เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227663 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 08:12

ยังไม่เห็นใครตอบเรื่อง เข็ม ค



ดีครับ   ผมก็รออยู่ว่า  เมื่อไรจะมีคนมาตอบ  อุตส่าห์ใบ้ให้ขนาดนี้แล้ว
ขอบคุณคุณกะออมที่กรุณามาตอบให้ชื่นใจ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 15:07

ท่านผู้อาวุโสนั่งอยู่ว่างๆ ตอนตะวันบ่าย  โทร.มาถามผมว่า

คุณหลวงรู้ไหมว่า  สตรีคนแรกที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาคือผู้ใด
ได้รับเมื่อไร และได้รับเข็มอะไร ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 21 เม.ย. 12, 08:55

คำถามจากท่านผู้อาวุโส (อีกแล้ว) ท่านให้ไปดูที่กระทู้ ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 20:10

ท่านผู้อาวุโสนั่งอยู่ว่างๆ ตอนตะวันบ่าย  โทร.มาถามผมว่า

คุณหลวงรู้ไหมว่า  สตรีคนแรกที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาคือผู้ใด
ได้รับเมื่อไร และได้รับเข็มอะไร ยิงฟันยิ้ม

แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี
เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
แก่ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

                                         แจ้งความ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙
                                                     จอมพล ป. พิบูลสงคราม
                                                           นายกรัฐมนตรี
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 24 เม.ย. 12, 08:45

ท่านผู้อาวุโสนั่งอยู่ว่างๆ ตอนตะวันบ่าย  โทร.มาถามผมว่า

คุณหลวงรู้ไหมว่า  สตรีคนแรกที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาคือผู้ใด
ได้รับเมื่อไร และได้รับเข็มอะไร ยิงฟันยิ้ม

แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี
เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
แก่ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

                                         แจ้งความ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙
                                                     จอมพล ป. พิบูลสงคราม
                                                           นายกรัฐมนตรี

ขยันดี  ไม่เปลี่ยนแปลงเลยนะพนาย  ทผญ.ละเอียด พิบูลสงคราม เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา
กับเข็มศิลปวิทยา  เมื่อ ปี ๒๔๙๙ 

หลังจากนั้น  กว่าจะมีสตรีได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา  เข็มศิลปวิทยา อีก ปี ๒๕๑๒
คือ คุณหญิงประไพ  ผ่องอักษร  สภากาชาดไทย   คนที่ ๓ คือ ท่านผู้หญิงแผ้ว  สนทวงศ์เสนี
ได้รับพระราชทานเมื่อ ปี ๒๕๑๔

ขอบใจพนายที่มาทำให้กระทู้เคลื่อนไหว ยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 08:06

ช่วงนี้ ท่านผู้อาวุโสหลบร้อนไปนั่งอ่านเอกสารเก่าๆ แถวท่าวาสุกรี
แลได้นัดท่านผู้อาวุโสกว่ามาอ่านเอกสารด้วยกัน 
วันก่อน  ได้สนทนาถึงเจ้านายวังหน้าทรงทำเพลงยาวกับสาวครึ่งชาติ
ในคราวเกิดเรื่องขัดเคืองจนถึงกับเข็นปืนขึ้นป้อมกำแพงวัง

ท่านผู้อาวุโสกว่าท่านถามว่า  อ้อ ใช่ที่กึ่งๆ นิราศหรือเปล่า ที่พูดถึงพระยาวังหน้า
๕-๖ คน ตามเสด็จไปบ้านกงสุลที่เล่นม้าหมดตัวหนีเข้ามาเมืองสยามนะหรือ

ฮึ ไม่ช่าย  เพลงยาวนี้  เจ้านายกับสาวครึ่งชาติเขาแต่งโต้ตอบกัน
สาวตั้งตัวจะเป็นครูสอนภาษาวิลาศถวายเจ้านาย  เจ้านายก็ยอมลดพระองค์เป็นศิษย์
แต่งในคราวเดียวกับเพลงยาวเสด็จย้ายที่ประทับไปบ้านกงสุล 
เป็นเพลงยาวลี้ลับไม่แพร่หลาย   ถ้าเห็นแค่ชื่อเอกสาร  ก็นึกไม่ออกว่าเป็นเรื่องอะไร
ต้องเปิดอ่านดูจึงได้รู้ความ

มีตอนหวาดเสียวไหม   

เท่าที่อ่านดู  ยังไม่หวาดเสียวเท่าที่ควร  แต่หลายยาวหลายบทกว่านี้ก็ไม่แน่นะ
เพราะดูๆ ก็ทั้งสองก็มีไมตรีต่อกันอยู่   อายุก็เห็นพอๆ กัน  ห่างกันไม่มาก

อืมม์  น่าสนใจ   เจ๋ง เจ๋ง
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 10:19


เท่าที่อ่านดู  ยังไม่หวาดเสียวเท่าที่ควร  แต่หลายยาวหลายบทกว่านี้ก็ไม่แน่นะ
เพราะดูๆ ก็ทั้งสองก็มีไมตรีต่อกันอยู่   อายุก็เห็นพอๆ กัน  ห่างกันไม่มาก

อืมม์  น่าสนใจ   เจ๋ง เจ๋ง

อืมม์ เจ้าชายวังหน้า ตอนนั้นอายุ ๓๖ พระชันษา ฝ่ายสาวครึ่งชาติ อายุได้ ๑๘ ปี

ชายหนุ่มกำลังอยู่ในวัยฉกรรจ์ แข็งแรง
หญิงสาวก็เพิ่งวัยรุ่นแรกแย้ม เบิกบาน
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 10:46


เท่าที่อ่านดู  ยังไม่หวาดเสียวเท่าที่ควร  แต่หลายยาวหลายบทกว่านี้ก็ไม่แน่นะ
เพราะดูๆ ก็ทั้งสองก็มีไมตรีต่อกันอยู่   อายุก็เห็นพอๆ กัน  ห่างกันไม่มาก

อืมม์  น่าสนใจ   เจ๋ง เจ๋ง

อืมม์ เจ้าชายวังหน้า ตอนนั้นอายุ ๓๖ พระชันษา ฝ่ายสาวครึ่งชาติ อายุได้ ๑๘ ปี

ชายหนุ่มกำลังอยู่ในวัยฉกรรจ์ แข็งแรง
หญิงสาวก็เพิ่งวัยรุ่นแรกแย้ม เบิกบาน
 ยิงฟันยิ้ม

ไม่นะ...อายุ ๑๘ แก่มากแล้วจะมาแรกแย้มอะไรอีกละพ่อคู้ณณณณณ  มีลูก ๒ - ๕ คนได้แล้ว (รวมแฝด) สาวรุ่นต้องหลังโกนจุก ๒ - ๓ ปีถือว่าดีนักแล  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 14:22

ฮึ ไม่ช่าย  เพลงยาวนี้  เจ้านายกับสาวครึ่งชาติเขาแต่งโต้ตอบกัน
สาวตั้งตัวจะเป็นครูสอนภาษาวิลาศถวายเจ้านาย  เจ้านายก็ยอมลดพระองค์เป็นศิษย์
แต่งในคราวเดียวกับเพลงยาวเสด็จย้ายที่ประทับไปบ้านกงสุล 
เป็นเพลงยาวลี้ลับไม่แพร่หลาย   ถ้าเห็นแค่ชื่อเอกสาร  ก็นึกไม่ออกว่าเป็นเรื่องอะไร
ต้องเปิดอ่านดูจึงได้รู้ความ

มีตอนหวาดเสียวไหม   

เท่าที่อ่านดู  ยังไม่หวาดเสียวเท่าที่ควร  แต่หลายยาวหลายบทกว่านี้ก็ไม่แน่นะ
เพราะดูๆ ก็ทั้งสองก็มีไมตรีต่อกันอยู่   อายุก็เห็นพอๆ กัน  ห่างกันไม่มาก

อืมม์  น่าสนใจ   เจ๋ง เจ๋ง

ขออ่านบ้างได้ไหมหนอ

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 16:39


เท่าที่อ่านดู  ยังไม่หวาดเสียวเท่าที่ควร  แต่หลายยาวหลายบทกว่านี้ก็ไม่แน่นะ
เพราะดูๆ ก็ทั้งสองก็มีไมตรีต่อกันอยู่   อายุก็เห็นพอๆ กัน  ห่างกันไม่มาก

อืมม์  น่าสนใจ   เจ๋ง เจ๋ง

อืมม์ เจ้าชายวังหน้า ตอนนั้นอายุ ๓๖ พระชันษา ฝ่ายสาวครึ่งชาติ อายุได้ ๑๘ ปี

ชายหนุ่มกำลังอยู่ในวัยฉกรรจ์ แข็งแรง
หญิงสาวก็เพิ่งวัยรุ่นแรกแย้ม เบิกบาน
 ยิงฟันยิ้ม

ไม่นะ...อายุ ๑๘ แก่มากแล้วจะมาแรกแย้มอะไรอีกละพ่อคู้ณณณณณ  มีลูก ๒ - ๕ คนได้แล้ว (รวมแฝด) สาวรุ่นต้องหลังโกนจุก ๒ - ๓ ปีถือว่าดีนักแล  แลบลิ้น

เอ๊ะๆๆ ออกขุน ลูกฝรั่งหนา
เรายังไม่รู้เลย ว่าพ่อตาน้ำข้าวของหล่อนน่ะให้หล่อนไว้จุกหรือเปล่า แล้วจะโกนจุกได้อย่างไร แลบลิ้น

แล้วกว่าหล่อนจะมีสามี (เป็นตัวเป็นตน) ก็ผ่านวิกฤตการณ์วังหน้ามาอีกสักพักใหญ่ๆ เจียว ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 16:46


        ในฐานะประจำการอยู่ที่กองบัญชาการหลังร้านไอสครีมน้ำมะพร้าวมาครึ่งปีแล้ว    เห็นอาลักษณ์แต่งเต็มยศมาแถวนี้บ่อย ๆ

จึงไปตามอ่านดูว่ามาค้นอะไรบ้าง        ยอมรับว่าแปลกพอใช้  แล้วแต่จะตีความกันไป
 
คำอธิบายเพลงยาว    ยาวประมาณเกือบหน้าครึ่ง  พิมพ์ด้วยพิมพ์ดีด

คนเขียนพอจะทราบข้อมูลอยู่บ้าง  แต่อธิบายยังไม่กระจ่าง   และไม่มีอ้างอิงเลย

คนเขียนเล่าว่า อำแดงปรางเป็นหมู่โขลน   แต่ตามที่เห็นมาเธอเป็นละคร  

เรื่องแฟนนีไม่อยู่ในกรุงก็ไม่มีหลักฐานอะไร   จะไปอังกฤษกับบิดาเป็นเวลาเกือบ ๒ ปีเชียวหรือ


        คำอธิบายเล่าว่ากว่าแขจะได้แต่งงานก็ต้างเติ่งอยู่จนอายุราว ๓๐

แต่แต่งไปกับพ่อเลี้ยงหลุยส์เพราะมารดามีทรัพย์



       เพลงยาวยังไม่เก่งเท่าไร   อ่านแล้ว "ไม่จิกหมอน" เลยค่ะคุณเพ็ญ

ฝ่ายหญิงถวายผ้าเช็ดหน้า

"ได้ดูต่างก็แต่ผ้าเช็ดหน้านวล                  หอมตระหลบอบร่ำน้ำกุหลาบ

ที่นาสิกติดทราบไม่หายหวล                    จะแกล้งให้เชือดหั่นนั้นไม่ควร


เพราะได้ชวนใจชื่นทุกคืนมา"

           ขอไปตรวจสอบก่อนนะคะ    แหม่มปรางไม่ได้ไปอังกฤษกับน๊อกซ์ค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 08:43

ช่วงนี้ เป็นช่วงคัมแบ็กทูสคูล  มีนักเรียนเดินผ่านหน้าอาศรมวิทยาของท่านผู้อาวุโส
เด็กนักเรียนคนหนึ่งซึ่งอยู่แถวๆ อาศรมของท่านผู้อาวุโส  มีข้อสงสัยเรื่องราชาศัพท์
อยากจะเรียนถามขอความรู้สักหน่อย  ท่านผู้ใดมีน้ำจิตน้ำใจใคร่ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน
เชิญเข้ามาตอบได้ตามอัธยาศัย

คำถามมีว่า

หนูดูข่าวในพระราชสำนักทุกวัน  แล้วหนูก็สงสัยว่า เวลาที่มีคณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ หรือเฝ้าพระบรมวงศานุวงศ์
ทำไมบางทีข่าวก็ใช้ว่า เสด็จออก บางทีก็ใช้ว่า เสด็จลง  ทั้ง เสด็จออก และ เสด็จลง  มีหลักเกณฑ์ในการใช้อย่างไร
อ้อ  ช่วยยกตัวอย่างให้หนูดูด้วยนะ  ขอขอบคุณทุกท่านที่มาตอบคำถามหนู ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 08:56

ช่วงนี้ เป็นช่วงคัมแบ็กทูสคูล


ยังไม่ซื้อชุดนักเรียนเลย ของเล่นของแถมจากรองเท้าบาจาก็ไม่มี ตอนนี้เรียนพิเศษอยู่  เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 09:04

ช่วงนี้ เป็นช่วงคัมแบ็กทูสคูล  มีนักเรียนเดินผ่านหน้าอาศรมวิทยาของท่านผู้อาวุโส
เด็กนักเรียนคนหนึ่งซึ่งอยู่แถวๆ อาศรมของท่านผู้อาวุโส  มีข้อสงสัยเรื่องราชาศัพท์
อยากจะเรียนถามขอความรู้สักหน่อย  ท่านผู้ใดมีน้ำจิตน้ำใจใคร่ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน
เชิญเข้ามาตอบได้ตามอัธยาศัย

คำถามมีว่า

หนูดูข่าวในพระราชสำนักทุกวัน  แล้วหนูก็สงสัยว่า เวลาที่มีคณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ หรือเฝ้าพระบรมวงศานุวงศ์
ทำไมบางทีข่าวก็ใช้ว่า เสด็จออก บางทีก็ใช้ว่า เสด็จลง  ทั้ง เสด็จออก และ เสด็จลง  มีหลักเกณฑ์ในการใช้อย่างไร
อ้อ  ช่วยยกตัวอย่างให้หนูดูด้วยนะ  ขอขอบคุณทุกท่านที่มาตอบคำถามหนู ยิงฟันยิ้ม



คำว่า เสด็จ มีหลายความหมาย  ในความหมายแรก แปลว่า เคลื่อนที่   โดยทั่วไป  ต้องมีคำต่อท้าย “ไป”  หรือ  “มา”  เพื่อให้ได้ความที่ครบถ้วนสมบูรณ์   อีกทั้งช่วยในการขยายความให้ทราบว่าผู้พูดอยู่ที่ใด   คำที่ได้ยินบ่อย คือคำว่า เสด็จพระราชดำเนิน ซึ่งมีความหมายว่า เดินทาง  ใช้กับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี   เช่น  เมื่อพูดว่า พรุ่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมากรุงเทพฯ   ทำให้ทราบว่าผู้พูดอยู่กรุงเทพฯ  เป็นต้น  
      อย่างไรก็ดี  เมื่อใช้คำต่อท้ายว่า “ขึ้น”  “ลง”  “เข้า”  หรือ  “ ออก” คงใช้คำว่า
เสด็จขึ้น หรือ เสด็จลง   เสด็จเข้า หรือ เสด็จออก เท่านั้น  เพราะใช้ในความหมายแสดงทิศทางของ
การเคลื่อนที่  ไม่ได้ใช้ในความหมายของการเดินทาง
ข้อมูลที่มา สำนักราชเลขาธิการ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 09:11

 ยิงฟันยิ้ม

การใช้คำว่า “เสด็จ”

เสด็จ + คำกริยาสามัญ  เช่น : -  เสด็จออก  เสด็จขึ้น  เสด็จลง ฯลฯ
เสด็จ + คำนามราชาศัพท์ เช่น : -  เสด็จพระราชดำเนิน ฯลฯ
ส่งเสด็จ หรือรับเสด็จ พระเจ้าแผ่นดินหรือพระบรมวงศ์ชั้นสูง ใช้ส่งเสด็จพระราชดำเนิน รับเสด็จพระราชดำเนิน  ถ้าใช้กับพระราชวงศ์ชั้นรอง  ให้ใช้ว่า  รับเสด็จ  ส่งเสด็จ
ใช้ ”เสด็จ” เป็นคำแทนพระองค์  สำหรับพระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรส พระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น : -  เสด็จกรมหลวงฯ  เสด็จพระองค์กลาง
----------------------
การใช้คำราชาศัพท์ เสด็จ   เสด็จพระราชดำเนิน  และ  โดยเสด็จ หรือ ตามเสด็จ
คำว่า เสด็จ มีหลายความหมาย  ในความหมายแรก แปลว่า เคลื่อนที่   โดยทั่วไป  ต้องมีคำต่อท้าย “ไป”  หรือ  “มา”  เพื่อให้ได้ความที่ครบถ้วนสมบูรณ์   อีกทั้งช่วยในการขยายความให้ทราบว่าผู้พูดอยู่ที่ใด   คำที่ได้ยินบ่อย คือคำว่า เสด็จพระราชดำเนิน ซึ่งมีความหมายว่า เดินทาง  ใช้กับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี   เช่น  เมื่อพูดว่า พรุ่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมากรุงเทพฯ   ทำให้ทราบว่าผู้พูดอยู่กรุงเทพฯ  เป็นต้น  
      อย่างไรก็ดี  เมื่อใช้คำต่อท้ายว่า “ขึ้น”  “ลง”  “เข้า”  หรือ  “ ออก” คงใช้คำว่า
เสด็จขึ้น หรือ เสด็จลง   เสด็จเข้า หรือ เสด็จออก เท่านั้น  เพราะใช้ในความหมายแสดงทิศทางของ
การเคลื่อนที่  ไม่ได้ใช้ในความหมายของการเดินทาง
      นอกจากนี้   คำ เสด็จประพาส เป็นอีกคำที่มีความหมายว่า เดินทาง เช่นกัน โดยคนไทย
คุ้นหูคำนี้กันมากจากการเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  
คำ เสด็จประพาส หรือ เสด็จประพาสต้น  ส่วนใหญ่ ใช้ในความหมายของการเดินทางส่วนพระองค์  
โดยคำว่า เสด็จประพาส จะใช้กับการเดินทางที่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ  
      คำว่า เสด็จ อีกความหมายหนึ่ง เป็นคำที่ข้าราชบริพารในราชสำนักใช้เรียกพระองค์เจ้า
ที่เป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ ว่า เสด็จพระองค์ชาย หรือ เสด็จพระองค์หญิง  
      อีกคำที่ได้ยินกันบ่อย คือคำว่า  โดยเสด็จ และ ตามเสด็จ  จะใช้ในความหมายของ
การเดินทางร่วมไปกับผู้เป็นใหญ่ซึ่งเป็นประธานในขบวนเสด็จนั้นๆ   ตัวอย่างเช่น
-   ค่ำวานนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม
พสกนิกรที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
โดยเสด็จด้วย  
-   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไป
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในการนี้  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ตามเสด็จด้วย เป็นต้น

บทความนี้สรุปและเรียบเรียงมาจากบทสัมภาษณ์คุณประสพโชค อ่อนกอ ผู้ช่วยราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ โดยคุณเบญจาภา ทับทอง  

สำหรับท่านที่สนใจเกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดเริ  
สามารถติดตามรับฟังรายการปกิณกะสำนักราชเลขาธิการได้ทุกวันอังคาร  ระหว่างเวลา
๐๖.๓๐ – ๐๗.๐๐ น. ทางสถานีวิทยุสราญรมย์  เอเอ็ม ๑๕๗๕ เมกะเฮิร์ซ หรือที่เว็บไซต์ของ
กระทรวงการต่างประเทศ  www.mfa.go.th/web/149.php  รวมทั้งหนังสือวิทยุสราญรมย์
ซึ่งนำรายการที่ได้ออกอากาศแล้ว มาสรุปเรียบเรียงเป็นบทความ ลงพิมพ์ในวาระอันควร

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง