เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 31801 รบกวนถามเรื่องการให้สัญญาณของตำแหน่งกลางช้างหน่อยครับ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 14:02

ให้คุณ Wandee ดูภาพนี้เขียนในสมัยอยุธยา หน้ากูบ...ผู้หญิงก็บังคับช้างได้เหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 15:54

ขอพาแยกเข้าซอย เรื่อง สัปคับ
สัปคับของไทย ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเองโดยคนไทยหรือไม่  ไม่ทราบค่ะ    รู้แต่ว่าที่นั่งบนหลังช้างที่เราเรียกว่าสัปคับ  อินเดียเขามีเหมือนกัน เรียกว่า howdah  ดังนั้นถ้าจะแปลสัปคับ ว่า howdah ก็ถือว่าถูกต้อง  เพียงแต่ดีไซน์กันมาคนละแบบ  อินเดียมีหลากหลายกันไป

การเดินทางด้วยช้าง จะต้องมีที่นั่งบนหลังช้างซึ่งเรียกว่า สัปคับ หรือ แหย่ง หรือ จำลอง ทางอุตรดิตถ์เรียกแปลกออกไปว่า “ขนาง” บางทีมีผู้เรียกว่า หอดา คำว่าหอดานี้ น่าจะเรียกเพี้ยนมา จากคำในภาษาอังกฤษว่า howdah จากคำภาษาฮินดีว่า howdah ซึ่งได้มาจากคำภาษาอาราบิคว่า hawdaj อีกทอดหนึ่ง มักจะหมายรวมทั้งที่นั่งและประทุน ส่วนสัปคับหรือแหย่งของไทยเรานั้น ถ้ารวมทั้งประทุนหลังช้างที่เรียกว่า กูบ หรือ กูบช้าง ให้ครบชุด โบราณเรียกว่า กั่นโถง จำลองทอง หรือ กระโจมทอง

จาก ลักษณะไทย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 16:37

คำว่า Phra Thinang Prapatthong  ที่ท่านอาจารย์ใหญ่ยกมากล่าวถึงในความเห็นที่ ๒๖  น่าจะมากภาษาไทยว่า "พระที่นั่งประพาสโถง" กระมังครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 16:42


ออไรท์  ออไรท์     นางกันทิมา  น้องสาวจาเลงกะโบก็คงขี่ช้างได้แน่  เพราะนางเป็นนักดาบ

พี่ชายเป็นแม่ทัพช้างของบุเรงนอง


        ดูจากภาพนางคนบังคับช้างคงมีคนที่ถือปฎักแทงที่ซอกหูช้างกระมัง  เพราะท่านั่งที่งอขามาด้านหลังจะใช้ปลายเท้าบังคับช้างได้อย่างไร

เท้าของนางที่ขี่ช้างนั้นคงเหมือนเท้าของนางระบำปลายเท้านั่นเอง

เมื่อออกศึก   พลายภูเขาทอง  และพลายบุญเรือง   ขึ้นระวางสพัด   ติดน้ำมันหน้าหลัง
ช้างเมื่อตกน้ำมันอารมณ์ไม่ดี  ดุร้าย   บังคับยาก
ช้างอื่นไม่อยากเข้าใกล้

การบังคับด้วยขอต้องใช้กำลังมหาศาล

ถ้าเป็นการพาช้างเดินเล่นคงเป็นไปได้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 16:46

พิจารณาจากรูปสลักเขมรใน คคห. 16 ที่คุณ Navarat.C ลงไว้ให้ดู จะเห็นว่าฉัตรเขมรโบราณนั้น มีพนักงานเชิญฉัตร และจัดชั้นยศกันโดยจำนวนฉัตร มิใช่จำนวนชั้นของฉัตรครับ

เรื่องนี้น่าสนใจ ถึงแม้ว่าเราจะยืนยันไม่ได้ว่าอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์รับแนวคิดเรื่องฉัตรนี้มาจากเขมร แต่น่าสังเกตว่าฉัตรหลายชั้นที่เป็นเครื่องยศอย่างรัตนโกสินทร์ที่เราคุ้นเคยนี้ ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการบังแดดเลย เนื่องจากฉัตรมีขนาดเล็ก, บังอยู่เหนือศีรษะพอดี และสูงขึ้นไปจากศีรษะมาก แม้แดดยามเที่ยงซึ่งเอียง 15 องศาก็ดูเหมือนจะกำบังไม่ได้ด้วยซ้ำไปครับ ดังนั้นมีความหมายในเชิงสัญญลักษณ์เป็นเพียงเครื่องยศได้อย่างเดียวเท่านั้น

ถ้าพิจารณาที่มาที่ไปของเครื่องยศแต่ละอย่างนั้น น่าจะต้องมีเหตุมาจากวัตถุประสงค์ในการใช้งานมากกว่า ซึ่งแน่นอนว่าฉัตรแบบเขมรโบราณนั้นตอบคำถามนี้ได้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 17:22

เครื่องสูงในกองทัพ สฺยำกุกฺ ที่ใช้ประดับยศผู้นำบนหลังช้างนั้น เป็นร่มใหญ่คล้ายกลด แต่หลังคาลาดตรง ไม่คุ่มมีเชิงระบายหลุบมนลงมานิดหน่อย, คันยาว ถือชูบังคนที่ยืนบนหลังช้างได้สบาย และใช้ประดับเป็นหมู่หลาย ๆ คัน



ร่มที่ว่านี้ เป็นแบบเดียวกับของพวกเขมร  สังเกตดูจากภาพสลักเขมรในที่อื่น ๆ แล้ว ได้ความว่าร่มชนิดนี้เป็นแบบฉบับของร่มยศเขมรโบราณ ยิ่งผู้นั้นมียศสูงก็ยิ่งประดับมากคัน  เช่นตัวกษัตริย์ศรีสูรยวรรมันที่ ๒ ในภาพตอนนั่งทำพิธีเคลื่อนพลอยู่บนยอดเขานั้น มีร่มที่ว่านับสิบคันทีเดียว



ข้อมูลจากหนังสือ  "ความเป็นมาของคำ สยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" โดย จิตร ภูมิศักดิ์

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 18:15

เรื่องพระคชาธารปักฉัตรนี้

สมเด็จกรมนริศ ท่านก็ทรงสงสัยยิ่งนัก ถึงขนาดสันนิษฐานว่ากระบวนช้างผูกสัปคับพระคชาธารปักฉัตรนั้นอาจจะคิดจัดทำกันขึ้นในกรุงเทพ
ก็เป็นได้ เพราะประการหนึ่งเมื่อทรงนึกถึงรูปเขียนชนช้างผูกสัปคับพระคชาธารปักฉัตร ดูเหมือนจะมีใน "หอราชกรมานุสรณ์" ที่ขรัวอินโข่ง
เขียนเป็นครั้งแรก ในรัชกาลที่ ๔ ทรงเขียนใจว่าเขียนตามพระราชพงศาวดารฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ทรงเรียบเรียงในรัชกาลที่ ๓

นั่นทำให้พระองค์ทรงขอช่วยพระยาอนุมานราชธนช่วยค้น "ตำราแห่เพชรพวง" ครั้งกรุงเก่า ว่ามีพระคชาธารปักฉัตรหรือไม่ ซึ่งเจ้าคุณอนุมาน
ตรวจดูแล้ว พบว่าไม่ปรากฏกล่าวถึงช้างผูกสัปคับพระคชาธารปักฉัตรเลย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 18:49

ให้คุณ Wandee ดูภาพนี้เขียนในสมัยอยุธยา หน้ากูบ...ผู้หญิงก็บังคับช้างได้เหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม

แหม  ได้อ่านข้อความนี้แล้วนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง  
อ่านกี่ครั้งก็นึกนิยมชมชอบอารมณ์ขันของท่านผู้แต่ง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 19:16

ให้คุณ Wandee ดูภาพนี้เขียนในสมัยอยุธยา หน้ากูบ...ผู้หญิงก็บังคับช้างได้เหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม

แหม  ได้อ่านข้อความนี้แล้วนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง 
อ่านกี่ครั้งก็นึกนิยมชทชอบอารมณ์ขันของท่านผู้แต่ง ยิงฟันยิ้ม

"แล้วคุณพระก็ยังเป็นช้างต่อไป ไอ้ผมก็เป็นควาญช้างต่อไป แต่วันนี้มีวีรสตรีเกิดขึ้นอีกคนหนึ่ง... เฮ้อ! ผู้หญิงจะถือเอาเรื่องวันนี้เบ่งกันไปอีกกี่ร้อยปีก็ไม่รู้ซี"

 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 19:32



"แล้วคุณพระก็ยังเป็นช้างต่อไป ไอ้ผมก็เป็นควาญช้างต่อไป แต่วันนี้มีวีรสตรีเกิดขึ้นอีกคนหนึ่ง... เฮ้อ! ผู้หญิงจะถือเอาเรื่องวันนี้เบ่งกันไปอีกกี่ร้อยปีก็ไม่รู้ซี"

 ยิ้มกว้างๆ

แน่ะ  มีคนรู้ทันด้วย  น่าจะให้เอาตัวไปลงตะพุ่นหญ้านก เอ๊ย หญ้าช้างเสียให้เข็ด ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 19:43

ให้คุณ Wandee ดูภาพนี้เขียนในสมัยอยุธยา หน้ากูบ...ผู้หญิงก็บังคับช้างได้เหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม

แหม  ได้อ่านข้อความนี้แล้วนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง 
อ่านกี่ครั้งก็นึกนิยมชทชอบอารมณ์ขันของท่านผู้แต่ง ยิงฟันยิ้ม

"แล้วคุณพระก็ยังเป็นช้างต่อไป ไอ้ผมก็เป็นควาญช้างต่อไป แต่วันนี้มีวีรสตรีเกิดขึ้นอีกคนหนึ่ง... เฮ้อ! ผู้หญิงจะถือเอาเรื่องวันนี้เบ่งกันไปอีกกี่ร้อยปีก็ไม่รู้ซี"

 ยิ้มกว้างๆ

คุณอาร์ทต้องสั่งผ้าผืนเหมาทั้งสำเพ็งหรือไม่  ตกใจ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 19:45

เครื่องสูงในกองทัพ สฺยำกุกฺ ที่ใช้ประดับยศผู้นำบนหลังช้างนั้น เป็นร่มใหญ่คล้ายกลด แต่หลังคาลาดตรง ไม่คุ่มมีเชิงระบายหลุบมนลงมานิดหน่อย, คันยาว ถือชูบังคนที่ยืนบนหลังช้างได้สบาย และใช้ประดับเป็นหมู่หลาย ๆ คัน


จิวต้ากวนชาวจีนผู้บรรยายสภาพบรรยากาศแห่งนครวัดว่า "..ขบวนนั้นยาวเหยียด เมื่อผ่านขบวนของเหล่านางในแล้วก็ตามด้วยฉัตรสีทองเป็นร้อยคัน แล้วจึงตามด้วยช้างทรงขององค์ชัยวรมัน"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 19:51

พิจารณาจากรูปสลักเขมรใน คคห. 16 ที่คุณ Navarat.C ลงไว้ให้ดู จะเห็นว่าฉัตรเขมรโบราณนั้น มีพนักงานเชิญฉัตร และจัดชั้นยศกันโดยจำนวนฉัตร มิใช่จำนวนชั้นของฉัตรครับ

เรื่องนี้น่าสนใจ ถึงแม้ว่าเราจะยืนยันไม่ได้ว่าอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์รับแนวคิดเรื่องฉัตรนี้มาจากเขมร แต่น่าสังเกตว่าฉัตรหลายชั้นที่เป็นเครื่องยศอย่างรัตนโกสินทร์ที่เราคุ้นเคยนี้ ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการบังแดดเลย เนื่องจากฉัตรมีขนาดเล็ก, บังอยู่เหนือศีรษะพอดี และสูงขึ้นไปจากศีรษะมาก แม้แดดยามเที่ยงซึ่งเอียง 15 องศาก็ดูเหมือนจะกำบังไม่ได้ด้วยซ้ำไปครับ ดังนั้นมีความหมายในเชิงสัญญลักษณ์เป็นเพียงเครื่องยศได้อย่างเดียวเท่านั้น

ถ้าพิจารณาที่มาที่ไปของเครื่องยศแต่ละอย่างนั้น น่าจะต้องมีเหตุมาจากวัตถุประสงค์ในการใช้งานมากกว่า ซึ่งแน่นอนว่าฉัตรแบบเขมรโบราณนั้นตอบคำถามนี้ได้ครับ


สาส์นสมเด็จ อธิบายเรื่องฉัตรดังนี้
ฉัตร มาจากภาษาสันสฤต แปลว่า "ร่ม" เกิดจากใบบัวที่ถือบังศีรษะ ต่อเมื่อมีร่มก็ใช้แทนสัญลักษณ์เครื่องยศกษัตริย์ตามอย่างอินเดีย และกันกันทั่วเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ฉัตรของไทยมี ๖ อย่าง คือ ฉัตรชั้นเดียว ๒ ชั้น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น

การนิยมว่า ฉัตรเป็นของตนเอง ๑ ชั้น ส่วนชั้นที่เหนือกว่านั้นเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะเหนือทิศอื่น ๆ ฉัตรชั้นเดียวเรียกว่า "พระกลด" มีการระบายที่ขอบบ่งบรรดาศักดิ์"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 20:21

สาส์นสมเด็จ อธิบายเรื่องฉัตรดังนี้
ฉัตร มาจากภาษาสันสฤต แปลว่า "ร่ม" เกิดจากใบบัวที่ถือบังศีรษะ ต่อเมื่อมีร่มก็ใช้แทนสัญลักษณ์เครื่องยศกษัตริย์ตามอย่างอินเดีย และกันกันทั่วเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ฉัตรของไทยมี ๖ อย่าง คือ ฉัตรชั้นเดียว ๒ ชั้น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น

ฉัตร छत्र ในภาษาสันสกฤตแปลได้ ๒ อย่างคือ ร่ม และ เห็ด

มีลักษณะเหมือนกันเลย

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 20:27

^
ขอบคุณครับ

ให้ภาพกูบงาม ๆ อย่างทางเวียงจันทน์ กูบทำหลังคาจั่ว ประดับม่าน นั่งแล้วคงสบายมิน้อย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.096 วินาที กับ 20 คำสั่ง