ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะใช่หรือเปล่านะคะ....

ขี้กาแดง หรือ แตงโมป่า (กาญจนบุรี) , มะกาดิน (ชลบุรี) , กายิงงอ (มลายู)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnopetalum integrifolim Kurz. Trichosanthes tricuspidata Lour
วงศ์ CUCURBITACEAE
เป็นไม้เถาพาดพันตามต้นไม้อื่น ใบและเถาคล้ายเถาฟักข้าว ใบเดี่ยวรูปไข่เกือบกลม ๕ เหลี่ยมหรือแฉกลึก ๕ แฉก โคนเว้ารูปหัวใจขอบค่อนข้างเรียบปลายแหลมผิวหยาบสากด้านล่างมีขน ยาวประมาณ ๔ นิ้ว เถามีมือจับ ดอกเพศผู้เพศเมียแยกจากกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อยาวประมาณ ๑๐ - ๒๐ เซนติเมตร ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว ฐานดอกเป็นหลอดยาว กลีบรูปไข่กลับปลายแหลมสีขาว ผลกลมรี เมื่อสุกสีแดง เมื่อแห้งเนื้อโปร่งเหมือนฟองน้ำ เกิดตามป่าทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ/ความสัมพันธ์กับชุมชนและความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ใบ รสขม ตำพอกฝี ทาแก้โรคผิวหนังอักเสบ ตำคั้นเอาน้ำให้เด็กกินแก้ท้องเสีย
หัว รสขม บำรุงหัวใจ แก้ม้ามย้อย ตับโต หรืออวัยวะในช่องท้องบวมโต
ราก รสขม บำรุงน้ำดี แก้ไข้ ดับพิษไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้จุกเสียด บดทาฝีฝักบัว แก้ตับโต ม้ามย้อย อวัยวะในช่องท้องบวมโต
ลูก รสขม บำรุงน้ำดี แก้พิษเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษเสมหะให้ตก แก้พิษตานซาง แก้ตานขโมย ขับพยาธิ เป็นยาถ่ายอย่างแรง ใช้ควันรมแก้หืด
ทั้งเถา รสขม ต้มอาบ แก้เม็ดผดผื่นคัน แก้ไข้หัว ไข้พิษไข้กาฬ ต้มดื่มบำรุงน้ำดีขับเสมหะ ดับพิษ