เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 36 37 [38] 39 40 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227661 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 555  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 12:14

วันนี้มีคำถามง่ายๆ ว่า

นักหนังสือพิมพ์ที่ใช้นามปากกาว่า กุหลาบขาว มีชื่อจริงว่าอะไร

เห็นไหม ง่ายเนอะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 556  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 14:37

กอบกาญจน์ วิศิษฎ์ศรี ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 557  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 14:43

ถูกต้องครับ   แต่ยังไม่หมด  เพราะยังคำถามต่อไปอีกเล็กน้อย

กุหลาบขาว เป็นนักหนังสือพิมพ์สตรีคนแรกของประเทศไทย
แต่อยากทราบเพิ่มว่า  กุหลาบขาวเป็นนักหนังสือพิมพ์ของหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่าอะไร 
และหนังสือพิมพ์ที่กุหลาบขาวทำงานอยู่นั้น  ใครเป็นเจ้าของ

ง่ายเนอะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 558  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 14:47

คุณหลวง และคุณ Siamese เร็ว ปาน เม็มโมรี ประวัติศาสตร์ไทย ไว้ใน สมองฮาร์ทดิสกต์


สัญลักษณ์นี้ จะเรียกว่า เป็น "คำ" ได้หรือไม่ครับ เจมส์ โลว์ ถึงกับต้องแกะบล็อกไว้เลย ๑ ตัว (แอ๊ะ! หรือ ยายแหม่ม จัดสันคนสวย ภรรยานายอโดราม ณ ร่างกุ้ง ทำไว้ให้ ?)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 559  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 15:04

คุณหลวง และคุณ Siamese เร็ว ปาน เม็มโมรี ประวัติศาสตร์ไทย ไว้ใน สมองฮาร์ทดิสกต์


สัญลักษณ์นี้ จะเรียกว่า เป็น "คำ" ได้หรือไม่ครับ เจมส์ โลว์ ถึงกับต้องแกะบล็อกไว้เลย ๑ ตัว (แอ๊ะ! หรือ ยายแหม่ม จัดสันคนสวย ภรรยานายอโดราม ณ ร่างกุ้ง ทำไว้ให้ ?)

ถูกต้องแล้ว เหล่านี้ล้วนเป็นอักษรไทย ดังนั้นบรรดามิชชันนารีทั้งหลายที่ทำการพิมพ์หนังสือ ล้วนต้องหล่อแบบอักษรไทยเพื่อให้คนไทยได้อ่านได้อย่างรู้เรื่องและถูกต้องตามสมัย เมื่อความเจริญขึ้นเรื่อย ๆ ตัวอักษรพิเศษเหล่านี้ก็ถูกทอนค่าลดบทบาทลงไป ใช้ตัวเรียงพิมพ์ง่าย ๆ เข้าแทนที่ จึงได้สูญหายไป


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 560  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 15:20

หนังสือพิมพ์ สยามสมัย รายสัปดาห์ ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บริษัทไทยพณิชยการ จำกัด   เจ้าของ
นายอารีย์ สีวีระ                    ผู้อำนวยการ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 561  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 15:28

ไม่ใช่  และไม่ถูกต้อง เศร้า
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 562  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 15:55

อ้าว !!! ตกใจ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 563  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 18:36

กอบกาญจน์ วิศิษฎ์ศรี ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

คุณหลวงและคุณ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ - เดิมกุหลาบขาว ท่านชื่อ พร้อม วิศิษฏ์ศรี หรือเปล่าครับ บางตำรา ว่าเช่นนั้น

คุณ Siamese - น่าจะมีคนนำ ตัวพิมพ์จัดสันนี้ มาทำเป็นฟร้อน ใช้ในคอมพิวเตอร์ บ้างเนอะครับ สวย และแปลกตาดี ชอบจัง....  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 564  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 19:15

กอบกาญจน์ วิศิษฎ์ศรี ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

คุณ Siamese - น่าจะมีคนนำ ตัวพิมพ์จัดสันนี้ มาทำเป็นฟร้อน ใช้ในคอมพิวเตอร์ บ้างเนอะครับ สวย และแปลกตาดี ชอบจัง....  ยิงฟันยิ้ม
หากคุณ piyasann  พอจะมีเวลาลองเข้าไปอ่าน "การสูญสิ้นอัตลักษณ์การเขียนภาษาไทย อันมิอาจหวนคืนได้" ที่ตั้งไว้ให้ได้คิดกันครับ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/06/K9360777/K9360777.html
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 565  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 08:48


คุณหลวงและคุณ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ - เดิมกุหลาบขาว ท่านชื่อ พร้อม วิศิษฏ์ศรี หรือเปล่าครับ บางตำรา ว่าเช่นนั้น


เป็นเช่นนั้นครับ  เธอมาเปลี่ยนชื่อเป็น  กอบกาญจน์  เมื่อภายหลัง

ตัวอักษรพิเศษในการเขียนหนังสือไทยโบราณนั้น  ที่หายไปเพราะระบบการพิมพ์เข้ามาแทนพื้นบางส่วนของการเขียน
การเขียนหนังสือไทยสมัยก่อน ใช้วิธีการผูกอักษรเช่นเดียวกับการเขียนอักษรขอม (ทั้งบรรจงและหวัด)
เมื่อมีการประสมพยัญชนะกับสระบนหรือสระหลัง  จะเชื่อมเส้นอักษรกับสระนั้นเข้าด้วยกัน
พยัญชนะบางตัวหางยาว เช่น ช  ฟ ส ศ ซ ป ฬ ฝ เมื่อเขียนเชื่อมกับสระ ท่านจะเขียนหางทีหลัง
หรือเขียนหางในรูป ไม้ทัณฑฆาต  เช่น บ์าง  พ์าก  เป็นต้น  หรือบางตัวก็เขียนหางใส่ไปในกลางตัวอักษร
การเขียนเชื่อนอย่างนี้ คงปรากฏในการสร้างตัวพิมพ์ไทยสมัยแรกๆ หลังจากนั้นก็ค่อยๆ หายไป
จากเหลือแต่ในการเขียน  และต่อมาเมื่ออิทธิพลของการพิมพ์มีมากขึ้น  การเขียนเชื่อมอักษรก็หายไปจาการเรียนการสอนภาษาไทย
กระนั้นการเขียนเชื่อมอักษรก็ยังมีอยู่ในหมู่อาลักษณ์ แต่นับวันก็จะหายไปเรื่อยๆ

ตัวอักษรพิเศานี้  นอกจากการเชื่อมอันเกิดจากการประสมอักษรแล้ว  ยังมีการใช้อักษรพิเศษสำหรับเขียนย่อคำ
เพื่อให้เขียนได้เร็วจดได้ไว  นอกจากนี้  หากได้อ่านเอกสารล้านนาและอีสาน จะมีการใช้อักษรพิเศษเขียนใบลาน
สมุดข่อย กระดาษสา (พับสา) ให้เห็นอยู่บ่อยๆ  เพื่อประหยัดพื้นที่ในการเขียน เพราะวัสดุในการจดบันทึกหายาก
ซึ่งมีใช้ตัวยิ่งกว่าของไทยภาคกลาง

ระบบการพิมพ์สมัยใหม่  ทำให้การเขียนแบบเก่าบางอย่างทำไม่ได้หรือทำได้ยาก  อย่างเช่น  การเขียนวันเดือนข้างขึ้นข้างแรม
การเขียนเลขทับศก  การเขียนตีนครุ  การใช้ปีกกาเข้าควงข้อความ เป็นต้น  การเขียนอย่างเก่าจึงถูกปรับเปลี่ยนไป
เป็นอย่างอื่นที่เรียงหรือพิมพ์หรือเขียนหรืออ่านง่ายกว่า  นานๆ เข้าคนก็ไม่รู้จักและอ่านไม่ออก 

อักษรพิเศษอย่างนี้  ที่ทำงานของผมยังมีท่านผู้ใหญ่ใช้อยู่บางคน  ผมเองก็ใช้บ้างเหมือนกัน
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 566  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 09:24

ร่าย
๑๙๘ เมื่อนั้นอนงคเทพี ชนนีนาฎราชรันทด สลดหฤทัยดั่งจะหว่า ท้าว ธ ก็ว่าเจ้าลอลักษณ์ แม่รักเจ้าแม่นา
รักยิ่งตายิ่งตัว รักยิ่งหัวยิ่งชีพ แต่นี้จอมทวีปแม่จะจาก พรากแม่พรากพระบุรี ศรีกษัตริย์มีเจ็ดสิ่ง
พระมิ่งแม่จงจำ ยำคำแม่อย่าคลา รีตท้าวพระยาอย่าคลาด อย่าประมาทลืมตน อย่ารคนคนเท็จ
ริรอบเสร็จจึ่งทำ คิดทุกคำจึ่งออกปาก อย่าให้ยากแก่ใจไพร่ ไต่ความเมืองจงตรง ดำรงพิภพให้เย็น
ดับเข็ญนอกเข็ญใน ส่องใจดูทุกกรม อย่างมชมความเท็จ ริรอบเสร็จเกื้อทางธรรม์ ทีจะกันกันจงหมั้น
ทีจะคั้นคั้นจงเปนกล ส่องต้นหนคนใช้ เลือกหาใจอันสัตย์ ดัดมนตรีโดยยุกติ์ ปลุกใจคนให้หาญ
ผลาญเพรียงไพร่เพรียงเมือง อาญาเรื่องเรื้อยราษฎร์ กันนิกรอาจเกื้อไพรี ดับกลีอย่าให้ลุก
อย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าล่ามม้าสองปาก อย่าลากพิษตามหลัง อย่าให้คนชังลักแช่ง แต่งคนให้คนรัก
ชักชวนคนสู่ฟ้า เบื้องหน้าเทพยอยศ จงปรากฎชอบแล้ว อย่าได้แคล้วรำพึง คำนึงอย่ารู้มลาย
จงอย่าหายยศพ่อ ต่อม้วยฟ้าหล้าสวรรค์ กัลปประลัยอย่ารู้ลาญ ภูบาลเจ้าจงจำ ตามคำแม่โอวาท
พ่อสุดสวาทแก่แม่เฮย จงสวัสดิ์แก่เจ้าเทอญ ฯ


ร่ายสองวรรคที่เน้นตัวเข้มนั้น  ท่านอธิบายความหมายให้กระจ่างแจ้งแจ่มใสได้ว่าอย่างไร
จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ  อ้อ  กรุณาทำด้วยตนเองนะครับ  อย่าลอกของคนอื่นมานะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 567  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 10:34

๑. อย่าล่ามม้าสองปาก

ขอให้ดูในภาพ



โลหะวงกลมที่ติดกับเครื่องผูกปากม้า (ขลุม) เรียกว่าวงบังเหียน ซึ่งจะมีอยู่สองข้างของริมฝีปากม้า

การล่ามม้า เชือกข้างหนึ่งก็จะไว้ผูกที่วงบังเหียนนี้ อีกข้างหนึ่งผูกไว้กับหลักยึด หากผูกเชือกที่วงบังเหียนข้างเดียว ม้าก็จะหันไปข้างไหนก็ได้ แต่หากผูกที่วงบังเหียนสองข้างหรือสองปากแล้วไซร้ ม้าก็จะหันไปข้างไหนไม่ได้เลย หากเปรียบกับการปกครองราษฎรก็เสมือนว่าเป็นการกดขี่ประชาชน ฉะนั้น

๒. อย่าลากพิษตามหลัง

พิษนั่นนั้นคืองู              คนพาลสูจงระวัง
อย่าลากตามข้างหลัง       แว้งกัดได้ให้ตรองดู

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 568  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 11:46

คุณเพ็ญฯ ตอบมาคนแรก  ว่า

๑. อย่าล่ามม้าสองปาก

โลหะวงกลมที่ติดกับเครื่องผูกปากม้า (ขลุม) เรียกว่าวงบังเหียน ซึ่งจะมีอยู่สองข้างของริมฝีปากม้า

การล่ามม้า เชือกข้างหนึ่งก็จะไว้ผูกที่วงบังเหียนนี้ อีกข้างหนึ่งผูกไว้กับหลักยึด หากผูกเชือกที่วงบังเหียนข้างเดียว
ม้าก็จะหันไปข้างไหนก็ได้ แต่หากผูกที่วงบังเหียนสองข้างหรือสองปากแล้วไซร้ ม้าก็จะหันไปข้างไหนไม่ได้เลย
หากเปรียบกับการปกครองราษฎรก็เสมือนว่าเป็นการกดขี่ประชาชน ฉะนั้น

๒. อย่าลากพิษตามหลัง

พิษนั่นนั้นคืองู              คนพาลสูจงระวัง
อย่าลากตามข้างหลัง       แว้งกัดได้ให้ตรองดู
ยิงฟันยิ้ม

เอาทีละประเด็น   

ประเด็นแรก  อย่าล่ามม้าสองปาก  ถ้าการล่ามม้าเป็นอย่างที่คุณเพ็ญยกมา
เราเรียกการผูกบังเหียนสองด้านว่า ล่ามม้าสองปาก กระนั้นหรือ
เท่าที่ผมถามคนที่เขาขี่ม้าและเลี้ยงม้า  ไม่เห็นมีใครเขาเรียกอย่างนั้น
เพราะปกติบังเหียนม้าก็ผูกกันอย่างนี้อยู่แล้ว   ถ้าไม่ผูกอย่างนี้ จะผูกอย่างไร น่าสงสัยอยู่
ส่วนการล่ามนั้น   ยังไม่เคยเห็นการล่ามม้าที่โยงล่ามทั้งสองข้างบังเหียน
แต่ถึงจะล่ามม้าอย่างนั้น  ถ้าม้าจะหันก็หันได้  แต่การล่ามอย่างนั้นไม่มีประโยชน์อะไร
การแปลข้อความนี้  ผมแนะให้ว่า  อย่าดูจะเฉพาะร่ายวรรคเดียว  เพราะจะหลงทาง

อย่าล่าม ม้าสองปาก  หรือ อย่าล่ามม้า สองปาก  คำว่า สองปากนี้ควรขยายคำว่า ล่าม หรือ คำว่า ม้า

ประเด็นที่สอง  ทำไมจึงแปลคำว่า พิษ ว่า งู  เอาบริบทอะไรมาตีความ
คนที่สติดีๆ ใครจะเอางูมาลากเล่น   จะแปลอะไรดูบริบทด้วยว่า  ต้องการให้ตีความว่าอะไร

คำสอนของพระนางบุญเหลือสอนใคร  สอนคนทั่วไปหรือเปล่า  คำสอนคนที่มีหน้าที่ฐานะแตกต่างกัน
คำสอนย่อมแตกต่างกันไปด้วย
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 569  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 17:24

 อย่าล่ามม้าสองปาก  ยิงฟันยิ้ม
ปกติการล่ามม้า จะมีเพียงบังเหียนเดียว มีผู้บังคับม้าเพียงคนเดียว
กรณีล่ามม้าสองปาก เปรียบเสมือนม้าหนึ่งตัวมีบังเหียน(สายบังคับม้า) สองอัน
เหมือนมีผู้บังคับม้าสองคน ม้าก็จะสับสน คนหนึ่งจะบังคับม้าไปทางซ้ายก็ดึงบังเหียนไปทางซ้าย
อีกคนจะให้ไปทางขวาก็ดึงบังเหียนไปทางขวา

พระนางบุญเหลือสอนพระลอ ในการเป็นกษัตริย์ เป็นผู้ปกครองที่ดี ต้องมีการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน
อย่าให้คนนั้นสั่งที คนนี้สั่งอีกอย่าง ผู้ปฏิบัติงานจะสับสน งานก็จะไม่บรรลุผลสำเร็จ

อย่าลากพิษตามหลัง  ยิงฟันยิ้ม
หมายถึงอย่าคบคนชั่ว อย่าเลี้ยงคนชั่วไว้เป็นลูกน้อง อย่าปกป้องลูกน้องที่ไม่ดี
เพราะคนชั่วย่อมก่อเรื่องที่ไม่ดีสร้างความเดือดร้อนแก่ราษฏร และจะนำความเดือดร้อนสู่กษัตริย์ผู้ปกครอง
เปรียบเสมือน การมีพิษอยู่ข้างหลัง ลากไปไหนมาไหน อาจไปโดนคนอื่นๆ ให้ได้รับความเดือดร้อน และพิษนั้นอาจมาโดนตัวเองด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 36 37 [38] 39 40 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง