เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 228485 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 480  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 13:26


บ้านคหบดีที่ท่านผู้อาวุโสเอามาถามนั้น  อยู่ในดุสิตธานี  ผมบอกเท่านี้  น่าจะมีคนตอบได้


ก่อนเดินทางต้องพร้อมแผนที่...  แลบลิ้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 481  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 17:36

๑.บ้านสามเหลี่ยม  พระยาประสิทธฺ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ)

๒.บ้านพรหมบุตร์  หม่อมเจ้าชัชวลิต  เกษมสันต์

๓.บ้านเสมา  พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)

๔.บ้านนาวิน  พระยาวิชิตชลธาร (ม.ล.เวศร์  กุญชร)

๕.บ้านดารา  นายจ่ายวด (ปาณี  ไกรฤกษ์)

๖.บ้านณรงค์  พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ) เจ้าของ  ผู้อยู่อาศัย พระยาสุรบดินทรสุรินทรฦาชัย (พร  จารุจินดา)

๗.บ้านใจบุญ  วัดพระบรมธาตุ เป็นเจ้าของ

๘.บ้านบุนนาค  พระยาเทพมณเฑียร (สนั่น  บุนนาค)

๙.บ้านไกรฤกษ์  พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ  ไกรฤกษ์)

๑๐.บ้านอิศรางกูร  พระยาบุรีนวราษฐ (ชวน  สิงหเสนี) เจ้าของ  ผู้อยู่อาศัย พระยาตราชูชาดิศร (ม.ร.ว.ชม  อิศรางกูร)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 482  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 21:08

ท่านผู้อาวุโสไม่ค่อยสบาย  แต่มีกำลังจะตั้งคำถาม
ท่านสงสัยว่า  บ้านคหบดีต่อไปนี้  ใครเป็นเจ้าของ  ใครเป็นผู้อาศัยอยู่ และตั้งอยู่ที่ไหน

๑.บ้านสามเหลี่ยม

๒.บ้านพรหมบุตร์

๓.บ้านเสมา

๔.บ้านนาวิน

๕.บ้านดารา

๖.บ้านณรงค์

๗.บ้านใจบุญ

๘.บ้านบุนนาค

๙.บ้านไกรฤกษ์

๑๐.บ้านอิศรางกูร



ได้เวลาเฉลย   ข้อมูลที่ใช้เฉลยนี้มาจากหนังสืองานศพพลเอก ประพัทธ์  กุวานนท์

ในดุสิตธานี มีบ้านคหบดี จำนวน ๓๖ หลัง
ผมจะบอกเฉพาะบ้านหลังที่เอามาเป็นคำถาม

๑.บ้านสามเหลี่ยม
เจ้าของ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ) 
ผู้อาศัย พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ)
ที่ตั้ง ถนน ๒๒ กรกฎาคม  ตำบลดุสิต  อำเภอดุสิต

๒.บ้านพรหมบุตร์
เจ้าของ ม.จ.ชัชวลิต  เกษมสันต์
ผู้อาศัย ม.จ.ชัชวลิต  เกษมสันต์
ที่ตั้ง  ถนนพระรามประพาศ  ตำบลดอนพระราม อำเภอดอนพระราม

๓.บ้านเสมา
เจ้าของ  พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)
ผู้อาศัย พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)
ที่ตั้ง เลขที่ ๕ ถนนพายวาสตร์  ตำบลเขาหลวง  อำเภอเขาหลวง

๔.บ้านนาวิน
เจ้าของ  พระยาวิชิตชลธาร (ม.ล.เวศ  กุญชร)
ผู้อาศัย พระยาวิชิตชลธาร (ม.ล.เวศ  กุญชร)
ที่ตั้ง  เลขที่ ๕ ถนนราชดำเนิน ตำบลปากน้ำ อำเภอดุสิต

๕.บ้านดารา
เจ้าของ  นายจ่ายวด (ปาณี  ไกรฤกษ์)
ผู้อาศัย  นายจ่ายวด (ปาณี  ไกรฤกษ์)
ที่ตั้ง  ถนนวารุณศาสตร์  ตำบลเขาหลวง  อำเภอเขาหลวง

๖.บ้านณรงค์
เจ้าของ พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)
ผู้อาศัย  พระยาสุรบดินทรสุรินทรฦาชัย (พร  จารุจินดา)
ที่ตั้ง  เลขที่ ๖ ถนนพายวาสตร์  ตำบลเขาหลวง  อำเภอเขาหลวง

๗.บ้านใจบุญ
เจ้าของ วัดพระบรมธาตุ
ผู้อาศัย -
ที่ตั้ง  เลขที่ ๓ ถนนบุณยเกษตร์  ตำบลบึงพระราม อำเภอดอนพระราม

๘.บ้านบุนนาค
เจ้าของ  พระยาเทพมณเฑียร (สนั่น  บุนนาค)
ผู้อาศัย พระยาเทพมณเฑียร (สนั่น  บุนนาค)
ที่ตั้ง  ถนนแพรกองคต  ตำบลดอนพระราม อำเภอดอนพระราม

๙.บ้านไกรฤกษ์
เจ้าของ  พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ  ไกรฤกษ์)
ผู้อาศัย  พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ  ไกรฤกษ์)

๑๐.บ้านอิศรางกูร
เจ้าของ  พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน  สิงหเสนี)
ผู้อาศัย  พระยาตราชูชาดิศร (ม.ร.ว.ชม  อิศรางกูร)
ที่ตั้ง  เลขที่ ๒ ถนนเยี่ยมสมุท  ตำบลปากน้ำ  อำเภอดุสิต

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 483  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 21:30

ท่านผู้อาวุโสไม่ค่อยสบาย  แต่มีกำลังจะตั้งคำถาม
ท่านสงสัยว่า  บ้านคหบดีต่อไปนี้  ใครเป็นเจ้าของ  ใครเป็นผู้อาศัยอยู่ และตั้งอยู่ที่ไหน

๑.บ้านสามเหลี่ยม

๒.บ้านพรหมบุตร์

๓.บ้านเสมา

๔.บ้านนาวิน

๕.บ้านดารา

๖.บ้านณรงค์

๗.บ้านใจบุญ

๘.บ้านบุนนาค

๙.บ้านไกรฤกษ์

๑๐.บ้านอิศรางกูร



ได้เวลาเฉลย   ข้อมูลที่ใช้เฉลยนี้มาจากหนังสืองานศพพลเอก ประพัทธ์  กุวานนท์

ในดุสิตธานี มีบ้านคหบดี จำนวน ๓๖ หลัง
ผมจะบอกเฉพาะบ้านหลังที่เอามาเป็นคำถาม

๑.บ้านสามเหลี่ยม
เจ้าของ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ) 
ผู้อาศัย พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ)
ที่ตั้ง ถนน ๒๒ กรกฎาคม  ตำบลดุสิต  อำเภอดุสิต

๒.บ้านพรหมบุตร์
เจ้าของ ม.จ.ชัชวลิต  เกษมสันต์
ผู้อาศัย ม.จ.ชัชวลิต  เกษมสันต์
ที่ตั้ง  ถนนพระรามประพาศ  ตำบลดอนพระราม อำเภอดอนพระราม

๓.บ้านเสมา
เจ้าของ  พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)
ผู้อาศัย พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)
ที่ตั้ง เลขที่ ๕ ถนนพายวาสตร์  ตำบลเขาหลวง  อำเภอเขาหลวง

๔.บ้านนาวิน
เจ้าของ  พระยาวิชิตชลธาร (ม.ล.เวศ  กุญชร)
ผู้อาศัย พระยาวิชิตชลธาร (ม.ล.เวศ  กุญชร)
ที่ตั้ง  เลขที่ ๕ ถนนราชดำเนิน ตำบลปากน้ำ อำเภอดุสิต

๕.บ้านดารา
เจ้าของ  นายจ่ายวด (ปาณี  ไกรฤกษ์)
ผู้อาศัย  นายจ่ายวด (ปาณี  ไกรฤกษ์)
ที่ตั้ง  ถนนวารุณศาสตร์  ตำบลเขาหลวง  อำเภอเขาหลวง

๖.บ้านณรงค์
เจ้าของ พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)
ผู้อาศัย  พระยาสุรบดินทรสุรินทรฦาชัย (พร  จารุจินดา)
ที่ตั้ง  เลขที่ ๖ ถนนพายวาสตร์  ตำบลเขาหลวง  อำเภอเขาหลวง

๗.บ้านใจบุญ
เจ้าของ วัดพระบรมธาตุ
ผู้อาศัย -
ที่ตั้ง  เลขที่ ๓ ถนนบุณยเกษตร์  ตำบลบึงพระราม อำเภอดอนพระราม

๘.บ้านบุนนาค
เจ้าของ  พระยาเทพมณเฑียร (สนั่น  บุนนาค)
ผู้อาศัย พระยาเทพมณเฑียร (สนั่น  บุนนาค)
ที่ตั้ง  ถนนแพรกองคต  ตำบลดอนพระราม อำเภอดอนพระราม

๙.บ้านไกรฤกษ์
เจ้าของ  พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ  ไกรฤกษ์)
ผู้อาศัย  พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ  ไกรฤกษ์)

๑๐.บ้านอิศรางกูร
เจ้าของ  พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน  สิงหเสนี)
ผู้อาศัย  พระยาตราชูชาดิศร (ม.ร.ว.ชม  อิศรางกูร)
ที่ตั้ง  เลขที่ ๒ ถนนเยี่ยมสมุท  ตำบลปากน้ำ  อำเภอดุสิต

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
ฮ๋อ อยู่ในตำบลดุสิตธานีนี่เอง หาและปวดหัวอยู่หลายวัน ไม่น่าทำกันเลย  โกรธ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 484  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 21:36

ู^ อะไร  ออกขุน  เรื่องอย่างนี้ออกจะเบสิกนะ   ปวดหัวมากไหม
คราวหน้าจะได้หามาเล่นอีก  สนุกดี  (ท่านผู้อาวุโสท่านว่าอย่างนั้น ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 485  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 22:22

ดุสิตธานีในหลายมิติ

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/03/K9012987/K9012987.html

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 486  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 22:39

"Il est plus honteux de ses de'fier de ses amis que d'en e^tre trompe' "

แปลว่าอะไร ใครกล่าว   ในไทยเผยแพร่ครั้งแรกที่ไหน

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 487  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 23:09

"Il est plus honteux de ses de'fier de ses amis que d'en e^tre trompe' "

แปลว่าอะไร ใครกล่าว   ในไทยเผยแพร่ครั้งแรกที่ไหน



สงสัยต้องถามอาจารย์เซเดส์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 488  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 01:12

ค.ศ. 1665 ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
La Rochefoucauld (1613-1680) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสเคยกล่าวไว้ว่า
“Il est plus honteux de se défier de ses amis que d’en être trompé.”
พอแปลได้ว่า การไม่เชื่อถือมิตรเป็นเรื่องน่าอับอายยิ่งกว่าการที่จะถูกเขาทรยศเสียอีก
ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์โคลงอธิบายความไว้ว่า

๏ การระแวงใจแห่งผู้ เป็นมิตร สหายแฮ
เป็นสิ่งน่าอดสู แน่แท้
ยิ่งกว่าถูกเพื่อนคิด ทุรยศ
ภาษิตนี้ขอแก้ อรรถให้ แจ่มใส

๏ คือใครมีมิตรแล้ว ระแวงจิต
ว่ามิตรบ่ซื่อตรง นั่นไซร้
เหมือนสบประมาทมิตร ดูถูก มิตรนา
บ่มิช้าจักไร้ มิตรสิ้นปวงสหาย   

๏ กลัวอายเพราะมิตรจัก ไม่ซื่อ ตรงแฮ
จึงคิดฉลาดระแวง หาผิด
ที่แท้ก็ตนคือ ผิดมิตร ธรรมนา
เพราะว่าองค์แห่งมิตร ก็ต้องไว้ใจ

๏ ผู้ใดดูถูกมิตร ดูถูก ตนเอง
เพราะว่าคนทรามไฉน จึงคบ
เมื่อเริ่มจะตั้งผูก มิตรภาพ
ใยไม่วิจารณจบ จิตหมั้นในสหาย
   
๏ มิตรร้ายผิมุ่งร้าย ต่อเรา
แม้เมื่อเราซื่อตรง อยู่แล้ว
โลกย่อมจะติเขา ไม่ติ เราเลย
คนชั่วย่อมไม่แคล้ว คลาดโลกนินทา

๏ ภาษิตจึงได้กล่าว คติบอก
ว่าระแวงมิตรน่า อัประยศ
ยิ่งกว่าถูกเพื่อนหลอก ลวงเพราะ ซื่อนา
ตรงจะเสียทีคด ไป่ต้องอับอาย

๏ มุ่งหมายจิตมั่นด้วย มิตรธรรม
ถึงหากเพื่อนทุจริต หลอกให้
อย่าวิตกแต่จำ ไว้เพื่อ
จะคบมิตรอื่นไซร้ จะได้รู้พรรณ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 489  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 02:58

^ คุณเทพกรตอบถูกครับ  แต่ยังไม่ได้ตอบว่า
ภาษิตดังกล่าวเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกที่ไหน ยิ้ม ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 490  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 06:59

พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "ดุสิตสมิต"

เล่มที่...ฉบับที่...วัน...เดือน...พ.ศ. ... 

คงต้องรอคุณวีมีมาเติมเต็ม

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 491  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 16:58

พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "ดุสิตสมิต"

เล่มที่...ฉบับที่...วัน...เดือน...พ.ศ. ... 

คงต้องรอคุณวีมีมาเติมเต็ม

 ยิงฟันยิ้ม

ตอบว่า  ดุสิตสมิต เล่ม ๔  ฉบับที่ ๓๙  วันที่  ๑๓  กันยายน  พ.ศ. ๒๔๖๒  หน้า ๒๓ - ๒๔
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 492  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 17:01

รอมาหลายเพลา  แม่นยำไม่เปลี่ยนแปลง  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 493  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 17:39

ท่านผู้อาวุโสไปร่วมงานเสวนาเกี่ยวกับหนังสือเก่าหายากที่จุฬาลงกรณ์มหาบรรณาลัย
สหายของท่านฝากคำถามมาให้ท่านมาลงไว้ในกระทู้นี้ว่า

"ใครกันหนอเป็นผู้ทำให้พระราชวิทยานิพนธ์รัชกาลที่ ๖ เป็นภาษาไทย
และพระราชวิทยานิพนธ์ที่แปลเป็นภาษาไทยนั้นพิมพ์ครั้งแรกเมื่อใด
ในโอกาสอะไร  และพิมพ์พร้อมกับหนังสืออะไร"

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 494  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 21:04

เอา ฉบับภาษาอังกฤษ มานำเสนอก่อน

 ยิงฟันยิ้ม



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง