เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227645 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 03:11

วันนี้มีคำถามจากผู้อาวุโสมาฝากเป็นของขวัญวันสงกรานต์ ๒-๓ เรื่อง ดังนี้

เรื่องแรก   ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสถานที่ในการเชิญธงมหาราชขึ้นเสา
ในเวลาเสด็จฯ มาประทับในพระบรมมหาราชวัง จากเสาธงที่ป้อมเผด็จดัษกรมาเป็นที่ใด 
และเสาธงเดิมที่อยู่ที่ป้อมเผด็จดัษกรนั้น  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปไว้ที่ใด


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 07:44

ที่ป้อมเผด็จดัษกรนั้นเดิมล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้ชักธงจุฑาธุชธิปไตย  ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้สร้างธงมหาไพชยนต์ธวัชเป็นธงประจำแผ่นดินขึ้นแล้ว  จึงโปรดให้เปลี่ยนมาชักธงมหาไพชยนต์ธวัชแทน

คุณเศวต  ธนประดิษฐ์ อดีตที่ปรึกษาสำนักพระราชวังท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านเคยไปยืนดูทหารรักษาวังชักฑงมหาไพชยนต์ธวัชขึ้นเสา  ท่านว่าเวลาชักธงขึ้นเสาธงนั้นทหารรักษาวังพับธงไว้เป็นรูปดอกบัว  พอธงขึ้นถึงยอดเสาก็กระตุกสายเชือกแล้วคลี่ผืนธงให้โบกสบัด  พอย้ายเสาธงไปแล้วก็เลยไม่มีการพับธงเป็นดอกบัวแบบนั้นอีกเลย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 18:04

วันนี้มีคำถามจากผู้อาวุโสมาฝากเป็นของขวัญวันสงกรานต์ ๒-๓ เรื่อง ดังนี้

เสาธงเดิมที่อยู่ที่ป้อมเผด็จดัษกรนั้น  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปไว้ที่ใด




ย้ายไปที่ปากคลองสาน ตั้งไว้ให้สัญญาณแก่เรือต่าง ๆ ที่ป้อมป้องปัจจามิตร ซึ่งปัจจุบันนี้กรมเจ้าท่ารักษาดูแลอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 18:17

คุณหลวงเล็กท่านถามว่า "ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสถานที่ในการเชิญธงมหาราชขึ้นเสา
ในเวลาเสด็จฯ มาประทับในพระบรมมหาราชวัง จากเสาธงที่ป้อมเผด็จดัษกรมาเป็นที่ใด" 

รอแฟนๆ คุณหลวงมาตอบ  แต่เก็นเงียบกันไปหมด  สงสัยไปเล่นน้ำสงกรานต์กันเพลินจนกลับเรือนไม่ถูก
ก็ขออนุญาตตอบคำถามนั้นว่า ย้ายไปที่เสาธงหน้าพระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ หรือต่อมาโปรดพระราชทานชื่อใหม่ว่า พระที่นั่งบรมพิมาน  ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงรักษาธรรมเนียมนี้อยู่ครับ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 20:31

คุณหลวงเล็กท่านถามว่า "ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสถานที่ในการเชิญธงมหาราชขึ้นเสา
ในเวลาเสด็จฯ มาประทับในพระบรมมหาราชวัง จากเสาธงที่ป้อมเผด็จดัษกรมาเป็นที่ใด" 

รอแฟนๆ คุณหลวงมาตอบ  แต่เก็นเงียบกันไปหมด  สงสัยไปเล่นน้ำสงกรานต์กันเพลินจนกลับเรือนไม่ถูก
ก็ขออนุญาตตอบคำถามนั้นว่า ย้ายไปที่เสาธงหน้าพระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ หรือต่อมาโปรดพระราชทานชื่อใหม่ว่า พระที่นั่งบรมพิมาน  ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงรักษาธรรมเนียมนี้อยู่ครับ

วันนี้มีคำถามจากผู้อาวุโสมาฝากเป็นของขวัญวันสงกรานต์ ๒-๓ เรื่อง ดังนี้

เสาธงเดิมที่อยู่ที่ป้อมเผด็จดัษกรนั้น  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปไว้ที่ใด




ย้ายไปที่ปากคลองสาน ตั้งไว้ให้สัญญาณแก่เรือต่าง ๆ ที่ป้อมป้องปัจจามิตร ซึ่งปัจจุบันนี้กรมเจ้าท่ารักษาดูแลอยู่ครับ


เอ๊ะ  ตกใจ

แห่งใดจะถูกกันแน่หนอ ระหว่าง ปากคลองสาน แล พระที่นั่งบรมพิมาน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 08:05

วันนี้มีคำถามจากผู้อาวุโสมาฝากเป็นของขวัญวันสงกรานต์ ๒-๓ เรื่อง ดังนี้

เรื่องแรก   ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสถานที่ในการเชิญธงมหาราชขึ้นเสา
ในเวลาเสด็จฯ มาประทับในพระบรมมหาราชวัง จากเสาธงที่ป้อมเผด็จดัษกรมาเป็นที่ใด 
และเสาธงเดิมที่อยู่ที่ป้อมเผด็จดัษกรนั้น  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปไว้ที่ใด

เฉลย  (คัดมาแต่เอกสารเก่าอายุ ๑๐๐ ปี)

(น่า ๑๑๙ วัน ๗ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ ๒๙ เมษายน  ๑๓๐)
...วันนี้โปรดให้ชักธงมหาราชอย่างใหม่ขึ้นที่ปลายเสาบนหลังคาพระที่นั่งอัมพรแทนเสาธงใหญ่ที่ป้อมเผด็จดัษกร
แลต่อไปจะใช้ตามพระราชบัญญัติธงที่ตราไว้ใหม่  คือประทับที่ใดก็ชักขึ้นณที่นั้น  จึงโปรดให้รื้อซ่อมมุขเล็ก
น่าพระที่นั่งจักรกรีตั้งเสาธงเล็กขึ้นสำหรับชักขึ้นในเวลาเสด็จประทับในพระบรมมหาราชวังอีกแห่งหนึ่ง 
แลโปรดให้รื้อย้ายเสาธงที่ป้อมเผด็จดัษกรนั้นไปเปนเสาธงสำหรับกรมเจ้าท่าชักธงเรือสินค้าเข้าออกขึ้นที่ป้อมจักรเพ็ชร์ต่อไปฯ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 07:22

เมื่อปี ๑๘๙๓ สยามได้จัดส่งสิ่งของไปร่วมจัดแสดงนิทรรศการ
ในงาน World's Columbian Exposition ณ เมืองชิคาโก
ตามคำเชิญของประธานาธิบดีสหปาลีอเมริกาในขณะนั้น
ในครั้งนั้น  สิ่งของจากประเทศสยามได้รับรางวัลเป็นจำนวน ๑๐๑ รางวัล
ท่านผู้อาวุโสใคร่ทราบว่า  รางวัลที่หมดที่ได้ในครั้งนั้นมีอะไรบ้าง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 09:04

เมื่อปี ๑๘๙๓ สยามได้จัดส่งสิ่งของไปร่วมจัดแสดงนิทรรศการ
ในงาน World's Columbian Exposition ณ เมืองชิคาโก
ตามคำเชิญของประธานาธิบดีสหปาลีอเมริกาในขณะนั้น
ในครั้งนั้น  สิ่งของจากประเทศสยามได้รับรางวัลเป็นจำนวน ๑๐๑ รางวัล
ท่านผู้อาวุโสใคร่ทราบว่า  รางวัลที่หมดที่ได้ในครั้งนั้นมีอะไรบ้าง ยิงฟันยิ้ม


ทราบเบื้องต้นคือ ผลงานภาพปักผ้าไหม ปักเป็นเรื่องพระสุริโยทัยชนช้าง เป็นฝีมือของสตรีชาวสยาม ได้รับรางวัลที่ ๑ (ในกลุ่มอาคารสตรีและผลงานของสตรี)


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 09:07


สหายท่านหนึ่งฝากถามมา  บอกว่า  ท่านค้นข้อมูลมานานหลายปี
ท่านอยากทราบว่า  คนที่ได้รับเข็มหมายอักษร "ค" ในรุ่นราวคราวเดียวกัน
กับนายพันเอก  หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)
มีกี่คน  มีใครบ้าง ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

คำถามนี้  ท่านผู้อาวุโสท่านเห็นว่า  ทิ้งมาก็ช้านาน  หามีผู้ใดตอบได้ไม่
ท่านจึงฝากคำใบ้มาให้ท่านทั้งหลายช่วยไขปริศนาดังนี้

37/09/09/24/63/1876-1884

ขอให้โชคดี ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 09:09


ทราบเบื้องต้นคือ ผลงานภาพปักผ้าไหม ปักเป็นเรื่องพระสุริโยทัยชนช้าง เป็นฝีมือของสตรีชาวสยาม ได้รับรางวัลที่ ๑ (ในกลุ่มอาคารสตรีและผลงานของสตรี)

ข้อมูลเก่ามากนะออกขุน   ตอนนี้เขาไปถึงกระทั่งว่า  เหรียยรางวัลที่ได้แบ่งเป็นสาขาอะไรบ้างแล้่ว
หาใหม่ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 10:23

อาคารที่สยามเข้าร่วมแสดงและส่งเข้าร่วมงานมีมากมาย

๑. อาคารแสดงด้านเกษตรกรรม

๒. อาคารด้านศิลปกรรม

๓. อาคารกลุ่มผลงานสตรี

๔. อาคารแสดงด้านป่าไม้

๕. อาคารแสดงด้านการคมนาคม

๖. อาคารแสดงด้านมนุษยวิทยา

อ่านแล้วสยามส่งขอให้มากมายก่ายกอง เขียนไม่หมดเอย ... แต่ตื่นตาตื่นใจเมื่อมีการจัดแสดงเครื่องอัญมณี พลอย ทับทิม หัวแหวน จากในวังและข้าวของเครื่องใช้ทองคำ หีบเงิน หีบหมากประดับทอง เพชรพลอย ไปร่วมงานด้งกล่าว
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 07:40

เมื่อวานนี้  ผมมีภารกิจต้องไปค้นหาเอกสารที่กองบัญชาการ
ได้อ่านเอกสารสำคัญหลายเรื่อง  หนึ่งในจำนวนนั้น  คือ
เอกสารเกี่ยวกับการแสดงพิพิธภัณฑ์ที่เมืองชิคาโก ๑๘๙๓
เอกสารนั้นมีหลายร้อยหน้า  แต่ที่ชอบมากคือบันทึกการประชุม
ของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในและสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์
เกี่ยวกับเรื่องการจัดหาสิ่งของส่งไปจัดแสดงที่ woman building
ในบันทึกได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับงานฝีมือสตรีสยามสมัยนั้นไม่น้อย
นอกจากนี้ยังมีบัญชีสิ่งของที่ได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัลต่างๆ
แบ่งเป็นประเภทต่างๆ  คิดว่า  ถ้าสามารถเอาออกมาได้จะเอามาลง
(พอเป็นพิธี)

เอกสารอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ไปอ่านเจอมา  เห็นแต่หัวเรื่องเอกสารนี้ทีแรก
ก้ไม่ได้สนใจจะอ่าน  แต่พอได้อ่าน (เพราะอยู่ต่อท้ายเอกสารที่ต้องการอ่าน)
ก็รีบเอามืออุดปาก  เกรงว่าจารชนที่ซุ่มซ่อนใกล้ๆจะได้ยิน
เอกสารชิ้นนั้นเป็นกลอนเพลงยาวของเจ้านายพระองค์หนึ่งทรงพระนิพนธ์
โต้ตอบกับลูกสาวกงสุล  เข้าใจว่า  น่าจะยังไม่มีการเผยแพร่ให้ทราบกันเป็นกว้างขวาง
เล่าให้ท่านผู้อาวุโสฟัง  ท่านนิ่งไปสักอึดใจ  แล้วบอกให้เล่าใหม่อีกทีซิ
ท่านฟังแล้วว่า  อือม์  ข้อมูลสำคัญ
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 08:09

         

       มีการเขียนตาม ๆ กันมา  โดยมิได้อ้างอิงว่าลูกสาวคนโตของกงศุลน๊อกซ์นั้น  กงศุลจะส่งไปเรียนที่อังกฤษ

แต่ยังไม่เห็นเอกสารเพิ่มเติมในเรื่องแฟนนีเคยไปอังกฤษ

ซึ่งคงจะลำบากเหมือนกันเพราะน๊อกซ์คงเป็นเพียงลูกชายคนรองจากครอบครัวธรรมดาการศึกษาไม่มาก  ที่ออกเผชิญโชค

และการที่แฟนนีเป็น natural daughter ของกงศุลที่มิได้มีฐานะร่ำรวยนัก  คงเข้าสังคมได้ยาก

น้องสาวของแฟนนีนั้น  หน้าตาคมขำมาก    และเขียนจดหมายถึงแอนนาได้เรื่องได้ราวทีเดียว  แสดงว่ามีการศึกษาอย่างเยี่ยม


       หญิงสาวผู้มีสกุลนั้น  เมื่อบิดาไม่อยู่บ้าน   ก็มีมารดาหรือหญิงผู้ใหญ่อยู่ป้องกันข้อครหานินทา

จะหาเวลาที่ไหนไปเล่นเพลงยาว

สงสัยว่าบางตอนของเพลงยาวนั้น  จะมีตอน  "ไหนพระผ่านฟ้าสัญญาน้อง"  บ้างไหม

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 06:14



เพลงยาว   เจ้านายพระองค์หนึ่ง   โต้ตอบ   ลูกสาวกงศุล

ผู้สัมภาษณ์                                มีกี่ฉบับจ๊ะ
ผู้ปล่อยข่าว                               หลาย
ส                                           ถึงสามฤาไม่
ป (ยืนกระต่ายขาเดียว)                 หลาย        ทำไมต้อง มีสาม
ส                                          ธรรมดาเขาส่งกัน สาม ฉบับย่ะ..เอ๊ยจ้ะ   ฉบับแรกแนะนำตัว  ฝากรัก
                                            ฉบับที่ สอง  ให้สัญญาว่าจะรักและเลี้ยงดู         ฉบับสาม  นัดพาหนี
ป                                          หลายฉบับ
ส                                          โต้ตอบกัน...อ่า...ก็ต้องมีจากฝ่ายหญิงด้วยกระมัง
ป                                          ดังนั้น
ส                                          อือ......เรื่องนี้ก็เข้ากับตอนที่เจ้าคุณภาสส่งจดหมายกราบทูลที่เขียนด้วยดินสอในยามเช้าตรู่วันหนึ่ง
ป                                          หัวเราะลงลูกคอดังกัก ๆ

ส                                          (อยากอ่านมาก...   แต่ไม่มีข่าวจะแลกเปลี่ยนเพราะรีบเล่าไปหมดแล้วว่าหน่วยราชการไหนได้รับมหาสมบัติหนังสือทั้งชุดมาจากที่ใด)
                                            ....
                                           
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 07:57

ยังไม่เห็นใครตอบเรื่อง เข็ม ค


* 2463.pdf (208.59 KB - ดาวน์โหลด 571 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.456 วินาที กับ 20 คำสั่ง