เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 149303 เมนูอาหารป่า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 19:45

คิดว่าไม่ใช่หมาค่ะ   ตัวมันโตกว่าหมาไทยทั่วไป   ในรูปเห็นมีหมานั่งอยู่ตัวหนึ่ง  ถ้ากลุ่มคนกินเป็นพวกชอบกินหมา  คงไม่มีหมามาป้วนเปี้ยนอยู่ด้วย   
อาจจะเป็นแกะหรือแพะก็เป็นได้

ไม่อยากจะเล่าเรื่องวิธีการทำหมาตามความเชื่อของคน (ไทยภูเขา) ซึ่งยังทำกันอยู่ในปัจจุบัน เมื่อหนาวนี้ยังได้ยินเสียงเลยครับ สลดใจจริงๆครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 19:56

 ร้องไห้
อ่านแค่นี้ก็เศร้าแล้วค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 20:40


....ถั่วเขียวหนึ่งกิโล น้ำตาลทรายหนึ่งกิโล มีค่ามากนะคะกว่าจะแบกขึ้นไปถึงข้างบนนั้นได้.. แล้วต้องเททิ้ง... ร้องไห้

สูตรที่เป็นมาตรฐานจริงๆสำหรับคนทำงานป่าอย่างพวกผม คือ ถั่วเขียว 1 กก. น้ำตาลทรายครึ่งกิโลครับ หวานกำลังพอดี
วิธิทำก็เหมือนกับที่ทราบกันโดยทั่วไป คือ ต้มถั่วเขียวก่อน ให้สุก นิ่ม บาน จนใกล้เละ และในระหว่างการต้มให้ใส่ช้อนสังกะสีลงไปด้วย เพื่อให้ช่วยกวนถั่วเขียวให้สุกทั่วกัน จากนั้นจึงใส่น้ำตาล
หากใส่น้ำตาลลงไปพร้อมกับถั่วเขียวเป็นได้เรื่องอย่างที่คุณดีดีเล่า
ที่จริงแล้ว หากทำกินในสถานที่ที่มีครัวเป็นเรื่องเป็นราว เอาถั่วเขียวมาคั่วในกะทะเสียก่อน ให้หอม จากนั้นนำไปบดพอแตกเป็นครึ่งเม็ดหรือมากกว่านั้นก็ได้ แล้วจึงนำไปต้มตามวิธีการที่เล่ามา

ถั่วเขียวต้มน้ำตาลนี้ จัดเป็นของกินกันเหนียว เป็นอาหารเติมพลังสุดท้ายสุดๆในยามที่หาอาหารไม่ได้ ไปค้นดูรถป่าทั้งหลายเถอะครับ (รถลากไม้ รถเหมืองแร่) มีติดรถแทบจะทุกคันในจำนวนประมาณตามที่ผมเล่า ส่วนมากก็จะไม่ค่อยมีโอกาสได้นำมาทำกัน เพราะมันต้องสุดๆจริงๆ ในทำนองเดียวกัน เมื่อจะใช้การจริงๆ ถุงถั่วแตกบ้าง มีน้ำซึมเข้าบ้าง จนถั่วเขียวงอกเลย ก็ทำตามมีตามเกิดต่อไป
ในท้ายรถพวกที่ผมกล่าวถึงนี้ มักจะเห็นเข่งขนาดย่อมๆอยู่ 1 ใบ สภาพโยกไปเย้มาจนแทบจะไม่เป็นทรงรูปเข่ง ในนั้นจะมีหม้ออยู่ 1 ใบ มีกะทะและตะหลิว มีหอมใสถุงเล็กๆอยู่ถุงหนึ่ง มีพริกสีดา (พริกกะเหรี่ยง) แห้ง มีน้ำมันพืชหรือน้ำม้นหมู น้ำปลา แล้วก็มีปลากระป๋อง 3-4 กระป๋อง เป็นหลักใหญ่ ส่วนถั่วเขียวและน้ำตาลนั้นมักจะเก็บหมกไว้แถวๆที่นั่งคนขับรถ

สำหรับกรณีการเดินแบบแบกเป้สนามของพวกผมนั้น บางครั้งก็เอาถั่วเขียวกับน้ำตาลไปด้วย ขึ้นอยู่กับสภาพที่คาดเดาล่วงหน้า ตามปกติก็จะไม้พกพากันให้หนัก จะเอาออกมาทำกินกันก็เมื่อเิริ่มจะเดินกลับ เนื่องจากต้องลดน้ำหนักส่วนเกินนี้ลงไป เพราะต้องแบกตัวอย่างหิน แร่ กลับมาด้วย  

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 21:12

สงสัยคุณตั้งจะไม่เห็นคำถามของผม ขออนุญาตมาลงไว้อีกที

อ้างถึง
เข้ามาเนื่องจากอยากจะถามคุณตั้งว่า ที่เคยเข้าป่ามา เคยเห็นต้นพริกที่ขึ้นอยู่ในป่าลึกๆ แบบที่ว่าไม่มีคนไปปลูกไว้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 21:17

เล่ามาแล้วว่า ส่วนหนึ่งของอาหารของพวกเหมืองแร่ที่ตุนไว้เป็นถั่วเขียว

พูดถึงถั่วเขียวก็เลยอยากจะเล่าว่าเขาเอามาทำอะไรกินกัน นอกจากเอามาต้มน้ำตาล
เอามาทำแกงดาลครับ
ทำไม่ยาก แล้วก็ไม่อร่อยอีกด้วย ยามอดไม่มีอะไรจะกินกันก็ต้องกล้ำกลืนกินเข้าไป
แกงนี้ก็ได้มาจากปิล็อกอีก เป็นอาหารช่วงฤดูฝนที่ผนตกอย่าต่อเนื่องๆๆๆๆๆ แทบจะไม่มีเวลาได้แห้งเลย ออกไปทำงานเสื้อผ้าเปียก กลับมาเปลี่ยนชุด ไอ้ชุดที่เปียกก็ตากไม่แห้งเพราะไม่มีแดด มีอยู่ 2-3 ชุดแล้วจะทำอย่างไร ก็ต้องย่างให้แห้งนะซีครับ
ติดไฟเตาอั้งโล่ให้ถ่านติดแดงทั่วกัน แล้วก็ลดความแรงลงด้วยขี้เถ้า เอาสุ่มไก่มาครอบ เอาเสื้อผ้าที่เปียกนั้นมาวางบนสุ่มไก่ เพื่ออังไฟให้แห้ง ซึ่งมันไม่เคยแห้งเลยครับ มีแต่ค่อนข้างจะแห้งพอใส่ได้ ซึ่งก็ดีกว่าเปียก ลองทำดูครับ สนุกดี ใส่เสื้อผ้าพวกนี้แล้วเดินสวนกันแทบไม่ได้ กลิ่นมหาปะลัยเลยทีเดียว ต้องแยกตัวเองออกห่างจากคนอื่นๆเพื่อลดการดมกลิ่นสาปมหาปะลัยนั่น ในทำนองเดียวกันเขาก็ต้องทำเหมือนกัน ไม่ยืนใกล้กันคุยกันหรอกครับ ต้องยืนจุ๊ยวางมาดอยู่ห่างกัน

กลับมาเรื่องแกงดาลดีกว่านะครับ
เอาถั่วเขียวมาคั่วให้หอม สุกพอๆกับที่เอามาโรยหน้าข้าวเหนียวมะม่วงนั่นแหละ จะให้เกรียมหน่อยก็จะดี เอามาบดขยี้ด้วยขวดให้แหลก เอาเม็ดยี่หร่ามาคั่วให้หอม บดให้แหลกเช่นกัน เอาพริกแห้งมาคั่วในกะทะให้หอมแล้วใส่ครกโขลกให้แหลก หากพอจะหาเม็ดผักชีได้ก็ทำแบบเดียวกัน กะดาลาสักแว่น (อบเชย เรียกตามภาษาถิ่น) ก็คือทำผงกะหรี่นั่นแหละครับ แต่แบบไม่ครบเครื่อง เอาเครื่องแกงลงผัดในกะทะ ใส่น้ำมันนิดหน่อย เอาถั่วลง เคล้าให้ทั่ว ใส่น้ำเปล่า คะเนดูว่ามากพอที่จะทำให้แกงเละเหมือนโคลน เคี่ยวไปจนเห็นว่าถั่วนิ่มตามที่พอใจแล้ว ใส่เกลือ ชิรสแล้วยกลง เอาหอมแดงมาซอยแล้วเจียวให้หอมโรยลงไป กินกับข้าวสวยครับ

แกงนี้พวกคนงานเหมืองชาวพม่าเขากินกันเป็นประจำวัน

สำหรับผมอาจจะต้องทำโรตีเพิ่ม สำหรับกินกับแกงนี้ ก็ทำง่ายแต่ยากครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 21:53

สงสัยคุณตั้งจะไม่เห็นคำถามของผม ขออนุญาตมาลงไว้อีกที

อ้างถึง
เข้ามาเนื่องจากอยากจะถามคุณตั้งว่า ที่เคยเข้าป่ามา เคยเห็นต้นพริกที่ขึ้นอยู่ในป่าลึกๆ แบบที่ว่าไม่มีคนไปปลูกไว้ไหมครับ

เห็นคำถามแล้วครับ ไม่ลืมที่จะตอบเกลอหรอก กำลังจะตอบอยู่พอดีครับ
คำตอบก็คือ พริกป่าที่เป็นของป่าในธรรมชาติจริงๆนั้นไม่เคยเห็นครับ
แต่มีพริกที่อาจจะอนุโลมเรียกว่าพริกป่าได้ เป็นพริกที่เกิดจากเม็ดที่ชาวบ้านป่าเขาเอาติดตัวมาทำอาหารกินกัน ซึ่งแยกออกได้เป็น 2 พวก คือ พวกที่ตั้งใจจะปลูกไว้เผื่อกินเองในวันหลังและให้คนอื่นที่เดินทางผ่านมากิน กับพวกที่ขึ้นจากเม็ดที่ตกหล่น หรือถูกทิ้งไว้ ทั้งสองพวกนี้พบอยู่ตามชายตลิ่งริมห้วย ซึ่งอาจจะเป็นบริเวณที่ตรงที่มีที่ราบพอหลับนอนหุงหาอาหารกันได้ หรือในพื้นที่ราบที่เป็นแหล่งอาศัยเดิมซึ่งย้ายถิ่นฐานออกไปนานแล้ว ยังไม่เคยได้เห็นต้นพริกที่เกิดอยู่ห่างจากด่านทางเดินของคนและสัตว์

คนชาวบ้านป่าเขามีปรัชญาแนวคิดในการทำบุญให้ทานเป็นทุนอยู่ในจิตใจ ดังนั้น พวกพริก ตะใคร้ มะเขือ พวกนี้เมื่อทำอาหารกินพอแล้วก็จะปลูกไว้ริมตลิ่งห้วย หรือในที่ๆเหมาะสมที่อาจจะมีคนเดินสัญจรผ่าน ให้ธรรมชาติดูแลไป คนที่เดินผ่านมาเช่นพวกผมและชาวบ้านอื่นๆ เมื่อขาดก็จะเก็บไปทำกิน แล้่วก็ช่วยรดน้ำพรวนดินตามสมควร เพื่อให้มันงอกงามต่อไป ดูจะเป็นกติกาที่รู้ได้ด้วยตนเอง ตะใคร้ที่ใช้ทำอาหารนั้น เราจะไม่ใช้ถึงโคน จะให้เหลือมากพอที่มันจะงอกต่อไปได้แล้วปลูกมัน มะเขือนั้นขึ้นง่ายมาก โดยเฉพาะมะเขือพวง ดังนั้นจึงมักจะพบต้นมะเขือพวงบ่อยครั้ง ทั้งจากพวกที่ขึ้นจากขี้นก ซึ่งบางครั้งเป็นดงเลยทีเดียว พริกนั้นไม่เคยพบเป็นดง มักจะพบตามตลิ่งริมห้วยแหล่งละต้น สองต้น
ลักษณะที่เล่ามานี้ พบทั้งในภาคตะวันตกและในภาคเหนือ สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นไม่สันทัด เคยเห็นแต่ที่อยู่ตามหัวไร่ปลายนา จะเป็นการตั้งใจปลูกหรือขึ้นเองไม่ทราบ แต่ก็เป็นที่ทราบว่าเก็บกินได้ ไม่หวง ตราบใดที่ไม่เก็บมากจนกลายเป็นการเก็บตุน

จะเล่าเรื่องไร่ธารก็จะยาวไป เอาไว้ค่อยๆเล่าต่อไปนะครับ     

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 22:01

สงสัยเรื่องพริกป่าอยู่เหมือนกัน
ที่คุณตั้งเจอในป่า  หน้าตาเป็นอย่างนี้หรือเปล่าคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 22:21

อึมม์ ก็มีเหตุมีผล

ฉะนั้น ต้นพริกสูงประมาณสองเมตรเศษที่ผมกับเพื่อนสี่ห้าคนเคยพบกลางป่าดิบเขาต้นน้ำแก่งกระจานสมัยเกือบห้าสิบปีก่อนนู้น ก็คงมีคนกระเหรี่ยงไปปลูกไว้

ต้นพริกที่ว่ากำลังออกลูกขนาดเท่าพริกขี้หนู แต่ผอมบางเหมือนก้านไม้ขีด สีเขียวสดเต็มต้น ขณะกำลังช่วยกันเก็บยังแสบตาจนน้ำตาไหลทั่วกัน สักพักก็รู้สึกแสบนิ้วมือนิ้วไม้ มื้อเย็นวันนั้นเอาออกจากถุง ยื่นให้กระเหร่ยงคนนำทาง เขายิ้มแล้วสั่นหัว คนกรุงกัดไปนิดนึงโอดโอยกันไปทั่ว
เสียดาย ตอนนั้นเด็กเกินไปที่จะทำอะไรได้มากกว่าจำ

ฤาจะต้องเชื่อว่าบรรดาพริกทั้งหลายในเมืองไทยนี้ คนปอร์ตุเกตเป็นคนนำเข้ามาทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 15:49

พลิกเปิด "เพชรพระอุมา" เพื่อจะดูเมนูอาหารในแคมป์ของรพินทร์ ไพรวัลย์    พบว่าไม่มีฉากไหนเลยที่เชษฐา ดาริน ไชยยันต์ หรือรพินทร์ต้องมาผัดปลากระป๋องในกระทะ   ตามเมนูของคุณตั้ง
เป็นอันว่าปลากระป๋องและน้ำพริก  สงวนไว้ในชีวิตจริงของนักธรณีวิทยา    แต่ว่านิยายที่เขียนเมื่อประมาณพ.ศ. 2500  สมัยคุณพนมเทียนยังหนุ่ม บุกป่าล่าสัตว์ด้วยตนเอง     พระเอกนางเอกของท่านกินอยู่กันอลังการ   เป็นคนละป่ากันเลยทีเดียว

มื้อแรกที่ขบวนเข้าป่าของม.ร.ว.เชษฐา ไปค้างคืนแรกกันในป่า  ตื่นขึ้นมาตอนเช้า แงซายยกสเต็กหมูป่าและซุปเนื้อสันในกวางเข้าไปเทียบถึงเตียงนอนในเต๊นท์
คืนต่อๆมา ซัปเปอร์มื้อดึกริมกองไฟ  คือซุปเนื้อสันในวัวแดงที่ยิงได้  เคี่ยวจนได้ที่ในหม้อบนกองไฟ
จากนั้นนางเอกก็ยิงเม่นได้ ๓ ตัว   เอามาทำเนื้อเม่นย่าง แบบบาบิคิว   กลิ่นหอมหวนเหมือนเป็ดย่าง  ให้พรานป่ากินแกล้มกับเหล้าขาว
พระเอกนางเอกคุยกันด้วย  ว่าปีๆ พรานป่าล้มช้างมาทำเนื้อเค็ม  เคี่ยวน้ำมันส่งไปขาย เป็นน้ำมันใส่ปี๊บ วางขายในเมืองหลวง  โดยชาวกรุงก็ไม่รู้   ใช้น้ำมันช้างทอดอาหารกันเพลินไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 20:56

กลับมาเรื่องเมนูอาหารในเพชรพระอุมาอีกครั้งค่ะ
สมัยปี 2500 คงไม่มีพ.ร.บ. สงวนพันธุ์สัตว์ป่าละมัง     คณะของรพินทร์ ไพรวัลย์จึงล่าสัตว์ได้ไม่จำกัด    อาหารโปรตีนในเรื่องนี้หาได้อย่างอุดมสมบูรณ์
ไชยยันต์ยิงวัวแดงได้ถึง 2 ตัว   ลูกหาบยิงกวางได้   นอกจากนี้ใกล้ๆแคมป์ยังอุดมไปด้วยไก่ป่า นกเขาเขียว และกระทาดง    จึงไม่แปลกที่ดารินสามารถทำอาหารระดับภัตตาคารให้คนอื่นๆรวมทั้งลูกหาบกินกันได้อย่างอิ่มหนำสำราญ
รายการอาหารในเล่มที่ 2  มี  แกงเขียวหวานกวาง  มัสมั่นวัวแดง   นกเขาเขียวตุ๋นกับมะนาวและถั่วกระป๋อง  (แสดงว่ามะนาวขึ้นเองในป่า ไม่น้อยหน้าพริกขี้หนู)  ถั่วกระป๋องนั้นใส่ลังมาในเกวียน   กระทาดงอบซีอิ๊วและเครื่องเทศ    และมีต้มยำปลาก้าง  อย่างหลังนี้ถามคุณเพ็ญชมพูแล้ว  ได้ความว่าไม่ใช่ปลาก้างพระร่วง แต่เป็นญาติกับปลาช่อน  เมื่อทำต้มยำก็คงอร่อยเหมือนต้มยำปลาช่อน

รพินทร์ยังจาระไนด้วยว่า ในป่า มีตะไคร้ ใบมะกรูด มะเขือพวง พริกขี้หนู มะนาว   มากมาย จะเอาสักกี่กระบุงก็ได้    หายากหน่อยก็คือโหระพา  แต่ก็พอหาได้   

สัตว์ที่ระบุในเรื่องนี้  ไม่รู้ว่าปัจจุบันหายากแค่ไหนแล้วค่ะ  วัวแดงเหลืออยู่หรือเปล่าไม่ทราบ  กวางยังมีแต่ถูกห้ามล่า  กระทาดงกับนกเขาเขียว เพิ่งเคยเห็นรูปจากอินทรเนตร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 21:00

สงสัยเรื่องพริกป่าอยู่เหมือนกัน
ที่คุณตั้งเจอในป่า  หน้าตาเป็นอย่างนี้หรือเปล่าคะ

ลักษณะแบบดังภาพก็มีครับ ที่ได้เห็นส่วนมากจะเม็ดยาวกว่านี้หน่อย และส่วนมากต้นจะแก่ใบมากกว่าแก่เม็ด จึงมักมีบ่อยๆที่จะเด็ดเอายอดอ่อนๆมาใส่ในแกงแทนใบกะเพรา
อย่างคุณนวรัตน์ว่าแหละครับ ส่วนมากจะเม็ดเล็กเป็นไม้ขีด ยาวกว่าพริกขี้หนูสักหน่อย แต่ไม่ใช่พริกขี้หนูแน่ๆ มันคงกลายพันธุ์ไปแล้ว ที่จริงแล้วข้อมูลที่คุณนวรัตน์เล่านี้น่าสนใจ ต้นพริกเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุยืนสักหน่อย เท่าที่เคยเห็น ต้นมักจะไม่สูงเกินกว่าเอว ผมไม่เคยเห็นต้นที่สูงขนาดประมาณ 2 เมตรอย่างที่เล่ามา ฤาที่คุณนวรัตน์ได้พบนั้นจะเป็นพริกถิ่น ไม่ได้กระจายมาจากที่คนปอร์ตุเกตนำเข้ามา
  
พริกป่าพวกนี้มีรสเผ็ดและแสบร้อนมาก (จำเรื่อง hot & bite ได้ใหมครับ แต่อย่าย้อนเรื่องกลับนะครับ) พริกที่ชาวบ้านป่าเขาปลูกกันแล้วเก็บมาทำพริกแห้ง เป็นพวกพริกกลุ่มนี้ ตากแห้งแล้วออกสีแดงส้มๆ ผมเรียกว่าพริกสีดาตามชาวบ้าน แต่คนกรุงมักจะเรียกว่าพริกกะเหรี่ยง ปัจจุบันทั่วๆไปเรียกว่าพริกแห้งที่แม่ค้าส้มตำใช้กัน    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 21:10

พริกกะเหรี่ยง?


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 21:13

อ่านที่คุณเทาชมพูเล่าเรื่องเมนูอาหารในเพชรพระอุมาแล้วทึ่งครับ

จะขออนุญาตไล่เรียงตอบและค่อยๆเล่าไปนะครับ เรื่องมันขัดๆยังไงชอบกล
วันนี้ตึงๆแล้ว จะขอเริ่มในวันพรุ่งนี้นะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 22:05

ต้นพริกที่ผมเห็นในป่าสูงจริงๆ ข้อมูลของคุณผู้หญิงข้างล่างก็ว่าเช่นนั้นเหมือนกัน
เสียดาย ผมหารูปต้นพริกสูงๆไม่ได้เลย


http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=pavita&date=05-07-2007&group=17&gblog=1

พริกกะเหรี่ยงหรือพริกลาว

บางคนบอกว่าเป็นพริกกะเหรี่ยง แต่บางคนบอกว่าเป็นพริกลาว วานผู้รู้ตอบด้วยค่ะ ที่บ้านปลูกอยู่ 3 ต้น สูงประมาณ 2.5 เมตรแล้วค่ะ ออกลูกทั้งปีเลย เพราะใช้น้ำจากบ่อปลาคาร์ฟ และใช้แร่เทคโต เพิ่มธาตุอาหารในดินค่ะ

แต่ที่บ้านไม่ค่อยทานเผ็ด (เพราะว่ามันเผ็ดมาก ขอบอก)
เลยได้แต่เก็บแจกเพื่อน ๆ ทานค่ะ ที่บ้านมีพริกขี้หนูสวนด้วยแต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ค่ะ ดกมากเหมือนกัน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 22:17

รูปนี้ จาก http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=242245&st=91
มีคำบรรยายว่า
"ข้างทางเป็นไร่พริกขี้หนูหรือที่เรียกว่า"พริกกระเหรี่ยง" 

เหมือนต้นพริกที่คุณนวรัตนเคยเห็นหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง