เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 37 38 [39] 40 41 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227644 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 570  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 17:46

อย่าล่ามม้าสองปาก  ยิงฟันยิ้ม
ปกติการล่ามม้า จะมีเพียงบังเหียนเดียว มีผู้บังคับม้าเพียงคนเดียว
กรณีล่ามม้าสองปาก เปรียบเสมือนม้าหนึ่งตัวมีบังเหียน(สายบังคับม้า) สองอัน
เหมือนมีผู้บังคับม้าสองคน ม้าก็จะสับสน คนหนึ่งจะบังคับม้าไปทางซ้ายก็ดึงบังเหียนไปทางซ้าย
อีกคนจะให้ไปทางขวาก็ดึงบังเหียนไปทางขวา


พระนางบุญเหลือสอนพระลอ ในการเป็นกษัตริย์ เป็นผู้ปกครองที่ดี ต้องมีการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน
อย่าให้คนนั้นสั่งที คนนี้สั่งอีกอย่าง ผู้ปฏิบัติงานจะสับสน งานก็จะไม่บรรลุผลสำเร็จ

งงครับ   มีด้วยหรือที่โยงลายบังคับม้าที่ปากม้าด้านเดียว  ผมเคยเห็นแต่โยงปากม้าทั้งสองด้าน
ถ้าล่ามสองด้านปากม้า  แล้วม้างงเดินไม่ถูกว่า จะให้เลี้ยวซ้ายหรือขวา  เพราะคนขี่ดึงเชือกบังคับพร้อมกันสองด้าน
แสดงว่า  คนขี่ม้านี่ใช้บังเหียนไม่เป็นล่ะสิครับ  ถึงได้ดึงไม่ถูก   อันที่จริงถ้าดึงสายบังคับม้าพร้อมกันสองข้าง
ม้าน่าจะหยุดเดินหรือหยุดวิ่ง  ไม่น่าจะใช่การให้สัญยารแก่ม้าว่าให้หันไปทางไหน

แล้ววรรคต่อไปล่ะครับ   จะให้ตีความเข้าใจว่าอย่างไร

ผมอยากให้คุณดีดีและคุณอ่านพระลอตอนที่ผมยกมาให้ละเอียดทวนซ้ำไปมาหลายเที่ยว


ร่าย
๑๙๘ เมื่อนั้นอนงคเทพี ชนนีนาฎราชรันทด สลดหฤทัยดั่งจะหว่า ท้าว ธ ก็ว่าเจ้าลอลักษณ์ แม่รักเจ้าแม่นา
รักยิ่งตายิ่งตัว รักยิ่งหัวยิ่งชีพ แต่นี้จอมทวีปแม่จะจาก พรากแม่พรากพระบุรี ศรีกษัตริย์มีเจ็ดสิ่ง
พระมิ่งแม่จงจำ ยำคำแม่อย่าคลา รีตท้าวพระยาอย่าคลาด อย่าประมาทลืมตน อย่ารคนคนเท็จ
ริรอบเสร็จจึ่งทำ คิดทุกคำจึ่งออกปาก อย่าให้ยากแก่ใจไพร่ ไต่ความเมืองจงตรง ดำรงพิภพให้เย็น
ดับเข็ญนอกเข็ญใน ส่องใจดูทุกกรม อย่างมชมความเท็จ ริรอบเสร็จเกื้อทางธรรม์ ทีจะกันกันจงหมั้น
ทีจะคั้นคั้นจงเปนกล ส่องต้นหนคนใช้ เลือกหาใจอันสัตย์ ดัดมนตรีโดยยุกติ์ ปลุกใจคนให้หาญ
ผลาญเพรียงไพร่เพรียงเมือง อาญาเรื่องเรื้อยราษฎร์ กันนิกรอาจเกื้อไพรี ดับกลีอย่าให้ลุก
อย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าล่ามม้าสองปาก อย่าลากพิษตามหลัง อย่าให้คนชังลักแช่ง แต่งคนให้คนรัก
ชักชวนคนสู่ฟ้า เบื้องหน้าเทพยอยศ จงปรากฎชอบแล้ว อย่าได้แคล้วรำพึง คำนึงอย่ารู้มลาย
จงอย่าหายยศพ่อ ต่อม้วยฟ้าหล้าสวรรค์ กัลปประลัยอย่ารู้ลาญ ภูบาลเจ้าจงจำ ตามคำแม่โอวาท
พ่อสุดสวาทแก่แม่เฮย จงสวัสดิ์แก่เจ้าเทอญ ฯ


ร่ายสองวรรคที่เน้นตัวเข้มนั้น  ท่านอธิบายความหมายให้กระจ่างแจ้งแจ่มใสได้ว่าอย่างไร
จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ  อ้อ  กรุณาทำด้วยตนเองนะครับ  อย่าลอกของคนอื่นมานะครับ

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 571  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 17:56

อย่าลากพิษตามหลัง   ยิงฟันยิ้ม
หมายถึงอย่าคบคนชั่ว อย่าเลี้ยงคนชั่วไว้เป็นลูกน้อง อย่าปกป้องลูกน้องที่ไม่ดี
เพราะคนชั่วย่อมก่อเรื่องที่ไม่ดีสร้างความเดือดร้อนแก่ราษฏร และจะนำความเดือดร้อนสู่กษัตริย์ผู้ปกครอง
เปรียบเสมือน การมีพิษอยู่ข้างหลัง ลากไปไหนมาไหน อาจไปโดนคนอื่นๆ ให้ได้รับความเดือดร้อน และพิษนั้นอาจมาโดนตัวเองด้วย

อย่าล่ามม้าสองปาก  ยิงฟันยิ้ม
น่าจะเป็นม้าที่มีสองปาก การล่ามม้าไว้กับที่ และม้ามีสองปาก ยอมกินหญ้าในบริเวณที่ถูกล่ามไว้มากกว่าปกติ
เปรียบเสมือนการเลี้ยงลูกน้องที่ไม่ซื่อสัตย์ โกงกิน ย่อมเอารัดเอาเปรียบราษฏร...มั้งคะ...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 572  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 18:36

ม้าสองปากของคุณดีดี

น่าจะส่งไปอยู่กระทู้สัตว์ประหลาด

คุณหลวงคิดถึง พระพุทธทำนายทายพระสุบินพระเจ้าปเสนทิโกศล ๑๖ ข้อ หรือเปล่า

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 573  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 15:56

คุณดีดีกับคุณเพ็ญมาถูกทางแล้ว  แต่อยากให้อธิบายม้าสองปากเป็นสำนวนความเรียงให้เข้าใจง่ายๆ
ว่าหมายถึงอะไร   และที่พระนางบุญเหลือห้าม ทำไมถึงห้ามเช่นนั้น

ส่วนที่ว่าอย่าลากพิษตามหลังนั้น  คุณดีดียังอธิบายไม่ถูกใจผม ไม่เป็นไรครับ
เอาวรรค อย่าล่ามม้าสองปาก ก่อน ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 574  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 15:43

เมื่อหลายคืนก่อน  มีเสียงพรายมากระซิบถามว่า

นายกุหลาบเล่าไว้ว่า  ตนเองเคยรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ ๓
จึงได้รู้ได้เห็นเรื่องราวเกี่ยวกับข้าราชการที่รับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๓ มาก

ถามว่า  นายกุหลาบรับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่ในสังกัดเวรใด 
และนายเวรมหาดเล็กที่นายกุหลาบได้สังกัดเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ มีชื่อตัวว่าอะไร

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 575  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 16:10

เมื่อหลายคืนก่อน  มีเสียงพรายมากระซิบถามว่า

นายกุหลาบเล่าไว้ว่า  ตนเองเคยรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ ๓
จึงได้รู้ได้เห็นเรื่องราวเกี่ยวกับข้าราชการที่รับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๓ มาก

ถามว่า  นายกุหลาบรับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่ในสังกัดเวรใด 
และนายเวรมหาดเล็กที่นายกุหลาบได้สังกัดเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ มีชื่อตัวว่าอะไร

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


ก.ศ.ร. มักจะตอบคำถามในตำแหน่งเอดิเตอร์ อย่างสนใจไว้ว่า ตนเองได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อสูงวัยขึ้นมากก็จะไม่ค่อยได้รู้เหตุการณ์ต่อหน้าต่อตาเท่าไรสัก อาศัยหนังสือเป็นเครื่องยืนยันเสมอมา  สำหรับการเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๓ นั้น ก.ศ.ร. เข้าทำงานตำแหน่งมหาดเล็กไล่กา
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 576  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 16:26

ออกขุนยังตอบไม่ถูกนะ  ให้โอกาสตอบใหม่ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 577  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 17:44

ก.ศ.ร. กุหลาบ เกิด พ.ศ. ๒๓๗๗ ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในรัชกาลที่ ๓ เมื่ออายุ ๑๓ คือ พ.ศ. ๒๓๙๐  .......... อายุ ๑๔ ก็บวชเป็นเณร


ก.ศ.ร. เคยกล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓ อายุ ๑๗ พระองค์เจ้ากินรี พระมารดาเลี้ยง พระราชทานเงิน ๑๐๐ ชั่ง ให้ไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส อยู่ฝรั่งเศส ๙ ปี ได้ประกาศนียบัตรกลับมาสยาม เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๑ อายุ ประมาณ ๒๔ ปี,

อายุ ๒๕ พระองค์เจ้าแม่บุญธรรม เป็นธุระให้แต่งงาน กับแม่หุ่น ..........อายุ ๒๖ ปีบวชเป็นพระกุศล แก่พระองค์เจ้า แม่บุญธรรม


รัชกาลทึี่ ๔ ขึ้นครองราชฯ ปีพ.ศ. ๒๓๙๔  ก.ศ.ร. จึงเป็นมหาดเล็ก ในรัชกาลที่ ๓ เพียง ปีเดียว เมื่ออายุ ๑๓ ........

เด็กอายุ ๑๓ จะได้เป็นมหาดเล็กบรรดาศักดิ์ รับราชการ แล้วหรือ? แถมยังต้องเรียนหนังสือในสำนักพระรัตนมุนีฯ วัดพระเชตุพนไปด้วย จะได้ถวายงาน ทำราชการแล้วอย่างไร ก็น่าสนใจจริงๆ   

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 578  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 17:53

ผมไม่ได้ให้มาสอบสวน  กรุณาตอบให้ตรงคำถามด้วย
ผู้ที่ตอบมาแล้วก็ขอให้ระวังด้วยว่า  จะมีผู้มีคลังแสงมาขอประมือด้วย อิอิ (เราเตือนท่านแล้ว)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 579  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 18:13


        ขุนนางบูราณ  มหาดเล็กไล่การุ่นพี่ ก.ศ.ร.   ที่เคยวิ่งไล่กากัน  เหยียบชายผ้า(โจงกระเบนเผื่อโต)  หกล้มหกลุก     

เจ้าคุณแก่กว่า ก.ศ.ร เล็กน้อย

เล่าว่า   ท่านทั้งสองอยู่เวรหลวงนายศักดิ์ (ครุฑ)

เวลาที่ท่านเล่นกันอยู่นั้นเป็นปลายรัชกาลที่ ๓

ท่านเรียกกุหลาบว่า  พ่อกุหลาบที่รักของฉันมาช้านาน

ก.ศ.ร. กุหลาบนั้นอ่อนน้อมกับคนที่ให้เกียรติตนเสมอ    เรียกท่านเจ้าคุณว่าใต้เท้ากรุณา  เจ้าคุณพระยาเกลอ  และสหายมหากัลยาณมิตร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 580  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 18:32

ถามว่า  นายกุหลาบรับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่ในสังกัดเวรใด  
และนายเวรมหาดเล็กที่นายกุหลาบได้สังกัดเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ มีชื่อตัวว่าอะไร

อาศัยคุณวันดีเป็นไกด์นำทาง ตอบฟันธงได้ดังนี้

๑. ก.ศ.ร. กุหลาบรับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่ในสังกัด เวรศักดิ์

๒. นายเวรมหาดเล็กที่ ก.ศ.ร. กุหลาบสังกัดมีชื่อตัวว่า ครุฑ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 581  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 18:37


เรียนคุณปิยะสารณ์ที่นับถืออย่างสูง


        ดิฉันเห็นหนังสือตำนานธนบัตร(ที่ขาดวิ่นกระจุยกระขาย)     และบทความประมาณ ๓ เรื่องที่ ก.ศ.ร. เล่าว่า เคยไปเรียนหนังสือที่ฝรั่งเศส

แต่ไม่สามารถหาหลักฐานจากผู้อื่นยืนยันได้        ดิฉันได้พยายามติดต่อไปที่โรงเรียนเณรที่ชายเมืองปารีสก็ไม่ได้ผล

ก.ศ.ร. เล่าว่าไปกับบาดหลวงและกลับกับพระยามนตรีสุริยวงศ์    และเคยไปเดินตามรอยเท้ากวีในลอนดอนมาแล้ว


       ในการสอบสวนเรื่องการพิมพ์หนังสือประวัติสมเด็นพระสังฆราชสา         ทำไม ก.ศ.ร. จึงแจ้งว่าอ่านภาษาฝรั่งเศสไม่ออก


        ขบวนทูตจะรับผู้ใดร่วมเดินทางไปได้หรือ    ไม่น่าจะเป็นไปได้  เพราะผิดธรรมเนียมประเพณี          กลับมาได้โดนตัดหัวกันแน่นอน

        ถึง ก.ศ.ร. จะอ้างว่ามีรูปถ่าย   ใครที่เป็นซับสไครเบอร์จะมาดูก็ได้          เรื่องนี้ไม่มีใครบันทึกไว้ว่าเห็น


        ก.ศ.ร. เคยเดินทางไปหลายประเทศเพราะนายฝรั่งออกสตังค์ให้    เมื่อความจำเสื่อมถอยลงก็เผลอสร้างความสำคัญให้กับตนเอง  ว่าไปเรียนหนังสือ

ที่จริงชีวิตที่บ้านท่านก็ไม่หรูหราหรือกินอาหหารฝรั่งดื่มกาแฟใส่น้ำตาลก้อนสี่เหลี่ยมของนอกเหมือนนายวรรณสักหน่อย

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 582  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 18:47


คุณเพ็ญคนใจดี

        สยามประเภทเล่ม ๑  และครึ่งเล่มสองที่คุณเพ็ญเคยนำลิ้งค์มาลง        คนมาลอกไปมากมาย

สยามประเภทเล่ม ๖  ที่อยู่ที่หอสมุด   และอีกครึ่งเล่มอยู่ที่มหาวิทยาลัยริมน้ำ      ตอนนี้โดนถอนไปแล้ว

คงนำไปซ่อม

        ที่เล่ามาเมื่อครู่อยู่ หน้า ๕๘๙ - ๕๙๐  ค่ะ

        ที่เหลือหลังเล่ม ๕   ไม่เคยเห็นค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 583  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 19:07

       สยามประเภทเล่ม ๑  และครึ่งเล่มสองที่คุณเพ็ญเคยนำลิ้งค์มาลง        คนมาลอกไปมากมาย

สยามประเภท เล่ม ๑
http://dl.kids-d.org/handle/123456789/2684

สยามประเภท เล่ม ๒
http://dl.kids-d.org/handle/123456789/2685


ดีใจที่มีคนสนใจ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 584  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 04:45



         คุณหลวงเล็กผู้เห็นหนังสือมามาก   วัน ๆ ก็สัญจรไปมาระหว่างห้องสมุด  หอจดหมายเหตุ และร้านหนังสือ

สำคัญ ๆ(มีหนังสือที่ต้องการและราคาต้องใจ)    คบหาสนทนาอยู่แต่ผู้อาวุโสเรืองวิทยาคม   

ฝากเรียนถามหนึ่งเรื่องเถิดค่ะ   

        หนังสือเล่มแรกที่ ก.ศ.ร. กุหลาบพิมพ์   โดยได้รับอนุญาตจากคนพิมพ์คนแรกชื่ออะไร   พิมพ์เมื่อก.ศ.ร. อายุเท่าใด

จำนวนพิมพ์ไม่น่าจะจำได้(คุณหลวงและท่านผู้อาวุโสอาจลืมเลือนไปแล้ว)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 37 38 [39] 40 41 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง