เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 15:25
|
|
เรื่องของนายบุนนาค บ้านแม่ลา หรือเจ้าพระยาพลเทพ ดิฉันรู้แต่ว่าเดิมเป็นชาวกรุงเก่าพวกเดียวกับขุนแก้ว น้องพระยาสรรค์ ที่จู่โจมเข้าฆ่าเจ้าเมืองอยุธยา แล้วยกพวกมาตีธนบุรีพร้อมกับพระยาสรรค์ จนกระทั่งยึดเมืองได้ อย่างไรก็ตาม มีการแตกคอกันขึ้นมาระหว่าง ๒ คนนี้ ในช่วงพระยาสุริยอภัยยกทัพกลับมาถึงธนบุรี พระยาสรรค์ประสงค์จะรักษาความเป็นใหญ่ไว้ จึงร่วมมือกับกรมขุนอนุรักษ์สงครามทำศึกกลางเมืองกับพระยาสุริยอภัย แต่ว่านายบุนนาคกลับไปอยู่ฝ่ายพระยาสุริยอภัย สนับสนุนสมเด็จเจ้าพระยาฯอย่างเต็มตัว เมื่อเสร็จศึกแล้วก็สวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จนได้เป็นเจ้าพระยาพลเทพ หนึ่งในสี่จตุสดมภ์ ตลอดรัชกาลที่ ๑ ก็ไปกรำศึกมาหลายครั้ง ก็ต้องถือว่าเป็นขุนนางที่ชำนาญศึกคนหนึ่ง แต่ชะตาก็พลิกผันอีกครั้ง เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๒ เจ้าพระยาพลเทพเจอข้อหาสมรู้ร่วมคิดเป็นกบฎชิงบัลลังก์คืนให้พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าตากสิน คือเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต(เจ้าฟ้าเหม็น) จึงถูกประหารพร้อมเจ้าฟ้าและพระญาติพระวงศ์ ถ้าหากว่าท่านมิใช่แพะ ก็ตีความได้ว่าท่านคงจะจงรักภักดีกับเจ้าฟ้าเหม็นเป็นพิเศษกว่าเจ้านายองค์อื่นละมัง เลยโดนข้อหาเข้าไปด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
werachaisubhong
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 16:00
|
|
เรื่องของนายบุนนาค บ้านแม่ลา หรือเจ้าพระยาพลเทพ ดิฉันรู้แต่ว่าเดิมเป็นชาวกรุงเก่าพวกเดียวกับขุนแก้ว น้องพระยาสรรค์ ที่จู่โจมเข้าฆ่าเจ้าเมืองอยุธยา แล้วยกพวกมาตีธนบุรีพร้อมกับพระยาสรรค์ จนกระทั่งยึดเมืองได้ อย่างไรก็ตาม มีการแตกคอกันขึ้นมาระหว่าง ๒ คนนี้ ในช่วงพระยาสุริยอภัยยกทัพกลับมาถึงธนบุรี พระยาสรรค์ประสงค์จะรักษาความเป็นใหญ่ไว้ จึงร่วมมือกับกรมขุนอนุรักษ์สงครามทำศึกกลางเมืองกับพระยาสุริยอภัย แต่ว่านายบุนนาคกลับไปอยู่ฝ่ายพระยาสุริยอภัย สนับสนุนสมเด็จเจ้าพระยาฯอย่างเต็มตัว เมื่อเสร็จศึกแล้วก็สวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จนได้เป็นเจ้าพระยาพลเทพ หนึ่งในสี่จตุสดมภ์ ตลอดรัชกาลที่ ๑ ก็ไปกรำศึกมาหลายครั้ง ก็ต้องถือว่าเป็นขุนนางที่ชำนาญศึกคนหนึ่ง แต่ชะตาก็พลิกผันอีกครั้ง เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๒ เจ้าพระยาพลเทพเจอข้อหาสมรู้ร่วมคิดเป็นกบฎชิงบัลลังก์คืนให้พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าตากสิน คือเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต(เจ้าฟ้าเหม็น) จึงถูกประหารพร้อมเจ้าฟ้าและพระญาติพระวงศ์ ถ้าหากว่าท่านมิใช่แพะ ก็ตีความได้ว่าท่านคงจะจงรักภักดีกับเจ้าฟ้าเหม็นเป็นพิเศษกว่าเจ้านายองค์อื่นละมัง เลยโดนข้อหาเข้าไปด้วย
เหตุการณ์นี้เป็นที่มาของสำนวน "กาคาบข่าว" ใช่หรือเปล่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 16:10
|
|
ดิฉันไม่รู้ว่ามีสำนวนนี้อยู่ก่อน แล้วมีแผนดำเนินเรื่องให้สอดคล้องกับสำนวน หรือว่าเพราะริเริ่มแผนด้วยวิธีอ้างกาว่าคาบหนังสือมาทิ้ง ให้รู้รายชื่อพวกกบฏ เลยกลายเป็นสำนวนกาคาบข่าว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
werachaisubhong
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 17:17
|
|
ผมมีคำถามมากมาย อาจารย์เทาชมพู คงไม่ว่าอะไรนะครับ มีอยู่ตอนหนึ่งที่ พระยาสรรค์ขึ้นนั่งซัง คำว่า นั่งซัง เหมือนกับผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ใช่หรือไม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 17:21
|
|
รอยอิน (พจนานุกรมราชบัณฑิตยฯ) ให้ความหมายของคำว่า นั่งซัง ว่า เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, ขึ้นซัง ก็ว่า. หมายถึงนั่งในที่ๆใครก็เอื้อมไม่ถึง ก็ผู้สำเร็จราชการละค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
werachaisubhong
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 17:30
|
|
ขอบคุณมากครับ อาจารย์ พรุ่งนี้ผมมาถามต่อนะครับ ได้ความรู้มากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 19:29
|
|
เรื่องที่บันทึกกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินเสียพระจริตนั้น พระอาการคงไม่ถึงขั้นจิตเภท แต่น่าจะเป็นอย่างที่ปัจจุบันเรียกว่า "ซึมเศร้า" ซึ่งจากที่เคยประสบพบเห็นจากผู้ใกล้ชิด อาการซึมเศร้านั้นเวลาอาการกำเริบจะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มีอาการเหมือนประสาทหลอน แต่ถ้าได้พักผ่อนและรับประทานยาตามที่แพทย์กำหนดให้ ก็จะกลับเป็นปกติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
werachaisubhong
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 13 มี.ค. 12, 09:44
|
|
มาอีกหนึ่งคำถามครับ อยากทราบครับว่าด้วยเหตุใดพระเจ้าตากจึงต้องปลด พระยาคำแหงสงครามเจ้าเมืองนครราชสีมา ให้มารับราชการในกรุง แล้วโปรดให้ พระยาสุริยอภัย หลานเจ้าพระยาจักรี ขึ้นไปปกครองเมืองนครราชสีมาแทน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 13 มี.ค. 12, 11:05
|
|
ดิฉันยังไม่เจอหนังสือที่ให้คำตอบในเรื่องนี้ จึงได้แต่สันนิษฐาน ๒ ทางว่า ๑ พระยากำแหงสงครามมีปัญหาในการปกครองเมืองขึ้นต่อนครราชสีมา เป็นเหตุให้เกิดปัญหาลุกลามใหญ่โต อย่างในกรณีเจ้าเมืองนางรองที่หนีไปพึ่งจำปาศักดิ์ จึงถูกเรียกตัวกลับมาอยู่กรุงธนบุรี แต่ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นขุนนางที่จงรักภักดีอยู่ จึงมิได้ถูกลงโทษแต่อย่างใด ๒ ถูกเรียกตัวมาเพื่อเตรียมตัวไปศึกเขมร ติดตามเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ถ้าหากว่าทำศึกชนะเขมร เจ้าฟ้าฯขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมร พระยากำแหงสงครามก็จะได้เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ช่วยราชการอยู่ในเขมร ความภักดีของพระยากำแหงสงครามที่ยอมตายตามนาย คือเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ มากกว่าจะยอมรับราชการกับเจ้านายพระองค์ใหม่ ทำให้ดิฉันคิดว่าอาจจะเป็นข้อสองก็ได้ แต่ถ้าท่านใดมีหลักฐานอื่นนอกเหนือไปจากนี้ จะนำมาลงในกระทู้ ตอบข้อข้องใจของท่านผู้ถาม ก็จะขอบคุณมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
werachaisubhong
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 13 มี.ค. 12, 12:37
|
|
มีอยู่เหตุการณ์หนึ่งเมื่อพระยาสรรค์เข้านั่งเมืองแล้วได้แจ้งว่าพระสุริยอภัยยกทัพลงมา จึงให้ไปเชิญมาปรึกษาราชการ ณ ท้องพระโรงในพระราชวัง แจ้งการทั้งปวงให้ทราบ แล้วบอกว่าจัดแจงบ้านเมืองไว้เพื่อถวายแก่เจ้าพระจักรีให้ครอบครองแผ่นดินสืบไป แล้วทำไมพระยาสรรค์จึงคิดต่อสู้กับพระยาสุริยอภัยในภายหลังอีกทั้งที่ตกลงกันแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 13 มี.ค. 12, 13:36
|
|
ใจดีสู้เสือ และหลอกให้ตายใจไงคะ คนแย่งความเป็นใหญ่อย่างพระยาสรรค์ เรื่องอะไรจะประกาศกันตรงๆให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ไต๋ เพราะพระยาสุริยอภัยไม่ได้เดินเข้ามาคนเดียว มีกองทัพหนุนหลังมาอีกทั้งทัพ หลอกอีกฝ่าย เพื่อเอาตัวรอดไปก่อน แล้วแอบเล่นงานตอนเผลอ ง่ายกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
werachaisubhong
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 14 มี.ค. 12, 09:16
|
|
อยากทราบว่าพระโอรสและพระธิดา ของ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ท่านใดบ้างที่ได้รับราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน บ้างครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 16 มี.ค. 12, 18:00
|
|
คุณ werachaisubhong ผู้เป็นเจ้าประจำของกระทู้นี้ถามถึงพระนามเจ้านาย งั้นดิฉันพักรบสงครามเก้าทัพ กลับเข้าวังหลังเพื่อดูรายพระนามก่อนนะคะ
พระโอรสธิดาในกรมพระราชวังหลัง ที่ประสูติจากพระอรรคชายา เจ้าครอกทองอยู่ นั้นดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้า ส่วนองค์อื่นๆที่ประสูติจากเจ้าจอมหม่อมห้าม เป็นหม่อมเจ้า พระโอรสและพระธิดาจากพระอรรคชายา ๑ พระองค์เจ้าปาน หรือทองปาน ในรัชกาลที่ ๑ สถาปนาเป็นกรมหมื่นนราเทเวศร์ ต้นราชสกุล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ๒ พระองค์เจ้าหญิงกระจับ หรือกระจับทอง ๓ พระองค์เจ้าชายบัว หรือบัวทอง ในรัชกาลที่ ๑ สถาปนาเป็นกรมหมื่นนเรศร์โยธี ไม่มีโอรสธิดา ๔ พระองค์เจ้าชายแตงหรือแตงโม ในรัชกาลที่ ๑ สถาปนาเป็นกรมหมื่นเสนีบริรักษ์ และเลื่อนเป็นกรมหลวง เป็นต้นราชสกุล เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ๕ พระองค์เจ้าทองแดง เป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ประสูตินับแต่ประดิษฐานพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ องค์นี้ผนวชเป็นพระภิกษุ สุนทรภู่น่าจะเป็นมหาดเล็กของท่าน จึงตามเสด็จไปพระพุทธบาทสระบุรี ในนิราศพระบาท ๖ พระองค์เจ้าหญิงทองสุก ภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงพระราชทานพระนามใหม่ว่า จงกล ว่ากันว่าพระนมคือมารดาของสุนทรภู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 16 มี.ค. 12, 18:49
|
|
กรมพระราชวังหลังยังมีพระโอรสธิดาชั้นหม่อมเจ้าอีก 29 องค์ ในหนังสือที่ดิฉันนำมาอ้าง ไม่มีรายพระนาม คงจะต้องไปค้นในหนังสือ "พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี" โดย ม.ร.ว.ศุภวัฒย์ เกษมศรี และคุณรัชนี ทรัพย์วิจิตร มีหนังสือเล่มนี้อยู่ในตู้หนังสือเหมือนกัน แต่ยังหาไม่พบค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 16 มี.ค. 12, 19:53
|
|
มารายงานตัวว่านักเรียนยังอยู่ไม่ไปไหนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
|