เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 13848 เรามาขึ้นคานกันเถิด - ว่าด้วยโครงสร้างหลังคาแบบจีน
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 23 ก.พ. 12, 21:15

มีผู้ถามสภาวะบางอย่างของข้าพเจ้าช่วงนี้เป็นฉันใด คำตอบคือ

ช่างมันเถิด

แต่จากคำถามทำให้ข้าพเจ้านึกไปถึงคำถามว่าด้วยโครงสร้างหลังคาจีน ด้วยข้าพเจ้าไม่ได้เก่งด้านสถาปัตยกรรมนัก อ่านจากภาษาจีนมาถอดความให้ทุกท่านอ่านข้าพเจ้าเองนึกไม่ค่อยออกว่าภาษาไทยเรียกว่าอะไร ขอท่านผู้เชี่ยวชาญโปรดให้อภัย

เวลาคนไทยไปเที่ยวเมืองกวางตุ้ง หรือซัวเถา เรามักจะออกอุทานว่า “อ้า...มั่งชั่งเหมือนที่บ้านอั๊วจิงๆ” แต่ถ้าเราไปไกลหน่อยคือซูโจว หางโจว หรือไปปักกิ่ง เราอาจจะออกอุทานว่าทำไมมันดูไม่เหมือนเลย มูลเหตุมาจากตระกูลช่างที่ต่างกัน

ภาคเหนือและภาคใต้ของจีนจะแบ่งโดยใช้แม่น้ำแยงซี ภาษาจีนกลางเรียกว่าฉางเจียง (长江:Chang Jinag) ความแตกต่างระหว่างอาคารทางภาคเหนือและภาคใต้ของจีนสังเกตได้ไม่ยาก สังเกตได้จากการประดับตบแต่งหลังคาจะเห็นได้ง่ายมาก นอกนั้นอาจสังเกตได้จากการประดับตบแต่งด้านอื่นๆ

สำหรับโครงสร้างหลังคาที่นิยมใช้ในจีนภาคเหนือ ใช้เป็นโครงสร้างแบบเสาดั้งและคานเป็นระบบโครงสร้างแบบคานลดระดับ (THE BEAM – IN – TIERO STRUCTURAL SYSTEM) ภาษาจีนเรียกว่า “ไทเหลียงซือ” (抬梁式:tian liang shi) โครงสร้างดังกล่าวเป็นโครงสร้างที่นิยมใช้ในการประดับตบแต่งอาคารสำคัญทางราชการ เช่น วัง วัด หรือสถานที่ราชการ ส่วนในกลุ่มประชาชนได้ใช้โครงสร้างนี้เช่นกัน แต่จะนิยมเฉพาะในภาคเหนือ




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 21:18

ลักษณะ “คานลดระดับ” จะแบ่งเป็นตัวคานซ้อนเป็นชั้น ๆ และใช้เสาดั้งมารับน้ำหนัก การวางคานนี้จะจะวางเรียงสูงขึ้นเป็นระยะๆประกอบกันขึ้นเป็นรูปหลังคาจั่ว จากนั้นจึงวางไม้กลอนที่เป็นแผ่นแบนขวางแปกลม เป็นระยะที่ค่อนข้างถี่มากเท่าขนาดของกระเบื้องที่จะใช้ปูหลังคาแล้วจึงปูกระเบื้องหลังคา การถ่ายน้ำหนักของหลังคาทั้งหมดจะถูกถ่ายจากแปกลมนี้ลงสู่เสาดั้ง สู่คาน และสู่โครงสร้างหลักของอาคารต่อไป

ในอาคารแบบจีนนอกจากจะมีการใช้ระบบค้ำยันข้างต้น ยังมีส่วนค้ำยันพิเศษที่อยู่บนเสาและคาน ถือเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมจีน “โตว่กง” (斗拱:DOU GONG) มีลักษณะคานเล็กๆหลายๆชิ้นนำมาประกอบซ้อนๆกันขึ้นไป ยิ่งอาคารมีขนาดใหญ่มากโตว่กงจะมีขนาดใหญ่มากขึ้น

ภาพ "โตว่กง" และการใช้โตว่กงในแบบต่างๆ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 21:24

ในส่วนของโครงสร้างหลังคาของจีนทางตอนใต้นิยมใช้ระบบเสาและคานรัด (THE COLUMN AND TIEBEAM STRUCTURAL SYSTEM) ภาษาจีนจะเรียกว่า  “ฉวนโตว่ซือ”  (穿斗式:Chuan dou shi) ระบบนี้เสาจะถูกวางเรียงไปตามทางลึกของอาคาร โดยมีการเว้นระยะห่างของเสาเท่ากัน และจะไม่มีการวางคานพาดผ่านเสาเหล่านี้ แต่จะวางแปกลมไว้บนยอดของเสาแทน และระบบของโครงสร้างหลังคาจะถูกสร้างจากการใช้คานรัดที่วางทะลุสอดผ่านเสาเพื่อเชื่อเสาทั้งหมดเข้าด้วยกันซึ่งคานนี้จะถูกวางเป็นชั้นๆลดหลั่นไปถึงยอดหลังคา

ตัวอาคารจะสร้างขึ้นจากการนำแถวของเสาในลักษณะดังกล่าว มาวางประกอบเรียงกันไปตามแนวยาว และเชื่อมต่อกันเข้าด้วยโครงรัดรอย ค้ำยัน และแปกลม ในทิศทางตามยาวของอาคาร โดยโครงสร้างระบบนี้ใช้ไม้น้อยกว่าประเภทอื่น ขนาดของเสาและคานรัดนี้จะขึ้นอยู่กับความลึกของอาคาร อาคารที่มีความลึกมากจะต้องใช้เสาในแถวมากและจะส่งผลถึงความสูงของอาคารและจำนวนชั้นของคานรัดเพิ่มขึ้นด้วย ระบบโครงสร้างนี้จะนิยมใช้กับอาคารทั่วไปของในบริเวณพื้นที่ทางใต้ของจีน และอาจพบในอาคารขนาดใหญ่ทางใต้บางแห่ง อาทิแถบเจียงหนาน หรือตามบ้านเรือนของชนกลุ่มน้อยในยูนาน และเสฉวน




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 21:41

ทั้งนี้ในแถบกวางตุ้งจะมีโครงสร้างคานลักษณะพิเศษ คือ นิยมนำแบบคานลดระดับและคานแบบสอดรัดมาผสมผสานกัน นอกจากแบบนี้ที่เห็นได้คือโครงสร้างแบบคานลดระดับ อิทธิพลดังกล่าวเข้าไปสู่บริเวณฮกเกี้ยนด้วย โครงหลังคาเป็นแบบโครงสร้างยกขื่อ โครงสร้างแบบนี้จะประกอบด้วยเสารับขื่อที่จะตั้งรับอกไก่และแป ส่วนใหญ่จะซ้อนขื่อสามชั้น
คานที่เราเห็นในประเทศไทยโดยมากเป็นคานในตระกูลดังกล่าว

ภาพที่ข้าพเจ้านำมาเสนอต่อไปนี้ขอท่านตัดสินใจเองว่าจะอยู่ในเกณฑ์ใด แต่ว่าบางท่านอธิบายว่าเป็นแบบคานยกระดับ บางท่านอธิบายว่าเป็นคานแบบผสม

นี้คือโครงสร้างหลังคาในตระกูลหมินหนาน





บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 21:43

ภาพตัวอย่างจากบ้านโซว่เฮงไท่ ตลาดน้อย เยาวราช จากคุณ virain ในเรือนไทย


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 00:32

ชอบอันที่เป็นหัวช้างครับ คุณ han bing
จำได้ว่าตอนแปลบทความภาษาอังกฤษ
คลับคล้ายคลับคลาว่าช้างในจีนจะสูญพันธุ์ไปตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว

แต่ก็จำได้อีกเหมือนกัน ว่าสมัยพระจักรพรรดิเฉียนหลง
ที่เสด็จไปตีธิเบต ทรงนำเอาวัฒนธรรมธิเบตหลายๆอย่างที่สืบทอดมาจากอินเดียมาใช้
อย่างหนึ่ง คือ การทรงฉลองพระองค์อย่างพระโพธิสัตว์ ที่ต้องทรงหนังช้าง
(เท่าที่ผมเห็นมา ของพระจักรพรรดิเป็นผ้าปักลายหนังช้างแทน)

พอมาเห็นทวยรูปหัวช้างที่คุณ han bing เอามาให้ชมกัน
เลยเกิดสังสัยต่อว่าจีนนำช้างเข้าจากต่างประเทศไปใช้งานไหมครับ
ถ้าไม่นำ เส้นทางการค้าช้างของไทยจะเป็นอย่างไรหนอ?
สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ถึงได้ทรงมีพระราชดำริจะส่งช้างไปอเมริกาได้
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 07:46

เรียนคุณติบอ

ผมไม่ได้เคยยินว่าสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จไปยังธิเบต พระองค์เคยเสด็จมาทางใต้ของจีนแถบเจียงหนานเท่านั้น โดยเสด็จมา ๖ ครั้ง

คิดว่าคงเกิดการเข้าใจผิด แต่เป็นเรื่องจริงที่พระองค์มีส่วนในการแก้ไขความสงบในธิเบต

สวัสดี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 09:41

ส่งภาพเข้าร่วมด้วยครับ ภาพนี้ถ่ายไว้ที่วัดลามะ หรือวัดองค์ชาย 4 ที่ประเทศจีน เป็นวัดที่สวยงามมากครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 09:44

เห็นภาพเขียนอยู่บริเวณทางเข้าห้องหลังหนึ่ง ภายในพระทิเบตกำลังสวดมนต์อยู่ เห็นภาพนี้งามนักเลยนำมาให้ชมกัน เป็นภาพลิง และช้างและพระสงฆ์ สัตว์ (ช้างและลิง) อันเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติทั้งสิ้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 10:03

เพิ่มเติมข้อมูลเล็กน้อยครับว่า การวางไม้เล็กค้ำ "โต่วกง" ช่วยกระจายน้ำหนักจากคานลงสู่ต้นเสา ซึ่งเป็นหลักการทางวิศกรรมตอนนี้คือ ให้คานส่งแรงไปที่เสา และเสาลงสู่เสาเข็ม และลงไปที่ดิน แต่สำหรับสถาปัตยกรรมไทยนั้นจะผ่อนแรงโดยใช้ผนังรับน้ำหนักแทน

ต้นเสาหลักของโครงสร้างคือ "เสามังกร" ซึ่งประกอบด้วยต้นเสา 4 ต้น และรองรับด้วยเสารองซึ่งก็คือ เสาภายใน และเสาชายคา ครั้นแล้วโครงสร้างหลังคามักจะใช้ไม้ท่อนโตยกขึ้นไปเป็นขื่อ เป็นจันทัน และรองรับด้วยกระเบื้องดินเผา ซึ่งรวมแล้วมีน้ำหนักมาก แน่นอนว่าน้ำหนักกดทับลงมายังต้นเสานั้นมีแรงกดสูง แต่ช่างก็แก้ปัญหาด้วยการสร้าง "โต่วกง" หรือ "กระเช้ารับชายคา" เพื่อรับและส่ง ผ่อนแรงลงสู่ต้นเสา (เสมือนสร้างโช๊คอัพรถปิคอัพไว้รองรับน้ำหนัก)

อิทธิพลการใช้โต่วกง ยังส่งอิทธิพลไปยังสถาปัตยกรรมเกาหลี, ญี่ปุ่น และทิเบต


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 10:10

เราจะเห็นโต่วกงได้เยอะ ๆ ก็บริเวณใต้หลังคา (เคยเห็นหลังคาวัดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น มีโต่วกงเยอะ ๆ มาก ๆ ซ้อนกันอยู่หลายชั้น) ภาพนี้ถ่ายไว้ที่พิพิธภัณฑ์หอบวงสรวงฟ้าดิน จะเห็นลักษณะโครงสร้างของอาคารดั้งกล่าว ซึ่งช่วยให้เห็นภาพการใช้งานของโต่วกง ถ่ายน้ำหนักของหลังคาลงคาน และจากคานถ่ายน้ำหนักลงต้นเสาได้อย่างชัดเจน (ยิ่งใกล้หลังคา - คาน ยิ่งมีโต่วกงหนาแน่น)


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 15:50

กลับไปค้นเอกสารเล่อ่านเรียบร้อย...
ผมจำสลับอย่างคุณ han_bing ว่าไว้จริงๆ
ขอบคุณมากๆครับผม.... อายุเยอะขึ้น สมองน้อยลงครับ 555+
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 16:17

โครงสร้างหลังคาของท้องพระโรง ไท้เหอเทียน


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง