เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 31994 รบกวนถามเรื่องการให้สัญญาณของตำแหน่งกลางช้างหน่อยครับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 10:51

ขอพาแยกเข้าซอย เรื่อง สัปคับ
สัปคับของไทย ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเองโดยคนไทยหรือไม่  ไม่ทราบค่ะ    รู้แต่ว่าที่นั่งบนหลังช้างที่เราเรียกว่าสัปคับ  อินเดียเขามีเหมือนกัน เรียกว่า howdah  ดังนั้นถ้าจะแปลสัปคับ ว่า howdah ก็ถือว่าถูกต้อง  เพียงแต่ดีไซน์กันมาคนละแบบ  อินเดียมีหลากหลายกันไป
ในอดีต  อินเดียมีช้างมากมาย  การเดินทางเข้าป่า หรือล่าสัตว์เช่นล่าเสือซึ่งเป็นกีฬาขึ้นหน้าขึ้นตามาจนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒  ก็ใช้ช้างเป็นพาหนะ  บรรดามหาราชาหรือเศรษฐีนักกีฬาล่าสัตว์ทั้งหลายก็พากันนั่งสัปคับกันไป
รูปนี้เป็นสัปคับกว้างขวางพอจะนั่งและยืนได้     ในรูปคือพระเจ้าจอร์ชที่ ๕ แห่งอังกฤษเมื่อเสด็จล่าสัตว์ในอินเดีย    สัปคับที่เห็นมี ๒ ชั้น ชั้นล่างดูเหมือนเป็นฟูกรองนั่ง  แล้วมีคอกสี่เหลี่ยมทำด้วยเสื่อ(หรืออะไรสักอย่างคล้ายเสื่อ) กั้นไว้ ให้พระเจ้าจอร์ชและผู้ติดตามยืนเพื่อประทับปืนเล็งยิงเสือได้สะดวก    เวลาไม่เจอเสือก็คงลงนั่งพักบนฟูก ระหว่างช้างเดินโยกเยกไปในป่า   
ส่วนการบังคับช้างขึ้นอยู่กับควาญช้างบนคอช้าง    คนที่อยู่บนหลังช้างไม่ต้องยุ่งกับเรื่องนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 11:11

สัปคับสามารถพบได้จากผนังสลักหินของนครวัตครับ

เวลามีพยุหยาตรา กษัตริย์จะประทับบนสัปคับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 11:28

จากภาพสลักหิน สัปคับมีมานานแล้วตั้งแต่สมัยขอม     ถ้าพูดอย่างกำปั้นทุบดิน  เมื่อมนุษย์เอาช้างมาใช้เป็นพาหนะได้สำเร็จ  ก็คงพัฒนาการนั่งบนหลังช้างให้สบายขึ้นมากกว่าขี่คร่อมบนขนแข็งๆของช้าง   เพราะการเดินทางต้องใช้เวลานานมาก  บางทีเช้าจนกลางคืนไม่ได้หยุด     ที่นั่งบนหลังช้างจึงเกิดขึ้นมารองรับการนั่ง
รูปนี้เป็นภาพสลักหินของอินเดีย บรรยายว่ามีสัปคับบนหลังช้างเหมือนกัน แต่ดิฉันดูไม่ออกว่ารูปร่างเป็นยังไง อยู่ตรงไหน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 11:30

ขอโทษ  ค.ห.นี้น่าจะอยู่ต่อจากภาพพระเจ้าจอร์ช  นี่คือสัปคับที่ประทับของพระเจ้าจอร์ช ถ่ายจากด้านหน้า 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 11:38

ขอนำสัปคับที่ดิฉันเองจัดเข้ากลุ่มไว้เป็น ๒ กลุ่มมาให้ดูกัน     กลุ่มแรก คือสัปคับแบบเรียบง่าย  ใช้ประโยชน์ในการเข้าป่าล่าสัตว์ หรือเดินทางทุรกันดาร
สังเกตว่าที่นั่งบนหลังช้างจะออกแบบง่ายๆ และมีน้ำหนักเบา  เพื่อสะดวกแก่ช้างในการแบกน้ำหนัก    มุ่งประโยชน์ใช้สอยคือให้คนนั่งได้สะดวก ดีกว่านั่งกางขาคร่อมบนหลังช้าง เพราะอาจตกช้างลงไปได้ง่ายๆ ถ้าช้างตะลุยป่า  หรือเจอเสือโจนเข้าใส่ต้องสู้กันอย่างในรูป


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 11:42

ส่วนรูปกลุ่มนี้คือสัปคับตกแต่งอลังการงานสร้าง   สำหรับช้างทรงมหาราชาหรือวีไอพีของอินเดีย    ใช้ในพิธี  หรือเดินทางระหว่างเมือง หรือไปไหนสักแห่งที่ไม่ลำบากลำบน    คงจะมีขบวนแห่ตามมาด้วย
ที่นั่งบนหลังช้างจึงตกแต่งหรูหรา  อำนวยความสะดวกสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้     ช้างในพิธีแต่งงานของวาสิฏฐีกับสาตาเคียร ลูกชายปุโรหิตใหญ่แห่งโกสัมพี ก็คงจะอลังการแบบนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 12:01


ย้อนมาถึงภาพช้างศึก    โดยความเห็นส่วนตัว    คิดว่าช้างออกศึกกับช้างเข้าขบวนแห่ในพระราชพิธี ใช้สัปคับไม่เหมือนกัน    
ช้างศึกต้องการความคล่องตัวสนามรบ    สมควรแบกน้ำหนักไว้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงจะได้เปรียบ   เพราะคนสามคนบนหลังช้าง น้ำหนักรวมกันอย่างน้อยที่สุดก็ 150 ก.ก. เข้าไปแล้ว     ยังไม่รวมอาวุธหนักซึ่งแต่ละอย่างก็หนักหลายกิโลกันทั้งนั้น   อาจจะแบกแล้วรวม 200 ก.ก.  น้ำหนักอะไรที่เพิ่มเข้ามาโดยไม่จำเป็นจึงทำให้ช้างอุ้ยอ้ายเสียเปรียบฝ่ายตรงข้ามง่าย
ดังนั้น  สัปคับที่มีจะต้องมีน้ำหนักเบา และเตี้ย เพื่อคนนั่งจะได้ไม่โงนเงน   หากชนช้างกับศัตรู  ช้างงัดกันขาหน้าลอยขึ้นมา สัปคับขนาดสูงก็จะเทกระจาดทั้งนายกลางช้าง แพนหางนกยูง และอาวุธสารพัดชนิดลงไปบนพื้นดินโดยง่าย   สัปคับบนหลังช้างศึกจึงไม่ควรเป็นไม้ปิดทองล่องชาดขนาดหนัก  ปักฉัตรเก้าชั้นบวกน้ำหนักเพิ่มเข้าไปอีกโดยไม่จำเป็น  
บางทีสัปคับอาจใช้วัสดุเบา ทำง่ายๆเช่นหวายสานเรียบๆ  ผูกติดหลังช้าง  เลยไม่เหลือรอดมาให้เห็น เพราะยุทธหัตถีก็จบลงตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร   มาถึงปลายอยุธยา  ตอนอลองพญาเข้ามา  ไทยก็ยิงเอาๆจากกำแพงเมือง  ไม่ออกไปสู้บนหลังช้างกันตัวต่อตัวอยู่แล้ว

แต่ถ้าเสด็จประพาสที่ไหนในยามสงบ  หรือในพระราชพิธี  สัปคับหรูหราอลังการก็ย่อมเป็นเรื่องสมพระเกียรติ    ถูกต้องตามกาลเทศะค่ะ
จึงคิดว่าสัปคับที่สร้างกันให้เห็นในสมัยรัตนโกสินทร์    น่าจะเป็นสัปคับยามสงบ มากกว่าสัปคับยามศึก ค่ะ
 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 12:25

เอาสัปคับ + หลังคา เราเรียกว่า "กูบ"

นี่เป็นกูบของเจ้านายทางเหนือ วัตถุชิ้นนี้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์พระราชวังฟองแตงโบ ประเทศฝรั่งเศส จัดแสดงโชว์ราชพาหนะตั้งแต่ยุคอียิปต์ กรีก และทั่วโลก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 12:29

ภาพลายเส้นจากหนังสือเก่า ตีพิมพ์ ค.ศ. 1894 กูบในภาคกลางจะมีหน้าต่าง 4 ด้าน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 12:31

มาดูสัปคับที่ฝั่งกัมพูชา กรุงพนมเปญกันบ้าง ลักษณะจะดูหนากว่าของไทย ติดธงไว้สองข้างด้านท้าย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 12:35

กูบอันนี้เก๋ไม่น้อย เปิดหน้า-หลัง ทำด้วยไม้ไผ่สาน ที่เก๋คือมีม่านด้วย  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 12:46

^
มีม่าน น่าจะเป็นกูบนางใน  ยิงฟันยิ้ม

กูบข้างล่างนี้ตั้งโชว์อยู่ในพระราชวังแวซายล์  อธิบายว่าชื่อPhra Thinang Prapatthong  (พระที่นั่งประพัฒน์ทอง - ประพาสทอง ฮืม) ของเจ้าอินทวโรรส สุริยวงศ์  มาจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในกรุงเทพ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 13:43

ช้างศึกที่ทำด้วยกระดาษโครงเหล็กงามที่สุด ซุ้มรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จนิวัติพระนครเมื่อเสด็จกลับจากเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 13:47

ขบวนเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองเหนือในรัชกาลที่ ๗ สัปคับกว้างใหญ่มาก และขบวนช้างด้านหลังเป็นกูบ คงเป็นที่ประทับเจ้านายฝ่ายใน (พระนางเจ้ารำไพพรรณี)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 13:58

สัปคับ มอญนั่ง ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพระแก้ววังหน้า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง