เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 149310 เมนูอาหารป่า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 15 มี.ค. 12, 06:12

อ้างถึง
ใกล้ๆหมู่บ้านวังปาโท่นี้ มีพื้นที่หนึ่งเป็นวงกลม ลักษณะมีขอบดินยกเป็นคัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เมตร ตรงกลางมีลักษณะเป็นหลุมยุบตื้นๆ ในแอ่งนี้ได้พบโกลนม้า มีดดาบ แท่งโลหะคล้ายหอก และพบใหหลายใบขนาดความสูงเท่ากับใหน้ำปลาในสมัยก่อน แต่ขนาดความกว้างของใหจะแคบกว่า คิดว่าประมาณสัก 20 ซม. มีก้อนหิน (กรวดแม่น้ำ) ขนาดประมาณกำปั้นปิดอยู่ที่ปากให นอกจากนั้นยังพบอุปกรณ์เชี่ยนหมากโลหะ (ทองเหลือง) เช่น ขวดมีฝาสำหรับใส่ปูนที่กินกับหมาก และเศษโลหะอื่นๆ นึกอะไรไม่ได้นอกจากจะเป็นหลุมฝังศพของทหารสมัยสงครามเก้าทัพ เรื่องนี้ทำให้ผมสนใจในเรื่องของสงครามเก้าทัพและได้ติดตามเส้นทางเดินทัพในยุคนั้นตั้งแต่นั้นมา ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระกรุณาให้ทุนไปทำปริญญาเอก ซึ่งได้ทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องเส้นทางเดินทัพนี้ ดีใจมากเลยครับ ได้คุยกันในเรื่องที่ผมได้เห็น ได้ยืนยันกันในหลายๆเรื่อง น่าสนใจมากทีเดียว

พบแล้วทำอย่างไรต่อครับ

ดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและนำมาเก็บรักษา
หรือ ปล่อยไว้ที่เดิมตามสภาพ

ได้เปิดดูไหม ในไหเป็นอะไรครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 15 มี.ค. 12, 18:48

อ้างถึง
ใกล้ๆหมู่บ้านวังปาโท่นี้ มีพื้นที่หนึ่งเป็นวงกลม ลักษณะมีขอบดินยกเป็นคัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เมตร ตรงกลางมีลักษณะเป็นหลุมยุบตื้นๆ ในแอ่งนี้ได้พบโกลนม้า มีดดาบ แท่งโลหะคล้ายหอก และพบใหหลายใบขนาดความสูงเท่ากับใหน้ำปลาในสมัยก่อน แต่ขนาดความกว้างของใหจะแคบกว่า คิดว่าประมาณสัก 20 ซม. มีก้อนหิน (กรวดแม่น้ำ) ขนาดประมาณกำปั้นปิดอยู่ที่ปากให นอกจากนั้นยังพบอุปกรณ์เชี่ยนหมากโลหะ (ทองเหลือง) เช่น ขวดมีฝาสำหรับใส่ปูนที่กินกับหมาก และเศษโลหะอื่นๆ นึกอะไรไม่ได้นอกจากจะเป็นหลุมฝังศพของทหารสมัยสงครามเก้าทัพ เรื่องนี้ทำให้ผมสนใจในเรื่องของสงครามเก้าทัพและได้ติดตามเส้นทางเดินทัพในยุคนั้นตั้งแต่นั้นมา ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระกรุณาให้ทุนไปทำปริญญาเอก ซึ่งได้ทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องเส้นทางเดินทัพนี้ ดีใจมากเลยครับ ได้คุยกันในเรื่องที่ผมได้เห็น ได้ยืนยันกันในหลายๆเรื่อง น่าสนใจมากทีเดียว

พบแล้วทำอย่างไรต่อครับ

ดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและนำมาเก็บรักษา
หรือ ปล่อยไว้ที่เดิมตามสภาพ

ได้เปิดดูไหม ในไหเป็นอะไรครับ


ตอบไปแล้วแต่ server ของเรือนไทยมีปัญหา เลยต้องเขียนใหม่ ขอเวลาอีกหน่อยนะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 15 มี.ค. 12, 19:54

ตอบคุณนวรัตน์อีกครั้งครับ

สถานที่นี้อยู่ใกล้ถนน (จะเรียกว่าติดๆก็ได้) ชาวบ้านก็ทราบกันมานานแล้ว ถามเขาว่ามีส่วนราชการมาดูกันบ้างหรือเปล่า เขาบอกว่ามีแต่ไม่ได้ทำอะไรต่อ มีแต่การเก็บสิ่งของที่ยังมีรูปทรงสมบูรณ์ไป (ซึ่งดูจะสอดคล้องกับสภาพที่ผมเห็น คือ ไม่ค่อยจะมีอะไรที่เป็นของสมบูรณ์มากนักหลงเหลืออยู่ให้เห็น) ผมเข้าใจในขณะนั้นว่า อย่างน้อยส่วนราชการฝ่ายปกครองต้องทราบและมีรายงาน แล้วกรมศิลป์ก็จะต้องมาสำรวจตรวจสอบดูแล้ว ประกอบกับในพื้นที่ใกล้ๆทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ก็มีโบราณสถาน คือ เจดีย์บุอ่องหรือโบอ่อง ซึ่งมีการจัดงานบุญเป็นประจำ(แม้จะไม่ต่อเนื่องทุกๆปี)  ซึ่งด้วยวิสัยของนักอนุรักษ์ของกรมศิลป์ฯ ผมเห็นว่า เมื่อมีเรื่องของเจดีย์บุอ่องที่เด่นชัดอยู่แล้ว กรมศิลป์ฯก็คงจะไม่ละเลยที่จะสำรวจตรวจสอบพื้นที่ในละแวกนั้น ผมจึงไม่ดำเนินการอะไรต่อไป
อนึ่ง ก่อนการสร้างเขื่อนใดๆ ส่วนราชการต่างๆจะได้รับการสอบถามความเห็นว่ามีเรื่องขัดข้องหรือมีเรื่องจะต้องดำเนินการใดๆบ้าง ซึ่งผมก็เชื่อว่าโบราณสถานทั้งสองนี้จะได้มีการสำรวจตรวจสอบและมีการบันทึกเป็นข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วก่อนที่น้ำจะท่วม

กรณีใหนั้น ผมไม่ได้เปิดดูด้วยเคารพในสถานที่และสิ่งที่คนสมัยก่อนนั้นได้กระทำ แต่ผมเห็นใหที่ไม่มีหินปิดอยู่เป็นใหเปล่าครับ

ให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ   เจดีย์บุอ่องนั้น เป็นเจดีย์ตั้งอยู่บนโขดหินกลางแอ่งในสระน้ำทรงประมาณสี่เหลี่ยม มีน้ำตลอดปีบ้าง แห้งบ้าง มีสะพานชั่วคราวสำหรับเดินข้าม ผมเข้าใจว่าเดิมนั้น พื้นที่ตรงบริเวณนี้เป็นหลุมยุบ (Sink hole) เนื่องจากเป็นพื้นที่หินปูน เมื่อจะทำการสร้างเจดีย์ จึงมีการขุดปรับแต่งแอ่งนี้ให้เป็นทรงเหลี่ยม ผมเข้าใจเอาเองว่าเป็นการสร้างโดยพม่า และคงจะมีความศักดิ์สิทธ์พอสมควร เช่น ห้ามผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดินเดินข้าม มิฉะนั้นน้ำจะแห้งหมด เคยเห็นป้ายห้ามผู้หญิงเดินข้ามไปยังเจดีย์
คิดว่าเป็นพม่าสร้างก็เพราะ มีลักษณะทางภูมิสถาปัตย์ (ใช้คำถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้) คล้ายกับพระราชวังในมัณฑะเลย์ แล้วก็เข้าใจว่าคงจะมีอายุไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่ง คือ ก่อนหรือหลังยุคเจดีย์สามองค์ หรือ ก่อนหรือหลังยุคสงครามเก้าทัพ   

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 15 มี.ค. 12, 20:03

เพิ่มเติมอีกนิดเดียว
ในบริเวณหมู่บ้านวังปาโท่นี้ ชาวบ้านบอกว่า ในการขุดหลุมฝังเสาบ้าน มักจะพบเศษกระบื้องจานชามลาย white & blue ในปริมาณค่อนข้างมาก ฤๅบริเวณหมู่บ้านนี้จะเป็นทีพำนักของกองทหาร ? ในแอ่งดินที่ผมเล่านั้นก็มีพบบ้าง แต่มีน้อย

เรื่องเศษกระเบื้องถ้วยชามนี้ ก็เป็นเรื่องน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งครับ แถวบริเวณที่เรียกบ่องาม เหนือบ้านคลิตี้ขึ้นไปประมาณ 5 กม. ก็พบอยู่รวมกับเศษแร่และตระกันตะกั่ว 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 15 มี.ค. 12, 20:28

ขอบคุณที่เล่าให้ฟังครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 15 มี.ค. 12, 20:37

รูปช่วยขยายจินตนาการ
น่าจะมีรูปตอนที่อยู่ในป่ามาประกอบเรื่องบ้างนะขอรับ

จะขอลองใส่รูป (ยังทำไม่เป็นครับ)

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 10:53

การส่งภาพ
 1. กด"ตัวเลือกเพิ่มเติม"
 2.กด Browse
 3.เลือกภาพ กด open (ข้อสำคัญต้องย่อภาพให้มีขนาดเล็ก
    สัก50 KB. ดูก่อนนะคะ เพราะพอส่งไปแล้ว เวลาเปิดอ่าน
    ในกระทู้มักมีขนาดใหญ่มาก...ถ้ารูปที่ส่งใหย่เกินไปมักส่งไม่ได้ค่ะ

4.กดส่งข้อความ

  (รูปดอกไม้นี้ขนาดที่ส่ง 6.32 kB.)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 11:46

สัก ๒๕๐ กิโลไบต์ ก็คงได้

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 18:17

ถ้าเป็นภาพสกุล jpg.  ขนาด 250 จะใหญ่คับหน้าจอค่ะ   ไม่เกิน 50 Kb. กำลังดี   
แต่ถ้าใหญ่เกินไป  ดิฉันจะแก้ไขลดขนาดภาพให้ค่ะ  เพื่อมิให้ลำบากในการโหลด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 19:54

ขอบพระคุณสำหรับความช่วยเหลือต่างๆครับ
คิดว่าทำได้แล้ว จะลองส่งมารูปแรกครับ

เป็นแคมป์ที่ทำกันปกติดังที่เล่ามา คือ ใช้ผ้าใบ 3 ผืน ผืนหนึ่งทำหลังคา ผืนหนึ่งปูนอน อีกผืนเล็กปูทำครัว กินข้าว
แคมป์ดังภาพนี้อยู่ใกล้เมืองหน่อย เลยมีรถแลนด์ประจำตัวให้เห็น ตั้งแคมป์อยู่ที่ต้นห้วยซึ่งไหลไปเป็นน้ำตกไทรโยค อยู่ตรงบริเวณใกล้ๆกับน้ำผุด
ต้นไม้นั้นไม่ได้ตัดเองนะครับ ใครก็ไม่ทราบมาตัดไว้ก่อนแล้ว ผมเพียงมาอาศัยพื้นที่นอน



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 21:14

รอดแล้ว ส่งได้แล้ว ดีใจจัง ฮิๆ

พื้นที่นี้อยู่ด้านหลังบนเนินที่ราบอีกระดับหนึ่งของวัดพุองกะ (ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) หลบมาตั้งแคมป์ที่นี่ก็ด้วยหลายสาเหตุ คือ ครั้งนั้นจะเข้าไปทำงานทางด้านตะวันตกของแม่น้ำแควน้อย ไปทางเหมืองเต่าดำ ระยะทาง 44 กม ต้องข้ามน้ำแควน้อยที่แก่งระเบิดซึ่งอยู่ทางเหนือของตัวบ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก (สถานีรถไฟ) เนื่องจากต้องรอเจ้าของเหมือง รอวันขึ้นวันล่อง (รถสวนกันไม่ได้บนเขา) สะสมสะเบียง เลยถือโอกาสสำรวจหินในบริเวณใกล้ๆนี้ด้วย จากแผนที่แสดงว่าห้วยไทรโยคนั้นมีต้นตอมาจากน้ำผุด ก็เลยตามไปดูเพื่อตรวจสอบว่าเป็นหินปูนยุคใหน
ก็เจ้ากรรม วันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าเจ้ารถคันงามคันนี้ก็มีอาการเกียร์ค้าง ใส่ได้เฉพาะเกียร์สามและเกียร์ถอยหลัง ต้องใช้เกียร์สโลว์ช่วยในการขับเคลื่อนรถ จึงต้องแก้ไข ซ่อมเฉพาะหน้าไป ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเสียอะไรและจะซ่อมได้หรือไม่ จะขับกลับออกไปเมืองกาญน์ฯก็ไม่ได้ จึงตัดสินใจยก (รื้อ) เกียร์ด้วยเครื่องมือประแจปากตายไม่กี่ชิ้น ยกออกมาทั้งลูก ถอดออกมาเพียงก้านเกียร์ เอาประแจปากตายเคาะๆกระทุ้งเฟืองเกียร์ที่เห็น ลองประกอบกลับ เออ ใช้ได้แฮะ ก็ยังไม่ทราบสาเหตุจนปัจจุบันนี้ ก็เลยยกกลับเข้าที่เดิม ตัดกล่องผงซักฟอกไปทำประเก็น ขับกลับเมืองกาญจน์ เข้ากรุงเทพฯ ส่งซ่อม

ปัญหาและการแก้ไขเฉพาะหน้าในเรื่องเกี่ยวกับรถนี้ก็มีอยู่มากเหมือนกัน แต่คงจะไม่เล่า เพราะคงจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก

ที่บ้านท่าเสานี้ ผมได้เรียนวิธีการทำขนมเข่งและขนมเทียน (คงจะเหมือนๆที่ทำกันทั่วๆไป) เนื่องจากไปอาศัยบ้านสวนของเขา เลยต้องช่วยเขาทำตั้งแต่กวนแป้งไปจนเย็บกระทงและห่อขนมเทียน ที่บ้านนี้เองผมต้องช่วยเขาหาบน้ำจากแม่น้ำขึ้นเนินมายังบ้าน น้ำข้างละเกือบๆปี๊บ เลยเข้าใจเลยว่า คานหาบนั้น คานอ่อนและคานแข็งนั้นต่างกันอย่างไร ผมเห็นว่าภูมิปัญญาชาวบ้านของคนไทยนี้ไม่เบาเลยทีเดียว มิน่าเล่าแม่ค้าไทยที่หาบของหนักๆจึงใช้คานอ่อน คนที่ใช้คานแข็งดูจะเป็นคนจีนและดูจะมีเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่จะหาบของ มีน้อยที่จะเห็นผู้หญิงจีนหาบของ
 
วิธีทำขนมเข่งและขนมเทียนดูจะไม่ยากเลย เอาแป้งข้าวเหนียวมาละลายกับน้ำตาลปี๊บ ให้ข้นเหนียวสักหน่อย ชิมรสตามความพอใจ เอาใบตองมา เอาชามกลมๆครอบ ตัดใบตองตามขอบ  พับหยักแล้วกลัดด้วยไม้กลัดสี่มุม เอาแป้งเทใส่แล้วนึ่ง จุดธูปไว้ พอธูปหมดดอกก็สุกพอดี สำหรับขนมเทียนนั้นก็ตัดใบตองเป็นรูปรีๆ ขมวดเป็นรูปกรวย ตักแป้งใส่ เอาใส้ (อันนี้จำไม่ได้ว่าทำอย่างไร) ที่ปั้นเป็นลูกกลมๆใส่ เหยาะด้วยแป้งปิดทับอีกที แล้วห่อ แล้วก็นึ่ง ดูราคาขนมเทียนในปัจจุบันลูกละสี่ห้าบาทแล้ว ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะมีราคาสูงได้ขนาดนั้น   
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 17 มี.ค. 12, 07:31

ส่งรูปมาให้ดูค่ะ



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 17 มี.ค. 12, 18:51

วันนี้ขอเล่าของกินเล่น

ในป่าลึกๆหน่อย จะมีลูกมะกอกหล่นอยู่มาก ลูกมะกอกนี้มีสัตว์หลายชนิดชอบกิน แต่ที่ทิ้งร่องรอยมากที่สุด คือ เก้ง กับ กวาง เป็นของโปรดของมัน ต้นมะกอกนี้มักจะพบอยู่ในดงป่าไม้ที่มีเรือนยอดสูง มีไม้เรือนยอดระดับกลางไม่มากนัก และมีไม้คลุมดินมีบางๆ เรียกได้ว่าเป็นป่าโปร่ง ค่อนข้างจะร่ม มีแดดส่องผ่านได้รำไร พวกเก้งและกวาง จะชอบมาอาศัยหลบแดดนอนในตอนกลางวัน ซึ่งป่าชนิดนี้ก็เหมาะสำหรับพวกเขา คือ ไม้ไม่หนาทึบระเขาของเขา เมื่อมีเก้งกวางก็ต้องมีเสือเป็นของคู่กัน
สังเกตได้ประการหนึ่งว่า หากมีลูกมะกอกตกอยู่บนพื้นดินมาก ก็แสดงว่าแถวนั้นคงจะไม่มีเก้งและกวาง ผมอดที่จะเก็บเกลับไปที่แคมป์ทุกครั้งและในจำนวนมากๆ ใช้มะกอกทำได้ตั้งแต่ปรุงรสชาติอาหารไปจนกินเล่น

หลายคนอาจจะไม่ชอบมะกอกเนื่องจากมีรสเปรี้ยวอมฝาด ทำอย่างนี้ซิครับ เอาลูกมะกอกมาควั่นกลางลูก บีบหัวท้ายให้หลุดออกมาจากเม็ด ขุดเอาเนื้อแบ่งใส่ทั้งสองฝาเท่าๆกัน ในแต่ละฝาเอาน้ำตาลปี๊บ หรือหากไม่มีจะเอาน้ำตาลทรายก็ได้ สักประมาณเกือบๆครึ่งช้อนกาแฟและพริกป่นในปริมาณตามใจชอบ หากมีผักชีก็เด็ดสักใบใส่เข้าไปด้วย เอาใส่ปากอมเหมือนทอปฟี่ จะได้รสชาติที่อร่อยมาก ชุ่มคอและแก้กระหายน้ำได้เป็นเลิศ พอรสแหลมเริ่มหมดไปก็กัดขย้ำทีละนิดทีละนิด จะได้รสของมะกอกออกมาผสม จะรู้สึกมีความมันจนต้องเิริ่มเคี้ยวแล้วอมเคี่ยวแล้วอมจนหมด และมีความรู้สึกมันดี (Chewy) ในกรณีที่ไม่มีน้ำตาล ใช้เกลือเม็ดก็ได้ ใส่ไปสักหนึ่งหรือสองเม็ด ก็จะำได้อีกรสชาติหนึ่ง แต่หากคุ้นแล้ว ไม่ต้องใส่อะไรเลยก็ได้ ในสมัยเด็กๆ ผมเคยกินแบบที่เอาน้ำปลาเหยาะใส่ลงไปก็ยังเคย อร่อยทั้งนั้นแหละครับ ลองทำกินเล่นกันดูนะครับ ในกรุงเทพก็หาซื้อลูกมะกอกได้ในตลาดสด หรือจะขอแบ่งจากแม่ค้าส้มตำก็น่าจะพอได้
ความอร่อยจากการทำแบบนี้ แฝงไปด้วยประโยชน์หลายๆอย่าง คือ ได้น้ำตาลไปเพิ่มพลังงานทำให้รู้สึกสดชื่น หรือหากใช้เกลือ ก็จะได้เกลือแร่ทดแทนส่วนที่หายไปกับเหงื่อ ทำให้รู้สึกหายอ่อนเพลีย แต่ความรู้สึกที่จะได้แน่นอนคือชุ่มคอและหายจากอาการน้ำลายเหนียว (จากการเหนื่อย) แน่นอน 

ผมจะหายไปหน้าจอนี้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ไปนอนสวนในต่างจังหวัด ซึ่งค่อนข้างจะอยู่ไกลปืนเที่ยงสักหน่อย สัญญาณโทรศัพท์ยังมีเพียงขีดเดียวหรือไม่มีเลยในบางครั้ง เลยต้องขอลงโรงไประยะสั้นๆนะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 24 มี.ค. 12, 19:22

ของกินเล่นอีกอย่างหนึ่ง คือ ลูกมะคอแลน เป็นผลไม้ที่มีสีและผิวคล้ายลูกลิ้นจี้ แต่รูปทรงจะคล้ายลูกหนำเลี้ยบหรือลูกรักบี้ ขนาดของลูกไม่ใหญ่ไปกว่าหัวแม่มือ ปกติจะมีรสเปรี้ยว แต่ก็เคยพบที่ออกรสหวาน ซึ่งเคยพบอยู่เพียงต้นเดียว อยู่บนเขาสูงบริเวณรอยต่อระหว่าง จ.อุตรดิตถ์ สุโขทัย และแพร่ เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ประมาณสองคนโอบจึงจะรอบ ปกติที่พบเห็นจะไม่ใหญ่ขนาดนี้ ต้นมะคอแลนนี้ ผมเข้าใจว่าเป็นไม้ที่พบเฉพาะในภาคเหนือและอีสาน เพราะไม่เคยเห็นในป่าที่อื่นๆ

เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2513 ผมรับผิดชอบสำรวจพื้นที่บริเวณรอยต่อของทั้งสามจังหวัดดังกล่าว เริ่มตั้งแต่บริเวณ อ.ศรีสัชนาลัย ลับแล ไปจนถึงประมาณบ้านผาจุก และผาเลือด (ซึ่งตั้งอยู่บนริมแม่น้ำน่าน ใกล้ตัวเมืองอุตรดิตถ์) ทางด้านตะวันตกก็ไปชนแม่น้ำยมแถวบ้านหาดรั่ว และ อ.วังชิ้น ด้านเหนือก็ไปชนบริเวณห้วยแม่สิน ซึ่งอยู่ประมาณครึ่งทางบนถนนระหว่างศรีสัชนาลัยกับ อ.เด่นชัย
ธรณีวิทยาบริเวณนี้ดูจากหินแล้วเรียบง่าย มีหินไม่กี่ชนิด แต่ยุ่งยากด้วยเรื่องราวการกำเนิดของมัน จัดได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้เรื่องราวที่สำคัญของแหล่งทรัพยากรของประเทศเลยทีเดียว เหตุที่ต้องเดินข้ามเขาสูงจนได้ลิ้มลองมะคอแลนหวานก็เพราะว่า ในแผนที่ภูมิประเทศปรากฏว่ามีจุดหนึ่งที่เรียกว่าหนองกลางหาว ในทางธรณ๊วิทยาแล้วในสภาพพื้นที่ลักษณะนี้คงจะหนีไม่พ้น นั่นคือ ทะเลสาปในปล่องภูเขาไฟ (Crater lake) เพียรพยายามเดินหาร่องรอยอยู่ประมาณ 7 วัน ซึ่งได้แก่ เศษเถ้าถ่านภูเขาไฟ  หินลาวา ฯลฯ (รวมๆเรียกว่า Pyroclastic debris) ไม่พบอะไรเลย เลยต้องเดินขึ้นสูงไปหาตัวหนองกลางหาว ก็ออกเดินจากจุดที่รถพอจะเข้าไปในตามห้วยแม่สิน ไปกันสี่คน และเพื่อไม่ให้เสียเที่ยวก็จะเดินข้ามเขาไปลง อ.เด่นชัย แบกสัมภาระในเป้หลัง มีเสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยนนอน 1 ชุด และเครื่องอาหาร
ดอยที่จะเดินข้ามชื่อดอยพญาพ่อ เห็นชื่อดอยแล้วยังขยาดเลย ออกเดินท่องน้ำสำรวจไปตามห้วย ผ่านน้ำตก (ปัจจุบันนี้คิดว่าคือน้ำตกผาตาด ฮืม) พอเย็นก็หาที่นอน หาหาดทรายไม่ได้ จึงถางพื้นที่เล็กๆริมห้วย ช่วยกันตัดไม้ทำเป็นเพิง ตัดใบตองกล้วยป่ามามุงเป็นหลังคาและปูเพื่อนอน เปลี่ยนชุดเพื่อนอนเพราะเดินลุยน้ำเปียกมาทั้งวัน อาหารมื้อเย็นและมื้อเช้าไม่ยุ่งยากเราะเตรียมมา พอรุ่งเช้าประมาณ 6 โมงเช้า ต้องเปลี่ยนชุดไปใส่ชุดเปียกอีก มันเป็นหน้าหนาว นึกภาพเอาเองนะครับว่าไม่สนุกเลยครับ แถมก้าวแรกที่ออกเดินก็ลงน้ำเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 24 มี.ค. 12, 20:42

ของกินเล่นอีกอย่างหนึ่ง คือ ลูกมะคอแลน เป็นผลไม้ที่มีสีและผิวคล้ายลูกลิ้นจี้ แต่รูปทรงจะคล้ายลูกหนำเลี้ยบหรือลูกรักบี้ ขนาดของลูกไม่ใหญ่ไปกว่าหัวแม่มือ ปกติจะมีรสเปรี้ยว แต่ก็เคยพบที่ออกรสหวาน ซึ่งเคยพบอยู่เพียงต้นเดียว อยู่บนเขาสูงบริเวณรอยต่อระหว่าง จ.อุตรดิตถ์ สุโขทัย และแพร่ เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ประมาณสองคนโอบจึงจะรอบ ปกติที่พบเห็นจะไม่ใหญ่ขนาดนี้ ต้นมะคอแลนนี้ ผมเข้าใจว่าเป็นไม้ที่พบเฉพาะในภาคเหนือและอีสาน เพราะไม่เคยเห็นในป่าที่อื่นๆ

คุณวิกกี้ บอกว่า คอแลน Nephelium hypoleucum พบภาคใต้ด้วยเรียกว่า  คอลัง (อีสานเรียก บักแงว)

ภาพประกอบ

 ยิงฟันยิ้ม 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง