เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 228476 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 27 มี.ค. 12, 21:00

^
นึกว่าพระป่าตัดสิ้นซึ่งกิเสลทั้งปวง ไม่ให้เห็นอาหารเป็นเครื่องยั่วกิเลส แต่เป็นเครื่องประทังชีวิต ต้องตัดความอยากทั้งปวง จะบูดจะเน่านั้นมิแน่แก่ใจ

ระวังคุณหลวงเดินตากแดดแรง ๆ หาพัดลมเป่าไว้บ้าง  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 08:07

^
นึกว่าพระป่าตัดสิ้นซึ่งกิเสลทั้งปวง ไม่ให้เห็นอาหารเป็นเครื่องยั่วกิเลส แต่เป็นเครื่องประทังชีวิต ต้องตัดความอยากทั้งปวง จะบูดจะเน่านั้นมิแน่แก่ใจ

ระวังคุณหลวงเดินตากแดดแรง ๆ หาพัดลมเป่าไว้บ้าง  แลบลิ้น

พระท่านเห็นแก่สุขอนามัยของตนเอง   ถ้าฉันของบูดเน่าแล้วเกิดลงท้อง ไม่เป็นอันปฏิบัติธรรม
กว่าจะฟื้นกำลังตั้งสมาธิให้เป็นปกติได้ก็คงหลายวัน  ก็จะไม่เป็นการดี  ญาติโยมจะพลอยเป็นห่วง
หรือได้บาปไปด้วย  พระป่าแม้ไม่ยึดติดในรสอาหาร  แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะฉันอะไรก็ได้โดยไม่ห่วงสุขภาพ
ก็มีไม่ใช่หรือที่พระป่าในสมัยพุทธกาล  ออกมาบิณฑบาตรรับอาหารในเมือง  เพื่อให้ลิ้นที่รับรส
ได้ทำงานเป็นปกติ   


ผมเคยฝึก ร.ด. มาก่อน  ลูกเสือก็เรียนมา  เดินกลางแดดแรงคงไม่ถึงกับทนไม่ได้
ถึงปัจจุบันจะทำงานในออฟฟิศห้องแอร์  แต่ก็ยังทนแดดทนฝนทนหนาวทนร้อนได้พอสมควร
ขอบคุณที่เป็นห่วง เจ๋ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 11:12

สหายคนหนึ่งของท่านผู้อาวุโสเป็นผู้ใฝ่ใจใคร่ศึกษา
เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
ฝากคำถามมายังผมและมิตรรักกระทู้ปริศนาฯ ให้ช่วยหาข้อมูล
เกี่ยวกับตำหนักน้ำหรือพลับพลาน้ำที่พระเจ้ากรุงธนบุรี
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างในคราวที่เสด็จฯ ยาตราทัพ
ไปรบกับทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ว่ามีลักษณะและความเป็นมาอย่างไร

อ้อ  ท้ายคำถาม  มีปัจฉิมลิขิตต่อมาว่า
ถ้าหาข้อมูลให้ไม่ได้  ให้เขียนสารภาพยอมแพ้ไว้ด้วย ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 13:36

ตำหนักน้ำ.. ยิงฟันยิ้ม
พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
ในคราวที่เสด็จฯ ยาตราทัพไปรบกับทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่

ตั้งอยู่บริเวณ ถ้ำช้างร้อง กลางกระแสน้ำแม่ปิงที่ไหลเชี่ยวกราก
ปัจจุบัน ถ้ำนี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ลักษณะของพลับพลา เป็นศาลาโถงไม้ หลังคามุงแป้นเกล็ด ตกแต่งหน้าบันด้วยจั่วหน้าพรหม
มีจุดเด่นอยู่ที่คันทวยฉลุฉลักลวดลายเล็กน้อยพองาม

ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกกันว่า "พลับพลาพระเจ้าตากเวียงลี้"


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 13:42

อือม์  สหายของท่านผู้อาวุโสฝากบอกมาว่า  คุณดีดีค้นมาได้ดีมาก
แต่ที่อยากทราบข้อมูลคือตำหนักน้ำที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างที่ธนบุรี
ไม่ใช่ที่เมืองเหนือ  และฝากขออภัยที่สื่อสารคำถามไม่ชัดเจน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 15:36

จาก หนังสือเรื่องพระตำหนักแพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นางรัฐสถานพิทักษ์ (เจิม กาญจนะหุต) และนายประดิษฐ์ ตุงคะเศรณี ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐



 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 15:37

ครั้นเมื่อคราวเจ้าตากยกทัพใหญ่ไปต่อสู้กับพะม่าที่มารักษาเมืองเชียงใหม่ ครั้งนั้นเจ้าตากสั่งให้เจ้าพระยาธรรมา ชื่อบุญรอด ซึ่งเป็นบิดาเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) และเป็นปู่เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช) นั้น เป็นผู้ทำตำหนักน้ำหลังหนึ่งห้าห้องมีเฉลียงรอบยาว ๑๓ วา กว้าง ๕ วา มุงกระเบื้องเกล็ดเต่า ไม่มีช่อฟ้าใบระกา มีฝากระดานหลังเจียดช่องลูกฟัก มีลูกกรงรอบ ๔ ด้านทาสีเขียวแดง รูปพรรณสัณฐานคล้ายศาลาโรงธรรม เป็นตำหนักตั้งอยู่บนหลังคานปลายเสาตะม่อ ๆ ลงน้ำเหมือนเรือนแพ มีชานล้อมรอบเฉลียง ๔ ด้าน ๆ ละ ๓ วา มีลูกกรงต่ำ ๆ รอบชาน มีประตูหูช้างเล็ก ๆ ที่ลูกกรงชานละ ๘ ประตู ในเวลานั้นคนเป็นอันมากเรียกว่าตำหนักน้ำ แต่บัตรหมายในเวลานั้นใช้ว่าพลับพลาน้ำอย่างเดี๋ยวนี้มีเนือง ๆ ตลอดเวลากรุงธนบุรี ไม่มีใครเรียกว่าตำหนักแพเลย  ท่านที่เป็นข้าราชการเก่า ๆ ติดมาจากแผ่นดินกรุงธนบุรีมีตัวทำราชการตลอดเวลามาในรัชกาลแผ่นดินพระเจ้าหลวงก็มีทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน ที่มีอายุยืนยาวมาถึงแผ่นดินข้าพเจ้านี้ก็ยังมีตัวอยู่บ้างลางองค์ลางท่าน แต่ว่าน้อยตัวแล้ว ท่านเหล่านั้นก็ได้ทันเห็นพลับพลาน้ำของเจ้าตากเป็นพะยานด้วยกันมาก

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 16:45

สหายของท่านผู้อาวุโสฝากชมเชยความสามารถในการค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตของคุณเพ็ญฯ
ทั้งรวดเร็ว แม่นยำ และหาผู้เทียบเทียมได้ยาก ยิ้มเท่ห์


ท่านผู้อาวุโสบอกว่า  คุณปู่ของท่านเคยเล่าเรื่องโรงเรียน "งิบวิทยาคม" ที่เคยเรียนให้ฟังตั้งแต่ท่านผู้อาวุโสยังเด็กๆ
ท่านว่า  ท่านเพิ่งเคยได้ยินชื่อโรงเรียนงิบวิทยาลัยครั้งนั้นเป็นครั้งแรก  ทำให้ติดใจมาก  พยายามค้นหาข้อมูลจนพบ
มาตอนนี้  ท่านผู้อาวุโสทำข้อมูลที่ค้นได้หายไปแล้ว และจำไม่ได้ว่า  โรงเรียนงิบวิทยาคม  อยู่ที่ไหน 
และมีประวัติการก่อตั้งเป็นมาอย่างไร

ท่านก็เลย  อยากให้ทุกท่านช่วยกันหาข้อมูลโรงเรียนงิบวิทยาคมให้สักหน่อย ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 16:54

จาก เว็บของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ฝ่ายหนังสือไทย เดิมพระอาจารย์แก้ว ซึ่งเรียกกันว่าท่านขรัวแก้ว เป็นคณาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่ง ชำนาญในวิชาโหราศาสตร์ เป็นคู่กันกับท่านขรัวทอง ผู้ปฏิบัติทรงจำพระวินัยดี ท่านผู้นี้เริ่มสอนวิชาภาษาไทยขึ้นก่อน บรรดาบุตรหลานของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้ศึกษาอักขระสมัยเบื้องต้น ในสำนักของพระอาจารย์แก้ว แทบจะทุกท่านไปในเวลานั้น เช่น เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นต้น ในยุคต่อมาพระครูสาราณิยคุณ (พุฒ) พระสยามปริยัติ (งิบ) พระมหาจิ๋ว (รองอำมารย์โท ขุนธนพิพัฒน์) สอนกันเป็นลำดับมา ที่นับว่าสอนดี มีหลักฐานสืบเนื่องมาจนในเวลานี้ คือ พระอาจารย์สยามปริยัติ เดิมเป็นพระอาจารย์งิบ เป็นอันตวาสิกของพระธรรมภาณพิลาศ (ผ่อง) ได้เป็นคณาจารย์ใหญ่ปกครองศิษย์และการเล่าเรียนมาเป็นเวลานาน เคยได้รับรางวัลของกรมศึกษาธิการในคราวที่ศิษย์สอบไล่ได้แทบจะทุกปี  

ภายหลังกรมศึกษาธิการเห็นความสามารถของพระอาจารย์งิบ จึงรับจดทะเบียนยกขึ้นเป็นโรงเรียนหลวงเรียกนามว่า "โรงเรียนงิบวิทยาคม ชั้นประถมศึกษา" ได้รับค่าบำรุงเดือนละ ๑๐ บาท ตลอดจนถึง ๖๐ บาท มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๔๐ พระอาจารย์งิบได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระสยามปริยัติ มีนิตยภัตร เดือนละ  ๘ บาท รับตำแหน่งครูใหญ่มาจนถึงมรณภาพ เดี๋ยวนี้การเล่าเรียนหนังสือไทย นับว่าเจริญเป็นปึกแผ่นเปลี่ยนนามโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนมัธยมวัดประยุรวงศ์" ส่วนการเล่าเรียนนั้นไม่คงที่ แต่เดิมมามีถึงชั้น ๖ ต่อมามีเรียนประถม ๔ แล้วมาเป็นโรงเรียนประถม ๓ ปี ในพ.ศ.๒๔๗๑ มีประถม ๓ ปีกับมัธยม ๓ ปี เรียกว่ามัธยมตอนต้น

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 17:16

ดีมากครับ   เอาอีกสักข้อหนึ่ง

สหายท่านหนึ่งฝากถามมา  บอกว่า  ท่านค้นข้อมูลมานานหลายปี
ท่านอยากทราบว่า  คนที่ได้รับเข็มหมายอักษร "ค" ในรุ่นราวคราวเดียวกัน
กับนายพันเอก  หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)
มีกี่คน  มีใครบ้าง ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 30 มี.ค. 12, 16:22

เฉลยคำภาพที่ถามไว้แต่คราวก่อน ว่า  ภาพนี้คือใคร และยังไม่มีใครมาตอบ

บุคคลในภาพนี้ คือ พระราชครูวามเทพมุนี รามเวทีศรีไสยศาสตร์ อนุษฏุภวาทโกศล (หว่าง รังสิพราหมณ์กุล)
ดำรงดำแหน่งพระราชครู ระหว่างปี ๒๔๕๗-๒๔๗๒


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 01 เม.ย. 12, 17:31

ถึงคุณหลวงเล็ก

ฝากคำตอบข้อนี้ให้กับผู้อาวุโสด้วย เกี่ยวกับภาพถ่ายในเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นภาพหมู่เจ้านาย พระราชวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประทับนั่งเบื้องซ้ายภาพเป็นหมู่เจ้านายฝ่ายชาย และเจ้านายฝ่ายสตรีนั่งประทับเบื้องขวา ซึ่งเป็นภาพที่ท่านอาวุโสกล่าวว่าเป็นภาพที่แปลกภาพหนึ่ง กล่าวคือ องค์ประธานที่นั่งกลางภาพประทับนั่งตรงกลางมิใช่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ หากแต่เป็นเจ้านายสตรีท่านหนึ่งประทับเป็นประธาน บนพระเก้าอี้เบื้องหลังสลักตราแผ่นดินอย่างสวยงาม

จึงเรียนคำตอบมายังผู้อาวุโสว่า ภาพดังกล่าวถูกถ่ายไว้ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๐ เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงครองราชย์ครบ ๔๐ ปีเทียบเท่าหรือเสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่า "พระราชพิธีรัชมงคล" ในราวเดือนพฤศจิกายน


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 01 เม.ย. 12, 19:57

ขออนุญาตขยายความต่อจากคุณ Siamese ในความเห็นข้างบนครับ
พระบรมวงศ์ฝ่ายในที่ประทับเป็นประธานตรงกลางนั้น  ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๒ พระองค์เจ้าแม้นเขียน  ซึ่งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระนามว่า "เสด็จยายแม้เขียน"
เจ้านายในภาพนั้นน่าจะประทับตามลำดับเชื้อเสายที่ทรงสืบต่อมาจากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๒ ในภาพเสด็จพระองค์แม้นเขียนทรงเป็นพระบรมวงศ์ที่อาวุโสสูงที่สุดจึงประทับตรงกลาง 
จะทรงฉายในคราวพระราชพิธีทวีธาภิเศก  ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นสองเท่าของรัชกาลที่ ๒ หรือไม่? วานคุณหลวงเฉลยด้วยครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 02 เม.ย. 12, 09:55

ถึงคุณหลวงเล็ก

ฝากคำตอบข้อนี้ให้กับผู้อาวุโสด้วย เกี่ยวกับภาพถ่ายในเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นภาพหมู่เจ้านาย พระราชวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประทับนั่งเบื้องซ้ายภาพเป็นหมู่เจ้านายฝ่ายชาย และเจ้านายฝ่ายสตรีนั่งประทับเบื้องขวา ซึ่งเป็นภาพที่ท่านอาวุโสกล่าวว่าเป็นภาพที่แปลกภาพหนึ่ง กล่าวคือ องค์ประธานที่นั่งกลางภาพประทับนั่งตรงกลางมิใช่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ หากแต่เป็นเจ้านายสตรีท่านหนึ่งประทับเป็นประธาน บนพระเก้าอี้เบื้องหลังสลักตราแผ่นดินอย่างสวยงาม

จึงเรียนคำตอบมายังผู้อาวุโสว่า ภาพดังกล่าวถูกถ่ายไว้ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๐ เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงครองราชย์ครบ ๔๐ ปีเทียบเท่าหรือเสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่า "พระราชพิธีรัชมงคล" ในราวเดือนพฤศจิกายน


เอาภาพมายืนยันด้วย   อ่านแต่ข้อความฝากมา  ท่านผู้อาวุโสท่านบอกว่าระลึกไม่ได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 02 เม.ย. 12, 10:08

ถึงคุณหลวงเล็ก

ฝากคำตอบข้อนี้ให้กับผู้อาวุโสด้วย เกี่ยวกับภาพถ่ายในเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นภาพหมู่เจ้านาย พระราชวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประทับนั่งเบื้องซ้ายภาพเป็นหมู่เจ้านายฝ่ายชาย และเจ้านายฝ่ายสตรีนั่งประทับเบื้องขวา ซึ่งเป็นภาพที่ท่านอาวุโสกล่าวว่าเป็นภาพที่แปลกภาพหนึ่ง กล่าวคือ องค์ประธานที่นั่งกลางภาพประทับนั่งตรงกลางมิใช่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ หากแต่เป็นเจ้านายสตรีท่านหนึ่งประทับเป็นประธาน บนพระเก้าอี้เบื้องหลังสลักตราแผ่นดินอย่างสวยงาม

จึงเรียนคำตอบมายังผู้อาวุโสว่า ภาพดังกล่าวถูกถ่ายไว้ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๐ เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงครองราชย์ครบ ๔๐ ปีเทียบเท่าหรือเสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่า "พระราชพิธีรัชมงคล" ในราวเดือนพฤศจิกายน


เอาภาพมายืนยันด้วย   อ่านแต่ข้อความฝากมา  ท่านผู้อาวุโสท่านบอกว่าระลึกไม่ได้

ท่านอาวุโสจำได้แม่นยำ ท่านหยิบมาโชว์ด้วยมือของท่านเอง ท่านย่อมจำได้มิเปลี่ยนแปลง.....เรียนท่านไปว่า เป็นภาพเดียวที่ในหลวงรัชกาลที่ ๕ มิได้ประทับเป็นองค์ประธาน

ฮึ ฮึ ฮึ อยากเห็นช่ายไหม ... ๕๕๕ แลบลิ้น แลบลิ้น แลบลิ้น แลบลิ้น แลบลิ้น แลบลิ้น แลบลิ้น แลบลิ้น แลบลิ้น แลบลิ้น แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 21 คำสั่ง