เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227653 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 450  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 08:25

ให้คุณวันดี  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 451  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 08:43



ขอบคุณคุณหนุ่มค่ะที่กรุณา       รูปท่านตอนเด็กอยู่เล่มยาว  หน้า ๑๐ ค่ะ

รูปท่านเจ้าคุณที่สง่างามคือหลังปก  ประติทินบัตร และ จดหมายเหตุ เล่มเขียว

นักสะสมผู้ใหญ่ได้ยื่นมือไปหารูปท่านและครอบครัว มาให้ ๓ รูปค่ะ


สังเกตไหมคะว่าเก้าอี้ที่เจ้าจอมพิศนั่ง  จะสูงกว่าเก้าอี้ตัวอื่นเล็กน้อย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 452  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 09:10

เรื่องนายนิล เปรียญ เอดิเตอร์ของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์  เป็นใครมาจากไหน
ผมไม่มีข้อมูล  ยิ่งถ้าเป็นนามแฝงของเจ้าคุณภาสกรวงศ์ ก็คิดไม่ออกว่า
ชื่อนายนิล  ท่านเจ้าคุณท่านคิดมาจากคุณสมบัติหรือคุณลักษณะหรือความเกี่ยวข้องอันใดของท่าน
ก้หาทราบได้ไม่  ครั้นจะให้เดาสุ่มเดาถั่วก็เห็นจะพลาดจะพลั้งได้ง่าย
ขอตั้งสังเกตว่า  ชื่อ นายนิล เปรียญ  คุณวันดีได้สอบทานดูในสารบาญชีแล้วหรือยัง
อนึ่งถ้าชื่อนายนิล เปรียญ เป็นชื่อคนที่มีอยู่จริง ไม่ใช่นามแฝงของเจ้าคุณภาสกรวงศ์
ก็มีความเป็นไปได้  คำว่าเปรียญที่ต่อท้ายชื่อ  แสดงว่ามีความรู้ด้านภาษาบาลีแลไทย
ทั้งควรจะอ่านอักษรขอมที่จารใบลานได้ด้วย   สมัยก่อนนั้น  พระหนุ่มๆ เมื่อสอบไล่ได้เปรียญแล้ว
ก็มักจะกราบบังคมทูลลาสิกขาออกมารับราชการกันมาก  เนื่องจากเป็นคนรู้หนังสือ  ไปรับราชการเป็นเสมียนเหมาะนัก
หรือถ้าไม่รับราชการ  ก็มักไปเป็นทนายหรือเลขานุการส่วนตัวของขุนนางหรือผู้มีอันจะกิน
บางคนก็ไปทำงานตามห้างฝรั่ง  ครั้นสมัยหลังมีการตั้งโรงเรียนขึ้น  เปรียญหรือมหาเปรียญ
ก็มักรับราชการเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนกันมาก   เสียดายที่เราไม่ทราบได้ว่า  นายนิล ได้เปรียญกี่ประโยค
การสอบไล่เป็นเปรียญสมัยก่อนค่อนข้างยาก  เพราะสอบแปลปากเปล่าต่อหน้ากรรการ และต่อหน้าพระที่นั่ง
ทำให้ประหม่าง่าย   ที่สำคัญคือ ไม่ได้สอบกันทุกปี  สอบครั้งหนึ่งแล้วก็เว้นไปหลายปีก็มี
ผิดกับสมัยนี้สอบทุกปี   และเป็นการสอบเขียน   รายละเอียดเรื่องการสอบไล่เปรียญบาลีพระสมัยก่อน
ถ้าจะอ่านให้สนุกต้องอ่านจากพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงอธิบายได้ละเอียดดี

ถ้านายนิลเป็นเปรียญในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็มีทางจะค้นได้ว่าเป็นเปรียญเมื่อปีใด อยู่วัดใด

อันที่จริง เจ้าคุณภาสกรวงศ์   ท่านมีโรงพิมพ์ที่ข้างวัดประยุรวงศ์  นายนิลอาจจะเป็นเสมียนในโรงพิมพ์
ที่ท่านจ้างไว้ทำการในโรงพิมพ์ของท่าน  เมื่อท่านเจ้าคุณแปลตำราอาหารภาาษอังกฤษก็อาจจะให้นายนิล
ช่วยเรียบเรียงขัดเกลาภาษาไทยให้  และก็อาจจะให้ใช้ชื่อนายนิลเป็นคนแปลหนังสือก้ได้

อันที่จริงภาษาอังกฤษในตำราอาหารนั้น  เป็นภาษาที่ไม่ยากนัก  ถ้านายนิลจะพอแปลออกก็ไม่น่าจะแปลกอะไร
แต่อาจจะมีเจ้าคุณเป็นผู้ตรวจภาษาการแปลให้  คิดได้ทั้งนั้น

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 453  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 09:13

ให้คุณวันดี  ยิ้มเท่ห์



ในภาพด้านหลัง (ด้านขวา) รูปปั้นท่านเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (ด้านซ้าย) และท่านสมเด็จฯ องค์ใหญ่
แถวยืน  คุณหญิงพวง ดำรงค์ราชพลขันธ์, นายราชาณัตยานุหาร (พาส์น)
แถวนั่ง  เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร) , ท่านเจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ ๕
แถวหน้า คุณพาสนา ชูโต

คำบรรยายจาก เว็บชมรมสายสกุลบุนนาค

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 454  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 09:26

ในทางหนังสือ  ผู้ใดมีตำรับตำราดี หายาก และราคาไว้ครอบครองเป็นสมบัติถึงหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นเล่ม
แต่ถ้าผู้นั้นไม่ได้อ่านให้ละเอียดถี่ถ้วน  ก็ไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้จักสมบัติของตนเอง 


ท่านก็กล่าวแรงไป ตรรกะนี้ไม่ถูกต้องนัก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 455  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 09:34

ขอบคุณคุณเพ็ญผู้อารีค่ะ

เรียนคุณหลวง

        คนไทยสมัยโน้นอ่านภาษาอังกฤษได้มีถมไป     แต่ตำราจัดการบ้านช่องของแม่เรือน  จะมีอยู่สักกี่เล่ม

คุณถัดท่านซื้อให้ ม.ล. เติบตอนหม่อมหลวงเติบอายุ ๘ ขวบ        ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ก็เล่าไว้ว่าเคยเห็นตำราเล่มนี้      

นายนิลจะไปหาหนังสือมาจากไหน


ขืนไปหาชื่อ คน หนึ่ง ที่ไม่มีสังกัดจากสารบาญชี  ก็คงลำบากกรากกรำจำทน

เจอสองคนที่อยู่บ้านราชทูต  และอีกสองคนที่เช่าบ้านอยู่ใกล้ ๆวัด        ซอยแถวนั้นมีโรงสุราหลายโรงทีเดียว


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 456  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 09:40

ในทางหนังสือ  ผู้ใดมีตำรับตำราดี หายาก และราคาไว้ครอบครองเป็นสมบัติถึงหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นเล่ม
แต่ถ้าผู้นั้นไม่ได้อ่านให้ละเอียดถี่ถ้วน  ก็ไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้จักสมบัติของตนเอง 


ท่านก็กล่าวแรงไป ตรรกะนี้ไม่ถูกต้องนัก

เช่นนั้น  ออกขุนจงกล่าวแย้งมาให้มีประเด็นและเหตุผลอันพึงรับฟังและยอมรับได้ในเชิงตรรกะและวิภาษวิธี
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 457  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 10:22


เรียนคุณหลวง

        คนไทยสมัยโน้นอ่านภาษาอังกฤษได้มีถมไป     แต่ตำราจัดการบ้านช่องของแม่เรือน  จะมีอยู่สักกี่เล่ม

คุณถัดท่านซื้อให้ ม.ล. เติบตอนหม่อมหลวงเติบอายุ ๘ ขวบ        ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ก็เล่าไว้ว่าเคยเห็นตำราเล่มนี้      

นายนิลจะไปหาหนังสือมาจากไหน


ขืนไปหาชื่อ คน หนึ่ง ที่ไม่มีสังกัดจากสารบาญชี  ก็คงลำบากกรากกรำจำทน

เจอสองคนที่อยู่บ้านราชทูต  และอีกสองคนที่เช่าบ้านอยู่ใกล้ ๆวัด        ซอยแถวนั้นมีโรงสุราหลายโรงทีเดียว


เรียน คุณวันดี

ท่านเจ้าคุณภาสกรวงศ์จะใจดีให้นายนิลยืมอ่านไม่ได้เชียวหรือ 
ลำพังนายนิลคงจะไม่คิดซื้อตำรากับข้าวมาให้เมียทำให้รับประทานหรอก
ถ้านายนิลยืมไปแล้วทำหายทำขาดแหว่งหรือเมียฉีกเอาทำเชื้อไฟหุงข้าวเช็ดก้นลูก
ท่านเจ้าคุณก็ไล่ออก หรือสถานเบาก็ไม่จ่ายค่าจ้าง  ตำราทำอาหารในขระนั้นจะมีกี่เล่ม
ก็ไม่น่าจะมีปัญหา   เพราะถึงหายหรือชำรุด  เจ้าคุณก็หาซื้อได้ไม่ยาก  ห้างในพระนครก็มีหลายห้าง
เรือเมล์จากกรุงเทพไปสิงคโปร์ก็มีสัปดาห์ละหลายเที่ยว  สั่งซื้ออย่างนานก็ไม่น่าเกินข้ามปีเดี๋ยวก็ได้
เจ้าคุณท่านภาสฯ ท่านเป็นยอดนักซื้อมาแต่ไหนแต่ไร  ครั้งหนึ่ง  ท่านเขียนหนังสือไปหอพระสมุด
ถามว่าหอพระสมุดมีหนังสืออะไรบ้าง ท่านจะขอซื้ออย่างละหลายเล่ม
สงสัย  ท่านเจ้าคุณจะจัดบ้านใหม่   เห็นตู้โชว์หนังสือขนาดยาวใหญ่ แบบหรูหรา ว่างเปล่า คงขัดใจ
เลยอยากได้หนังสือมาใส่ให้เต็ม  แขกไปใครมาจะได้ชี้ชวนให้ชมหนังสือ (ปกสวยอาจจะมีเหมือนกัน)
ท่านก็ทุ่มไม่อั้น  อันนี้พูดได้เพราะได้เห็นเอกสาร

กรณีคุณถัดนั้น  คงจะไปเทียบเคียงไม่ได้ทั้งหมด  เพราะฐานะ โอกาส ความจำเป็นของแต่ละคนไม่เท่ากัน
นายนิลได้อ่านหนังสือตำรากับข้าว  ก็คงเพราะเจ้าคุณบังคับ (แกมเอื้อเฟื้อ)ให้อ่าน  ลูกจ้างท่านนี่ จะให้ทำอะไรก็ต้องทำ
ไม่เช่นนั้นจะจ้างไว้ทำพระแสงของ้าวเพื่อใดกัน   

อีกประการหนึ่ง  แม้นายนิลจะเป็นเอดิเตอร์  แต่ใช่ว่านายนิลจะมีอำนาจจะอนุมัติได้ว่า
จะเอาเรื่องอะไรมาลงหนังสือประติทินบัตรได้ตามใจชอบ  อย่างไรก็ต้องผ่านความเห็นชอบจากเจ้าคุณก่อน
เอดิเตอร์สมัยก่อน ไม่เหมือนสมัยนี้  เอดิเตอร์สมัยก่อน อาจจะเป็นคล้ายๆ ผู้จัดการโรงพิมพื ดูแลเรื่องการพิมพ์อย่างเดียว


การหาข้อมูลนั้น อาศัยอิทธิบาท ๔ เป็นปัจจัยให้ไปถึงข้อมูล   ผู้มีวิริยะน้อยย่อมเดินทางไปถึงที่หมายได้ช้านัก
ข้อมูลบางอย่างตามหากันครึ่งค่อนชีวิตกว่าจะเจอ  ถ้าถอดใจเสียแต่ต้นมือแล้ว  ความสำเร็จสมหวังก็คงเดินห่างไปไกล

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 458  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 10:56



รับประทานขอแย้งว่า ตำราทำกับข้าวของยัยแหม่มนั้น    ท่านเจ้าคุณคงมิกล้าหยิบมาให้ นายนิล แปลหรอก

เพราะเจ้าของตัวจริงต้องไม่ยอม  กระฟัดกระเฟียด  แน่ ๆ


        ท่านเจ้าคุณก็เป็นนักยืมหนังสือมีชื่อ   ข้าราชการผู้ใดสั่งหนังสือเข้ามา  ท่านเป็นตามติดขอยืมอ่าน

บ้านท่านนั้นมีระเบียงกว้างขวางทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก       รับลมจากแม่น้ำ         เมื่อปูเสื่อกองหนังสือรอบตัว   

ท่านก็อ่านเรื่อยไปจนจบเป็นแถบ ๆ       แล้วทนายก็คลานเข้ามาเก็บไปตีตราเข้าตู้หนังสือ

       
         ก.ศ.ร. กุหลาบ พลาดท่าเสียทีจนต้องล้อมกรอบเล่าว่า มีขุนนางมายืมหนังสือไม่คืน

   

         เรื่องหนังสือปกสวยนั้น  เป็นปกที่ท่านเจ้าของโรงพิมพ์สั่งออกแบบทำขึ้นเป็นสมบัติส่วนตัวค่ะ

ก.ศ.ร. ได้สั่งทำเป็นบางเล่ม  เช่นหนังสือกฎหมายนายโหมด  ฉบับปกสวยค่ะ         นายวรรณไม่มีหนังสือปกสวยเลยค่ะ

เพราะด้อยฐานะ   หนังสือรุ่นล่าสุดเป็นเล่มเล็ก ๆ  ๓ เล่มค่ะ       เพิ่งเห็นเหมือนกัน  ปลวกกินปกแข็งไปแถบหนึ่ง
           
     
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 459  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 17:07

ขออนุญาตแทรกความเห็นเรื่องนายนิลเปรียญครับ

จากที่อ่านมานายนิลเปรียญนี้เป็นผู้ที่รู้ภาษาต่างประเทศถึงขนาดแปลตำหรับตำราได้  ชวนให้ระลึกถึงนายชู เปรียญ  ผู้เป็นสามเณรเปรียญวัดพระเชตุพน  แล้วลาสิกขามาเรียนต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบภาษาอังกฤษ  จบแล้วสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนวิชาการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี  สำเร็จเป็นดอกเตอร์คนแรกของเมืองไทย  ตามประวัติท่านว่า กลับมารับราชการครั้งแรกในกรมแต่งตำรา  แล้วย้ายไปเป็นผู้ช่วยพระยาภาสกรวงศ์จัดพิพิธภัณฑ์ที่หอคองคอร์เดีย  จากนั้นก็ไม่พบประวัติอีกเลย

นายนิลผู้นี้จะเป็นนามแฝงของนายชู เปรียญ ได้หรือไม่ครับ?

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 460  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 18:29

ชวนให้ระลึกถึงนายชู เปรียญ  ผู้เป็นสามเณรเปรียญวัดพระเชตุพน  แล้วลาสิกขามาเรียนต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบภาษาอังกฤษ  จบแล้วสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนวิชาการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี  สำเร็จเป็นดอกเตอร์คนแรกของเมืองไทย  ตามประวัติท่านว่า กลับมารับราชการครั้งแรกในกรมแต่งตำรา  แล้วย้ายไปเป็นผู้ช่วยพระยาภาสกรวงศ์จัดพิพิธภัณฑ์ที่หอคองคอร์เดีย  จากนั้นก็ไม่พบประวัติอีกเลย

หนังสือจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖ แต่งโดยพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ผู้ตามเสด็จและทำหน้าที่จดบันทึกการเดินทาง เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า

วันที่ ๑๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๖  ขณะ รัชกาลที่ ๕ ประทับอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เวลาบ่าย เมื่อเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว พระยาศรีสุริยราชวราวัตรก็ได้... "นำนายชูเปรียญ ซึ่งมาส่งเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นายชูคนนี้เป็นนักเรียนที่เล่าเรียนในเยอรมันสอบไล่ได้ดีแล้ว และได้ประกาศนียบัตรเป็น ดอกเตอร์ออฟฟิลอซโซฟี่ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้เล่าเรียนถึงได้รับประกาศนียบัตรชั้นนี้ มีพระราชดำรัสด้วยตามสมควรแล้วเสด็จขึ้น"

หนังสือพิมพ์สยามไมตรีรายสัปดาห์ ฉบับวันอังคารที่ ๑๔ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๖  ลงข่าวว่า

"เราได้ทราบข่าวว่า นายชู เปรียญ ซึ่งเปนนักเรียน ได้ไปเล่าเรียนศึกษาวิชาสอบไล่ได้เปนนายศิลปชั้นสกลวิทยาลัย ในกรุงเยอร์มนีนั้นกลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว จะได้มีตำแหน่งรับราชการในกรมศึกษาธิการ รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๒ ชั่งในชั้นแรก ๆ..."

นายชู ได้เคยแต่งหนังสือ และเคยทำงานในกรมพิพิธภัณฑ์ เมื่อเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ มีจดหมายพิมพ์ดีดลงวันที่ ๑๔ มกราคม ร.ศ. ๑๑๗ ทูลกรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ ว่าเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (เพ่ง บุนนาค) เจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ขอลาออกจากตำแหน่งเพราะทำผิด ถูกขังเร่งเงินหลวงอยู่ ท่านได้ให้นายชู มาเป็น "กุเรเตอร์" ในพิพิธภัณฑ์ และได้แนะนำตัวนายชูให้ทราบว่า เดิมทำการในกรมศึกษาธิการ เป็นพนักงานตรวจแต่งตำราเรียน ขณะนั้นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนมาดูอาทิตย์ละ ๒ หน..

"ผู้ที่มาดูน้อย นอกจากงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาฉัตรมงคลซึ่งผู้ที่มาดูนับหมื่นแต่ชอบดูส่วนแนชุรัล ฮีสตอรี ยิ่งกว่าสิ่งอื่น"

"นายชูบาเรียน ตามที่สังเกตความรู้เปนดอกเตอร์ฟิโลโซฟีในการปราชญ์ แลเข้าใจอยู่ในทางแนชุรัล ฮิสตอรีด้วย ตัวก็เต็มใจที่จะทำการนี้ยิ่งกว่าการทำการอยู่ในกรมศึกษาธิการ เพราะสังเกตดูในกรมศึกษาธิการจัดอยู่ข้างอังกฤษ ไม่สู้ถูกกับข้างเยอรมัน เมื่อตรวจตำราเรียนอยู่ แลได้ไปเลกเชอร์ที่โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สอนเด็กนั้น ก็ว่านักเรียนไม่สู้จะเข้าใจนัก ไม่เหมือนอย่างนายสนั่น..."

นายชูจบการศึกษาระดับปริญญาเอก Ph.D. จากประเทศเยอรมัน เมื่อกลับเมืองไทยได้รับราชการอยู่ที่กรมศึกษาธิการ มีหน้าที่ตรวจ และแต่งตำราเรียน แต่อยู่คนละสำนักกับนักเรียนที่จบจากอังกฤษ การสอนไม่เก่งเท่านายสนั่น (ภายหลังได้เป็นเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) มีความสนใจด้านประวัติศาสตร์ ต่อมาได้ย้ายไปรับราชการที่กรมพิพิธภัณฑ์มีหน้าที่เป็นผู้ดูแล พิพิธภัณฑ์

ภายหลังเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ได้ส่งสำเนาเล็กเชอร์ เรื่อง “เล็กเชอร์ ตำนานพงษาวดารโลก ตอน๑ " ซึ่ง นายชู บาเรียน เป็นผู้แสดง ถวายในหลวง รัชกาลที่ ๕ และทรงมีพระราชกระแส ซึ่งแจ้งเป็นหนังสือโดยกรมพระสมมตอมรพันธ์ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๑๗ ว่า “ ดี แต่ยากแก่ผู้ไม่มีความรู้"

ข้อมูลจากบทความเรื่อง ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: บัณฑิตผู้แสวงหาความรู้เองได้   โดย ดร.ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 461  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 08:49


นายชู ได้เคยแต่งหนังสือ และเคยทำงานในกรมพิพิธภัณฑ์ เมื่อเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
มีจดหมายพิมพ์ดีดลงวันที่ ๑๔ มกราคม ร.ศ. ๑๑๗ ทูลกรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ ว่าเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (เพ่ง บุนนาค)
เจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ขอลาออกจากตำแหน่งเพราะทำผิด ถูกขังเร่งเงินหลวงอยู่ ท่านได้ให้นายชู มาเป็น "กุเรเตอร์" ในพิพิธภัณฑ์
และได้แนะนำตัวนายชูให้ทราบว่า เดิมทำการในกรมศึกษาธิการ เป็นพนักงานตรวจแต่งตำราเรียน ขณะนั้นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนมาดูอาทิตย์ละ ๒ หน..


เรื่องนายเพ่ง ศรีสรรักษ์นั้นมีรายละเอียดมาก  ถ้าจะให้เล่าต้องให้เวลานาน
ควรแต่สรุปสั้นๆ ว่า นายเพ่งนั้น  บิดาและมารดาเหลืออดเหลือนกับพฤติกรรมมาก
จนถึงแก่ทำหนังสือกราบบังคมทูลให้ทรงถอดออกจากตำแหน่งและยศบรรดาศักดิ์
รวมทั้งถอดออกจากสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรร์จุลจอมเกล้า ในฐานะเป็นบุตรคนโตที่สืบสกุลเจ้าพระยาภาสกรวงศ์
และตัดสิทธิจากทายาทผู้ควรได้รับมรดกด้วย 

ส่วนเรื่องที่นายเพ่ง ติดคุกนั้น  กรณีที่นายเพ่งติดคุกเพราะถูกเร่งเงินหลวงค่านาก็เป็นกรณีหนึ่ง
แต่ก็ยังติดไม่นานเท่ากับคดีต่อมาภายหลังที่นายเพ่งออกจากราชการแล้ว คดีนั้นเป็นคดีใหญ่
ที่มีเจ้านายเข้าไปเกี่ยวข้อง  และเป็นคดีที่ไม่เคยเกิดในเมืองไทยมาก่อน  ผลนายเพ่งติดคุกอยู่หลายปี
กว่าจะพ้นมาได้โดยการดปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษ   ส่วนเจ้านายพระองค์นั้น
ต้องทรงรับโทษข้ามรัชกาลเป็นเวลานานกว่านายเพ่งหลายปี
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 462  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 23:30


รับประทานขอแย้งว่า ตำราทำกับข้าวของยัยแหม่มนั้น    ท่านเจ้าคุณคงมิกล้าหยิบมาให้ นายนิล แปลหรอก

เพราะเจ้าของตัวจริงต้องไม่ยอม  กระฟัดกระเฟียด  แน่ ๆ
      

อันนี้เป็นข้อสันนิษฐานของคุณวันดี   ผมสันนิษฐานไปนั้นก็ว่าไปตามความที่จะเป็นไปได้หลายๆ ทาง
การที่เจ้าคุณภาสกรวงศ์จะให้นายนิลยืมหนังสือตำรากับข้าวฝรั่งหรือไม่นั้น  ผมคิดในทางว่า
เจ้าคุณก็เป็นขุนนางผู้ใหญ่  ฐานะทางสังคมก็มี  ฐานะทางการเงินก็มิได้ขัดสน  ความขี้เหนียวในตัวท่านน่าจะมีน้อย
หากท่านขี้เหนียวมากจริงๆ  ท่านจะกล้าเอาทุนทรัพย์มาลงทุนทำโรงพิมพ์หรือพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้เช่นนี้หรือ

ถ้าเจ้าเจ้าคุณไม่ให้นายนิล เปรียญยืมหนังสือ   ก็คิดอีักได้ว่า  ท่านอาจจะให้ทนายหรือเสมียนของท่านคัดเอาตำราอาหาร
บางอย่างมาให้นายนิลแปลก็ได้   หนังสือก็อยู่กับท่านไม่ต้องกลัวว่าจะหาย  นายนิลแปลจบสองสามอย่างเอามาส่งให้ท่านเจ้าคุณตรวจ
ท่านเจ้าคุณก็ส่งสูตรอาหารใหม่ให้นายนิลไปแปลอีก  วิธีนี้ก็สะดวกดีเหมือนกัน  คุณวันดีว่าอย่างไร 
บางทีบ้านเจ้าคุณอาจจะมีพิมพ์ดีด   เสมียนก็พิมพ์ดีดแทนการคัดลอกด้วยมือก็ได้   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 463  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 00:10


        ท่านเจ้าคุณเป็นคนล้ำยุค   การทำบุญโดยตั้งโรงเรียน  พิมพ์หนังสือเรียนแจกท่านก็ทำมาแล้ว

ลูกท่านก็หลายคน     หนี้สินของนายเพ่งก็มหาศาลจนกระทั่งท่านผู้หญิงกับท่านเจ้าคุณต้องขอผ่อนใช้

เป็นเวลานาน    การพิมพ์หนังสือต่าง ๆ ท่านก็ทดลองทำมาโดยตลอด  หลายฉบับก็ต้องเลิกไปโดยปริยาย

ด้วยคณะผู้จัดทำเกิดมีธุระตามผู้หญิงไปบ้าง   ออกเรือนไปบ้าง    ผู้อ่านถึงกับต้องเขียนมาประท้วงว่าพิมพ์ให้จบ ๆ

เสียบ้างเถิด         

        ตำรานั้นเป็นตำราสมัยใหม่  เพราะแสดงเครื่องปรุงไว้ตอนต้น   ตามด้วยวิธีทำ      การที่ยัยแหม่มจะ

เป็นสาวเพิ่งแต่งงานและทำกับข้าวไม่เป็นไม่เกี่ยวกับความนิยมของแหม่มทั้งหลาย       เรื่องที่ท่านผู้หญิงจะให้นายนิลยืมมาแปลนั้น

น่าจะไม่ถูกต้อง             นายนิลเปรียญนั้นอาจจะใช้ภาษาอังกฤษได้  แต่คงไม่คุ้นเคย  จนมีคอลัมน์อาหารฝรั่งของตนเอง

       
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 464  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 06:13

เรื่องถูกต้องหรือไม่ถูกต้องนั้น  ผมว่าไม่เกี่ยวเลย  และไม่พึงกล่าวเช่นนั้น
เพราะถ้ากล่าวเช่นนั้น  ก็ต้องถามกลับว่า  ที่ว่าไม่น่าจะถูกต้อง 
เอาหลักเอาเกณฑ์อะไรมาเป็นบรรทัดฐานพิจารณาเรื่องความถูกต้อง
การที่ท่านเจ้าคุณจะให้นายนิล ปเรียญ ยืมหนังสือตำรากับข้าวฝรั่ง หรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและความพอใจของท่านเจ้าคุณหรือท่านผู้หญิง  จะให้ยืมก็ได้ ไม่ให้ยืมก็ได้
ถ้าไม่ให้ยืม ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร  นายนิลก็สบายดี  ไม่เดือดร้อนอะไรด้วยเพราะลำพังงานบรรณาธิการ
ในโรงพิมพ์ก็จุกจิกอยู่ 

ส่วนนายนิลจะมีคอลัมน์เป็นของตนเองได้หรือไม่ได้  ท่านเจ้าคุณคงตัดสินใจเอง
ท่านเจ้าคุณอาจจะเห็นว่า  ท่านเป็นถึงขุนนางผู้ใหญ่ มีตำแหน่งราชการเป็นถึงองคมนตรี
อยู่ๆ จะมาแปลตำรากับข้าวฝรั่งลงในหนังสือที่ตนเองเป็นเจ้าของ  คนอาจจะนินทาว่าเอาได้
นายนิลอาจจะเป็นนอมินีของท่านเจ้าคุณก็ได้   คิดได้ทั้งนั้น   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง