เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 149270 เมนูอาหารป่า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 19:49

สภาพของผมเมื่อเดินทำงานในห้วยขาแข้งครั้งแรกๆ จะเห็นพกปืนอยู่ที่เอวเสมอ ปืนสั้นนี้ใช้กันคน มิใช่กันสัตว์  ใส่โสร่งเพราะกางเกงไม่แห้ง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 19:53

อีกภาพหนึ่งครับ ทั้งสองภาพถ่ายช่วง 2514-15


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 20:06

นึกถึงรพินทร์ ไพรวัลย์ นุ่งโสร่งขึ้นมาเลยค่ะ  ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 20:52

ขอถามคุณตั้ง ไพรวัลย์หน่อยได้ไหมว่าไม้ยาวๆที่ถืออยู่ทั้ง 2 รูป มีเอาไว้ทำอะไร  ต้องถือติดมืออยู่ตลอดเวลาเดินป่าหรือไม่
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 04 เม.ย. 12, 21:37

ปรกติในเวลาทำงานจริงๆนั้นไม่ถือไม้อะไรหรอกครับ เกะกะเสียมากกว่า รูปที่ถ่ายนี้เป็นช่วงที่เดินยาวไปตามทางเดินป่าของกะเหรี่ยงตามห้วยองค์ทั่ง ไม่มีหินอะไรโผล่ให้ดู ให้ศึกษาและเก็บตัวอย่าง ก็เลยเก็บอุปกรณ์การทำงาน คนงานที่จ้างเขาอาสาแบกให้ ผมก็เลยหาไม้ไผ่มาถือเป็นไม้เท้าเล่นๆ แต่ก็ไม่ใช่ทำเล่นๆจริง เพราะใช้เขี่ยใบไม้ใบหญ้า ไล่งู ไล่แมลง และใช้กันเถาไม้เลื้อยที่เป็นหนาม สำหรับหมวกก็เช่นกัน ตามปรกติจะไม่ใส่เพราะว่ามันคอยจะเกี่ยวหนามเกี่ยวกิ่งไม้เวลาเดิน ต้องคอยจับ หยิบใส่หยิบออกน่ารำคาญมากๆ แถมยังทำให้หัวเปียกชุ่มจากเหงื่ออีกด้วยครับ

ชุดทำงานจริงๆของผมเหมือนดังในภาพนี้ (ภาพนี้เป็นภาพของเืพื่อนร่วมงานที่ทำงานเคียงกันมาในหลายพื้นที่) ภาพนี้ถ่ายในพื้นที่ อ.ศรีสวัสดิ์
การแต่งกายก็จะใส่รองเท้าแตะ มีเป้สะพายข้างใว้ใส่กระติกน้ำ ของกิน และใส่ตัวอย่างหิน มีแผนที่ (ที่เห็นพาดแขน) มีเข็มทิศและสมุดโน๊ตข้อมูลถืิอไว้ที่มือซ้าย มือขวาก็ถือฆ้อนธรณี ห้อยแฮนเลนซ์ไว้ที่คอ มีผู้ช่วยสำรวจเดินเป็นเพื่อนและช่วยในเรื่องอื่นๆหลายๆเรื่อง ในครั้งนี้ ผมเดินทำงานคู่กับเพื่อนเพื่อช่วยกันขบปัญหาทางวิชาการเรื่องหนึ่ง คนซ้ายมือคือผู้ช่วยของผม คนที่นั่งส่องปืนเป็นผู้ช่วยของเพื่อนผม คนซ้ายมือนั้นคือคนที่เป็นคู่หูของผมในเกือบจะทุกสภานการณ์ ปืนนั้นไม่ได้ใช้ยิงสัตว์เป็นเรื่องเป็นราวหรอกครับ เอาไว้ป้องกันตัวจากพวกสัตว์ใหญ่ เช่น ยิงไล่หมี ยิงไล่ช้าง งูจงอาง เป็นต้น จะเห็นว่าคนของผมถือปืนลูกซองแฝด ส่วนคนของเพื่อนผมถือปืนลูกกรด   


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 06:24

เมื่อไหร่จะถึงเมนูนี้มั่ง


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 10:28

รูปถ่ายเมื่อ 40 ปีมาแล้ว ยังเก็บไว้...ดีจัง รูปถ่ายเก่าๆมักจะหายไปเสียแล้ว

ป่าสมัยนั้น...สภาพโดยรวมยังดีไหมคะ  ถูกทำลายมากไหม

เคยไปเที่ยวพักป่าภาคเหนือ 2-3 ครั้ง ชอบที่ป่าหน้าหนาวจะมีใบไม้เปลี่ยนสี สวยงาม

(แม้จะไม่เท่าต่างประเทศก็ตาม) แต่ก็มีสีสันมากกว่าป่าที่มีสีเขียวตลอดปี

ป่าที่ไหนสวยที่สุดคะ เท่าที่คุณตั้งเคยสัมผัสมา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 19:06

เมื่อไหร่จะถึงเมนูนี้มั่ง

เมนูของคุณนวรัตน์นี้รวมพลก่อนย่อย
ลองเมนูของผม รวมพลหลังย่อย เมนูนี้เป็นสุดๆที่ผมได้เคยลองลิ้มชิมรส

ปลาร้าขี้ค่างครับ

ไปได้กินในป่าแม่วงค์ จ.นครสวรรค์ ในสมัยนั้น (2515) ได้มีการอนุญาตให้ตัดไม้ในพื้นที่นี้ เส้นทางเข้าจึงเป็นเส้นทางที่ตัดเข้าไปเพื่อการลากไม้ ในช่วงที่ผมเข้าไปครั้งแรกนั้นเป็นช่วงที่เพิ่งจะเริ่มมีการตัดไม้ ป่ายังจัดได้ว่าสมบูรณ์มากๆ มีต้นไม้ใหญ่เรือนยอดสูง แดดแทบจะส่องไม่ถึงพื้นดิน ไม้ที่เห็นส่วนมากจะเป็นต้นยางขนาดใหญ่มากๆ และมีต้นมะค่าที่มีปมขนาดประมาณหนึ่งวาอยู่มากมายเลยทีเดียว เมื่อเข้าไปพื้นที่ๆเป็นหุบเขามีน้ำแม่วงค์ไหลผ่าน ป่าจะยิ่งชุมชื้นและเย็นสะบาย เห็นไม้พื้นล่างที่คลุมดินเป็นพวกต้นกระชาย สวยงามจริงๆครับ แล้วก็มีนกเงือกหรือนกกก นกแกง และนกอื่นๆบินผ่านไปมา ได้ยินเสียงจากการกระพือปีกของนกขนาดใหญ่เหล่านี้ เหมือนอยู่ในโลกโบราณเลยทีเดียว ผมเข้าไปทำงานในพื้นที่นี้เพื่อจะหาทางเดินไปห้วยขาแข้งตอนต้นน้ำที่เรียกกันว่าขาแข้งแห้ง ในครั้งแรกที่เข้าไปประมาณปลายเดือนธันวาคม ป่ายังเป็นป่า พอเข้าไปครั้งที่สองประมาณปลายเดือนมีนาคม ป่าทึบกลายเป็นป่าโปร่ง แดดแส่องถึงพื้นแล้ว ป่าที่ชุมชื้นกลายเป็นป่าแห้ง ผิดหูผิดตาไปขนาดแทบจะจำไม่ได้
เนื่องจากมีทางรถจึงมีชาวบ้านใช้เกวียนบรรทุกสัมภาระเข้าไปเพื่อหาของป่า ผมได้พบชาวบ้านกลุ่มหนึ่งและได้ตั้งแคมป์อยู่ใกล้ๆกันในแอ่งที่ราบเล็กริมห้วยแม่วงค์ จึงได้ทราบว่าเขามาหาค่าง เอากลับไปเป็นอาหารและทำยา ด้วยความอยากรู้การยิงค่างและจะได้รู้เส้นทางเดินเข้าไปในพื้นที่เขาและด่านสัตว์ จึงเดินไปด้วยกันวันหนึ่ง

ที่นี่ ผมได้ประสบการณ์อีกมากมาย
   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 21:06

เรื่องแรก การยิงค่าง  

ชาวบ้าน 3-4 คนจะใช้ปืนลูกซองคนละกระบอกและสุนัขอีก 3-4 ตัว เิดินเข้าไปในหุบห้วยที่มีต้นร่มม้า พอเดินเข้าหุบนี้ก็จะได้กลิ่นหอมอย่างบอกไม่ถูก เป็นกลิ่นหอมจากขี้ค่างครับ เขามายิงค่างในช่วงประมาณเดือนนี้ก็เพราะเชื่อว่า ค่างไม่ลงมากินน้ำ กินแต่ยอดใบไม้ เรียกว่ากันค่างห้าร้อยยอด จึงเชื่อว่ามีแต่ตัวยาอายุวัฒนะอยู่ในทุกส่วนของตัวค่าง
ค่างจะอยู่กันเป็นฝูงๆละประมาณ 10 -15 ตัว ค่างชอบกินลูกร่มม้าซึ่งต้นร่มม้านั้นเป็นไม้ใหญ่และสูง การยิงค่างจะเป็นในช่วงเช้า เดินเข้าไปฟังเสียงชะนีไป เมื่อใดที่เสียงชะนีร้องเรียกกันให้ว่อนก็แสดงว่าต้องมีลิงหรือค่างอยู่ในบริเวณนั้น พอเราเดินเข้าไปถึงจุดที่ชะนีร้อง ชะนีก็จะเงียบเสียงและหนีไป (ชะนีที่พบแถวนี้ ถ้าความจำยังดี ไม่ผิด จะมีชะนีทั้งขาวและดำ รวมทั้งชะนีหัวมงกุฎด้วย) ได้ทีแล้วครับ เดินแหงนหน้ามองไปตามกิ่งไม้พุ่มไม้ไปเรื่อยๆ ค่าง (เป็นพวกค่างแว่น) นี้มีนิสัยเสียอยู่อย่างหนึ่ง คือ เราไม่เห็นตัวมันหรอกครับ แต่ถ้ามันรู้สึกว่าสบตากับเราเมื่อใด มันก็จะนึกว่าเราเห็นมัน มันจะกระโดดย้ายกิ่งย้ายไม้ต้นไม้ในทันที แล้วก็ไปแอบอยู่นิ่งๆ เรียกได้ว่า ไม่สบตาไม่โดด คราวนี้ก็ได้การละครับ เรารู้ว่ามันกระโดดจากต้นใดไปต้นใดและกี่ตัว คนหนึ่งก็จะเอาสันมีดเคาะต้นไม้ยุให้สุนัขเห่าให้เสียงขรมเลย ค่างก็จะกระโดดอีก ในระหว่างที่ลอยอยู่กลางอากาศเราก็ยิงมันทีละตัว ทำไปเช่นนี้เรื่อยๆ ไม่นานหรอกครับก็จะหมดทั้งฝูง เนื่องจากค่างนั้นหางมันยาว ก็จะใช้วิธีเอามีดกรีดที่ปลายหาง ดึงหนังออกมาเป็นห่วงนำมาคล้องคอมันอีกที แล้วก็หาบกลับมาแคมป์   ตัวผมเองในตอนนั้นยังอดร่วมวงไม่ได้ ยิงตัวแรกได้ก็เป็นเรื่องเลย มันตกลงมาพร้อมลูกอยู่ที่อก เนื่องจากลูกมันยังไม่ตาย สุนัขเลยจัดการขย้ำเสียจนตาย ผมช่วยไม่ทัน ตั้งแต่นั้นมาผมไม่ยิงค่างและลิงอีกเลย

เล่ามาเสียยืดยาว คราวนี้ก็เอามาทำกิน ชาวบ้านเขาจะเอาค่างชุบน้ำให้เปียกแล้วเผาให้ขนใหม้เกรียม จากนั้นก็จะขูดขนออกใ้ห้สะอาด ผ่าท้องเอาตับไตใส้พุงทั้งหมดมา รูดเอาขี้ทั้งหมดที่อยู่ในใส้ใส่ปีบ ผ่ากระเพาะเอาของที่อยู่ในกระเพาะใส่ปี๊บ ใ่ส่เกลือคลุกกันให้ดี ตัดมือตัดตีน หั่นนิ้วมือนิ้วตีนและเครื่องในทั้งหมดออกเป็นชิ้นๆใส่ในปี๊บขี้คลุกเค้าให้ทั่ว ปิดฝาปี๊บให้ดีหมักไว้ ส่วนตัวค่างนั้น สับเป็นชิ้นๆทั้งหนังขนาดฝ่ามือแล้วย่างแห้งแบบรมควัน เก็บสะสมไว้กลับบ้าน

วิธีการปรุงอาหาร อย่างหนึ่งแน่นอนคือทำแกง เครื่องแกงก็ต้องเป็นแบบง่ายๆ คือ พริกแห้ง หอม กระเทียม ข่า ตะใคร้ ผิวมะกรูด และกะปิ โขลกละเอียดแล้วละลายในน้ำเดือด ใส่เนื้อค่าง แล้วใส่ขี้ของมันด้วย ปรุงให้ออกรสเค็ม เท่านั้นก็อร่อยแล้ว แต่เดิมนั้นผมกินไม่ลงเพราะใส่ขี้ค่าง แต่ต่อมาหากไม่ใส่จะไม่อร่อยถึงใจ แล้วต้องกินด้วยมือเปิบด้วยนะครับ ทุกคนไม่มีใครใช้ช้อนเลย กินเร็จแล้วล้างมือแล้ว ทุกคนยังเอามือมาดมกลิ่นขี้ค่างที่ติดมือ หอมดีครับ
ที่แปลกใจอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นกะเหรี่ยงหรือคนไทยเกือบทั้งหมด เมื่อทำแกงค่างจะต้องใส่ขี้ค่างด้วย

เอาละครับถึงเวลาของเมนูปลาร้าขี้ค่าง
ด้วยความกล้าๆกลัวๆ ผมใช้วิธีคั่วพริกแห้ง เจียวหอม เจียวกระเทียม แยกใว้ เอาปลาร้าขี้ค่างลงผัดในน้ำมันเล็กน้อยให้สุกจริงๆ ใส่เกลือให้เค็ม เอาเครื่องที่เจียวไว้โรยหน้า กินกับพริกคั่ว ก็กินได้นะครับ กลิ่นพอหอม แต่ก็กินกันน้อยเพราะขยาดกัน อย่างไรก็ตาม ไม่มีท้องเสีย แถมเช้ายังถ่ายได้อย่างราบรื่นหมดใส้หมดพุงเสียอีก มันก็คงเป็นยาระบายอ่อน ซึ่งเป็นสภาวะอย่างหนึ่งในตำรับของความเป็นยาอายุวัฒนะ

เมนูค่างที่ผมชอบและคิดว่าอร่อยมากที่สุด คือ เอาส่วนซี่โครงหลักกับซีอิ๊วดำเล็กน้อย ซีอิ๊วขาว และเกลือ หมักไว้ตั้งแต่เช้าจรดเย็น จึงนำมาทอด เมื่อเคี้ยวหมดรสเครื่องปรุงแล้ว จะได้รสหวานของเนื้อออกมาอย่างบอกไม่ถูก

หมดยุคหมดสมัยแล้วนะครับ อย่าไปแสวงหาทานเลย บาปครับ ผมทำไปเพื่อความอยู่รอดครับ มิใช่เื่พื่อความสนุก    
  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 21:38

ป่าที่ไหนสวยที่สุดคะ เท่าที่คุณตั้งเคยสัมผัสมา

ผมคิดว่าป่าที่พ้นไปจากที่ราบภาคกลางไปทางตะวันตกจนจรดชายแดนไทยพม่า ป่าระหว่างรอยต่อของ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ อ.เด่นชัย จ.แพร่ ป่าทางด้านตะวันออกของ จ.น่าน ตลอดแนวตั้งแต่ชายแดน อ.ทุ่งช้าง เลาะลงมา อ.แม่จริม ไปจนจรดชายแดนลาว ป่าแถบชายแดนตลอดตั้งแต่ อ.แม่ระมาดน้อย จ.ตาก ขึ้นไปจนถึง อ.แม่ลาหลวง จ.แม่ฮ่องสอน เหล่านี้ ในสมัยก่อนเป็นป่าใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มาก เงียบสงบ เยือกเย็น น่ากลัว ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปหมดแล้ว ทางภาคใต้ที่สัมผัสก็มีป่าเขายี่สก แถบ อ.พะโต๊ะ จ.ระนอง และลงไปใต้สุดแถบแนวชายแดน อ.แว้ง อ.โต๊ะโม๊ะ อ.สุคิรินทร์ สำหรับป่าในภาคอีสานนั้นไม่สันทัดครับ

ใช่ครับ ป่าในภาคเหนือยังพอจะเห็นใบไม้เปลี่ยนสีบ้าง เพราะมีต้นไม้ในตระกูลเมเปิ้ลอยู่บ้าง แต่ในที่อื่นๆมักจะเปลี่ยนสีจากเขียวชุ่มชื้นไปเป็นน้ำตาลแดงแห้ง

ผมเคยเห็นป่าที่เปลี่ยนสภาพตามธรรมชาติไปอย่างสิ้นเชิงอยู่ 3 แห่ง คือ ในห้วยขาแข้งแถวๆบ้านเกริงไกร จากชัฏป่าไผ่ (ไผ่หนาม) เดินไม่ทะลุ กลายเป็นไผ่ยืนต้นตาย มีแต่ดอกไผ่ ขุยไผ่เพราะมันหมดอายุตายพร้อมกันทั้งชัฏ อีกแห่งก็แถวๆบริเวณใกล้ๆบ้านคลิตี้ แควใหญ่ จากป่ารกทึบกลายเป็นป่าโปร่ง และแห่งสุดท้ายที่ป่าแม่วงค์ที่เล่าเรื่องค่างนี้แหละครับ จากป่าทึบ เขียวชะอุ่ม กลายเป็นป่าโปร่งแบบที่ทางเหนือเขาเรียกกันว่าป่าแดง หรือป่าแพะ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 06 เม.ย. 12, 17:08

เรื่องค่าง ...อ่านแล้วสงสารมันมากนะคะ

สมัยก่อนคนที่เดินป่าอาจเป็นมาเลเลียกันง่ายมาก โดยเฉพาะคนจากในเมืองไปเดินป่า

คุณตั้งแก้ปัญหานี้ยังไง และน้ำดื่ม...ถ้าไม่ได้จากชาวบ้าน จะหาทานได้ที่ไหน

แล้วจะแน่ใจว่าปลอดเชื้อที่เป็นอันตราย...ด้วยวิธีใดคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 06 เม.ย. 12, 19:08

ปลาที่ว่าลงตะครัดจับได้มากๆนั้น ส่วนหนึ่งเอามาทำเมนูลาบปลา หรือก้อยปลา ผมไม่แน่ในว่าจะเรียกชื่อว่าอะไรดี

เมนูนี้ใช้ปลาใบไม้ครับ เป็นปลาเกล็ด ตัวคล้ายปลาตะเพียนไม้สานที่ขายเป็นของที่ระลึกอยู่ตามร้านค้าในวัดต่างๆของ จ.อยุธยา
ขอดเกล็ด ตัดหัว เอาครีบหลังส่วนที่แข็งๆออกไป (ปลา 4-5 ตัว) แล้วสับให้ละเอียด บีบน้ำมะนาว (1-2 ผล) ลงไปเคล้าให้ทั่ว ทิ้งไว้สักพัก ในระหว่างนี้ ซอยหัวหอม 6-7 หัว ซอยพริกสดหรือแห้งก็ได้ตามปริมาณความเผ็ดที่ชอบ    
บีบขยำเนื้อปลาที่ใส่น้ำมะนาวนั้น จะมีน้ำออกจากปลา แยกเนื้อกับน้ำออกจากกัน เอาน้ำนั้นใส่กระทะตั้งไฟใ้ห้เดือดหรือร้อนจัด เอามาเทใส่เนื้อปลา คลุกให้ทั่ว ใส่น้ำไปลา ใส่หอมซอย ใส่พริก คลุกอีกครั้ง เท่านี้ก็อร่อยมากแล้ว ไม่ใช่ของดิบจริงๆ และก็ไม่ใช่ของสุกจริงๆ

คราวนี้เป็นเมนูก้อยปลาอร่อยประเภทในเมืองชนิดค่อนข้างหรู ซึ่งผมได้มาจากพวกพ่อครัวไทยในเวียนนา ออสเตรีย (ชอบพอกันจึงทำให้กิน) ผู้ใดที่กลัวการกินก้อยแบบบ้านเรา หากท่านกินซูชิได้ กินซาชิมิได้ ลองกินก้อยแบบนี้ซิครับ

ในไทย ผมใช้เศษปลาแซลมอน ซึ่งเป็นส่วนที่แล่ขายในราคาถูก เช่นบริเวณปลายใกล้หาง เอามาแล่เอาหนังออก หั่นเป็นชิ้นๆทรงลูกเต๋า พยายามทำให้ได้ลูกเต๋าขนาดใหญ่หน่อยเท่าที่จะทำได้จากชิ้นปลาส่วนนี้ แต่ไม่เกินด้านละประมาณ 1 ซม.  จะใช้ชิ้นปลาดีๆที่ตัดขายเป็นชิ้นเขื่องๆแบบสเต็กก็ได้ (ราคาแพงหน่อย) เอาปลาไปแช่ในช่องแข็งของตู้เย็น ให้เกือบแข็ง เพื่อจะได้หั่นง่ายๆ ไม่เละ เตียมฝานมะนาวสัก 1 ลูก เตรียมข้าวคั่ว เตรียมใบสะระแหน่ (พันธุ์ปลายมน) หอมแดงซอย (ของไทย) พริกป่นหอมๆ (คั่วเองป่นเองยิ่งดี) น้ำปลาดี (พวกที่ใช้เวลาหมัก 18 เดือน)
บีบมะนาวใส่เนื้อปลา คลุกให้ทั่ว ใส่น้ำปลาแล้วคลุกให้ทั่ว ชิมรสกำลังพอดีเค็มและเปรี้ยว ใส่หอมซอย ใส่พริกป่นตามชอบ ใส่ข้าวคั่วตามชอบ (กะว่าพอทำให้น้ำแห้ง) คลุกให้ทั่ว ใส่ใบสะระแหน่ เคล้าให้ดี ตักใส่จาน โรยใบสะระแหน่อีกครั้ง วางบนโต๊ะ บอกให้รีบกินหน่อยก่อนที่เนื้อปลามันจะนิ่มแหยะๆ คนที่ไม่กินปลาดิบก็ขอให้ลอง แพล็บเดียวหมดครับ ที่ผมทำเลี้ยงแขก ไม่ว่าจะเป็นชาติใหน ไม่เคยไม่หมดด้วยความรวดเร็วเลย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 06 เม.ย. 12, 19:54

ปลาแซลมอนนี้ ฝรั่งกินแบบหนึ่ง ญี่ปุ่นกินแบบหนึ่ง ไทยกินอีกแบบหนึ่ง
หากจะเอามาทอดกินกับน้ำปลาพริกขี้หนู กินกับยำมะม่วงน้ำปลา หรือแช่น้ำปลาทอด ผมว่าอย่าไปกินให้แพงเลยครับ ทำแล้วแทบจะไม่ต่างไปจากการใช้ปลาสวาย ปลาเทโพ หรือแม้กระทั่งปลาเค้า

ผมเห็นว่า เอาเศษปลาแซลมอนที่เขาขายถูกๆนั้นแหละมาทำอาหารให้อร่อยมากๆแบบไทยๆจะดีกว่า (คงจะต้องเป็นอาหารป่าในเมืองเสียแล้ว และแบบไฮโซเสียด้วย)

ในซุปเปอร์มาเก็ตนั้น มักจะมีหัวปลาแซลมอน ส่วนที่เป็นก้าง ครีบ พุง และส่วนปลายหาง แพ็คขายอยู่รวมกันในราคาที่ย่อมเยาว์
เมื่อแกะออกมา หากเห็นว่ามีส่วนครีบท้องมาก (ตลอดความยาวท้อง) นั่นแหละครับของแพงมากๆของญี่ปุ่น เอามาย่าง ทาด้วยซีอิ๊วที่ใส่น้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ทาไปย่างไปให้สุก ให้มันหยด อร่อยมาก มีแต่ประโยชน์ทั้งนั้น คือ อุดมด้วย Omega 3    เช่นเดียวกันกับส่วนท้องที่มีมันมากๆ ก็เอามาทำเช่นเดียวกับ 

ส่วนหัว ก้างที่ติดเนื้อและส่้วนท้อง เอามาทำต้มยำรสแซบแบบไทยๆ อร่อยมากเหมือนกัน มีแต่ประโยชน์เช่นกัน คือ กระดูกอ่อนทั้งหลายก็เป็น Cartilage ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นยาแก้มะเร็ง สมัยที่ผมประจำการในต่างประเทศแรกๆนั้น ของพวกนี้ในยุโรปไม่มีราคา พ่อค้าทิ้งหมด ขอมาขากเขียงได้ ต่อมาไม่นานนักก็กลายเป็นของมีราคาที่ขายกันในซุปเปอร์มาเก็ต

เป็นอันว่า เอาของดีราคาถูกมาทำเป็นอาหารพื้นบ้านไทยแบบไฮโซ

แซลมอนนั้น มีทั้งปลาธรรมชาติและปลาเลี้ยง ของแพงจริงๆเป็นปลาในธรรมชาติซึ่งอร่อยต่างกันมาก แล้วก็มีปลาพันธุ์ผสมที่เรียกว่า แซลมอนเทร้าท์ ตัวเล็กกว่า  ขนาดพอๆกับปลากุเลา ซึ่งผมว่าปลาแซลมอนเทร้าท์นี้อร่อยมาก โดยเฉพาะเอาเมื่อเอามา marinate ด้วยเหล้าเชอรี่สัก 4-5 วัน แล้วทอดกับเนยกับ Almond

ในไทย ที่โครงการหลวงใกล้ทางขึ้นดอยอินทนนท์นั้น มีการทดลองเลี้ยงปลาเทราท์ ซึ่งสามารถสั่งกินได้ในร้านอาหารของโครงการ ผมคิดว่าหากสามารถซื้อหามาได้ให้ ลองทำแบบที่ผมเล่าซิครับ 


 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 06 เม.ย. 12, 20:16

ตามอ่านมาเรื่อยๆ น้ำลายก็หกตามเมนูไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อมาถึงปลาแซลมอน
สเต๊กปลาแซลมอน ของโปรดเลยค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 06 เม.ย. 12, 20:24

ย้อนไปถึงเมนูปลา ที่จับได้ในป่า   มีปลาอะไรที่เผาหรือย่างกินได้อร่อยบ้างไหมคะ 
ในเพชรพระอุมา( เป็นหนังสือเรื่องป่าเรื่องเดียวที่พอจะเอามาค้นเรื่องอาหารการกินได้) เล่าถึงปลาที่คณะพรรคของรพินทร์ ไพรวัลย์ทำกันสดๆคือ เอาปลาเผาหมกโคลน   
ส่วนค่าง คุณ "พนมเทียน" เล่าว่านอกจากเลือดใช้เป็นยาบำรุงแก้เมื่อยขบ     เครื่องในค่างเอามาทำแกงจืดได้เหมือนเครื่องในหมู   สมองเอามากินสดๆแบบหอยนางรม
ปลาร้าขี้ค่าง  เพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรก    รพินทร์ ไพรวัลย์คงไม่เคยกิน  คนอ่านเลยไม่รู้จักเมนูนี้
 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง