาที่จะพูดได้แม้ในสมัยนี้
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 19 มี.ค. 12, 21:56

ไม่ลบค่ะ ไม่ต้องห่วง   คุณประกอบพูดในเชิงวิชาการ ไม่ได้พูดด้วยอารมณ์ส่วนตัว 

ขอเล่าเหตุการณ์หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินถูกประหารไปแล้ว  ว่า
เมื่อถูกสำเร็จโทษที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์  พระศพถูกนำไปฝังที่วัดบางยี่เรือใต้  ภายหลังเมื่อสถาปนากรุงเทพแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จึงขุดขึ้นมาพระราชทานเพลิง   พระองค์และกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปพระราชทานเพลิงเองทั้ง ๒ พระองค์
จากนั้น ก็มีการไต่สวนกรมขุนอนุรักษ์สงครามและพระยาสรรค์ แล้วประหารชีวิตทั้ง ๒ คน   ดิฉันเชื่อว่าถูกตัดศีรษะแบบนักโทษประหาร   ไม่น่าเป็นไปได้ว่าในเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินถูกประหารแบบสามัญชน   เจ้านายที่เป็นชั้นหลานจะถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แบบเจ้านาย

จากนั้น ก็มีการ "ล้างบาง" กันตามระเบียบ     ขุนนางฝ่ายพระเจ้าตากถูกประหารไปอีก ๓๙ คน  พวกนี้ส่วนใหญ่น่าจะเป็นฝ่ายกรมขุนอนุรักษ์สงครามที่ยกพลมาสู้กับพระยาสุริยอภัย   ในเมื่อแม่ทัพถูกประหาร นายกองทั้งหลายก็ย่อมไม่รอดอยู่ดี    นอกจากนี้  กรมพระราชวังบวรฯ ทรงประหารขุนนางไปอีก ๘๐ เศษ  ล้วนแต่เป็นผู้มีเรื่องขุ่นเคืองกับพระองค์มาก่อน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 19 มี.ค. 12, 22:01

เจ้านายผู้ชายพระญาติฝ่ายพระเจ้าตากที่เป็นผู้ใหญ่ ถูกประหารหมด   เว้นพวกผู้หญิงและเด็กๆไว้ รวมทั้งพระโอรสเล็กๆของพระเจ้าตากด้วย  กรมพระราชวังบวรฯ ทูลขอให้ประหารหมด  เพราะจะเป็นเสี้ยนหนามต่อไป  แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงขอชีวิตไว้ทั้งหมด
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ กริ้วอีกครั้งก็เมื่อตอนพระราชทานเพลิงพระเจ้าตาก  เจ้าจอมหม่อมห้ามและเจ้านายฝ่ายในของพระเจ้าตากที่ตอนนี้ย้ายมาเป็นฝ่ายในของรัชกาลที่ ๑ พากันร้องไห้คร่ำครวญถึงเจ้านายเดิม   ก็เลยกริ้วสั่งเฆี่ยนหลังลายกันเป็นแถว

กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ท่านทรงมีเรื่องขุ่นเคืองพระทัยกับขุนนางฝ่ายพระเจ้าตากมาแต่เดิม    ถ้าเป็นสมัยนี้คงเรียกว่าถูกปัดแข้งปัดขามาตั้งแต่เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์    ครั้งหนึ่งมีเรื่องพลาดพลั้งถึงกับทรงถูกพระราชอาญาโบยหลัง ทั้งๆไม่ได้ทรงทำความผิด  เมื่อเปลี่ยนแผ่นดิน จึงทรงเอาคืนกับปรปักษ์เสีย ๘๐ กว่าคน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 19 มี.ค. 12, 22:06

ส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระเมตตาต่อเชื้อสายของสมเด็จพระเจ้าตากสินมากกว่า  นอกเจ้าฟ้าเหม็น กรมขุนกษัตรานุชิตที่เป็นพระนัดดา(หลานตา)แท้ๆ    พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสิน องค์อื่นๆคือพระพงศ์นรินทร์  พระอินทรอภัย อายุถึง ๑๔-๑๕ ปีแล้วทั้งสิ้น ก็ยังเอามาชุบเลี้ยงใช้สอย

บุตรของขุนนางผู้ถูกประหารในคราวนั้นทรงไว้ชีวิตไว้ทั้งหมดและนำมารับราชการทั้งหมดเช่นกัน   เชื้อสายพระเจ้าตากกลายมาเป็นข้าราชการสืบต่อกันมาในต้นรัตนโกสินทร์    ยังมีลูกหลานมาจนทุกวันนี้ เช่นตระกูลสินสุข และอินทรกำแหง

เรื่องนี้เคยสนทนากันในกระทู้เก่า  ก็เลยขอยกกลับมาให้อ่านกันอีกครั้ง

เรื่องนี้อาจมองแยกเป็น ๓ อย่าง จากเนื้อความที่เล่ามา
๑)พระเจ้าตากสินทรงสิ้นบารมีที่จะสร้างความปึกแผ่นภายในได้อีก    จะด้วยทรงมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปขนาดก่อความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างพงศาวดารว่า  หรือเป็นเพราะอำนาจของเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ขยายใหญ่ขึ้นมากที่สุดก็ตาม  แต่พระบารมีก็จบสิ้นลงตั้งแต่พระยาสรรค์ยึดอำนาจ

๒) concept of loyalty (แนวคิดที่ยึดมั่นในการจงรักภักดีต่อเจ้านาย)  ไม่มีอีกแล้วในตอนปลายธนบุรี    กลับเข้าสู่สังคมที่มีผู้นำและผู้ตาม   บุคคลเข้มแข็งที่สุดจะได้ตำแหน่งผู้นำแทนคนเก่า   ถ้าเป็นลักษณะนี้ การรัฐประหารจะเกิดขึ้นง่ายที่สุด

๓) การกระทำหลายอย่าง เป็นการสยบอำนาจเก่าลงไม่ให้เป็นปัญหาได้อีก    แต่การกระทำหลายอย่างบ่งถึงการประนีประนอมแก่ผู้ที่ไม่ใช่เสี้ยนหนามอันดับหนึ่ง อย่างบรรดาขุนนางที่ถูกประหารไป บุตรก็ได้รับราชการต่อ รวมทั้งบุตรพระยาสรรค์ด้วย  ทั้งนี้จะมีผลทางขวัญกำลังใจของข้าราชการโดยส่วนรวม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 20 มี.ค. 12, 13:05

โดยมาก  หัวข้อที่ถกเถียงกันคือสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเสียพระสติจริงหรือเปล่า    จะเรียกว่า วิกลจริต เพี้ยน ประชวร หรืออะไรก็ว่ากันไป    แต่ไม่ค่อยมีใครมองว่า ด้วยพระอาการตามที่บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารหลายเล่ม รวมบันทึกความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีด้วย   หากว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินยังคงครองราชย์ต่อไป   จะมีผลดีหรือเสียอย่างไรกับราชอาณาจักร
ก็ขอทิ้งคำถามไว้แค่นี้ค่ะ

กลับมาที่กรมพระราชวังหลัง
ตอนต้นรัชกาล เป็นยุคของความตึงเครียดถึงขีดสุด    กรุงเก่าแตกเพราะพม่ามาแค่ 15 ปี   คนไทยยังจำความหลังได้ดีอยู่   ก็ไม่มีใครอยากจะให้เกิดซ้ำสอง   ในเมื่อพม่ายกทัพใหญ่มาราวกับคลื่นในมหาสมุทร  ถ้ายันไว้ไม่อยู่ก็บ้านแตกสาแหรกขาดอีกเป็นครั้งที่สอง  คราวนี้อาจไม่มีโอกาสฟื้นตัวอีกเลย
ดังนั้น แม่ทัพทั้งหลายจึงต้องเฉียบขาด  สั่งทหารสู้กันอย่างยอมตายถวายชีวิต  อย่าว่าแต่อ่อนแออย่างพระยาสระบุรีที่ต้องถูกตัดหัวเสียบประจาน  แม้กรมพระราชวังหลังเอง ก็ได้รับสารตราจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ  ส่งจากกรุงเทพขึ้นไปว่า  ศึกทางกาญจนบุรีเสร็จสิ้นลง ด้วยชัยชนะของกรมพระราชวังหน้า   เหลือแต่ศึกทางเหนือ ที่กรมพระราชวังหลังทรงบัญชาการอยู่
"...แม้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์คิดทำไม่สำเร็จ    พระเศียรก็คงไม่ได้อยู่กับพระกายเป็นแน่แท้"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 12:24

พระบรมราชโองการจากทัพหลวงที่ยกขึ้นไปสมทบ คือเร่งรัดให้ทัพกรมพระราชวังหลัง และทัพเจ้าพระยามหาเสนา ให้ยกเข้าตีค่ายพม่า ณ ปากน้ำพิง ให้แตกภายในวันเดียว   ถ้ายืดเยื้อไปมากกว่านี้ โทษถึงประหารชีวิต

ด้วยเหตุนี้ ศึกใหญ่ก็ระเบิดขึ้นอีกครั้ง  ในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๓๒๘  ทัพไทยเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทุกค่าย  สาดกระสุนยิงกันด้วยปืนใหญ่น้อยตั้งแต่เช้าไปจนค่ำ   รบครั้งนั้นดุเดือดแค่ไหนไม่ต้องบรรยายมากกว่านี้  เห็นได้จากพอตกค่ำทัพพม่าก็แตกฉานซ่านเซ็น  ไพร่พลหนีกระจัดกระจายไปทุกค่าย    ข้ามแม่น้ำไปทางตะวันตก  จมน้ำตายไปประมาณ ๘๐๐ กว่าคน    พงศาวดารบันทึกว่าศพลอยเต็มแม่น้ำ เลือดแดงฉาน จนกินน้ำไม่ได้

การรบครั้งนี้ แม่ทัพอีกผู้หนึ่งที่ฝากฝีมือไว้ คือพระองค์เจ้าลา  กรมหลวงจักรเจษฎา    ใครย้อนอ่านไปตอนต้นกระทู้ คงพบชื่อท่านว่าเป็นพระอนุชาต่างมารดากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ    เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก   ท่านยังเป็นเด็กเล็ก  อพยพตามพ่อคือหลวงพินิจอักษรและแม่ซึ่งเป็นอนุภรรยา ลี้ภัยไปอยู่พิษณุโลก     เมื่อคุณหลวงพินิจอักษรถึงแก่กรรม   แม่ท่านก็ทำศพตามประเพณีเสร็จแล้วแม่ลูกก็อำลาจากพิษณุโลก เชิญอัฐิท่านบิดามาหาพี่ชายพี่สาวที่มาปักหลักอยู่ที่ธนบุรี      พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อครั้งเป็นเจ้าพระยาจักรีก็อุปการะน้องชายเรื่อยมา  จนเติบโตขึ้นเป็นนักรบสำคัญคนหนึ่งในตระกูล

เมื่อสถาปนากรุงเทพ   หม่อมลาก็ได้เฉลิมพระยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้าลา    ผลงานชิ้นสำคัญของท่านคือคุมทัพแยกจากทัพเจ้าพระยามหาเสนาไปตีทัพพม่าที่ล้อมเมืองลำปางอยู่ในเวลานั้นให้แตกให้ได้
ก็ถ้าทำงานนี้ไม่สำเร็จ   โทษเป็นฉันใดเราก็คงเดาได้อยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 19:11

พระองค์เจ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎาทรงคุมทัพเข้าตีทัพพม่าที่ล้อมเมืองลำปาง   รบกันอยู่ครึ่งวัน ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง   ทัพพม่าก็แตกพ่าย กลับไปรวมกำลังกันอยู่ที่เมืองเชียงแสน ซึ่งขึ้นอยู่กับพม่า

เป็นอันว่าศึกใหญ่สุดในแผ่นดินก็ได้จบลงด้วยการที่พม่าพ่ายแพ้ถอยกลับไป    เพราะแพ้ไทยหมด ไม่ว่าเจอทัพหลวง ทัพหน้า หรือทัพของเจ้านายองค์อื่นๆ    ทัพไทยก็ยกกลับเมืองหลวงด้วยความภูมิใจในชัยชนะ    แม่ทัพนายกองทั้งหลายได้รับปูนบำเหน็จกับพร้อมหน้า
เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ก็ได้ทรงเลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดในสมัยนั้น    และได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข" หรือชาวบ้านเรียกว่ากรมพระราชวังหลัง

ศึกพม่ามีขึ้นอีกหลายครั้ง   กรมพระราชวังก็ทรงยกทัพไปทำศึกด้วยทุกครั้ง เว้นแต่ครั้งเดียวที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงให้อยู่รักษาพระนคร
จนพระชนม์มากขึ้นถึง ๕๖ ปี   ก็เสด็จออกผนวช  ทรงอยู่ในเพศบรรพชิตตลอดพรรษาจนกระทั่งเกิดศึกขึ้นอีกครั้ง  จึงลาผนวชออกไปรบเป็นครั้งสุดท้าย
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 23 มี.ค. 12, 16:00

ขาดเรียนไปหลายวันครับ เข้าห้องเรียนต่อ
สงครามเก้าทัพนั้นเป็นสงครามที่ใหญ่มากครั้งหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์
ทัพที่ ๑ ให้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์(ภายหลังได้รับสถาปนาพระยศขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข หรือ กรมพระราชวังหลัง) เป็นแม่ทัพถือพล ๑๕,๐๐๐ ขึ้นไปตั้งรับอยู่ที่เมืองนครสวรรค์
อย่าให้เพลี่ยงพล้ำมิให้ถอย ประวิงเวลายันทัพเหนือของพม่าให้ได้นานที่สุด ( ๑๕,๐๐๐ ตั้งรับ ๓๕,๐๐๐ ) ผมอ่านดูแล้วก็นึกสงสารบรรพบุรุษเรามาก โดนคำสั่งมาไม่ได้ถอยไม่ให้เพลี่ยงพล้ำแล้วเอาคน ๑๕,๐๐๐ ตั้งรับ ๓๕,๐๐๐ แต่บรรพบุรุษเราก็เก่งกล้าสามารถเอาชนะได้
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 24 มี.ค. 12, 11:05

สายสัมพันธ์ ระหว่าง พระเจ้าตากกับกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์(พระมหาอุปราช)พระนามเดิมว่าเจ้าจุ้ยที่๑ในสมเด็จพระราชินีดำรงพระราชตำแหน่งรัชทายาทถูกสำเร็จโทษวันเสาร์เดือน๖แรม.๘ค่ำ พ.ศ.๒๓๒๕และในการนี้บุตรและธิดาทั้งหลายของกรมขุนอินทรพิทักษ์ไม่ได้ถูกประหาร เลยเหลือสืบสกุลสายตรงเป็นสกุล“สินสุข”และ“อินทรโยธิน”กรมขุนอินทรพิทักษ์-เจ้าฟ้าจุ้ยมีธิดา๒บุตรชาย๒
     ๑.๑ คุณหญิงมะเดื่อ เป็นหม่อมห้ามในกรมหมื่นนราเทเวศร์พระโอรสพระองค์ใหญ่ในการพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง)มีโอรสต่อกันคือ
            หม่อมเจ้าชายเศรษฐ  ปาลกะวงศ์ณ อยุธยา
            หม่อมเจ้าชายจักรจัน ปาลกะวงศ์ณ อยุธยา
            หม่อมเจ้าหญิง ไม่ปรากฏพระนามปาลกะวงศ์ณ อยุธยา
     ๑.๒ คุณหญิงสาลี่เป็นหม่อมห้ามในกรมหลวงเสนีบริรักษ์พระโอรสพระองค์ เล็กในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง)มีโอรสต่อกันคือ
            หม่อมเจ้าชายจุ้ย(จิ๋ว)เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
            หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนามเสนีวงศ์ ณ อยุธยา
            หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 24 มี.ค. 12, 11:09

เรื่องนี้แสดงให้เห็นกำลังพลของฝ่ายไทยในสมัยรัชกาลที่ ๑ คงจะแบ่งปันกันไปได้แค่นี้เอง     ถ้าหากว่าทางการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ได้มากกว่านี้ก็คงจะมีกันมากกว่านี้
แสดงให้เห็นอีกอย่างว่า  การวางแผนรบของไทยในสมัยนั้นเก่งมาก   เมื่อมีคนน้อย ก็หาวิธีเอาน้ำน้อยชนะไฟจนได้     ผิดกับสมัยอยุธยาที่รบกันด้วยกำลังอย่างเดียว  เมื่อพม่ายกมาล้อมเมือง ไทยก็ใช้กำลังพลจากในเมืองและจากหัวเมืองคานเอาไว้   บวกกับน้ำท่วมจากธรรมชาติ
แต่เมื่อย้ายเมืองหลวง  ไพร่พลก็จำนวนน้อย   ก็ต้องค้นคิดหาวิธีรบแบบใหม่ที่ไม่ปะทะกันด้วยกำลังอย่างตรงๆ      อย่างหนึ่งที่ได้ผลมากคือการรบแบบกองโจร  ที่มีผู้นำอย่างพระองค์เจ้าขุนเณร
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 24 มี.ค. 12, 22:06

ผมออกจะทึ่งกับจำนวนไพร่พลทั้งฝ่ายไทยและตรงข้าม มาก
ไม่แน่ใจว่าตัวเลขที่บอกจำนวน จะเป็นจริง
การสงครามแต่ละครั้ง ระยะเวลาก็ห่างกันไม่มากนัก
รบแต่ละคราว ก็ต้องเสียไพร่พล ฝ่ายละจำนวนมาก
แล้วจะเหลือไพร่พล มากน้อยแค่ไหน
คงต้องเร่งผลิตพลเมืองกันหน้าดูเลย
ผมมีเพื่อนคิดบ้างไหม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 25 มี.ค. 12, 10:12

การรบสมัยรัชกาลที่ ๑ มีการใช้กลอุบายหลายอย่าง เพื่อรักษาจำนวนไพร่พลเอาไว้  มิให้เปลืองลงไปมาก  เพราะกำลังฝ่ายไทยน้อยกว่าฝ่ายพม่า
กรมพระราชวังหน้า ท่านทรงใช้วิธีนี้   ขอเวลาหน่อยแล้วจะพิมพ์มาให้อ่านค่ะ
บันทึกการเข้า
ศิณาวรรณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 30 มี.ค. 12, 18:00

1.เจ้าขุนเณรเป็นเจ้านายวังหลังด้วยหรือเปล่า
2.วังเจ้าขุนเณร วังสวนมังคุด วังสวนลิ้นจี่ วังเจ้านครเชียงใหม่ วังเจ้าลาว วังเจ้านครเวียงจันทร์ วังบ้านปูน อยู่ตรงไหนบ้าง
  เป็นของเจ้านายพระองค์ไหน
3.วังหลวง วังหลัง วังหน้า วังเดิม วังสวนอนันต์ เดิมมีอาณาเขตแค่ไหน
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 08:49

พระองค์เจ้าขุนเณร เป็นน้องคนละแม่กับ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง)  โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าขุนเณร เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์จักรี โดยเป็นพระโอรสบุญธรรมใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระยาเทพสุดาวดี
พระองค์เจ้าขุนเณร เป็นพระโอรสของ พระอินทรรักษา หรือหม่อมเสม ซึ่งเป็นพระภัสดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระยาเทพสุดาวดี พระภคินีเธอใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เจ้าขุนเณร ทรงเป็นเจ้านายนอกพระราชวงศ์จักรี เพราะพระชาติประสูติของพระองค์นั้นเกิดกับหญิงสามัญ ซึ่งเป็นอนุภริยาในพระอินทรรักษา สำหรับพระองค์เจ้าขุนเณร นับว่าเป็นเจ้านายที่พระปรีชาการศึกสงครามพระองค์หนึ่ง ทรงประทับที่วังบ้านปูน แต่พระชีวประวัติเท่าที่สืบค้นมีน้อยมาก ไม่มีระบุเหตุของการสิ้นพระชนม์ และไม่มีระบุทายาทสืบมา
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 08:57

วังเจ้าขุนเณรกับวังบ้านปูนน่าจะที่เดียวกันครับ เป็นวังที่ประทับเจ้าขุนเณร
วังสวนมังคุด เป็นวังที่ประทับของ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองจีน กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ พระโอรสลำดับที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี กับหม่อมเสม ประสูติในสมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่ในบริเวณใกล้กับวัดระฆัง
วังสวนลิ้นจี่เป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขนี้ คนทั่วไปเรียกว่า“วังหลัง” เหตุที่ตั้งวังบริเวณสวนลิ้นจี่ จึงมีชื่อเรียกวังของท่านว่า“วังสวนลิ้นจี่”
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง