เชิญคุณ werachaisubhong ให้ความรู้อย่างนี้บ่อยๆ เบาแรงดิฉันได้มาก

ผมออกจะทึ่งกับจำนวนไพร่พลทั้งฝ่ายไทยและตรงข้าม มาก
ไม่แน่ใจว่าตัวเลขที่บอกจำนวน จะเป็นจริง
การสงครามแต่ละครั้ง ระยะเวลาก็ห่างกันไม่มากนัก
รบแต่ละคราว ก็ต้องเสียไพร่พล ฝ่ายละจำนวนมาก
แล้วจะเหลือไพร่พล มากน้อยแค่ไหน
คงต้องเร่งผลิตพลเมืองกันหน้าดูเลย
ผมมีเพื่อนคิดบ้างไหม
รับปากไว้ว่าจะเล่าถึงการรบของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทให้ฟัง เพื่อดูว่าการเอาชนะข้าศึกที่กำลังมากกว่า เขาทำกันอย่างไร
ในสงครามเก้าทัพ เมื่อกรมพระราชวังหลังยกทัพไปนครสวรรค์ วังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทก็ยกพลจำนวน ๓๐,๐๐๐ คน ไปรับทัพพม่าที่ลาดหญ้า กาญจนบุรี ส่วนทัพพม่าที่พระเจ้าปดุงเป็นจอมทัพยกมาเอง เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีเหมือนกัน มีจำนวน ๘๙,๐๐๐ คน รวม ๕ ทัพ ทัพใหญ่สุดคือทัพหลวงมีทหาร ๕๐๐๐๐ คน
คนสามหมื่นไปรบกับคนเกือบเก้าหมื่น ถ้าเข้าประจัญบานกันแบบตัวต่อตัวเหมือนนักดาบฟันกัน นักรบไทย ๑ คนจะต้องฟาดฟันกับพม่า ๓ คนพร้อมกันจึงจะเสมอกัน ถ้าจะเอาตัวรอดกลับมาบ้านได้ต้องฆ่าพม่า ๓ คนที่รุมกินโต๊ะให้ได้หมด คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ทหารไทยทุกคนมีโอกาสรอดเพียง ๓๓ % อย่างมาก