เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 39 40 [41] 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227647 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 600  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 08:06

เดาว่าเป็น นิราศเมืองแกลง ของท่านสุนทรภู่ ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

ถึงยามสองล่องลำนาวาเลื่อน  พอดวงเดือนดั้นเมฆขึ้นเหลืองเหลือง 
ถึงวัดแจ้งแสงจันทร์จำรัสเรือง  แลชำเลืองเหลียวหลังหลั่งน้ำตา 
เป็นห่วงหนึ่งถึงชนกที่ปกเกล้า  จะแสนเศร้าครวญคอยละห้อยหา 


สุนทรภู่น่ะใช่ครับ  แต่ไม่ใช่จากนิราศเมืองแกลง
และสิ่งก่อสร้างใกล้น้ำก็ไม่ใช่วัดด้วย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 601  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 08:52


๑.ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จางวางมหาดเล็กมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ มีทั้งหมด ๕ ข้อ อะไรบ้าง


๑. ชี้แจงผิดชอบโดยขนบธรรมเนียมแห่งราชการ  ระงับเหตุวิวาทโต้เถียง  เหตุเกี่ยงแย่งในหน้าที่
แลอรรถคดีทั่งปวงในหมู่มหาดเล้ก

๒. ตรวจตราจริตกิริยาของมหาดเล็กที่จะเข้าเฝ้าฯ ถวายงาน  ให้มีระเบียบเคล่าคล่องว่องไว
ไม่ทำตัวเกะกะ เชื่องช้า โฉดเขลา อันจะเป็นที่รำคาญพระราชหฤทัย 

๓. รวบรวมบาญชี สำมะโนครัวคนในสังกัดกรมมหาดเล็กทั้ง ๔ เวร ให้รู้ระเบียบของมหาดเล็กแต่ละคน
ประกอบด้วยข้อมูล เวรที่สังกัด  ชื่อตัว  ชื่อบิดามารดา  อายุ  วันที่ถวายตัวรับราชการ  ที่อยู่  การเลี้ยงชีพ
บำเหน็จในราชการ  ผลการปฏิบัติราชการ  การย้ายดำรงตำแหน่งหน่วยงานอื่น  การถึงแก่กรรม
ทุพพลภาพ  ลาออกจากตำแหน่งราชการ ทำให้ต้องยกบาญชีออก

๔. เอาใจใส่สืบสวนสอบสวนความประพฤติของเหล่ามหาดเล็กที่รับราชการชั้นสูง  ไม่มีลักษณะประพฤติชั่ว
ด้วยการดังนี้  เป็นนักเลงสุราประการ ๑  เป็นนักเลงบ่อนเบี้ยประการ ๑  เป็นนักเลงยาฝิ่นประการ ๑ 
เป็นโจรลักทรัพย์ประการ ๑  เป็นชู้กับภรรยาและศาลตัดสินให้แพ้คดีประการ ๑  เป็นผู้ต้องคดีล้มละลายประการ ๑
มหาดเล็กที่ลักษณะเหล่านี้  จางวางต้องนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ  เพื่อจะได้มีพระบรมราชวินิจฉัย
โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง

๕. ตักเตือนและรับรายงานมหาดเล็กที่ไปทำราชการต่างๆ  ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปปฏิบัติ
แล้วนำขึ้นกราบบังคมทูลในโอกาสอันควร  หน้าที่นี้  มีมหาดเล็กหุ้มแพรเป็นผู้ช่วยในหน้าที่นี้




บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 602  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 06:15

มีคำถามด่วนมาจากสหายซึ่งอยู่ต่างจังหวัด 
อยากทราบเรื่องอะไรสักเรื่อง  สหายบอกว่า เคยอ่าน
แต่ตอนนี้จำไม่ได้ เพราะอ่านมานานมากแล้ว
จำนึกได้เลาๆ ว่า  เป็นเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับรัชกาลที่ ๒   
ขุนนางคนหนึ่ง  คำประพันธ์  อาวุธ  สิ่งก่อสร้างริมน้ำ  และพาหนะลอยน้ำ

ท่านผู้ใดนึกออก  กรุณาตอบให้ด้วย  เผอิญช่วงผมมีภารกิจ
ต้องไปตรวจเอกสารหลายแห่ง  หวังว่าจะมีผู้มีน้ำใจมาตอบ ยิงฟันยิ้ม

สหายติดตามสอบถามผมว่า  มีใครตอบได้บ้างหรือยัง
เท่าที่ผ่านมายังไม่เข้าข่ายว่าจะถูกเลย

สหายจึงใบ้ให้อีกหน่อยว่า  รัชกาลที่ ๒  สุนทรภู่  ปืน  ป้อม  เรือ
เอ้า   ลองตอบกันนะครับ  เอาใจช่วย ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 603  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 08:06

ยังไม่มีใครมาตอบ ผมขอข้ามไปคำถามอื่น

รัชกาลที่ ๖ เคยทรงพระราชนิพนธ์ล้อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและนายกุหลาบลงในดุสิตสมิต
ถามว่า พระราชนิพนธ์ที่ว่านั้น คือ เรื่องอะไร  และมีเนื้อหาอย่างไร ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 604  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 09:31

ตำนาน ........ ไทย   



เพื่อความกระจ่าง ขออาราธนา คุณ Vee_Mee ดีกว่าครับ รับรองได้รายละเอียดครบถ้วน

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 605  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 09:55

ยังไม่มีใครมาตอบ ผมขอข้ามไปคำถามอื่น

รัชกาลที่ ๖ เคยทรงพระราชนิพนธ์ล้อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและนายกุหลาบลงในดุสิตสมิต
ถามว่า พระราชนิพนธ์ที่ว่านั้น คือ เรื่องอะไร  และมีเนื้อหาอย่างไร ยิงฟันยิ้ม
ตำนาน ........ ไทย    



เพื่อความกระจ่าง ขออาราธนา คุณ Vee_Mee ดีกว่าครับ รับรองได้รายละเอียดครบถ้วน



รอท่าน Vee_Mee อาจจะนานหน่อย....หนูดีดี วัยรุ่นใจร้อนค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
ขออนุญาตคัดลอก ที่ท่าน Vee_Mee เคยเขียนไว้ใน เรือนไทยเรานี่แหละ มาให้อ่านกันค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3361.0;wap2

ตำนานบุหรี่ไทย
พิมพ์แจกในงานศพ
หลวงจำนงนิตยภัต (อึ๊  อุคคานนท์) ฯ
------------------

คำนำ

ท่านตุ่ย  ภรรยาหลวงจำนงนิตยภัต  มาแจ้งความต่อกรรมการห่อพระตำหรับสำหรับพระบุรีว่า  พร้อมใจกับรองอำมาตย์ตรี (อึ๊ม อุคคานนท์) ผู้บุตร  จะทำการศพสนองคุณหลวงจำนงนิตยภัต (อึ๊ด  อุคคานนท์) ผู้สามี และบิดา  มีความศรัทธาจะรับพิมพ์หนังสือในหอพระตำหรับเป็นของแจกสักเรื่องหนึ่ง  ขอให้กรรมการเลือกเรื่องหนังสือให้  อยากจะให้เป็นหนังสือซึ่งเนื่องด้วยเรื่องบุหรี่  เพราะหลวงจำนงนิตยภัตเป็นผู้ชอบสูบบุหรี่อย่างชำนิชำนาญจนมีชื่อเสียงในทางนั้น  ข้าพเจ้าเห็นชอบอนุโมทนาด้วยได้คุ้นเคยชอบพอมากับหลวงจำนงนิตยภัตตั้งแต่ข้าพเจ้ามีอายุได้ครึ่งเดือน  ได้ทราบเรื่องประวัติของคุณหลวงจำนงนิตยภัตอยู่แก่ใจ  มีเรื่องราวดังจะกล่าวต่อไปนี้พอเป็นสังเขป

หลวงจำนงนิตยภัต  นามเดิมอึ๊ด  นามสกุลอุคคานนท์  เกิดเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๘๑  ตระกูลคนดง  บิดาชื่อนายโอ๊ย  มารดาชื่อก๊าว  บ้านเดิมอยู่ที่ในดงพญาไฟ  เมื่ออายุได้ ๘ ปีได้ไปเรียนหนังสืออยู่ในสำนักพระอาจารย์อินวัดคอกหมู  ตำบลสูงนอน  และอายุ ๑๔ ปีได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในสำนักพระครูประทีปแก้วเตร็จฟ้า (โคม)  วัดลิงกัด  และได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ในสำนักนั้นจนอายุครบอุปสมบทก็ได้อุปสมบท  พระครูประทีปแก้วเตร็จฟ้าเป็นอุปัชฌาย์  พระสมุห์เปิ่นเป็นกรรมวาจาจารย์  พระใบฎีกาเซี้ยวเป็นอนุสาวนาจารย์  ครั้นมื่ออุปสมบทอยู่ได้ ๒๐ พรรษาแล้ว  จึงลาสิกขาบท  แล้วเข้ามาฝากตัวอยู่กับข้าพเจ้าที่บ้าน  ข้าพเจ้าได้ใช้กวาดชลาบ้านอยู่ประมาณ ๖ เดือน  แล้วจึงได้จัดการให้เข้ารับราชการในกรมปาฐะกะถาธิการ  เมื่อครั้งข้าพเจ้ายังเป็นอธิบดีกรมนั้นอยู่   เพื่อข้าพเจ้าจะได้ไม่ต้องให้เงินเดือนเลี้ยงอีกต่อไป  ครั้นรับราชการอยู่ได้ ๑๐ ปี  นายอึ๊ดได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นขุนจำนงนิตยภัต  และต่อมาเมื่อข้าพเจ้าได้รับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดทุย  ขุนจำนงนิตยภัตก็ได้ย้ายตามข้าพเจ้าไปรับราชการในกระทรวงนั้น  ในตำแหน่งเสมียนกวาดห้องเสนาบดี  ได้ทำราชการในตำแหน่งนั้น ๕ ปี  แล้วได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเป็นหลวงในนามเดิม  และคงรับราชการในตำแหน่งนั้นต่อมาจนอายุครบ ๖๓ ปี  มีความชราทุพพลภาพ  จึงออกจากราชการรับพระราชทานเบี้ยบำนาญสืบมาจนถึงแก่กรรม  เมื่อวันที่  ๒๙  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๔๕๘  อายุได้ ๗๗ ปี

ตลอดเวลาที่รับราชการอยู่กับข้าพเจ้า  หลวงจำนงนิตยภัต  ได้แสดงตนปรากฏว่า  เป็นผู้มีความสามารถในทางสูบบุหรี่หาตัวจับได้ยาก  แต่ใช่แต่จะได้สามารถในทางนี้  ต่อเมื่อเข้ามารับราชการอยู่กับข้าพเจ้าแล้วเท่านั้นก็หามิได้  ข้าพเจ้าได้เคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า  หลวงจำนงนิตยภัตเป็นผู้ที่ชอบสูบบุหรี่มากมาตั้งแต่ยังหนุ่ม  จนได้มีชื่อเสียงเรียกกันมาแต่เมื่อยังอุปสมบทอยู่นั้นว่า  คุณอึ๊ดปล่องไฟ  การที่สูบบุหรี่จนมีชื่อเสียงเช่นนี้ที่จริงไม่ใช่ของใหม่  เพราะได้ปรากฏมาแล้วแต่โบราณว่า  นายโข่ง  มหาดเล็กในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์  เป็นผู้ที่สูบบุหรี่เก่ง  ได้เคยสูบประชันกับทหารฝรั่งเศสในสมัยนั้น  พวกทหารฝรั่งเศสนอนกลิ้งกันเป็นแถวไปจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกขุนกำแหงบุหรี่  และราชทินนามนี้เองภายหลังเลื่อนเป็นพระกำแพงบุรี  ต่อลงมาในแผ่นดินสมเด็จพระเพ็ทราชาออกขุนกำแหงบุหรี่หรือกำแพงบุรี  จึงติดอยู่ในกรมช้างต้นสืบมา

(เรื่องออกพระกำแพงบุหรี่นี้เก็บมาแสดง  เพื่อให้ท่านทั้งหลายเห็นว่า ข้าพเจ้าเชี่ยวชาญปานใดในทางพงศาวดาร)

ส่วนบุหรี่จะได้เกิดมีขึ้นในกรุงสยามเมื่อใดนั้น  ไม่ปรากฏชัด  ในหอพระตำหรับก็มีหนังสือเรื่องนี้อยู่ฉบับเดียว  แต่ที่พิมพ์คราวนี้เท่านั้น  และไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้แต่ง  แต่เทียบดูสำนวนโวหารกับหนังสืออื่นๆ ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่า  พระเจ้าเหา  หรือบางทีจะก่อนนั้นหรือภายหลังนั้นก็ได้  แต่ข้อนี้ข้าพเจ้าไม่ได้มีโอกาสปฤกษากับนาย ม.ส.ว. ยี่สุ่น  จึงกล่าวแน่นอนไม่ได้

อนึ่ง ข้าพเจ้าได้คิดไว้ว่าจะแต่งคำนำนี้ให้ยืดยาวกว่านี้อีก  แต่เสียใจที่ได้ทราบข่าวากโรงพิมพ์ว่า  กระดาษของเราเหลือน้อยเกรงจะพิมพ์ไม่พอ  จึงจำต้องระงับไว้ที ๑  แต่คงจะหาโอกาสแต่งคำนำให้ยาวยิ่งกว่านี้จงได้ในหนังสือคาวหน้าที่จะมีใครมาขอพิมพ์  เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านอย่าเสียใจเลย
ข้าพเจ้าขออนุโมทนากุศลบุญราศี  ซึ่งท่านตุ่ย  และรงอำมาตย์ตรีอึ๊ม  อุคคานนท์  ทำการปลงศพสนองคุณหลวงจำนงนิตยภัต  ผู้สามีและบิดา  และให้โอกาสแก่ข้าพเจ้าแต่งคำนำนี้  และเชื่อว่าท่านทั้งหลายที่รับหนังสือนี้ไปอ่าน  ก็คงจะอนุโมทนาอย่างเดียวกัน

(ลายเซ็นแกะไม่ทัน)
สภานายก
หอพระตำหรับสำหรับบุรี
วันที่  ๑๔  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๖๑

ตำนานบุหรี่ไทย

๏  บุหรี่ไทยท่านใช้สำหรับสูบ  สูดควันเข้าอมไว้ในปากแล้วพ่นออกมา  ช้าบ้างเร็วบ้างตามวิสัยและอัธยาศัยของบุคคลผู้สูบ  ส่วนยาที่ใช้นั้นคือยาเกาะกร่าง  หรือยาเพชรบูรณ์   มวนด้วยใบจากบ้าง,  ใบตองอ่อนบ้าง,  ใบตองแก่บ้าง,  กลีบบัวแดงบ้าง,  กลีบบัวขาวบ้าง.

๏  เมื่อจะสูบใช้จุดด้วยดุ้นแสมจากครัวไฟบ้าง  ชุดบ้าง  เหล็กไฟบ้าง  ไม้ขีดไฟบ้าง  เมื่อจุดล้วจึ่งดูดสูดควันเข้าไปในปาก  สตรีสูบบ้างก็มี  แต่ทารกสูบมักวิงเวียนอาเจียนแม่นแล.

๏  จบตำนานบุหรี่ไทยตามฉบับเดิมเพียงเท่านี้.
---------------------------------------------------------------

ตอนท้ายท่าน Vee_Mee ถามว่า สภานายกหอพระตำหรับสำหรับบุรี  และ นาย ม.ส.ว.ยี่สุ่น  นั้นหมายถึงใคร

และอาจารย์เทาชมพูได้ตอบว่า
สภานายกฯ เคยเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดทุยมาก่อน เดาว่าหมายถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ
นายม.ส.ว. ยี่สุ่น เดาว่าเป็นนายกุหลาบ   ดอกยี่สุ่นคือกุหลาบชนิดเล็ก

และท่าน Vee_Mee ได้เฉลยไว้ว่า...
วัดลิงกัด คือ วัดลิงชบ ปัจจุบันคือ วัดบวรมงคล
กระทรวงมหาดทุย คือ กระทรวงมหาดไทย
สภานายกหอพระตำหรับสำหรับบุรี คือ สภานายกหอพระสมดสำหรับพระนคร คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
นาย ม.ส.ว.ยี่สุ่น  คือ นาย ก.ศ.ร.กุหลาย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 606  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 10:15

ถูกต้องครับคุณปิยะสารณ์ ผู้ชอบจุดจุดจุด  และคุณดีดี  ผู้ใจร้อน
แต่ นาย ม.ส.ว. ยี่สุ่น  ที่หมายถึงนายกุหลาบนั้น
จริงๆ แล้ว  ยังแปลไม่ออกว่า  ม.ส.ว. ย่อมาจากคำว่าอะไร  
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 607  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 10:34

วัดลิงกัด คือ วัดลิงชบ ปัจจุบันคือ วัดบวรมงคล

คุณวีมีอาจจะพิมพ์ผิด  วัดลิงชบ คือ วัดลิงขบ

นอกจากรัชกาลที่ ๖ จะทรงล้อเลียน ก.ศ.ร. กุหลาบที่ดุสิตสมิตแล้ว ยังทรงล้อเลียนในทวีปัญญาอีกด้วย

เพื่อเป็นการคลายเครียด ขอเชิญเพื่อน ๆ แวะไปอ่านพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เรื่อง "รายงานการประชุมปาลิเมนต์สยาม" ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือทวีปัญญา ล้อเลียน ก.ศ.ร.กุหลาบ (นายเกศร์) และเทียนวรรณ (นายทวน) อย่างสนุกสนาน

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2664.msg62281;topicseen#msg62281

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 608  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 10:38

อีกไม่กี่วันจะถึงวันภาษาไทยแห่งชาติ  มีผู้สนใจภาษาไทยฝากคำถามเกี่ยวกับภาษาไทยมาถามดังนี้


ทำไมจึงเรียกเสือโคร่งว่า เสือลายพาดกลอน  
กลอน ในที่นี้หมายความว่าอะไร  กลอนแปด ? กลอนหก ? กลอนประตู ?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 609  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 11:50

กลอนเป็นองค์ประกอบของเรือนไทยภาคกลางส่วนหลังคา มีลักษณะเป็นไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๑.๕x๗.๕ เซนติเมตร วางขวางพาดอยู่กับแป ระยะห่างระหว่างกลอนกับกลอนประมาณ ๔๐ เซนติเมตร กลอนมีหลายชนิด ได้แก่

๑. กลอนสำหรับหลังคาจาก เป็นกลอนเรียบเจาะรูข้างหนึ่ง ระยะห่างของรูประมาณ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับใช้ตอกร้อยมัดกับจากติดกับแปด้วยการตอกสลับกับไม้แสม ปลายด้านบนขวาเข้าเดือยหางเหยี่ยวติดกับอกไก่ ปลายด้านล่างตอกติดกับตะพานหนู

๒. กลอนสำหรับหลังคามุงกระเบื้องเรียกว่า กลอนขอ เป็นรูปหยักบากเพื่อให้ระแนงวางทับ ระยะห่างของช่วงบากประมาณ ๑๐-๑๒ เซนติเมตร มีทั้งแบบบากทุกช่วงกับแบบบาก ๑ ช่วง เว้น ๑ ช่วงสลับกันไป

กลอนขอนี้ตอกติดกับแปโดยตะปูเหลี่ยมแบน แต่ไม่ตอกทุกช่วง ตอกเป็นจังหวะห่าง ๆ

ข้อมูลจาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๓

หากต้องการรายละเอียดมากกว่านี้คงต้องให้คุณนวรัตนช่วยเหลือ

ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 610  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 12:06

คนไทยจำแนกเสือออกเป็นหลายชนิด เช่น เสือไฟ เสือดำ เสือดาว เสือแมว เสือลายพาดกลอน ในบรรดาเสือที่เอ่ยนามมา มีเสือลายพาดกลอนที่นับว่าตัวใหญ่ที่สุด ดังนั้นจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า เสือโคร่ง

คำว่า โข่ง หรือ โคร่ง นั้นหมายถึงใหญ่ อย่างเช่น หอยโข่ง (ไม่เรียกหอยโคร่ง) ใส่เสื้อตัวโคร่ง คือสวมเสื้อใหญ่เกินพอดี น้องตัวเล็กใส่เสื้อพี่ชาย ลูกชายวัยประถมต้นแอบสวมเสื้อพ่อ เป็นต้น เช่นนี้เรียกว่าใส่เสื้อตัวโคร่ง

คำว่า กลอน มีความหมายได้หลายอย่าง เมื่อไปปรากฏร่วมกับคำว่า ลูกกลอน หมายถึง ยาที่เขาปั้นเป็นก้อน ขนาดเมล็ดนุ่นบ้าง ขนาดเมล็ดถั่วบ้าง

กลอนอีกที่หนึ่ง คือวัสดุที่เลื่อนชักขัดประตูหรือหน้าต่างเพื่อมิให้เปิดเข้ามาภายในบ้านได้ ถ้าเป็นอย่างใหญ่หน่อยก็เรียกว่า ดาน อย่างที่เรียกว่า ชักดาน หรือ ลั่นดาน

กลอน อีกอย่างหนึ่งคือบทประพันธ์ หรือบทขับร้องที่ร้อยเรียงได้อย่างไพเราะ

ส่วนสุดท้ายคือ กลอน ที่เป็นเครื่องเรือน เป็นส่วนที่พาดจากอกไก่เฉียงลาดลงมาพาดกับแป ก่อนที่จะมุงหลังคาจึงต้องพาดกลอนหรือทำ กลอนเพื่อที่จะช่วยให้เป็นที่ยึดของหลังคา

รูปแบบของกลอนที่ทำเพื่อมุงหลังคานั้น เป็นลักษณะในแนวลาดจากบนลงล่าง ซึ่งลายเสือโคร่งที่ชาวเราเคยพบเห็น ไม่ว่าจะเห็นในสวนสัตว์หรือในภาพยนตร์สารคดี ลายของเสือดังกล่าวก็มีลักษณะดังเดียวกันกับการพาดกลอนเพื่อมุงหลังคา ไม่มีเสือลายพาดกลอนที่ไหนที่เป็นในลักษณะแนวนอน หรือเป็นลายเกิดที่ข้างลำตัวจากขาหน้าลากยาวไปขาหลัง

คงจะเป็นดังที่พรรณนามานี้กระมัง จึงทำให้คนไทยเรียกขานเสือโคร่งที่มีลายแนวตั้ง คือจากบนลงล่าง ถึงแม้ลายบางส่วนอาจจะเฉหรือเอียงไปบ้าง แต่ริ้วของลายบนตัวเสือจะไม่อยู่ในระนาบแนวนอน คนโบร่ำโบราณจึงพาให้เรียกเรียกขานกันว่า เสือลายพาดกลอน

การปลูกเรือน สร้างที่อยู่อาศัยในสมัยนี้ เราได้อาศัยบริษัทก่อสร้าง หรือไม่ก็ซื้อบ้านสำเร็จ ทำให้ความคุ้นเคยที่จะไปตามรู้ตามเรียกส่วนของเรือนที่เรียกว่า “กลอน” ก็แทบจะไม่มี แต่ตามชนบทไทย ชาวบ้านยังคงทำกระท่อม ปลูกเพิงพักตามหัวไร่ปลายนา เวลามุงหลังคาก็ต้องทำกลอนและพาดกลอนให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำวัสดุมุงหลังคา ไม่ว่าจะทำด้วยหญ้าคา หญ้าแฝก ใบจาก ใบพลวง ใบค้อ ฯลฯ มามุง เห็นแล้วก็ทำให้นึกชื่นชมบรรพบุรุษที่สรรสร้างความรู้อันดีงามไว้ให้คนรุ่นใหม่ได้ทำตาม หวนประหวัดไปถึงคำเรียกเสือลายพาดกลอน ถ้าลายพาดกลอนของเสือไม่เรียกอิงความจากวัฒนธรรมการปลูกเรือนของคนไทย ก็ยังนึกไม่ออกว่าจะไปอิงความจากสิ่งใด

คำไทยใกล้ตัวที่ว่า เสือลายพาดกลอน น่าจะมีความเป็นมาฉะนี้แล

จาก บทความเรื่อง "เสือลายพาดกลอน" โดย คุณวีระพงศ์ มีสถาน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

มหิดลสาร ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 611  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 13:30

ดีครับ  คุณเพ็ญฯ

มีอีกคำถาม 

คำว่า  ปั่นหัว  มีที่มาอย่างไร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 612  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 13:42

ดีครับ  คุณเพ็ญฯ

มีอีกคำถาม 

คำว่า  ปั่นหัว  มีที่มาอย่างไร

คงมาจากการเล่นกัดจิ้งหรีด ที่นำเอาไม้ไผ่ซี่เล็ก พร้อมกับปลายไม้เป็นขนไว้ปั้นหัวจ้ิงหรีดให้ทำการต่อสู้ระหว่างกัน จึงนำศัพท์นี้มาใช้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 613  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 13:46

ดีมาก  ออกขุน  มีรูปภาพประกอบการอธิบายหรือไม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 614  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 13:54

เด็กที่บ้านถามว่า ถ้าเสือโคร่งลายพาดกลอน แล้วสิงโตจะลายอะไร

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 39 40 [41] 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง