เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 31953 รบกวนถามเรื่องการให้สัญญาณของตำแหน่งกลางช้างหน่อยครับ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 20:29

สัปคับไว้สำหรับขนของ ถักด้วยหวายครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 20:55

อ้างถึง
ย้อนมาถึงภาพช้างศึก    โดยความเห็นส่วนตัว    คิดว่าช้างออกศึกกับช้างเข้าขบวนแห่ในพระราชพิธี ใช้สัปคับไม่เหมือนกัน     
ช้างศึกต้องการความคล่องตัวสนามรบ    สมควรแบกน้ำหนักไว้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงจะได้เปรียบ   เพราะคนสามคนบนหลังช้าง น้ำหนักรวมกันอย่างน้อยที่สุดก็ 150 ก.ก. เข้าไปแล้ว     ยังไม่รวมอาวุธหนักซึ่งแต่ละอย่างก็หนักหลายกิโลกันทั้งนั้น   อาจจะแบกแล้วรวม 200 ก.ก.  น้ำหนักอะไรที่เพิ่มเข้ามาโดยไม่จำเป็นจึงทำให้ช้างอุ้ยอ้ายเสียเปรียบฝ่ายตรงข้ามง่าย
ดังนั้น  สัปคับที่มีจะต้องมีน้ำหนักเบา และเตี้ย เพื่อคนนั่งจะได้ไม่โงนเงน   หากชนช้างกับศัตรู  ช้างงัดกันขาหน้าลอยขึ้นมา สัปคับขนาดสูงก็จะเทกระจาดทั้งนายกลางช้าง แพนหางนกยูง และอาวุธสารพัดชนิดลงไปบนพื้นดินโดยง่าย   สัปคับบนหลังช้างศึกจึงไม่ควรเป็นไม้ปิดทองล่องชาดขนาดหนัก  ปักฉัตรเก้าชั้นบวกน้ำหนักเพิ่มเข้าไปอีกโดยไม่จำเป็น 
บางทีสัปคับอาจใช้วัสดุเบา ทำง่ายๆเช่นหวายสานเรียบๆ  ผูกติดหลังช้าง  เลยไม่เหลือรอดมาให้เห็น เพราะยุทธหัตถีก็จบลงตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร   มาถึงปลายอยุธยา  ตอนอลองพญาเข้ามา  ไทยก็ยิงเอาๆจากกำแพงเมือง  ไม่ออกไปสู้บนหลังช้างกันตัวต่อตัวอยู่แล้ว

แต่ถ้าเสด็จประพาสที่ไหนในยามสงบ  หรือในพระราชพิธี  สัปคับหรูหราอลังการก็ย่อมเป็นเรื่องสมพระเกียรติ    ถูกต้องตามกาลเทศะค่ะ
จึงคิดว่าสัปคับที่สร้างกันให้เห็นในสมัยรัตนโกสินทร์    น่าจะเป็นสัปคับยามสงบ มากกว่าสัปคับยามศึก ค่ะ

ขออนุญาต ผมอยากจะขออภิปรายต่อในเรื่องนี้หน่อยน่ะครับ

สมัยโบราณแถวอุษาคเนย์ ยามกษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพนำออกรบ พระองค์มักจะทรงช้างมากกว่าราชรถ เพราะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ช้างย่อมลุยไปได้ทุกที่ การเดินทัพแต่ละครั้งมิใช่ไปกันวันสองวันก็ถึง แต่อาจกินเวลาเป็นเดือนๆ

ช้างทรงขององค์จอมทัพที่จะนำไป ย่อมไม่ใช่ช้างเดียวหากจะไปกันเป็นโขลง แต่ละช้างอาจถูกฝึกกับการผูกเครื่องหลังไม่เหมือนกัน แล้วแต่ช่วงไหนจะทรงโปรดอย่างไร เช่น ตอนแห่ทัพออกจากพระนคร อาจตั้งสัปคับปักฉัตร หรือมีคนถือพร้อมบังสูรย์บังแทรก แต่เมื่อแปรขบวนใหม่เพื่อเดินทางไกล อาจเปลี่ยนไปทรงแบบกูบ เพราะไม่ทราบจะประทับตากแดดไปทั้งวันทำไม พอเดินทัพถึงที่หมายเห็นตัวข้าศึกแล้ว ตั้งค่ายไว้ก่อนรอปะทะ ได้ฤกษ์วันใด ก็เสด็จประทับช้างทรงซึ่งเป็นช้างศึกที่ฝึกหัดไว้เฉพาะกิจ อาจจะมีสัปคับเบาๆพร้อมเครื่องสูงก็ได้ถ้าทรงเล็งผลทางด้านกำลังใจของทหาร หรือต้องการข่มขวัญศัตรูหากเห็นกษัตริย์เสด็จออกรบด้วยพระองค์เอง แต่ถ้าทรงคาดว่าอาจจะมีการรบบนหลังช้างแบบยุทธหัตถี ผมไม่คิดว่าพระองค์จะทรงช้างที่มีสัปคับอันเป็นภาระให้เสียเปรียบราชศัตรู  น่าจะทรงรีบเปลี่ยนช้างที่บนหลังช้างจะมีแค่คนที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น

รูปสลักหินการรบกันบนหลังช้างที่เรียกว่ายุทธหัตถีที่นครวัตนี้เป็นเครื่องยืนยัน  และผมก็ไม่เคยเห็นภาพอื่นไม่ว่าของชาติไหน ที่เป็นภาพการชนช้าง มีผู้กล้านั่งอยู่บนคอช้างพยายามใช้อาวุธยาวฟาดฟันสังหารกัน แต่มีผูกเครื่องสัปคับปักเครื่องอิสริยยศทั้งหลายบนตัวช้าง (นอกจากจะเป็นภาพช้างศึกที่ตลุยสมรภูมิโดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตั้งใจจะชนช้างกัน) คงมีแตภาพพระนเรศวรชนช้างของไทย ที่ทำขึ้นในสมัยหลังจากเหตุการณ์ผ่านพ้นไปนับเป็นร้อยปีแล้วเท่านั้น




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 21:01

ภาพพระนเรศวรชนช้างภาพนี้ น่าจะใกล้ความจริงที่สุด เสียอย่างเดียวที่มิได้ดูยิ่งใหญ่อลังการ์เหมือนแบบที่ผูกเครื่องสัปคับ มีกลางช้างนั่งโบกสัญญาณหางนกยูง ซึ่งในนาทีแห่งความเป็นความตายนั้น จะโบกไปหาพระแสงองค์ไหน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 21:06

ภาพกษัตริย์ประทับบนหลังช้างทรง บนพระราชอาสน์สัปคับพร้อมศาตราวุธเครื่องอิสริยยศภาพนี้เป็นภาพที่มีเหตุผล เพราะเป็นภาพที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเสด็จนิวัติพระนคร เพื่อปราบดาภิเษก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 21:14

มาชมขบวนพยุหยาตราโดยสถลมารคในสมัยต้นรัตนโกสินทร์กัน ภาพนี้อยู่ในอุโบสถวัดพระแก้ว ผมถ่ายมาจากหนังสือ"ช้างราชพาหนะ" ต้นฉบับเองก็ไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ เอาเป็นดูพอเข้าใจก็แล้วกัน

ในภาพเป็นขบวนช้างครับ น่าทึ่งในกองทัพช้างสมัยนั้นดีไหม ไม่ทราบว่ามีประจำการทั้งสิ้นกี่ร้อยเชือก ดูไปแบบผ่านๆก่อนนะครับ




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 21:27

ถึงแม้ช้างศึกแทบจะทุกเชือกจะมีสัปคับ หรือกูบผูกติดหลัง แต่นั่นมันก็เหมือนเครื่องแบบเต็มยศของทหาร แต่เวลารบจริงก็อีกเรื่อง

ทหารราบเมื่อแต่งเครื่องแบบสนามก็จะสพายเป้หลังบรรจุของกินของใช้สารพัด แต่เวลาอยู่แนวหน้าติดดาบปลายปืนเตรียมประจันบาน ทุกคนปลดเป้ออกหมดให้ตัวเบา เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องเอาชีวิตให้รอด

ฉันใดก็ฉันนั้น

พอดีมีภาพช้างสำคัญในขบวนที่ไม่ได้ผูกเครื่องหลัง มีช้างอื่นเดินขนาบด้วย ทำให้ผมเห็นภาพว่า ช้างที่ใช้สำหรับทำยุทธหัตถีคงเป็นลักษณะนี้แหละครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 22:40

อ้างถึง
ผมไม่คิดว่าพระองค์จะทรงช้างที่มีสัปคับอันเป็นภาระให้เสียเปรียบราชศัตรู  น่าจะทรงรีบเปลี่ยนช้างที่บนหลังช้างจะมีแค่คนที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น
ถ้าไม่มีสัปคับ. นายกลางช้างจะต้องนั่งยังไงถึงทรงตัวอยู่ได้บนหลังช้าง โดนที่มือไม่มีที่ยึดเพราะต้องถือแพนหางนกยูงไว้โบกสัญญาณ.  น่าจะทรงตัวยากนะคะ หลังช้างมันกว้างเกินกว่าจะหนีบได้ทะมัดทะแมงอย่างคอช้างหรือท้ายช้าง
นอกจากนี้. เมื่อไม่มีสัปคับ. ก็ไม่มีที่เสียบอาวุธ.   นายกลางช้างจะหนีบอาวุธด้ามยาวด้วย. โบกสัญญาณไปด้วย  แกคงต้องมีสักสี่มืออย่างน้อย

หรือ...
ยุทธหัตถี ใช้อาวุธอย่างเดียวคือของ้าว. ไม่มีการเปลี่ยนอาวุธ.     นายกลางช้างถือสัญญานไว้โบกอย่างเดียว. ต้องฝึกทรงตัวเก่งๆไว้ไม่ให้กลิ้งตกจากกลางหลังช้างเท่านั้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 07:27

การทำการรบบนหลังช้างที่เรียกว่ายุทธหัตถีนั้น ถ้าไม่ใช่จะมีแค่ผู้นั่งเหนือคอช้างที่ทำการรบเพียงคนเดียวก็อาจจะมีควาญนั่งหลังเท่านั้น แต่กลางช้างนั้น ในนาทีนั้นไม่จำเป็นครับ

อ้างอิงภาพแกะสลักของขอมและความเห็นของสมเด็จฯกรมพระยานริศฯ

อาวุธอันจะพึงใช้ในการรบซึ่งจะนำไปบนหลังช้างจะเตรียมทำที่สอดใส่ไปอย่างไรก็ได้ ในตำราเพชรพวงก็มี สั่งชาวแสงให้เชิญพระแสงปืนพระแสงดาบไปสอดไปผูกไว้ข้างและหลังเบาะที่ประทับ (เหนือคอช้าง) นั้นเอง


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 07:30

ตำราเล่มหนึ่ง(ขออภัยที่หาไม่ทันในตอนนี้)     เล่าว่า กลางช้างนั่งเปล

(คานหามสำหรับขุนนางระดับล่าง  ก็เป็นเปล   มีคนหามสองคน  กางร่มทาขี้ผึ้ง  หนึ่งคน)

เรื่องการส่งอาวุธนั้น   น่าจะเป็นหน้าที่หลักของกลางช้าง    เช่นส่งปืนไฟเป็นต้น

จัตุลังคบาทนั้น   ต่างมีกองกำลังของตนติดตามมาอย่างใกล้ชิด  เพราะเป็นนายพระตำรวจระดับ
พระมหามนตรี   พระมหาเทพ    หลวงอินทรเทพ    และหลวงพิเรนทรเทพ
ท่านเหล่านี้เชี่ยวชาญอาวุธยาวและสั้น    และคงถืออาวุธยาวในเบื้องต้น  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 07:41

เคยเห็นรูปเปลที่ขุนนางนั่ง. ในกระทู้เก่าของเรือนไทยนี่เอง.   แต่คงไม่ใช่ชนิดเดียวกับกลางช้างนั่งบนหลังช้าง
ไม่ทราบว่า กลางช้างนั่งเปล หมายถึงระดับชั้นของกลางช้างที่ยังไม่ถึงขั้นมีสุจหนี่ขี่คานหามหรืออย่างไรคะ. หรือหมายถึงบนหลังช้างมีที่นั่งเรียกว่าเปล
ถ้าเป็นเปล ไม่ว่าเปลญวนหรือเปลไทย มันน่าจะแกว่งได้. เอาขึ้นไปบนหลังช้าง. กลางช้างคงแกว่งเหมือนกายกรรมจีน
เห็นด้วยกับคุณนวรัตนว่า.  ถ้าผู้นำทัพนั่งบนคอช้างออกบัญชาการรบแบบตะลุมบอนกัน    บนหลังช้างมีควาญท้ายอีกคนเดียวพอ
เหมือนตอนพระเจ้าตากยกทัพตีเมืองจันทบุรี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 08:43

เคยเห็นรูปเปลที่ขุนนางนั่ง. ในกระทู้เก่าของเรือนไทยนี่เอง.   แต่คงไม่ใช่ชนิดเดียวกับกลางช้างนั่งบนหลังช้าง
ไม่ทราบว่า กลางช้างนั่งเปล หมายถึงระดับชั้นของกลางช้างที่ยังไม่ถึงขั้นมีสุจหนี่ขี่คานหามหรืออย่างไรคะ. หรือหมายถึงบนหลังช้างมีที่นั่งเรียกว่าเปล
ถ้าเป็นเปล ไม่ว่าเปลญวนหรือเปลไทย มันน่าจะแกว่งได้. เอาขึ้นไปบนหลังช้าง. กลางช้างคงแกว่งเหมือนกายกรรมจีน
เห็นด้วยกับคุณนวรัตนว่า.  ถ้าผู้นำทัพนั่งบนคอช้างออกบัญชาการรบแบบตะลุมบอนกัน    บนหลังช้างมีควาญท้ายอีกคนเดียวพอ
เหมือนตอนพระเจ้าตากยกทัพตีเมืองจันทบุรี

ภาพการใช้เปลแบบญวน วาดไว้ในหนังสือจอห์น คอร์เฟริ์ด

ผมยังสงสัยว่า เปลหลังช้าง ผู้นั่งคงจะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะไม่มากก็น้อย  ฮืม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 09:12

เปลคงอยู่บนหลังช้างไม่ได้   เพราะนั่งเฉยๆบนหลังช้าง ไม่ต้องมีเปล ก็โยกเยกพอกับเปลอยู่แล้ว
ถ้าจะผูกกันให้ได้จริงๆ  เห็นมีแต่ใต้ท้องช้างที่พอจะแกว่งไกวได้   ยิ้มเท่ห์
แต่ถ้ายังงั้น นายกลางช้าง คงเป็น นายท้องช้าง  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์

ดิฉันเข้าใจว่าหนังสือที่คุณวันดีอ่าน คงหมายความถึงแสดงระดับฐานะขุนนางของนายกลางช้าง ว่าระดับนั่งเปล   คือต่ำกว่านั่งคานหาม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 09:21

ให้คุณ Wandee ดูภาพนี้เขียนในสมัยอยุธยา หน้ากูบ...ผู้หญิงก็บังคับช้างได้เหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม

แหม  ได้อ่านข้อความนี้แล้วนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง 
อ่านกี่ครั้งก็นึกนิยมชทชอบอารมณ์ขันของท่านผู้แต่ง ยิงฟันยิ้ม

"แล้วคุณพระก็ยังเป็นช้างต่อไป ไอ้ผมก็เป็นควาญช้างต่อไป แต่วันนี้มีวีรสตรีเกิดขึ้นอีกคนหนึ่ง... เฮ้อ! ผู้หญิงจะถือเอาเรื่องวันนี้เบ่งกันไปอีกกี่ร้อยปีก็ไม่รู้ซี"

 ยิ้มกว้างๆ

มีแต่ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชเท่านั้นที่จะคิดและเขียนเรื่องนี้ได้     เป็นคนอื่นเขียนคงหัวขาดตามกฎมนเทียรบาล
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 09:29

ฝรั่งที่เห็น  นำความไปเล่าให้ฝรั่งอาร์ติสที่วาดรูปประกอบ   เล่าก็ตกหล่นไปบ้าง
ที่จะพาช่างวาดไปด้วยเหมือนเมื่อไปขุดสุสานอียิปต์นั้น  น้อย  เนื่องจากผู้อุปการะหรือสปอนเซอร์ยังไม่รู้จักบ้านเมืองเราเท่าไร
(ขนาดลายโมเสคกระเบื้องทางเดินก็คัดลอกมาให้โลกได้เรียนรู้วัฒนธรรมของอียิปต์)
นั่งคานหามไปเฝ้า  นั่งขวางค่ะ


ในการชนช้าง   คนกลางช้างที่ดั้งเดิมเลือกจากผู้มีความเกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์  เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
เพราะในวาระนั้นเป็นผู้อารักขาที่ใกล้ชิดที่สุด   การชำนาญเชิงอาวุธและบังคับช้าง เหนือกว่าพระตำรวจ
ซึ่งชำนาญอาวุธเท่านั้น  เพราะน้อยคนจะได้เรียนการขับขี่บังคับช้าง   ซึ่งเป็นวิชาหวงแหน

ที่นั่งของกลางช้าง  อาจจะเป็นเพียงการทักทอของหวายอย่างง่ายๆแต่มั่นคง    อาวุธทั้งหลายก็เสียบไว้รายรอบ
คนกลางช้างจะดูสถานการณ์ว่าควรเตรียมอาวุธใดไว้

การรบกลางแปลงนั้น  อันตรายมาจากทุกทิศ    

การเข้าโจมตีเมือง   อันตรายมาจากเบื้องหน้าด้านเดียว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 21:19

ครูเหม เวชกร วาดช้างออกรบไว้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง