เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 149277 เมนูอาหารป่า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 11:13

หินนกยูง- Malachite  ยิงฟันยิ้ม
อียิปต์โบราณ ใช้แทนสมุนไพรรักษาโรคได้ครอบจักรวาล และใช้บดทารอบดวงตาแทนอายแชว์โดว์



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 12:21

จะแยกกระทู้ได้หรือยังเอ่ย?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 14:10

ลูกปัดหินตาเสือ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 16:15

จะแยกกระทู้ได้หรือยังเอ่ย?

เห็นทีคุณเทาชมพูต้องรวบรวมรัตนชาติจากกระทู้หลังคามารวมกับกระทู้อาหารป่ามาตั้งเป็นกระทู้ "ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ" เสียแล้วกระมัง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 17:57

ดิฉันจะแยกกระทู้ในนามคุณตั้งเป็นเจ้าของกระทู้      รอคุณตั้งเข้ามาตอบก่อน ว่าจะให้ชื่อกระทู้ใหม่ว่าอะไรดี   
จากนั้นก็จะลองหาวิธีรวมความเห็นจากกระทู้ทั้งสอง ใส่เข้าไปในกระทู้ใหม่ให้ได้    ต้องดมพิมเสนน้ำสัก ๒ ขวดก่อน อาจจะหาวิธีได้ค่ะ   


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 19:39

มาตอบแล้วครับ  ยิงฟันยิ้ม

กระทู้ "ว่าด้วยเรื่องของอัญมณี" ดีใหมครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 19:55

หรือว่า ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ จะดีกว่า
ชักสับสนเสียแล้ว อัญมณีเป็นเรื่องของเครื่องประดับ ฮืม รัตนชาติเป็นเรื่องของตัวหินเพชรพลอย ฮืม
ขอแก้ครับไปเป็นกระทู้ชื่อ ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ นะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 20:17

ไปตั้งกระทู้ใหม่แล้วนะคะ     เจอกันที่นั่น อย่าลืมขนหินแร่จากกระทู้เดิมไปด้วยค่ะ
ย้อนกลับเข้ามาเชิญไปต่อที่นี่ค่ะ  คลิกที่ข้อความสีแดงได้เลย

ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 20:26

เรื่องรัตนชาติคงจะแยกไปเป็นกระทู้ใหม่แล้ว

ก็ขอวกกลับมาเรื่องแกงจืดตะกวด

ตะกวด หรือ แลน มีลักษณะตัวเหมือนเหี้ย เป็นสัตว์กินเนื้อเหมือนๆกัน ตัวก็ขนาดพอๆกัน หากเอาทั้งสองตัวมาวางใว้ใกล้ๆกัน บางที่ก็อาจจะจำแนกไม่ออก ตัวเหี้ยจะมีลวดลายที่หนังออกเป็นโทนสีเหลืองมาก ในขณะทีตะกวดจะมีสีออกน้ำตาลดำๆมาก แต่หากเห็นอยู่ในสภาพธรรมชาติ เหี้ยจะอยู่ในน้ำ ลอยคอและเดินเลาะอยู่ตามชายน้ำ เมื่อพบคนหรือตกใจก็จะโดดลงน้ำ ส่วนตะกวดนั้นจะพบอยู่บนดอย เมื่อพบคนหรือตกใจจะขึ้นต้นไม้
ตะกวดจะพบมากในป่าเบ็ญจพันธุ์ ซึ่งเป็นป่าค่อนข้างโปร่ง ที่มีไม้พื้นล่างและไม้เรือนยอดสูงเป็นหลัก มีไม้เรือนยอดระดับกลางน้อย เป็นลักษณะของป่าแดง (มีต้นไม้สูง แห้งแล้ง และโปร่ง) มิใช่ป่าแพะ (ไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่ มีแต่ต้นไม้เล็กๆ แห้งแล้ง และโปร่ง)    
ตะกวดชอบที่จะนอนอยู่บนต้นไม้โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นง่ามไม้ บางครั้งอาจจะพบนอนซุกอยู่ในขอนไม้ผุๆที่เป็นโพรง ขนาดตัวตะกวดใหญ่ที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา คือ ส่วนกว้างของลำตัวประมาณหนึ่งไม้บรรทัด รู้สึกว่าจะไหญ่เกินที่จะเห็นว่าน่ากิน ส่วนมากแล้ว ขนาดที่พอเหมาะพอกิน ก็จะตัวขนาดประมาณน่องขาหรือโคนขา สำหรับผมนั้น ตัวขนาดประมาณแขนหรือน่องขาจะเหมาะที่สุด

เหี้ยและตะกวดต่างกับจรเข้ตรงใหนบ้างครับ ฮืม
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 21:27

พี่เข้ยังคงจะเป็นข่าวอยู่เรื่อย ๆ  จนกว่าน้ำจะลด

แต่ไม่ใช่ว่าที่่คนแจ้งว่าพบเห็นพี่เข้อยู่ที่นั่นบ้างที่นี่บ้าง จะเป็นพี่เข้ตัวจริงไปเสียทั้งหมด อาจเป็นน้องวรานุสก็ได้

กรมประมงท่านให้คำแนะนำ เพื่อแยกพี่เข้กับน้องวรานุสให้ออก ดังนี้






มีเรื่องและรูปครอบครัวคุณวรานุสอยู่อีกเยอะเชียว นำมาลงกระทู้นี้คงไม่เหมาะ เพราะคุณเทาชมพูห้ามไว้

แกงจืดเหี้ยกับแกงจืดตะกวดค่ะ    ไม่ต้องมีภาพประกอบนะคะ (ข้อนี้ฝากบอกคุณเพ็ญชมพู)

เชิญเข้าไปดูในลิ้งก์ที่ให้ไว้ข้างบน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 22:29

ใช่เลยครับ ดู่ายๆกว่านั้นอีก คือ จรเข้มันเป็นเหลี่ยมเป็นปมไปหมดทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดหาง ส่วนเหี้ยและตะกวดผิวหนังของเขาราบเรียบ ไอ้เข้ชอบนอนลอยคออยู่ในน้ำหรือไม่ก็ชอบนอนอ้าปากอยู่บนหาดริมน้ำ ส่วนตัวเหี้ยนั้นเมื่ออยู่นิ่งๆในน้ำมักจะต้องมีขอนไม้ หรือมีอะไรเกาะอยู่ บนริมตลิ่งมักจะไม่อยู่นิ่ง ชอบแลบลิ้นสองแฉก เดินหาอะไรเรื่อยไป

ที่ได้เล่าแล้วว่า ตะกวดชอบขึ้นต้นไม้ ดังนั้น เมื่อจะจับเอามันมากิน ส่วนมากจึงเป็นการยิง แล้วก็ที่ได้เล่าแล้วว่ามันชอบนอนอยู่ระหว่างคบไม้ (ง่ามไม้) คนยิงจึงต้องมีฝีมือสักหน่อย คือ ยิงแม่นเกินไปตายคาที่มันก็จะติดค้่างอยู่ที่ง่ามไม้ ไม่ร่วงตกลงมา ยิงไม่ถูกที่สำคัญมันก็จะไต่ต้นไม้ขึ้นสูงไปอีก จึงต้องมีมุมยิงที่จะทำให้มันหันตัว หรือพลิกตัวออกจากง่ามไม้จะได้ตกลงมา หรือใช้แรงของลูกปืนให้มันกระดอนขยับพ้นง่ามไม้ จะได้ตกลงมา แต่เกือบจะเป็นปกติที่มันตายคาง่ามไม้ เนื่องจากต้นไม้ที่มันขึ้นมักจะไม่มีกิ่งก้านสาขามากและสูงชะลูด วิธีการเอามันลงมาก็คือ โค่นต้นไม้เลย ความที่เนื้อมันอร่อยมากชาวบ้านจึงยอมที่จะเสียเวลาและเสียแรงที่จะโค่นต้นไม้ทั้งต้น เพื่อเอาตัวมันขนาดแขนขนาดขาเท่านั้นมาทำกิน
อีกวิธีหนึ่งในการล่าตะกวดคือ การใช้สุนัข 2-3 ตัว ตะกวดจะลงมาหากินที่พื้นดินแล้วก็ชอบที่แอบหลับนอนพักผ่อนบนดินข้างๆขอนไม้ด้วย หมาพวกนี้ฉลาด จะชอบเดินนำหน้าดมกลิ่น พอเข้าใกล้ตะกวดก็จะวิ่งหนีขึ้นต้นไม้ ก็เหมือนหมาไล่แมว ก็จะช่วยกันสกัดดักหน้าดักหลัง งับตะกวด พลาดท่าก็โดนหางตะกวดตวัดฟาดเอาร้องเป๋งเหมือนกัน ชาวบ้านก็จะรีบมาจับ เอาไม้ตีหัว จับหางลากเหวี่ยง พอได้ตัวเป็นๆอย่างนี้ก็จะเอามีดขวั้นที่ข้อเล็บของตีนหลัง ดึงเล็บซึ่งติดอยู่กับเส้นเอ็นให้ยืดยาวออกมาเป็นเชือกผูกมัดเท้าหลังทั้งสองไพล่ขึ้นด้านหลังเข้าด้วยกัน แบกกลับไปทำอาหาร
   
วิธีทำก็คือเผาให้หนังแตกเป็นเม็ดมะขามคั่ว จากนั้นก็ทำแบบเหี้ยที่เล่ามา อร่อยกว่าเหี้ยมากเพราะไม่คาวเลย

เนื้อตะกวดจะขาวเป็นเส้นเหมือนเนื้ออกไก่ สำหรับท่อนหางที่เรียกว่าบ้องตันนั้น หากกินทั้งเนื้อติดหนังก็ออกจะเหนียวหน่อย แต่ตัวเนื้อใต้หนังนั้นนุ่ม ขาว เหมือนเนื้อไก่จริงๆ ผมว่าเนื้อส่วนนี้ของตะกวด เหี้ย หรือไอ้เข้ เหมือนกันหมด วิธีลดความคาวของเนื้อก็คือความใจเย็นในการเผา จะต้องให้แตกเป็นเม็ดมะขามคั่วจริงๆ แล้วเนื้อในจะต้องค่อนไปทางสุกมากกว่าดิบ เมื่อผ่าท้องเอาใส้ออกจะต้องไม่ให้แตกเลย ซึ่งในตอนทำจะยากก็ช่วงตัดให้ขาดจากส่วนลำคอ และช่างบริเวณง่ามขากับทวาร
คงไม่นึกอยากเห็นภาพเลยใช่ใหมครับ
เนื้อส่วนอื่นๆก็เอามาผัดเผ็ด ง่ายๆ บุบกระเทียมสักหัวนึง เอาพริกแห้งขยุ้มมือนึง โขลกเข้าด้วยกัน เอาน้ำมันใส่กะทะ เอาน้ำพริกใส่ผัดให้หอมฉุนจนจามเลย เอาเนื้อตะกวดผัด เติมเกลือใ้ห้ออกรสเค็ม ใส่น้ำตาลปึกนิดหน่อย (หากพอมี) ใส่น้ำปลาเอากลิ่นให้หอม ใส่ใบกระเพราจะเป็นกระเพราขาวหรือแดงก็ได้ ตักใส่จานก็กินได้แล้ว
หากจะทำเป็นแกงแบบแกงคั่วก็ได้ ถ้าจะทำให้อร่อยต้องมีเครื่องแกงครบ ก็มีหอม กระเทียม ข่า ตะใคร้ พริกแห้ง ผิวมะกรูด ดอกกระเพรา เกลือเม็ด โขลกให้แหลกละเอียด ใส่กะปิเผาใ้ห้หอม จะแถมด้วยกระชายสักเล็กน้อยก็ได้ น้ำพริกที่ตำควรจะต้องมีกลิ่นผิวมะกรูดโชยอ่อนๆ เอากะทะตั้ง ใส่น้ำมันนิดเดียว ผัดเครื่องแกงให้หอม (เกือบใหม้) เอาเนื้อลงผัดให้ทั่ว เอาน้ำล้างครกใส่ ให้มีน้ำขลุกขลิก ก่อนยกลงใสใบชะอมหรือใบชะพลู เท่านั้นเองครับ 
 
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 22:33

เขาบอกว่า ไข่แลน เป็นไข่ที่อร่อยมากกกกก... ยิงฟันยิ้ม
สำนวน เกลียดตัว กินไข่ ก็น่าจะมาจากเจ้าตัวนี้นะคะ...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 05:31

ก่อนจะนำภาพมาให้ชม ขอทำความเข้าใจก่อนว่า สัตว์ในสกุลเหี้ย Varanus ในเมืองไทยมีอยู่ด้วยกัน ๖ ชนิด คือ

๑. เห่าช้าง  Varanus rudicollis
๒. เหี้ยดำ   Varanus salvator komaini
๓. เหี้ยลายดอก (ตัวเงินตัวทอง) Varanus salvator
๔. ตะกวด (แลน)  Varanus bengalensis
๕. ตุ๊ดตู่  Varanus dumerilii
๖. แลนดอน   Varanus flavescens

วรานุสตัวที่เราเห็นบ่อย ๆ และนิยมเอาไข่มารับประทานเห็นจะเป็นตัวในข้อ ๓.

คุณเทาชมพูขอเฉพาะไข่ ไม่เอาตัว (แต่ถ้าอยากจะเห็น ใช้บริการทางอินทรเนตรของคุณกุ๊กได้เลย)

หาภาพสวย ๆ ของไข่วรานุสข้อ ๓. ไม่ได้

จึงขอนำเสนอไข่ของวรานุสในข้อ ๔. ที่ต้มแล้วเทียบกับไข่ไก่เบอร์ศูนย์

เห็นแล้วอย่าน้ำลายไหล




 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 11:06

อ้างถึง
คุณเทาชมพูขอเฉพาะไข่ ไม่เอาตัว (แต่ถ้าอยากจะเห็น ใช้บริการทางอินทรเนตรของคุณกุ๊กได้เลย)

จนเดี๋ยวนี้ก็ยังขอไม่เอาตัวมาลงในกระทู้อยู่นะคะ   


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 20:43

เรื่องของไข่สัตว์นี้ ตามกติกาที่ผมและชาวบ้านป่าจริงๆถือกัน คือ ไม่เก็บกิน ไม่หยิบมาดู ไม่แตะต้อง เพราะต้องการให้มันฟักเป็นตัวเพื่อจะได้มีกินต่อๆไปนานๆ ยกเว้นจะอดอยากจริงๆจึงจะทำ ผมเห็นว่าเป็นกติกาที่สำคัญอย่างยิ่งยวดที่สอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
เมื่อเราไปจับต้องไข่เหล่านี้ จะมีกลิ่นมือของเราติดอยู่ เิดิมผมก็ไม่เชื่อ หยิบไข่ไก่ป่าบ้าง ไก่ฟ้าบ้างมาดูแล้วก็วางลงบนที่เดิม เดินผ่านทุกวันก็ไม่เห็นมันมากกไข่อีกเลย เลยต้องเก็บเอามาทำกิน แต่หากดูแต่ตา ไม่แตะต้องก็จะเห็นมันก็กลับมาฟักต่ออีก
สำหรับไข่ตะกวดเคยเห็นอยู่ครั้งหนึ่ง ไข่เหี้ยนั้นไม่เคยเห็นจริงในป่าสักที อาจจะมีเหี้ยในป่าน้อย (ผมเห็นอยู่ในห้วยขาแข้งเท่านั้น) อาจจะเป็นเพราะกติกาที่ผมเล่าให้ฟังก็ได้ ก็จึงไม่สนใจจะแสวงหาค้นดู ส่วนมากที่จะแวะเข้าไปดูก็เพราะสัตว์เหล่านี้ตกใจหนีไป
นอกจากไข่แล้ว ในการยิงสัตว์มาเป็นอาหารก็เช่นกัน หากเห็นเป็นตัวเมียก็จะปล่อยไป เลือกยิงเฉพาะตัวผู้เท่านั้น ทั้งสัตว์ใหญ่และสัตว์เล็ก (ที่เราดูออกจากลักษณะภายนอกชัดๆนะครับ)
สำหรับเรื่องของไข่นี้ ในช่วงประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ต้นมีนาคม ที่หมู่เหมืองแร่ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จะมีชาวพม่าแบกไข่เต่ามาขาย ถูกมากครับ ในช่วง พ.ศ.2516 ร้อยละ 180 บาทเท่านั้น ในขณะที่แถวสงขลา ปัตตานีใบละประมาณ 8-9 บาท รู้ทั้งรู้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดี แต่เห็นเป็นของพม่าก็เลยตัดใจ ไม่เคยกินที่ต้มกันครั้งละ 20 ฟองที่ใหนเลย ก็ที่นี่แหละ ซอยหอม ซอยพริกใส่น้ำปลา เท่านั้นก็อร่อยสุดๆแล้ว ทั้งแกล้มเหล้าทั้งกินกับข้าว ไม่พอ ยังซื้อกลับมาแจกอีกต่างหาก กินอยู่หลายปีจนกระทั่งขายเฉลี่ยไบละ 3-4 บาทจึงหยุดกิน แล้วก็ได้ความรู้มาด้วยว่าไข่สดๆใหม่ๆนั้นมันจะเป็นฟองกลมๆ กินแล้วไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว (ขิ่ว) ยิ่งเก่าก็ยิ่งแฟบ กลิ่นขิ่วก็จะยิ่งแรงขึ้น แล้ววิธีเก็บให้ดูสดและทนนานก็คือหมกไว้ในทรายในกะละมังเท่านั้นเอง

   

   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง