เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 228498 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 390  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 09:17

ตอบให้ตรงคำถาม   ที่ตอบมานี่  จะบอกว่าไม่กระทบคำถามเลยก็คงจะได้

น้องเขาถามว่า   เสด็จลง กับ เสด็จออก สองคำนี้ใช้แตกต่างกันอย่างไร
มีเกณฑ์พิจารณาในการใช้คำทั้งสองคำนี้อย่างไร ฮืม

กรุณาจับประเด็นคำถามให้ถูกต้องด้วย 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 391  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 09:27

ถามคุณหลวงเล็ก

หลานชายเข้ามาถามว่า "เคยได้ยินชื่อเจ้าฟ้าไปไรต์ไหม" คุณหลวงเล้กเคยได้ยินป่าว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 392  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 09:31

หนูดีดี เคยได้ยินค่ะ เจ้าฟ้าไบไรต์... ยิงฟันยิ้ม
แต่ท่านsiamese ถามคุณหลวง เนอะ....
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 393  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 09:32

ตอบให้ตรงคำถาม   ที่ตอบมานี่  จะบอกว่าไม่กระทบคำถามเลยก็คงจะได้

น้องเขาถามว่า   เสด็จลง กับ เสด็จออก สองคำนี้ใช้แตกต่างกันอย่างไร
มีเกณฑ์พิจารณาในการใช้คำทั้งสองคำนี้อย่างไร ฮืม

กรุณาจับประเด็นคำถามให้ถูกต้องด้วย 

แวะไปกินน้ำแข็งไส ใส่นม น้ำแดงให้ใจเย็น ๆ หน่อยท่าน

เสด็จออก ควรจะเหมือนการเสด็จอย่างออฟฟิศเชี่ยว Official คือ อย่างเป็นทางการ เช่น เสด็จออกมหาสมาคม, เสด็จออกรับหนังสือ

เสด็จลง ควรไปด้วยองค์เอง เช่น เสด็จลงทรงบาตร

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคมแล้วเสด็จลงทรงบาตร"  ยิ้ม

(ไม่รู้จะถูกใจหรือไม่ประการใด ก็แวะทานน้ำแข็งไส ใส่ขนมปังด้วยนะ จะได้อิ่มท้อง)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 394  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 09:46

ถามคุณหลวงเล็ก

หลานชายเข้ามาถามว่า "เคยได้ยินชื่อเจ้าฟ้าไปไรต์ไหม" คุณหลวงเล้กเคยได้ยินป่าว  ยิงฟันยิ้ม

อ้าว  หลานชายไม่ถามเจ้าฟ้าไบโปรโมชั่น และเจ้าฟ้าไบคอกเตสซีด้วยหรือ  
สงสัยหลานชายของออกขุนไปอ่านหนังสือเล่มขาว หรือไม่ก็เล่มน้ำเงินเข้มสันปกแดงๆ
หนังสือเรื่องนี้พิมพ์หลายหนนะ  พิมพ์ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
ฉบับที่ใช้อยู่นี่ พิมพ์เมื่อปี 2537  ออกขุนมีไหมล่ะ

ส่วนที่ถามว่า เคยได้ยินหรือเปล่านั้น   ได้ยินมาหลายสิบปีแล้วล่ะออกขุน
เล่มที่ใช้นี่อยู่หน้า ๑๑  เจ้าฟ้าไบไรต์  ก็คือเจ้าฟ้าที่เกิดแต่ลูกหลวงที่เป็นเจ้าฟ้า
เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์
ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า ในรัชกาลที่ ๒  ประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า ในรัชกาลที่ ๑  ชัดไหม

เจ้าฟ้าไบไรต์พระองค์อื่น  เช่น  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลอลงกรณ์  
และสมเด็จเจ้าฟ้าพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 395  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 10:26


แวะไปกินน้ำแข็งไส ใส่นม น้ำแดงให้ใจเย็น ๆ หน่อยท่าน

เสด็จออก ควรจะเหมือนการเสด็จอย่างออฟฟิศเชี่ยว Official คือ อย่างเป็นทางการ เช่น เสด็จออกมหาสมาคม, เสด็จออกรับหนังสือ

เสด็จลง ควรไปด้วยองค์เอง เช่น เสด็จลงทรงบาตร

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคมแล้วเสด็จลงทรงบาตร"  ยิ้ม

(ไม่รู้จะถูกใจหรือไม่ประการใด ก็แวะทานน้ำแข็งไส ใส่ขนมปังด้วยนะ จะได้อิ่มท้อง)

ที่ตอบมานั้น  ยังไม่ถูกต้อง

เสด็จออกมหาสมาคม เป็นราชาศัพท์ ๑ คำ  ไม่ใช่ เสด็จออก ๑ คำ กับมหาสมาคม ๑ คำ 
เสด็จออกรับหนังสือ  ก็ยังไม่เข้าประเด็น  การเสด็จอย่างออฟฟิศเชียล  หมายความว่าอย่างไร  โปรดอธิบาย
เสด็จลง ยิ่งแล้วใหญ่ยิ่งอ่านยิ่งง 

ไปรับประทานไอศกรีมมะม่วงสัก ๓ ลูกดีกว่า   น้ำแข็งไสรับประทานบ่อยแล้ว เบื่อ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 396  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 17:06

เอามาฝากคนละถ้วย...จะได้คลายร้อนค่ะ..ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 397  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 17:40

เสด็จออก  จะใช้เมื่อ พระราชทานพระบรมราชวโรกาส/พระราชทานพระราชวโรกาส/ประทานพระวโรกาส
ให้คณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ/เฝ้า ในที่ประทับ  เช่น 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่

หมายความว่า  พระเจ้าอยู่หัวประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  แล้วเสด็จออกให้คณะบุคคลเฝ้าฯ

แต่ถ้าพระราชทานพระบรมราชวโรกาส/พระราชทานพระราชวโรกาส/ประทานพระวโรกาส
ให้คณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ/เฝ้า ในที่อื่น ที่ไม่ใช่ที่ประทับ  เช่น  ศาลาสหทัยสมาคม  ศาลาดุสิดาลัย เป็นต้น
ให้การเฝ้าฯ/เฝ้าที่ต้องเปลี่ยนสถานที่ที่ไม่ใช่ที่ประทับ  อาจจะด้วยจำนวนคนในคณะมาก หรือมีคณะเฝ้าฯ/เฝ้ามากคณะ
จึงต้องเปลี่ยนสถานที่สำหรับเฝ้าฯ/เฝ้าให้เหมาะสมเฉพาะการนั้น  ให้ใช้ว่า เสด็จลง

เช่น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลง ณ ศาลาดุสิดาลัย  สวนจิตรลดา  พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้
คณะบุคคลต่างๆ เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล  เนื่องในดอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 

หมายความว่า  พระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ประทับที่ศาลาดุสิดาลัย  แต่เสด็จฯ มาทรงใช้ที่ศาลาดุสิดาลัยสำหรับทรงรับแขกนั่นเอง

ใครไม่เข้าใจ  ยกมือถามได้ เจ๋ง
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 398  เมื่อ 28 เม.ย. 12, 20:57

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 399  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 09:40

ขอบคุณคุณดีดี สำหรับหวานเย็น ๓ ถ้วย  ผมขอรับประทานคนเดียวทั้งหมด  เพราะไม่มีใครมาขอแบ่ง
เกรงว่าวางนานไป น้ำแข็งละลายเสียรสเสียของ   

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 400  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 12:12

หัวข้อคำถามสำหรับวันหยุดสุดสัปดาห์ปลายเดือนเมษายน ๒๕๕๕

"ยังจำได้ไหม"

ท่านผู้อาวุโสได้หนังสือมาหลายเล่ม จึงมาเล่าให้ผมฟัง  แล้วก็ถามว่า
พอจะจำได้ไหมว่า คำพูดต่อไปนี้ เป็นคำพูดของใคร  พูดกับใคร

๑. "ปิดหีบไม่ลง"

๒. "มันจริงของเขาเสียแล้วนะน้องเอ๋ย"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 401  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 18:01

๑. สำนวน ปิดหีบไม่ลง หากพูดถึงรายจ่ายที่มากกว่ารายได้ ใคร ๆ ก็อาจพูดกันได้

๒.
ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับพระนิพนธ์ฉันท์และโคลงจารึกอนุสสาวรีย์พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาศเล็กน้อยครับ

"...ฉันท์แลธดคลงจารึกอนุสาวรีย์นี้  ใครได้อ่านมีความเห็นเป็นอันเดียวกันว่าแต่งดีที่สุดในกลอนไทย  ไม่มีกวีคนใดที่ปรากฏมาแต่ก่อนแต่งดีกว่านี้ได้  มีคำกระซิบกล่าวกันในเวลานั้นว่า  กรมหลวงพิชิตฯ ทรงแต่งดีได้อย่างนี้อาจจะร้อนพระทัยในภายหน้า  เมื่อโปรดฯ ให้แต่งสำหรับจารึกอื่นซึ่งสำคัญยิ่งขึ้นไป  กรมหลวงพิชิตฯ จะไม่สามารถทรงแต่งได้ดีถึงอนุสสาวรีย์นี้  คำที่กล่าวนี้ทราบถึงกรมหลวงพิชิตฯ ครั้นภายหลังมาก็เป็นจริงอย่างเขาว่า  เคยตรัสแก่ข้าพเจ้าว่า "มันจริงของเขาเสียแล้วนะน้องเอ๋ย"..."

ข้อความนี้เป็นคำของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงเล่าไว้ในหนังสือประชุมพระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เมื่อพิมพ์ครั้งแรก ปี ๒๔๗๒ ในคราวฉลองอายุครบ ๗๐ ปี หม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี โปรดให้พิมพืแจกในงานดังกล่าว แล้วได้พิมพ์อีกครั้งในในปี ๒๔๙๓ ในงานศพหม่อมสุ่นฯ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 402  เมื่อ 14 พ.ค. 12, 12:01

^
1.คำพูดนี้ไม่ใช่สำนวน  เป็นคำพูดหมายความตรวตัวอักษร  ที่ตอบมานั้น ผิด

2.ข้อนี้ง่าย  เพราะหาคำตอบได้ในเรือนไทย  ถ้าตอบถูกก็เป็นเรื่องธรรมดา
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 403  เมื่อ 14 พ.ค. 12, 15:36

ท่านผู้อาวุโสชวนผมไปรับประทานอาหารที่บ้านเมื่อหลายวันก่อน
แล้วท่านก็นึกครึ้มอย่างไรไม่ทราบ  ถามผมว่า  รู้จักอาหารที่มีส่วนประกอบและวิธีการทำอย่างนี้หรือไม่
ผมตอบท่านไปว่า  ผมถนัดรับประทานอย่างเดียว  เรื่องตำรับตำราการทำอาหารนั้น ผมรู้งูๆ ปลาๆ
ท่านก็ยังคะยั้นคะยอให้ผมตอบให้ได้  ผมเลยเอามาถามท่านทั้งหลายในเรือนไทย
ช่วยกันตอบหน่อยว่า  อาหารที่มีส่วนผสมและวิธีการทำอย่างนี้ คือ อาหารที่มีชื่อว่าอะไร

ส่วนผสมอาหารปริศนา

เต้าหู้เหลือง  บรรจงหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  หั่นเสร็จทอดให้กรอบ ปริมาณกึ่งช้อนโต๊ะ

มันหมูแข็งต้ม  กับเนื้อหมู หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ยาวๆ   มันแข็งต้มปริมาณครึ่งถ้วยชา  เนื้อหมูนั้นให้มากกว่าเท่าหนึ่ง

เนื้อไก่ หั่นชิ้นเล็กๆ ๑ ถ้วยชา  ส่วนเนื้อหน้าอกไก่นั้นให้ต้มให้สุก แล้วฉีกเป็นเส้นฝอย

กุ้ง  เน้นที่สดๆ ปอกรีดกลางตัวหั่นชิ้นเล็กปริมาณเท่ากับเนื้อหมู

กรกฎสมุทร ๑ ตัว เอาลงน้ำเดือดพล่าน  สุกแล้วยกขึ้นพักให้เย็น  จากนั้นแกะเอาเนื้อ

กระเทียมดอง  ปอกเปลือก แล้วหั่นซอยตามความยาวของกลีบ กึ่งถ้วยชา

ฝานส้มซ่าบางๆ ตามผล  หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กช้อนโต๊ะเดียว

พริกแดง  เอาที่สดๆ เอาเมล็ดออก หั่นแช่น้ำให้แข็งตัว  ช้อนโต๊ะเดียว
ล้างผักชีให้สะอาด  แล้วเด็ดเป็นใบ   ถั่วงอก เด็ดรากล้างให้สะอาดเอี่ยมอ่อง
กุ้ยช่าย ล้างน้ำ หั่นเป็นท่อนสั้น   อ้อ  อย่าลืมปูกับไก่ต้มฉีกด้วย

บดเต้าเจี้ยว ๑ ช้อนหวาน เอาละเอียดๆ  ซีอิ๊วขาว น้ำส้ม (เอาเปรี้ยวๆ) ปริมาณเท่าเต้าเจี้ยว
น้ำตาลทราย ๒ เท่าของเต้าเจี้ยว   น้ำปลา ๑ ช้อนโต๊ะ   พริกป่น  ท่านให้เอาใหม่ ๑ ช้อนชา
ท่านให้เอามาผสมผสานเข้าด้วยกัน  พอน้ำตาลละลายแล้วลองลิ้มชิมรสให้รสหวานนำ  เปรี้ยวเค็มพอสมควร
ได้ที่แล้วตั้งพักไว้เป็นน้ำเชื้อ
...
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 404  เมื่อ 14 พ.ค. 12, 15:55

^
ไม่ทราบว่าผสมเครื่องปรุงทั้งหมดแล้วจะทานได้หรอเนี่ย  ประการหนึ่งผู้รับประทานทานกุ้ง และกรกฎมหาสมุทร จะขึ้นผดผื่นเต็มตัวหรือเปล่าก็ไม่รู้

อาหารที่ปรุงน้ำเชื้อนี้ มีผิวส้มซ่า มีกระเทียมดอง แถมยังมีเต้าหู้ทอดกรอบ ทำให้นึกถึง "หมี่กรอบ" เลือกหมี่เส้นตรง ๆ ไม่หยิกหยองเพราะจำให้ทอดหมี่ไม่ขึ้นฟู และไม่กรอบ

ควรมิควรวานบอก  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.021 วินาที กับ 20 คำสั่ง