เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227630 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 19:43

ท่านผู้อาวุโสรับประทานอาหารมื้อค่ำแล้ว  อารมณ์ดี ออกมานั่งเล่นรับลมที่หน้าบ้าน
หยิบเอาตำราควาญช้างมานั่งอ่านอย่างเพลิดเพลิน  แล้วท่านก็โทรศัพท์มาถามผมว่า

คุณหลวงทราบไหมว่า  เวลาที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ ไปประพาสโพนช้างป่า
เกิดมีช้างเถื่อนแล่นเข้ามาประสมรอยช้างพระที่นั่ง  ควาญช้างจะกลับช้างก็ไม่ทันการณ์
ช้างเถื่อนวิ่งกระชั้นใกล้เข้ามาจะถึงช้างพระที่นั่ง  
โบราณท่านให้ควาญช้างแก้ไขสถานการณ์อย่างไร

ผมได้ยินคำถาม  ก็นิ่งไปครู่หนึ่ง  แล้วขอผัดเวลาตอบท่านไป ๒ วัน
คำถามนี้ยากจริงๆ  มีผู้ใดรู้เรื่องนี้ ฝากเอื้อเฟื้อข้อมูลด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 19:54

เข้าถึงตัวช้างทรงยากนะท่าน เนื่องการการจัดกระบวนช้าง มีช้างทรงประพาส ช้างดั้ง ๓ ช้างตำรวจ ช้างแซง อีกมากมาย บนหลังช้างมีการวางอาวุธไว้ เช่น ปืนใหญ่ ปืนยาว คบเพลิง ... คัดลอกจากตำราธรรมเนียมชาววังอยุธยา
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 21 มี.ค. 12, 22:47

เข้าถึงตัวช้างทรงยากนะท่าน เนื่องการการจัดกระบวนช้าง มีช้างทรงประพาส ช้างดั้ง ๓ ช้างตำรวจ
ช้างแซง อีกมากมาย บนหลังช้างมีการวางอาวุธไว้ เช่น ปืนใหญ่ ปืนยาว คบเพลิง ... คัดลอกจากตำราธรรมเนียมชาววังอยุธยา

ออกขุน  ที่ท่านอาวุโสท่านตั้งคำถามนี้  ท่านหมายเอาว่า
ผู้ทำหน้าที่เป็นควาญช้างพระที่นั่งจะแก้ไขสถานการณ์ดังที่ท่านตั้งโจทย์
ได้อย่างไร   ออกขุนก็คิดดูว่า  พระเจ้าแผ่นดินเสด็จประพาสโพนช้าง
เจ้าพนักงานจะเอาอาวุธอย่างที่ออกขุนกล่าวมา (ปืนใหญ่  ปืนยาว คบเพลิง)
ไปผุกไปวางบรรทุกบนหลังช้างให้เกะกะที่ทำไม  ในเมื่อหาใช่สิ่งที่จำเป็นในการโพนช้างไม่
แล้วก็เวลาเสด็จประพาสโพนช้าง  คงไม่มามัวจัดกระบวนช้างดั้งช้างกันช้างแซง
อย่างกระบวนพยุหยาตราหรอก  กระบวนอย่างนั้นจัดเอางามกลางแปลงน่ะได้
แต่ถ้าจัดในป่าที่โพนช้างไล่คล้องช้างเถื่อน  ไม่วุ่นวายแย่หรือ  ออกขุน

ตำราของออกขุนนั้น  เป็นธรรมเนียมกระบวนช้างเมื่อเสด็จประพาสเมื่อทรงพระสำราญ
หาใช่การประพาสโพนช้างไม่   ยังมีเวลาค้นหาข้อมูลนะออกขุน  ใจเย็นๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 22 มี.ค. 12, 07:13

เข้าถึงตัวช้างทรงยากนะท่าน เนื่องการการจัดกระบวนช้าง มีช้างทรงประพาส ช้างดั้ง ๓ ช้างตำรวจ
ช้างแซง อีกมากมาย บนหลังช้างมีการวางอาวุธไว้ เช่น ปืนใหญ่ ปืนยาว คบเพลิง ... คัดลอกจากตำราธรรมเนียมชาววังอยุธยา

ออกขุน  ที่ท่านอาวุโสท่านตั้งคำถามนี้  ท่านหมายเอาว่า
ผู้ทำหน้าที่เป็นควาญช้างพระที่นั่งจะแก้ไขสถานการณ์ดังที่ท่านตั้งโจทย์
ได้อย่างไร   ออกขุนก็คิดดูว่า  พระเจ้าแผ่นดินเสด็จประพาสโพนช้าง
เจ้าพนักงานจะเอาอาวุธอย่างที่ออกขุนกล่าวมา (ปืนใหญ่  ปืนยาว คบเพลิง)
ไปผุกไปวางบรรทุกบนหลังช้างให้เกะกะที่ทำไม  ในเมื่อหาใช่สิ่งที่จำเป็นในการโพนช้างไม่
แล้วก็เวลาเสด็จประพาสโพนช้าง  คงไม่มามัวจัดกระบวนช้างดั้งช้างกันช้างแซง
อย่างกระบวนพยุหยาตราหรอก  กระบวนอย่างนั้นจัดเอางามกลางแปลงน่ะได้
แต่ถ้าจัดในป่าที่โพนช้างไล่คล้องช้างเถื่อน  ไม่วุ่นวายแย่หรือ  ออกขุน

ตำราของออกขุนนั้น  เป็นธรรมเนียมกระบวนช้างเมื่อเสด็จประพาสเมื่อทรงพระสำราญ
หาใช่การประพาสโพนช้างไม่   ยังมีเวลาค้นหาข้อมูลนะออกขุน  ใจเย็นๆ

รำพึงเฉย ๆ  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 22 มี.ค. 12, 07:17

คุณหลวงทราบไหมว่า  เวลาที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ ไปประพาสโพนช้างป่า
เกิดมีช้างเถื่อนแล่นเข้ามาประสมรอยช้างพระที่นั่ง  ควาญช้างจะกลับช้างก็ไม่ทันการณ์
ช้างเถื่อนวิ่งกระชั้นใกล้เข้ามาจะถึงช้างพระที่นั่ง  
โบราณท่านให้ควาญช้างแก้ไขสถานการณ์อย่างไร

เมื่อช้างเถื่อนวิ่งเข้ามาจวนประชิดช้างพระที่นั่ง เห็นอะไรย่อมขัดหูขัดตา เหวี่ยงงวง ฟาดงากันยกใหญ่ โบราณท่านว่า "ให้ทำการปลดผ้า ผ้าโพก เสื้อผ้า ทิ้งลงไปให้ช้างเถื่อนได้กลิ่น" ทั้งนี้ช้างเถื่อนจะเข้าสนใจกับผ้าดังกล่าว จึงมีเวลาเบี่ยงช้างพระที่นั่งได้ทัน

หากว่าคุณหลวงนั่งท้ายช้าง จะรีบผลักคุณหลวงไปล่อช้างเถื่อนให้พ้นทางเป็นการดีที่สุด
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 22 มี.ค. 12, 14:28


เมื่อช้างเถื่อนวิ่งเข้ามาจวนประชิดช้างพระที่นั่ง เห็นอะไรย่อมขัดหูขัดตา เหวี่ยงงวง ฟาดงากันยกใหญ่
โบราณท่านว่า "ให้ทำการปลดผ้า ผ้าโพก เสื้อผ้า ทิ้งลงไปให้ช้างเถื่อนได้กลิ่น"
ทั้งนี้ช้างเถื่อนจะเข้าสนใจกับผ้าดังกล่าว จึงมีเวลาเบี่ยงช้างพระที่นั่งได้ทัน

หากว่าคุณหลวงนั่งท้ายช้าง จะรีบผลักคุณหลวงไปล่อช้างเถื่อนให้พ้นทางเป็นการดีที่สุด

ตอบอย่างนี้  ดูเป็นสำนวนโวหารวาจาของผู้อื่น  หาใช่สำนวนจากปากของออกขุนไม่
ชะรอยจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยให้คำปรึกษาหารืออยู่ลับหลัง  ช่างเถิด  
แม้ออกขุนจะตอบถูก  แต่น่าเสียดายยิ่งนักที่ไม่มีโอกาสได้อ่านความคิดเห็นที่แท้จริงของออกขุน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 22 มี.ค. 12, 14:39


เมื่อช้างเถื่อนวิ่งเข้ามาจวนประชิดช้างพระที่นั่ง เห็นอะไรย่อมขัดหูขัดตา เหวี่ยงงวง ฟาดงากันยกใหญ่
โบราณท่านว่า "ให้ทำการปลดผ้า ผ้าโพก เสื้อผ้า ทิ้งลงไปให้ช้างเถื่อนได้กลิ่น"
ทั้งนี้ช้างเถื่อนจะเข้าสนใจกับผ้าดังกล่าว จึงมีเวลาเบี่ยงช้างพระที่นั่งได้ทัน

หากว่าคุณหลวงนั่งท้ายช้าง จะรีบผลักคุณหลวงไปล่อช้างเถื่อนให้พ้นทางเป็นการดีที่สุด

ตอบอย่างนี้  ดูเป็นสำนวนโวหารวาจาของผู้อื่น  หาใช่สำนวนจากปากของออกขุนไม่
ชะรอยจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยให้คำปรึกษาหารืออยู่ลับหลัง  ช่างเถิด  
แม้ออกขุนจะตอบถูก  แต่น่าเสียดายยิ่งนักที่ไม่มีโอกาสได้อ่านความคิดเห็นที่แท้จริงของออกขุน


ดูเป็นสำนวนโวหารวาจาของผู้อื่น....x
หาใช่สำนวนจากปากของออกขุนไม่...x
ชะรอยจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยให้คำปรึกษาหารืออยู่ลับหลัง...Y
 แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 22 มี.ค. 12, 14:55

ท่านผุ้อาวุโสไปอ่านหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติ
ไปเจอหนังสืออะไรเข้าไม่ทราบ  เอามาตั้งคำถามกับผม
นามแฝงต่อไปนี้  เป็นนามแฝงของใคร

๑.โคมลอย
๒.ชื่อเปลน
๓.พ.ผ.ศ.ก.
๔.ท.ท.
๕.ส.อ.พ.

เอ  ท่านผู้อาวุโสเอามาจากไหนเนี่ย  ดรรชนีไฉไลหรือเปล่านะ
(คำเตือน  กรุณาตอบด้วยกำลังความรู้ความสามารถของท่านให้ถึงที่สุดก่อน
หากตอบไม่ได้  จึงค่อยปรึกษากุนซือจะดีกว่า  ด้วยความหวังดีงาม)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 22 มี.ค. 12, 15:02

ท่านผุ้อาวุโสไปอ่านหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติ
ไปเจอหนังสืออะไรเข้าไม่ทราบ  เอามาตั้งคำถามกับผม
นามแฝงต่อไปนี้  เป็นนามแฝงของใคร

๑.โคมลอย
๒.ชื่อเปลน
๓.พ.ผ.ศ.ก.
๔.ท.ท.
๕.ส.อ.พ.

เอ  ท่านผู้อาวุโสเอามาจากไหนเนี่ย  ดรรชนีไฉไลหรือเปล่านะ
(คำเตือน  กรุณาตอบด้วยกำลังความรู้ความสามารถของท่านให้ถึงที่สุดก่อน
หากตอบไม่ได้  จึงค่อยปรึกษากุนซือจะดีกว่า  ด้วยความหวังดีงาม)

โดย: Wandee ที่ 03 มิ.ย. 10, 12:13
--------------------------------------------------------------------------------

ต่อไปนี้คือพระนามแฝง ใช้ใน  ปัญหาขัดข้อง  จาก หนังสือวชิรญาณ  กรมศิลปากรพิมพ์ ๒๕๔๙
พระยศในเวลานั้น


ท.ท.                                         สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศวโรปการ


โคมลอย                                     กรมขุนพิทยลาภพฤติธาดา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 22 มี.ค. 12, 15:05

คัดลอกจากเวปวชิรญาณดังนี้ นามแฝง
ส่วนเรื่องอื่นได้พิมพ์ใหม่ในโอกาสต่างๆ บ้างก็พิมพ์ไว้ในเล่มชุดเช่นหนังสือลัทธิธรรมเนียมภาคต่างๆ หรือวันขึ้นปีใหม่ งานศพ เป็นต้น

อนึ่ง ในการตอบปัญหาขัดข้อง ปัญหาพยากรณ์ โคลงทาย ศัพท์วินิจฉัย นั้น ผู้ตอบมักใช้นามแฝง ซึ่งสามารถรวบรวมได้ว่าเป็นใครบ้างดังนี้

ตุ๋งตุ๋ง, นายสุด  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  
ฉุนเละ
 สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี)
 
สามัญสมาชิกฝ่ายใน
 สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา)
 
ภาคินีสมาชิก
 พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
 
อาทิตย์อุทัย, B.M.
 สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
น.ร.
 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
สะฮ้วน
 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์
 
ย.น.
 สมเด็จเจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณาวดี
 
ท.ท.
 สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
 
กางร่ม
 พระองค์เจ้าอรทัยเทพกัญญา
 
โสตถิ, ส.อ.พ.
 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์
 
อาหรับราตร
 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
 
วโร
 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
 
โคมลอย
 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
 
แป๋วแหวว
 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี
 
ศ.ว.ล.
 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี
 
ธ.ร., ถ.ธ.ส., ถิตธรังโสตถิ
 พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์
 
ชื่อเปลน
 พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์)
 
โพยมยาน
 เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)
 
พ.ผ.ศ.ก.
 พระยาอิศรพันธุโสภณ (หม่อมราชวงศ์หนู อิศรางกูร) เมื่อยังเป็นพระผดุงศุลกกฤตย์
 
บรรหาร
 ขุนบรรหารวรอรรถ
 
วรรณ
 เทียนวรรณ โปรเทียรณ์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 23 มี.ค. 12, 09:31

ท่านผู้อาวุโสปรารภกับผมว่า  ช่วงนี้ของแพงขึ้นหลายอย่าง  ไปเดินตลาดซื้อของได้ไม่เท่าไร
หมดเงินไปหลายร้อยบาท   เห็นทีจะต้องปลูกผักกินเอง  เพื่อลดรายจ่ายในบ้านลง
ท่านว่า  บรรพบุรุษของท่านปลูกผักเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ดทำนา 
ทำกับข้าวสักมื้อก็แทบไม่ต้องเสียเงินค่ากับข้าว   จึงมีเงินเก็บไปทำอย่างอื่น
ว่าแล้วท่านก็นึกขึ้นได้ว่า  ท่านมีเงินเหรียญเงินพดด้วงเก็บสะสมไว้กล่องหนึ่ง
ท่านจึงหยิบให้ผมดูแล้วก็ถามหยั่งเชิงความรู้ว่า

เงินพดด้วงที่ผลิตในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  มีลักษณะแตกต่างกัน แบ่งได้เป็นกี่รุ่น
แต่ละรุ่นมีลักษณะเด่นอะไรบ้าง 

ใครรู้เรื่องเงินพดด้วงช่วยอธิบายให้หน่อย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 23 มี.ค. 12, 10:36

ท่านผู้อาวุโสปรารภกับผมว่า  ช่วงนี้ของแพงขึ้นหลายอย่าง  ไปเดินตลาดซื้อของได้ไม่เท่าไร
หมดเงินไปหลายร้อยบาท   เห็นทีจะต้องปลูกผักกินเอง  เพื่อลดรายจ่ายในบ้านลง
ท่านว่า  บรรพบุรุษของท่านปลูกผักเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ดทำนา 
ทำกับข้าวสักมื้อก็แทบไม่ต้องเสียเงินค่ากับข้าว   จึงมีเงินเก็บไปทำอย่างอื่น
ว่าแล้วท่านก็นึกขึ้นได้ว่า  ท่านมีเงินเหรียญเงินพดด้วงเก็บสะสมไว้กล่องหนึ่ง
ท่านจึงหยิบให้ผมดูแล้วก็ถามหยั่งเชิงความรู้ว่า

เงินพดด้วงที่ผลิตในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  มีลักษณะแตกต่างกัน แบ่งได้เป็นกี่รุ่น
แต่ละรุ่นมีลักษณะเด่นอะไรบ้าง 

ใครรู้เรื่องเงินพดด้วงช่วยอธิบายให้หน่อย

เงินพดด้วงสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่เหมือนกับพดด้วงสมัยรัตนโกสินทร์
๑.   รูปร่างสัณฐานต่างกัน คือ พดด้วงอยุธยาจะมีขาสูงกว่าสมัยรัตนโกสินทร์
๒.   ตราประทับประจำรัชกาลที่แตกต่างกัน
ตราบัวยันต์
ตราอุทุมพร
ตราพระนารายณ์
ตราราชวัตร
ตราครุฑ
ตรา ๕ จุด
ตราสมาธิ
ตราก้านบัว
ตราพระซ่อมดอกไม้บากเล็ก
ตราพระซ่อมดอกไม้ไม่มีบาก
ตราช้าง (พบในขนาดสลึงและเฟื้อง)
ตราสังข์  (พบในขนาดสลึงและเฟื้อง)
๓.   รอยเมล็ดงา (เมล็ดข้าวสาร) ที่ตีไว้ในพดด้วงอยุธยา ซึ่งไม่มีในในสมัยรัตนโกสินทร์
ว่าด้วยเรื่องตราประทับจะประทับตราไว้ ๒ ดวง มักทำเป็นรูปจักร (หมายถึงกรุงศรีอยุธยาอันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระรามาธิบดี) และอีกดวงหนึ่งเป็นตราประจำรัชกาล เป็นรูปแปลก ๆ เช่น สังข์ ครุฑ ตรี ดอกไม้ ลายจุด ลายจุดเครือเถา ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพนั้นแนะว่า “จะไม่ใครเปลี่ยนตราประจำรัชกาลทุกรัชกาล จะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อมีการปลอมแปลงระบาดก็จะเปลี่ยนกันเสียคราวหนึ่ง”
ขนาดของเงินตราในอยุธยามีใช้กัน มี ขนาด ๑ บาท, ๒ สลึง, ๑ สลึง, เฟื้อง และหอยเบี้ย

ต่อมามีการศึกษาเรื่องตราประทับของแต่ละรัชกาลออกมาได้ดังนี้
•   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นรูปสังข์ทักขิณาวัฏ
•   สมเด็จพระราเมศวร ไม่มีหลักฐาน
•   สมเด็จพระบรมราชาธิที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เป็นรูปรัศมีเจ็ดแฉก มีอุณาโลมอยู่ด้านบน
•   สมเด็จพระเจ้ารามราชาธิราช เป็นรูปทรงข้าวบิณฑ์ ลักษณะคล้ายใบโพธิ
•   สมเด็จพระอินทราชาที่ 1 ลักษณะคล้ายดอกไม้เรียงกันสามดอก ดอกที่สี่อยู่ข้างบน ใต้ดอกไม้มีจุดกลม สำหรับดอกบนมีจุดซ้ายขวาด้วย
•   สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีลักษณะคล้ายอักษร ต.เต่าห้าตัว ซ้อนกันสามแถว
•   สมเด็จพระอินทราชาที่ 2 มีลักษณะรูปจุดใหญ่อยู่กลาง ด้านบนมีจุดกลมอยู่ในกรอบ ด้านล่างมีจุดเล็กหนึ่งจุดทั้งสองข้างเป็นมีรูปคล้ายกลีบดอกไม้ข้างละกลีบ
•   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เป็นรูปจุดสิบจุดไม่มีกรอบ
•   สมเด็จพระบรมราชามหาพุทธางกูร เป็นรูปกลมมีรัศมีด้านบนสามแฉก ด้านล่างตัวละสองแฉก
•   สมเด็จพระชัยราชาธิราช เป็นรูปจุดกลมใหญ่สามจุด มีแฉกขึ้นไปด้านบนจุดละแฉก และมีเส้นสองเส้นจากจุดบนทอดลงล่างสองข้าง เส้นคู่นี้ มีจุดเล็กอยู่ข้างละจุด
•   สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เป็นรูปช้างยืนหันหน้าไปทางซ้าย
•   สมเด็จพระมหินทราธิราช ไม่ปรากฎหลักฐาน
•   สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เป็นรูปคล้ายช่อดอกไม้
•   สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นจุดคล้ายพระแสงดาบสองเล่มไขว้กัน และมีรูปอุณาโลม อยู่ระหว่างมุมทั้งสี่ของดาบไขว้ทั้งสอง
•   สมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นเส้นขีดตามแนวนอนห้าเส้น ด้านบนเป็นรูปคล้ายใบโพธิ
•   สมเด็จพระเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ เป็นรูปจุดสี่จุด วางเป็นรูปทรงของชฎา
•   สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เป็นรูปคล้ายดวงไฟมีเปลวเพลิงลอยอยู่โดยรอบ มีกรอบล้อม
•   สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เป็นรูปจุดเจ็ดจุด เรียงกันแถวละสามจุดสองแถว บนสุดมีหนึ่งจุดอยู่ภายในกรอบ
•   สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นจุดหกจุดมีกรอบล้อมรอบ ลักษณะเหมือนดอกบัวหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ นอกจากนั้นยังมีตราครุฑอีกตราหนึ่ง
•   สมเด็จพระเพทราชา เป็นรูปคล้ายดอกจันทน์อยู่ในกรอบกนก
•   สมเด็จพระเจ้าเสือ รูปร่างคล้ายสังข์มีกนก
•   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เป็นรูปคล้ายดอกไม้สามกลีบ บนกลีบกลางมีอีกหนึ่งกลีบ ใต้กลีบกลางมีจุดกลม
•   สมเด็จพระบรมโกษฐ เป็นรูปคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม มียอด ข้างกล่องมีจุดข้างละสองจุด
•   สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร เป็นจุดสี่จุดอยู่ในกรอบกนกเปิดล่าง
•   สมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ เป็นรูปจุดเก้าจุดอยู่ในกรอบทรงสามเหลี่ยมมุมมน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 23 มี.ค. 12, 10:49

ภาพลักษณะเงินพดด้วง 10 จุด


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 23 มี.ค. 12, 11:08

ท่านผู้อาวุโสปรารภกับผมว่า  ช่วงนี้ของแพงขึ้นหลายอย่าง  ไปเดินตลาดซื้อของได้ไม่เท่าไร
หมดเงินไปหลายร้อยบาท   เห็นทีจะต้องปลูกผักกินเอง  เพื่อลดรายจ่ายในบ้านลง
ท่านว่า  บรรพบุรุษของท่านปลูกผักเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ดทำนา  
ทำกับข้าวสักมื้อก็แทบไม่ต้องเสียเงินค่ากับข้าว   จึงมีเงินเก็บไปทำอย่างอื่น
ว่าแล้วท่านก็นึกขึ้นได้ว่า  ท่านมีเงินเหรียญเงินพดด้วงเก็บสะสมไว้กล่องหนึ่ง
ท่านจึงหยิบให้ผมดูแล้วก็ถามหยั่งเชิงความรู้ว่า

เงินพดด้วงที่ผลิตในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  มีลักษณะแตกต่างกัน แบ่งได้เป็นกี่รุ่น
แต่ละรุ่นมีลักษณะเด่นอะไรบ้าง
 

ใครรู้เรื่องเงินพดด้วงช่วยอธิบายให้หน่อย

^ กรุณาตอบให้ตรงคำถาม  ที่ไม่ได้ถามไม่ต้องคัดมาลง  ทำลิงก์ก็พอ O.K.??
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 23 มี.ค. 12, 11:22

ท่านผู้อาวุโสปรารภกับผมว่า  ช่วงนี้ของแพงขึ้นหลายอย่าง  ไปเดินตลาดซื้อของได้ไม่เท่าไร
หมดเงินไปหลายร้อยบาท   เห็นทีจะต้องปลูกผักกินเอง  เพื่อลดรายจ่ายในบ้านลง
ท่านว่า  บรรพบุรุษของท่านปลูกผักเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ดทำนา  
ทำกับข้าวสักมื้อก็แทบไม่ต้องเสียเงินค่ากับข้าว   จึงมีเงินเก็บไปทำอย่างอื่น
ว่าแล้วท่านก็นึกขึ้นได้ว่า  ท่านมีเงินเหรียญเงินพดด้วงเก็บสะสมไว้กล่องหนึ่ง
ท่านจึงหยิบให้ผมดูแล้วก็ถามหยั่งเชิงความรู้ว่า

เงินพดด้วงที่ผลิตในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  มีลักษณะแตกต่างกัน แบ่งได้เป็นกี่รุ่น
แต่ละรุ่นมีลักษณะเด่นอะไรบ้าง
 

ใครรู้เรื่องเงินพดด้วงช่วยอธิบายให้หน่อย

^ กรุณาตอบให้ตรงคำถาม  ที่ไม่ได้ถามไม่ต้องคัดมาลง  ทำลิงก์ก็พอ O.K.??

๒ รุ่น รุ่นบากข้าวสาร  กับ ไม่บากข้าวสาร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง