เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9668 เหตุการณ์ที่นายควง อภัยวงศ์โดนตบหน้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
 เมื่อ 27 ก.พ. 12, 10:42

ผมพยายามหาเรื่องราวที่นายควง อภัยวงศ์โดนนายจรูญ สืบแสง ตบหน้า แต่หาไม่เจอ
ไม่ทราบมีท่านใดจะเล่าเหตุการณ์นี้ให้ฟังอย่างละเอียดได้บ้างครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 13:06

สวัสดีครับคุณหมอ หายไปนานนะครับ

เหตุการณ์ที่นายควงถูกตบหน้าป็นสมัยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ วึ่งฝ่ายค้านกำลังเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบเจ็ดวัน๗คืนเรื่องข้าวยากหมากแพง นายควงก็พูดเอาฮาอย่างเดียว ฝ่ายถูกเสียดสีก็คั่งแค้นมากแต่ตอบโต้ไปโวหารก็สู้ฝ่ายค้านไม่ได้

วันหนึ่งระหว่างการอภิปรายก็เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น
คุณประจวบ อัมพะเศวตได้บันทึกไว้ในหนังสือ ชื่อ “พลิกแผ่นดิน”


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 13:09

ที่จอมพลป.ถือโอกาสส่งจดหมายมาแสดงความเสียใจกับนายควงนั้น ไม่ใช่เพราะท่านเป็นฝ่ายรัฐบาลอะไรหรอก แต่บังเอิญกำลังหาช่องจะเสียบแทนหากนายกฯพลาดท่าในยกนี้ จึงต้องอี๋อ๋อกับหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านไว้หน่อย

การเมืองครับ การเมือง
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 15:25

ขอบคุณมากครับ
ผมพยายามหาเรื่องราวนี้ที่ออกสื่อ เพราะผมมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลจากการบอกเล่าของย่าเกล็ดมณี(บุนนาค) สืบแสง ภรรยาปู่จรูญ สืบแสง
จึงอยากจะตรวจสอบว่าแตกต่างกันอย่างไรครับ
ผมต้องขอนำสื่อสิ่งพิมพ์ที่คุณ NAVARAT.C นำมา กลับไปคุยกับท่านก่อนนะครับว่าอะไรคือข้อเท็จจริง
แล้วจะนำมาเสนอต่อไปครับ


คนนั่งเก้าอี้...ย่าเกล็ดมณี(บุนนาค) สืบแสง ในวัย ๘๙ ปี ซึ่งความทรงจำยังดีมาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 20:52

ช่วยเรียนถามด้วยครับว่าคุณจรูญ สืบแสงเป็นบิดาคุณอภิชาติ สืบแสง เพื่อนของผมตอนเด็กๆใช่หรือไม่
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 20:58

ช่วยเรียนถามด้วยครับว่าคุณจรูญ สืบแสงเป็นบิดาคุณอภิชาติ สืบแสง เพื่อนของผมตอนเด็กๆใช่หรือไม่

คุณพ่ออาป้อม อภิชาติ ชื่อ นพ.วิเชียร สืบแสง เป็นน้องคนรองสุดท้องของปู่จรูญครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 21:48

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 21:41

ของแถมในกระทู้นี้
เคยอ่านพบในหนังสือหลายเล่มว่า นายควง อภัยวงศ์ เป็นคนเจ้าคารม   โวหารแบบแสบๆคันๆ รุ่มรวยอารมณ์ขัน มีลูกเล่นลูกฮาทางการเมืองแพรวพราว   ก็เลยขออินทรเนตรช่วยมองหาตัวอย่างคำพูดของท่าน 

ครั้งหนึ่งนักข่าวถามว่าเหตุใดตึกไปรษณีย์กลาง บางรัก ที่นายควงเป็นผู้สร้างและเคยทำงานอยู่ ถึงไม่โดนระเบิดเสียหายเหมือนสถานที่อื่น ๆ ในสงครามโลกครั้งที่สอง มีของดีอะไรคุ้มครอง
นายควงตอบว่า
"ตึกนี้มีของดีสิคุณ เพราะตอนก่อสร้างไม่มีใครกินกำไรไปซักสตางค์ นี่มิใช่ของดีหรือ ?"

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ นายควงเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก   ท่านตอบคำถามของนายทหารญี่ปุ่นหลังจากถูกถามว่า ทำไมไม่รับประทานยาแอสไพรินที่เสรีไทยโปรยลงมา เพราะพวกญี่ปุ่นระแคะระคายว่า นายควงจะให้ความช่วยเหลือเสรีไทยอยู่ลับหลัง
คำตอบของนายควงก็คือ
" อูย ฉันเป็นนายก กินอะไรซี้ซั้วได้ไง ถ้ายานั้นเป็นยาพิษ ฉันตายไป ใครจะดูแลพวกท่าน"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 21:46

ในระหว่างการหาเสียง ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489   นายควงลงแข่งกับนายวิลาศ โอสถานนท์   คำขวัญหาเสียงของควงมีเพียงสั้นๆ แต่ก็คมคาย  เป็นที่จดจำในบรรดานักหนังสือพิมพ์ต่อมาอีกนานหลายปี
"  เหล็กวิลาศหรือจะสู้ตะปูควง"

คำพูดของนายควง  ถึงการได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังวิกฤติการณ์ทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2   หลังรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)
   " การเมืองภายหลังสงคราม ก็มีเรื่องยุ่งเหยิงอยู่เรื่อย ๆ แต่ผมก็รอดมาทุกที เพราะไม่ได้ไปมั่วสุมกับใคร ใครจะคิดอ่านกันอย่างไรก็ช่างเขา ผมไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว ขอเล่าย่อ ๆ ว่า เมื่อตอนเกิดรัฐประหารรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์นั้น ผมก็ไม่ได้เกี่ยวข้อง ครั้นเขามาเชิญให้ผมเป็นนายกก็ใช่ว่าผมจะไม่รู้ว่าเขาจะเอาผมไปเป็นนั่งร้านให้เขา แต่ผมก็จำเป็นต้องรับ ก่อนจะรับเราก็ได้ประชุมปรึกษาหารือกันที่บ้านผมตั้งตี ๒ ตี ๓ มีหลายคนเห็นว่าผมไม่ควรรับ ผมก็ชี้แจงให้ฟังว่า ถ้าเราไม่รับก็จะเกิดเรื่องใหญ่ เพราะฝ่ายหลวงประดิษฐ์ฯ และฝ่ายหลวงพิบูลฯ ต่างก็มีลูกศิษย์ลูกหากันอยู่มากด้วยกัน ถึงเขาจะเคยเป็นเพื่อนกัน แต่เมื่อเกิดเรื่องระหว่างลูกศิษย์ต่อลูกศิษย์ เราก็จะพลอยลำบากไปด้วย เอาเถอะ เราจะช่วยเข้าไปขวางกลางให้ก็แล้วกัน ตกลงพวกผู้ใหญ่ๆก็เห็นด้วยกับผม เพราะฉะนั้นจึงว่าที่ผมรับเป็นนายกครั้งนั้น ไม่ใช่จะรับโดยไม่รู้ตัวว่าเขาจะยืมมือเราเป็นการชั่วคราว"

ก่อนการเลือกตั้ง ที่ต่อมาได้ชื่อว่าเลือกตั้งสกปรก  เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 รัฐบาลขณะนั้นมีพฤติกรรมเล่นสกปรกทุกรูปแบบ เพื่อโกงการเลือกตั้ง  นายควงไม่ได้ต่อล้อต่อเถียงด้วยในเรื่องนี้    แต่ปราศรัยว่า
" ใครเขาจะโกงกินยังไงก็แล้วแต่ ให้เอาใส่ห่อกลับบ้านไปฝากลูกเมียด้วย แต่เวลาลงคะแนน ให้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ก็แล้วกัน"
บันทึกการเข้า
พรต
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 มี.ค. 12, 20:52

ต้นแบบ ประชาธิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิัปัตย์ เลยนะครับนาย ควง เนี่ยสืบทอดกันมายังกะดีเอ็นเอเลย อายจัง
บันทึกการเข้า
tona22
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 22:10

ขออนุญาตเรียนถาม ได้อ่านหนังสือเรื่อง
บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

อาจารย์ปรีดี ได้กล่าวพาดพิงถึง (ตอบโต้ในข้อเท็จจริง)
การปาฐกถาของนายควง ที่คุรุสภา 23 พฤศจิกายน 2506
ไว้หลายเรื่อง อาทิ การนิรโทษกรรมเจ้านาย กรณีปลดอาวุธ
รวมถึงเรื่องเล็กๆน้อยๆ อย่างที่มาของคำว่า "อาจารย์ปรีดี"

ทำให้อยากอ่านบทปาฐกถาครั้งนี้ฉบับเต็มเหลือเกิน
ทราบว่าได้พิมพ์ในหนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
ท่านใดพอจะมีบทปาฐกถาครั้งนี้ไว้ในครอบครองหรือไม่ครับ

ขออภัยที่เลือกใช้กระทู้นี้ เห็นว่าจะเป็นกระทู้เดียวเกี่ยวกับนายควงครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 ธ.ค. 15, 07:44

คงตอบโจทย์ของคุณโทน่าไม่ได้ทั้งหมด ขอนำบทสรุปตอนท้ายของปาฐกถามาเสนอ  ยิงฟันยิ้ม

ขณะนั้นเป็น พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งเกิดการรัฐประหารโดยมี พลโท ผิน ชุณหวัณ เป็นหัวหน้า เมื่อเชิญท่าน ควง อภัยวงศ์ มาเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงระยะสั้น ๆ แล้วก็มีคณะรัฐประหาร มาเชิญให้ลาออก เพื่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง ท่านก็ยอมลาออกแต่โดยดี ท่านสรุปสุดท้ายไว้ในการปาฐกถา เรื่องชีวิตของข้าพเจ้า ณ หอประชุมคุรุสภา เมื่อ ๒๓ พศจิกายน ๒๕๐๖ ว่า

ในชีวิตของผมถือว่า ผมมาทำหน้าที่รับใช้ประชาชน พระสงฆ์ท่านอุตส่าห์เล่าเรียนศีลธรรมก็เพื่อไปสู่นิพพาน แต่นักการเมืองนี่ก็มุ่งหมายจะมีอนุสาวรีย์ตามถนน เรื่องร่ำรวยหรือยากจนเพียงไหนไม่สำคัญอะไรเลย ผมได้เล่ากำพืดของผมให้ฟังแล้ว เรื่องความร่ำรวยนั้นผมก็เคยมาแล้ว และการที่มีคนมากราบไหว้ก็ผ่านมามาก เหมือนคนที่เคยกินเหล้าตั้งขวดมาแล้วยังไม่เมา ถ้ากินเพียงครึ่งขวดมันจะเมาที่ไหน คนที่มันเมานั้นก็เพราะไม่เคยกินต่างหาก กินเข้าไปหน่อยเดียวเลยเมา

ท่านอาจจะเห็นว่าคนที่เป็นรัฐมนตรีแล้ว หรือเป็นอะไร ๆ แล้วนี่น่ะ บางคนจมไม่ลง แต่ผมจมลง เป็นนายกแล้วก็จมลง ผมเดินเปะปะไปที่ไหนต่อที่ไหนก็ได้ กินข้าวที่ไหนก็ได้ รถเมล์รถรางหรือรถอะไรก็ขึ้นได้ เพราะการได้ตำแหน่งมันเป็นเรื่องสวมหัวโขนเท่านั้น

ส่วนเกียรติของผมยังอยู่ แม้ว่าผมจะเดินเตะฝุ่นกลางถนนก็ตาม เพราะผมไม่ได้ไปเอาอะไรจากใคร ไม่ได้เบียดเบียนใคร ผมกลัวเสียชื่อวงศ์ตระกูลของผม ผมจึงทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน และทำตามอุดมคติของผม

ผมขอเรียนตามตรงว่า เวลานี้ผมสบายจะหันหน้าไปหาประชาชน เขาก็ต้อนรับดี เราจะมีเงินสักกี่แสนกี่ล้านก็ซื้อจิตใจประชาชนไม่ได้ และเงินน่ะเรากินได้ไหม เพชรพลอยก็กินไม่ได้ จะกินได้ก็แต่เพียงอาหารมื้อละอิ่มเดียว บางคนยังกินอาหารไม่ได้ด้วยซ้ำ ได้แต่ผะงาบ ๆ อยู่

การที่ผมต้องเข้ามาพัวพันกับการเมือง ไม่ใช่ผมอยากเป็นนักการเมือง แต่เหตุการณ์มันดึงให้ผมเข้าไปเอง อย่างที่เล่ามาให้ฟังนี่แหละ ดึงกันไปดึงกันมา ผมเลยจมเข้าไปในการเมืองจนถอนตัวไม่ออก ครั้นจะถอนตัวก็จะถูกหาว่าหนี แต่ครั้นจะอยู่ก็ผะอืดผะอมเต็มประดา

บรรดาเพื่อน ๆ ของผมทุกคน หลวงพิบูล ฯ หรือหลวงประดิษฐ์ ฯ ก็ดี ถึงแม้จะมีเรื่องขัดแย้งกันในทางการงาน ผมก็ไม่ได้คิดโกรธเคืองอะไรกับใคร ผมทำหน้าที่ของผมเท่านั้น เมื่อหมดหน้าที่แล้วก็แล้วกันไป ความเป็นเพื่อนกับหน้าที่ต้องแบ่งแยกกัน สิ่งใดที่ผมไม่เห็นด้วยผมก็บอกไปตามความเห็น ถ้าไม่เชื่อกันก็ไม่ใช่ความผิดของผม แต่ในทางส่วนตัวผมก็ยังถือว่าเราคงเป็นเพื่อนกันอยู่เสมอไป
บันทึกการเข้า
tona22
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 ธ.ค. 15, 12:58

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพู สำหรับคำกล่าวสรุปอันสวยงาม
สมกับความเป็นเจ้าโวหาร ของคุณควง อภัยวงศ์

ในประโยคสุดท้าย ท่านกล่าวว่าไม่โกรธเคือง ผูกใจเจ็บกับใคร
แต่ไม่ทราบว่า บุคคลที่ท่านกล่าวถึง จะคิดเช่นไรบ้าง
อนึ่ง ใน 3 นามนั้น คุณควงเป็นคนเดียวที่สามารถกล่าวคำสวยอยู่ในประเทศได้
จอมพล ป. อยู่ญี่ปุ่น ส่วนอาจารย์ปรีดี ถึงแม้จะถูกทำให้ลืมในประเทศไทย
แต่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ตามอัตภาพ (ขณะนั้นอยู่ที่จีน)

ในระหว่างที่ ยังไม่สามารถหาคำปาฐกถาฉบับเต็มได้
ขออนุญาตอ่านคำตอบโต้ จากอาจารย์ปรีดี บางส่วน ให้ทุกท่านได้พิจารณา ณ ที่นี้

-----------------------------------

นายควง อภัยวงศ์ ได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีหลายนาย
และโดยเฉพาะได้มีนายทวีฯ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ก็เป็นรัฐมนตรีสั่งราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีด้วย
โดยมีหน้าที่ดำเนินงานของคณะรัฐมนตรีอยู่เบื้องหลังนายควง
กิจการใดอันเกี่ยวกับขบวนการเสรีไทยซึ่งนายทวีฯ เป็นผู้บัญชาการพลพรรคในประเทศไทยนั้น
ถ้าจะต้องเกี่ยวข้องกับรัฐบาลอย่างใดแล้ว นายควงก็อนุญาตตามที่ตกลงกันไว้ก่อนว่าให้นายทวีปรีกษาตกลงกับข้าพเจ้าโดยตรง
โดยนายควงไม่ขอรับรู้ด้วยนอกจากที่จะต้องทำเป็นกฎหมาย หรือแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร
ดังนั้นมีหลายเรื่องที่นายทวีฯ ได้ปรึกษาข้าพเจ้าจัดทำขึ้นก่อนแล้วจึงแจ้งให้นายควงฯ รับไปปฏิบัติการ อาทิ
การประกาศพระบรมราชโองการว่าการประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกาเป็นโมฆะนั้น
นายทวี บุณยเกตุ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการดังประกฎในราชกิจจานุเบกษาดูเพิ่ม
ไม่ใช่นายควงฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

-----------------------------------

การอภัยโทษและนิรโทษกรรมผู้ต้องหาทางการเมืองนั้น
นายทวีฯ ก็เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการร่างกฎหมายอภัยโทษและนิรโทษกรรม
เพราะแม้ข้าพเจ้าแจ้งแก่สัมพันธมิตรไว้ก่อนว่าเพื่อความสามัคคีของคนไทยที่มีอุดมคติตรงกันในการต่อสู้ญี่ปุ่น
ให้ได้รับอภัยโทษและนิรโทษกรรมตามที่ ม.จ.ศุภสวัสดิ์ ได้ทรงปรารภมานั้น

เวลาปฏิบัติเข้าจริง ก็ยังไม่อาจทำได้ง่ายๆ เหมือนดั่งที่นายควงฯ พูดที่คุรุสภาว่า
พอนายควงฯ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็สั่งปล่อยนักโทษการเมือง
จริงอยู่ นายควงฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่ในการร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว
ต้องทำความเจ้าใจกับ พล.ต.อ.อดุลฯ อธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นผู้สั่งจับผู้ต้องหาทางการเมือง
ให้เขาเห็นความสมควรที่จะอภัยโทษและนิรโทษกรรม ทั้งนี้เพื่อความสามัคคีของทุกๆฝ่าย เพื่อประโยชน์ของการงานรับใช้ชาติร่วมกัน
พล.ต.อ.อดุลฯ นั้น มีคนให้ฉายาว่า "นายพลตาดุ" เป็นคนที่ไม่ยอมให้ผู้ใดลบคมได้ง่ายๆ
ถ้าอยู่ดีๆ นายควงฯซึ่งเพิ่งได้เป็นนายกรัฐมนตรีตามวิธีการดังกล่าวแล้วในข้อก่อนๆดูเพิ่ม
เกิดจะแสดงบุญบารมีของตนโดยสั่งปล่อยผู้ต้องการทางการเมืองโดยไม่ปรึกษาหารือหรือทำความเข้าใจให้ดีกับ "นายพลตาดุ"
ซึ่งเป็นผู้จับผู้ต้องหาการเมืองคือเป็นผู้ทำพระเดช แต่นายควงฯ จะเป็นผู้ทำพระคุณเอาหน้าแก่ผู้ต้องหาการเมืองแล้ว
เรื่องก็อาจจะยุ่งเป็นเหตุให้ผู้ต้องการการเมืองซึ่งอยู่ในความดำริตามที่นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ได้กล่าวไว้ในบทความนั้นดูเพิ่ม แล้วต้องได้รับการปลดปล่อยช้าลงไปอีก
ฉะนั้น เพื่อให้ผู้ต้องหาการเมืองที่ถูกจองจำอยู่ได้รับการปลดปล่อยเร็วขึ้น
นายทวี บุณยเกตุ และข้าพเจ้า ต้องช่วยกันทำความเข้าใจกับ "นายพลตาดุ"
และได้ขอร้องให้นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชี้แจงข้อความที่ข้าพเจ้าส่งโทรเลขลับให้สัมพันธมิตรทราบ
เมื่อ "นายพลตาดุ" เห็นชอบในหลักการแล้ว จึงได้มอบให้นายทวี บุณยเกตุ เป็นผู้ร่างกฎหมายอภัยโทษ และนิรโทษกรรม แก่บรรดาผู้ต้องหาทางการเมืองทุกคน

จะเหลืออยู่ก็แต่เฉพาะผู้ต้องโทษภายหลังกองทัพญี่ปุ่นเข้าเมืองไทยแล้ว เพื่อความปลอดภัยของผู้นั้นๆเอง
เพราะถ้าปล่อยออกมาก็จะถูกญี่ปุ่นจับเอาไป ส่วนกรมขุนชัยนาทฯ ที่ถูกถอดเป็นนายรังสิตฯนั้น
นอกจากนิรโทษกรรมแล้วก็ได้สถาปนาพระอิสริยยศตามเดิม

-----------------------------------

คัดจาก บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 หน้า 70-72
บันทึกการเข้า
tona22
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 27 ธ.ค. 15, 13:07

การประกาศพระบรมราชโองการว่าการประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกาเป็นโมฆะนั้น
นายทวี บุณยเกตุ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการดังประกฎในราชกิจจานุเบกษา
ไม่ใช่นายควงฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ เห็นจะเป็น พระบรมราชโองการ ประกาศ สันติภาพ
ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 รับสนองฯโดย นายทวี บุณยเกตุ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2488/A/044/503.PDF

ถ้าอยู่ดีๆ นายควงฯซึ่งเพิ่งได้เป็นนายกรัฐมนตรีตามวิธีการดังกล่าวแล้วในข้อก่อนๆดูเพิ่ม
เกิดจะแสดงบุญบารมีของตนโดยสั่งปล่อยผู้ต้องการทางการเมืองโดยไม่ปรึกษาหารือหรือทำความเข้าใจให้ดีกับ "นายพลตาดุ"
ซึ่งเป็นผู้จับผู้ต้องหาการเมืองคือเป็นผู้ทำพระเดช แต่นายควงฯ จะเป็นผู้ทำพระคุณเอาหน้าแก่ผู้ต้องหาการเมืองแล้ว...
คงหมายถึงเหตุผลที่เลือกนายควงเป็นนายก เพื่อมาตีหน้ากับญี่ปุ่น
และนายปรีดีเป็นคนเชิญนายควงมาถามความสมัครใจ
ผนวกกับเหตุผลอีกหลายประการ ที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้
(อาทิ เหตุผลที่ไม่ชวนนายควงเข้าร่วมประชุมตั้งแต่ที่ฝรั่งเศส ทั้งที่เรียนอยู่เช่นกัน
นายควงเพิ่งได้รับการทาบทามให้เข้าร่วมก่อการ ก่อนการปฏิวัติเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น)
 
เรื่องก็อาจจะยุ่งเป็นเหตุให้ผู้ต้องการการเมืองซึ่งอยู่ในความดำริตามที่นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ได้กล่าวไว้ในบทความนั้นดูเพิ่ม แล้วต้องได้รับการปลดปล่อยช้าลงไปอีก
หมายถึง การที่นายปรีดี ได้ให้คำมั่นกับท่านชิ้น หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท ในฐานะเสรีไทยสายอังกฤษ ว่าจะปล่อยนักโทษการเมืองเป็นอิสระ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 ธ.ค. 15, 13:21

คัดจาก บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 หน้า 70-72

นำหนังสือทั้งเล่มมาเสนอ  ยิงฟันยิ้ม

http://www.openbase.in.th/files/puay069.pdf
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง