เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 228499 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 465  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 07:08




        การแปลงานที่ไม่ถนัด       แสดงว่าผู้แปลไม่รู้จักอาหาร 

ท่านเจ้าคุณนั้นท่านเป็นผู้มีรสนิยมอันเลิศ  สามารถสั่งอาหาร  หรือคิดรายการแปลก ๆ ในบ้านได้  เช่นหมี่น้ำที่ใส่ทั้งกุ้งและปูแถมหมู

คนที่ลอกตำรามายังทำหมูเกินมาตั้งหนึ่งอย่าง   แล้วโทษว่าตำราว่าดังนั้น


โชคดีที่มิได้แกงไก่โดยใช้ตำราที่ว่าใช้กะปิก้อนใหญ่เท่าหัวไก่


        ฝรั่งนายเรือที่มาคำนับ  เมื่อเห็นอาหารร้อนปรุงใหม่ ๆ  ใส่ทั้งกุ้งปูหมู  ก็คงรับประทานกันหลายชาม


เรื่องการแปลหนังสือนั้น   ท่านเจ้าคุณต้องรักมากทีเดียว   เพราะแปลนิทานฝรั่งสั้น ๆ  ไว้มาก  เรื่องตลกจี้เส้นท่านก็เขียนไว้

ท่านมิได้ทำงานวรรณกรรมในฐานะเสนาบดี         แต่ทำในฐานะผู้ร่วมนำความเจริญแนะนำวรรณกรรมต่างประเทศเข้ามาในสยาม

เข้าใจว่าหลายคนคงไม่เคยเห็นหนังสือหลายเล่มที่เป็นนิทานเด็ก     ฟังแต่ท่านผู้อื่นเล่ามา

เสียดายที่พิมพ์จำนวนน้อยประมาณ ๒๐๐ กว่าเล่มเท่านั้น  ท่านผู้หญิงเล่าไว้   หนังสือแทบหาอ่านไม่ได้     ดิฉันได้ไปอาศัยอ่านที่บ้านนักสะสม

ถึงได้ความรู้มา

       หนังสือเป็นของมีค่า    ท่านผู้หญิงก็มีธิดาถึง ๓ คน   หลานผู้หญิงอีกหลายคน       ตำราฝรั่งที่มีรูปอันสวยงามก็คงหมุนเวียน

อยู่ในมือกุลสตรีเหล่านี้   เพราะบ้านนี้รู้ภาษาฝรั่ง  เมื่อได้รับคำอธิบายจากเจ้าคุณแล้วเรื่องจะทดลองทำอาหารก็ต้องเกิดขึ้น     

เปรียญอยากได้มาแปลคงจะรู้ที่ต่ำสูงตามสมควร


        หนังสือเป็นของมีค่ามากในบ้านที่รักหนังสือ        ไม่ได้บอกว่าเป็นการผิดอะไร      บอกว่าน่าจะไม่ถูกต้องเพราะเจ้าของเขาหวงต้องอ่านกันอีกหลายคน






บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 466  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 08:15


เรื่องการแปลหนังสือนั้น   ท่านเจ้าคุณต้องรักมากทีเดียว   เพราะแปลนิทานฝรั่งสั้น ๆ  ไว้มาก  เรื่องตลกจี้เส้นท่านก็เขียนไว้

ท่านมิได้ทำงานวรรณกรรมในฐานะเสนาบดี         แต่ทำในฐานะผู้ร่วมนำความเจริญแนะนำวรรณกรรมต่างประเทศเข้ามาในสยาม

เข้าใจว่าหลายคนคงไม่เคยเห็นหนังสือหลายเล่มที่เป็นนิทานเด็ก     ฟังแต่ท่านผู้อื่นเล่ามา


หนังสือเป็นของมีค่ามากในบ้านที่รักหนังสือ        ไม่ได้บอกว่าเป็นการผิดอะไร      บอกว่าน่าจะไม่ถูกต้องเพราะเจ้าของเขาหวงต้องอ่านกันอีกหลายคน

ถูกต้องครับ  ท่านเจ้าคุณไม่ได้ทำงานวรรณกรรมในฐานะเสนาบดี 
แต่ท่านเจ้าคุณก็สวมหมวกหลายใบในเวลาเดียวกัน  ย่อมปฏิเศธไม่ได้ว่า
เมื่อท่านทำงานอะไรชิ้นใดชิ้นหนึ่ง  จะให้คนเข้าใจเฉพาะเพียงฐานะของท่านเจ้าคุณว่าเป็นนักเขียนนักแปล
ก็คงไม่ได้   ก้เพราะท่านเจ้าคุรชอบเขียนนี่แหละไม่ใช่หรือ  ที่ทำให้เกิดเรื่องขึ้นครั้งหนึ่ง
เมื่อคราวต้นรัชกาลที่ ๕  ท่านเป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่และตำแหน่งราชการสูงส่ง  เมื่อขยับตัวทำสิ่งใด
ย่อมเป็นที่สนใจของผู้คนทั้งในแง่ดีและไม่ดี   ท่านเจ้าคุณต้องระวังชื่อเสียงของท่านเองและเผู้อื่น
ที่จะได้ผลกระทบจากการกระทำของท่าน   

การที่คุณวันกล่าวว่า ไม่น่าจะถูกต้องนั้น  แม้ไม่ใช่ในเชิงวิชาการ  การกล่าวเช่นนี้ต้องมีเหตุผลประกอบชัดเจน
พยายามไม่ให้อ้างอิงเอากับความรู้สึกส่วนตัวของผู้ค้นคว้า   ต่อให้คุณรู้จักคุ้นเคยกัยกับท่านเจ้าคุณมากเท่าไร
ก็ไม่พึงกล่าวเช่นนั้น   เพราะการตัดสินด้วยความรู้สึกเป็นช่องโหว่ที่คนสามารถตีหรือแย้งเอาได้
ฉะนั้น  ถ้าจะให้ดี  ควรกล่าวอย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือรองรับ  ถ้าเป็นเอกสารหลักบานได้จะดีมาก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 467  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 10:07



        ขอบคุณคุณหลวงค่ะที่รีบเขียนมาแต่เช้า  สงสัยจะรีบทำงานแล้วไปราชการที่สนามหลวงตรวจตราสิ่งพิมพ์

สะกดผิดหลายคำเลย    โอ!

ขอยกเหมียนเจียนป้ายณประตูเมืองนะคะ  เพราะมีกิจต้องไปดูแลหลายประการ  และดิฉันไม่นิยมอ้างอิงหนังสือที่เคยคุยกันมาแล้ว

ในเรือนไทย


        ฝากถามท่านผู้อาวุโสว่าวิธีที่ถูกต้องที่จะอ้าง "หนังสือข้างพระที่"   ที่ไม่มีวันเดือนปี   ควรทำอย่างไร

เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน    สหายผู้เรืองวิทยาฝากเอกสารไปให้ท่านที่อยู่ชายแดน     ดิฉันก็ได้ส่วนที่ตนเองสนใจมาส่วนหนึ่ง

คือ "ลอยกระทงปากลัด"   ซึ่งมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ   เรื่องการลอยกระทงของหม่อมไกรสร   ไม่สำคัญอะไร

แต่สนุกพอ ๆ กับเรื่องที่ ก.ศ.ร. กุหลาบเล่าเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 468  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 12:04

คงต้องอ้างเป็นเอกสารชั้นต้น  ในทำนองสำเนาเอกสารจดหมายเหตุข้างพระที่ (สำเนาตัวเขียน) ทำนองนี้กระมังครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 469  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 13:02



ขอบพระคุณค่ะคุณ วี มี      ท่านเล่าอะไรก็สนุกสนานเป็นความรู้ทั้งสิ้น

ได้พลอยหัวเราะตามก็ถือเป็นบุญตัวแล้วค่ะ

หวิดฟังไม่ทัน  อิอิ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 470  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 13:15

ควรจะอ้างอิงเป็นเชิงอรรถตัวโตสักหน่อยว่า

"ข้อมูลจากการเปิดอ่านเอกสารเก่าและลึกลับ ชื่อ ....  ไม่ระบุวันเดือนปีที่เขียน  และเลขหน้า
เอกสารดังกล่าว ได้มีสหายคนหนึ่งทำสำเนาฝากให้ผู้เขียนนำไปส่งให้ถึงมือสหายอีกคนหนึ่ง
ผู้ใดจะนำไปอ้างอิงต่อ  กรุณารับผิดชอบความถูกต้องของข้อมูลเอง"
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 471  เมื่อ 04 มิ.ย. 12, 11:49

ท่านผู้อาวุโสไปเดินชมงานพุทธชยันตีที่ทุ่งพระเมรุมา
ได้พบเพื่อนนักอ่านหนังสือเหมือนกัน  เพื่อนคนนี้ถามคำถามน่าสนใจว่า

"ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
กับตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
ทั้งสองตำแหน่งนี้  ข้างไหนมีพระอิสริยยศสูงกว่ากัน
ช่วยยกตัวอย่างมาประกอบเหตุผลด้วย"

ยากนะเนี่ย  ถามอะไรก็ไม่รู้   ท่านผู้อาวุโสไม่ตอบเอง
แต่โยนมาให้ผมช่วยหาคำตอบ  ผมไม่ว่าง  ต้องไปราชการ
ตรวจเอกสารนอกออฟฟิศหลายวัน  เลยฝากท่านช่วยไข
ปัญหานี้ให้สักหน่อยเถิด....
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 472  เมื่อ 04 มิ.ย. 12, 12:45

ท่านผู้อาวุโสไปเดินชมงานพุทธชยันตีที่ทุ่งพระเมรุมา
ได้พบเพื่อนนักอ่านหนังสือเหมือนกัน  เพื่อนคนนี้ถามคำถามน่าสนใจว่า

"ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
กับตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
ทั้งสองตำแหน่งนี้  ข้างไหนมีพระอิสริยยศสูงกว่ากัน
ช่วยยกตัวอย่างมาประกอบเหตุผลด้วย"

ยากนะเนี่ย  ถามอะไรก็ไม่รู้   ท่านผู้อาวุโสไม่ตอบเอง
แต่โยนมาให้ผมช่วยหาคำตอบ  ผมไม่ว่าง  ต้องไปราชการ
ตรวจเอกสารนอกออฟฟิศหลายวัน  เลยฝากท่านช่วยไข
ปัญหานี้ให้สักหน่อยเถิด....



ยากจริงๆ นะใต้เท้า  ตกใจ

๑. ฉัตรกางกั้น ก็ใช้ฉัตร ๗ ชั้นเหมือนกัน

๒. ศักดินาก็หนึ่งแสนเท่ากัน

๓. เครื่องยศก็ได้รับพระราชทานเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 473  เมื่อ 04 มิ.ย. 12, 20:53

ท่านผู้อาวุโสไปเดินชมงานพุทธชยันตีที่ทุ่งพระเมรุมา
ได้พบเพื่อนนักอ่านหนังสือเหมือนกัน  เพื่อนคนนี้ถามคำถามน่าสนใจว่า

"ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
กับตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
ทั้งสองตำแหน่งนี้  ข้างไหนมีพระอิสริยยศสูงกว่ากัน
ช่วยยกตัวอย่างมาประกอบเหตุผลด้วย"

ปัญหานี้ให้สักหน่อยเถิด....

ประการหนึ่งนั้นตามธรรมเนียมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลูกวังหน้าโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งพระองค์เจ้า แต่ต่อมามีการสถาปนขึ้นเป็นเจ้าฟ้าได้ แต่เพียงให้เป็นเกียรติยศเท่านั้น ดังนี้แล้ว พระอิสริยยศแห่งพระบรมโอรสาธิราชจึงมีศักดิ์สูงกว่า
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 474  เมื่อ 05 มิ.ย. 12, 07:54

พนายแลออกขุน  ที่ตอบมาดังข้างต้นนั้น  เห็นว่าควรจะมีคำถามเพิ่มเติมอีก

ท่านผู้อาวุโสท่านสงสัยขึ้นมาว่า  กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์นี้
พระอิสริยยศของแต่ละพระองค์ก็ดูจะไม่เสมอกัน  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น
ดูจะมีพระอิสริยยศสูงกว่าและพิเศากว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์อื่น

ถ้าเทียบระหว่างสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฎราชกุมารและกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ที่ไม่ใช่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  จะมีข้อสังเกตได้ว่า 

แม้เครื่องประกอบพระอิสริยยศและเครื่องราชูปโภคเหมือนกัน  จำนวนศักดินา ๑๐๐๐๐๐ ไร่เท่ากัน
แต่ขอให้สังเกตคำราชาศัพท์จะมีที่ไม่เท่ากันอยู่

๑.กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อสิ้นพระชนม์ ใช้ว่า เสด็จทิวงคต (เว้นพระบาทสมเด็จพระัปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ใช้ว่า  เสด็จสวรรคต  เสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดิน)  แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฎราชกุมาร
เมื่อสิ้นพระชนม์ ใช้ว่า เสด็จสวรรคต

๒.กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระโอรสพระธิดาอันประสูติแต่หญิงสามัญชน พระโอรสและพระธิดานั้น
มีสกุลยศเป็นพระองค์เจ้าทั้งสิ้น  ส่วนพระชนนีในพระองค์เจ้านั้น  ได้เป็นเจ้าจอมมารดา หรือจอมมารดา
ส่วนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฎราชกุมาร  มีพระโอรสพระธิดาอันประสูติแต่หญิงสามัญชน
พระโอรสพระธิดานั้นมีสกุลยศเป็นหม่อมเจ้า  พระชนนีในหม่อมเจ้านั้น  เป็นหม่อม   ในกรณีนี้เว้นแต่ว่า
พระเจ้าแผ่นดินจะได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมนั้นเป็นพระองค์เจ้า  พระโอรสและพระธิดา
จึงจะเป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า  ตามธรรมเนียมราชตระกูล

๓.กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงแต่งตั้งและถอดข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวรได้ด้วยพระอำนาจสิทธิ์ขาด
แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ไม่สามารถแต่งตั้งหรือถอดข้าราชการในพระองค์ด้วยพระอำนาจ
ต้องนำความกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดินให้ทรงถอดและทรงแต่งตั้ง

ยกตัวอย่างนี้  เพื่อแสดงให้เห็นว่า  ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร  ต่างก็มีพระอิสริยยศสูงและต่ำกว่ากันในบางประเด็น  ไม่เหมือนกันทีเดียว


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 475  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 14:39

ท่านผู้อาวุโสไม่ค่อยสบาย  แต่มีกำลังจะตั้งคำถาม
ท่านสงสัยว่า  บ้านคหบดีต่อไปนี้  ใครเป็นเจ้าของ  ใครเป็นผู้อาศัยอยู่ และตั้งอยู่ที่ไหน

๑.บ้านสามเหลี่ยม

๒.บ้านพรหมบุตร์

๓.บ้านเสมา

๔.บ้านนาวิน

๕.บ้านดารา

๖.บ้านณรงค์

๗.บ้านใจบุญ

๘.บ้านบุนนาค

๙.บ้านไกรฤกษ์

๑๐.บ้านอิศรางกูร

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 476  เมื่อ 13 มิ.ย. 12, 09:58

คำถามก่อนไม่มีใคร  ไม่เป็นไร  ทิ้งไว้อย่างนั้น

วันนี้  ท่านผู้อาวุโสมีคำถามใหม่จากสหายมาถาม

ท่านผู้อาวุโสท่านสงสัยว่า  ที่เรียกว่า พระบรมวงศานุวงศ์ นั้น
เจ้านายชั้นใดบ้างที่จัดเป็นพระบรมวงศ์ และชั้นใดบ้างที่เป็นพระอนุวงศ์
ฝากยกตัวอย่างเจ้านายประกอบการอธิบายด้วยนะ  ท่านฝากบอกมา
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 477  เมื่อ 13 มิ.ย. 12, 22:29

คำถามเรื่องบ้านคหบดี ยากมากค่ะ(สำหรับหนูดีดี)..เฉลยเลยดีกว่าอยากทราบค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

อันนี้ง่ายกว่าเยอะ...ลอกมาจากพี่วิกกี้ค่ะ...

พระบรมวงศานุวงศ์ หมายถึง พระประยูรญาติใหญ่น้อยทั้งหมดทุกราชสกุลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประกอบด้วย 2 คำ คือ

พระบรมวงศ์ (บรมวงศ์ แปลว่า วงศ์ประเสริฐ หมายถึง วงศ์ใหญ่) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็น "พระญาติที่สนิทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" อันได้แก่ เจ้านายที่มีพระยศเป็น เจ้าฟ้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ และพระองค์เจ้า ตัวอย่างพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หรือที่ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระเชษฐภคินี เป็นต้น

พระอนุวงศ์ (อนุวงศ์ แปลว่า วงศ์น้อย) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็น "พระญาติห่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" อันได้แก่ เจ้านายที่มีพระยศตั้งแต่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ลงมาถึง หม่อมเจ้า ซึ่งหม่อมเจ้าถือเป็นพระอิสริยยศชั้นสุดท้ายในบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์

ส่วนหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวงถือเป็นสามัญชน ไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์และมิได้จัดอยู่ในพระอนุวงศ์ แต่ถูกจัดอยู่ใน ราชสกุล หรือผู้สืบเชื้อสายในราชสกุล หรือผู้เนื่องในสายราชสกุล สำหรับผู้สืบเชื้อสายลงมาจากหม่อมหลวงจะมีคำนำหน้านามตามปกติสามัญคือ นาย/นางสาว และมีสร้อย ณ อยุธยา ต่อท้ายนามสกุลอันเป็นราชสกุล สำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากฝ่ายบิดาเท่านั้น และสำหรับผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากหม่อมหลวงฝ่ายมารดาสามารถขอร่วมใช้นามสกุลอันเป็นราชสกุลได้ แต่ไม่ต้องเติมคำว่า ณ อยุธยา ดังนั้นจึงพึงระวังในการใช้ เพราะพระราชวงศ์จะสืบราชตระกูลทางฝ่ายหน้าเท่านั้น (ชาย)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 478  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 09:11

บ้านคหบดีที่ท่านผู้อาวุโสเอามาถามนั้น  อยู่ในดุสิตธานี  ผมบอกเท่านี้  น่าจะมีคนตอบได้

พระบรมวงศานุวงศ์ หมายถึงพระประยูรญาติอันเกี่ยวเนื่องด้วยราชตระกูลของพระเจ้าแผ่นดิน

พระบรมวงศ์  มุ่งหมายเฉพาะพระราชโอรสพระราชธิดาในพระเจ้าแผ่นดินแต่ละรัชกาล
ไม่ว่าจะเป็นชั้นเจ้าฟ้าหรือชั้นพระองค์เจ้า  ทั้งนี้  ไม่นับรวมพระมหากษัตริย์และพระมเหสี

พระอนุวงศ์  มุ่งหมายเฉพาะเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่ไม่ใช่พระราชโอรสพระราชธิดา
ได้แก่พระองค์เจ้าชั้นพระเจ้าหลาน  พระองค์เจ้ายก  และหม่อมเจ้า 

หม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง เป็นเชื้อพระวงศ์ 

คุณดีดีส่งการบ้านสม่ำเสมอ  ท่านผู้อาวุโสฝากชมเชยครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 479  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 11:49

ท่านผู้อาวุโสไม่ค่อยสบาย  แต่มีกำลังจะตั้งคำถาม
ท่านสงสัยว่า  บ้านคหบดีต่อไปนี้  ใครเป็นเจ้าของ  ใครเป็นผู้อาศัยอยู่ และตั้งอยู่ที่ไหน

๑.บ้านสามเหลี่ยม

๒.บ้านพรหมบุตร์

๓.บ้านเสมา

๔.บ้านนาวิน

๕.บ้านดารา

๖.บ้านณรงค์

๗.บ้านใจบุญ

๘.บ้านบุนนาค

๙.บ้านไกรฤกษ์

๑๐.บ้านอิศรางกูร




บ้านไกรฤกษ์ ถนนอาคเณศาสตร์  พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์)
บ้านเสมา     ถนนสังข์สง่า         เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง