เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 228582 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 14 มี.ค. 12, 17:51

เล่มนี้หรือเปล่าคะ... ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 08:23

วันที่ 16  ตุลาคม พ.ศ. 2444  (ร.ศ. 120)  รัชกาลที่ 5  ยิงฟันยิ้ม
เรือขนาดเล็ก กว้าง 1.70 เมตร ยาว 12 เมตร
ชื่อเรือ "พระยาจีนจัตตุ" 
โดยบริเวณที่ประดิษฐานเรือในปัจจุบันมีอักษรจารึกไว้ว่า "นาวาเสด็จน่านนทีราชบูรณะ"

เป็นคำตอบที่....................ที่................................ที่........................























ผิดครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 08:44

โห...ผิดตัวโตจัง... ยิงฟันยิ้ม
งั้นก็คราวที่เสด็จ พร้อมรัชกาลที่ 4 หรือเปล่าคะ...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 08:51

ในปีขาลนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือถึงเมืองพิษณุโลกโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงผนวชเป็นสามเณรโดยเสด็จไปในเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชด้วย เสด็จออกจากกรุงเทพฯเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑ ในสมัยนั้นลำแม่น้ำทางเมืองเหนือยังกว้างเมื่อขาขึ้นเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจักรข้าง ๒ ปล่อง เป็นเรือไฟขนาดยาว ๓๐ วายังเข้าปากน้ำเกยไชยขึ้นทางลำน้ำเมืองพิจิตรเก่าได้ถึงเมืองพิษณุโลกแต่ขากลับน้ำลดต้องล่องทางคลองเรียง ที่เป็นลำน้ำเมืองพิจิตรทุกวันนี้

http://board.palungjit.com/f13/แผ่นดิน-พระพุทธเจ้าหลวง-150001-2.html

ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 09:33

ในปีขาลนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือถึงเมืองพิษณุโลกโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงผนวชเป็นสามเณรโดยเสด็จไปในเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชด้วย เสด็จออกจากกรุงเทพฯเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑ ในสมัยนั้นลำแม่น้ำทางเมืองเหนือยังกว้างเมื่อขาขึ้นเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจักรข้าง ๒ ปล่อง เป็นเรือไฟขนาดยาว ๓๐ วายังเข้าปากน้ำเกยไชยขึ้นทางลำน้ำเมืองพิจิตรเก่าได้ถึงเมืองพิษณุโลกแต่ขากลับน้ำลดต้องล่องทางคลองเรียง ที่เป็นลำน้ำเมืองพิจิตรทุกวันนี้

http://board.palungjit.com/f13/แผ่นดิน-พระพุทธเจ้าหลวง-150001-2.html

ยิงฟันยิ้ม


รัชกาลที่ ๔ ถูกครับ  เหตุการณ์ก็ถูกครับ
เดือนปีก็ถูกต้อง  แต่วันยังไม่ใช่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 10:05

“...  เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จขึ้นไปเมืองเหนืออีกครั้งหนึ่ง เสด็จโดยเรือพระที่นั่ง “อรรคราชวรเดช” ซึ่งเป็นเรือกลไฟจักรข้าง ๒ ปล่อง ใหญ่กว่าเรือกลไฟพระที่นั่งทั้งปวงที่มีอยู่ในเวลานั้น

ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้กระบวนเสด็จไปในเรือลำเดียวกัน ไม่ต้องกะเกณฑ์พาหนะให้ลำบาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ ก็ได้โดยเสด็จไปด้วยในคราวนั้น

เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๙ ปีขาล จ.ศ. ๑๒๒๘  ค.ศ. ๑๘๖๖  ร.ศ. ๘๕ เลือกเวลากำลังน้ำขึ้นมาก และในเวลานั้นลำน้ำทางเมืองพิจิตรเก่า (ต.เมืองเก่าในปัจจุบัน) ยังลึกขาขึ้น  เรือพระที่นั่งขึ้นทางลำน้ำนั้น ได้เสด็จแวะที่วัดโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) ครั้งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงสร้างไว้ ณ ที่ประสูติ      

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นนมัสการพระที่วัดโพธิ์ประทับช้าง  ครั้งนั้นทรงดำริว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่   จึงโปรดฯ ให้ทรงพระราชยาน และให้กระบวนแห่เสด็จต่างพระองค์  ส่วนพระองค์ทรงพระราชดำเนินตามพระราชยานไป  ซึ่งเรื่องนี้ถือกันมาว่าเป็นบุพพนิมิตอันหนึ่ง  ซึ่งแสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงรับรัชทายาท

เรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชขึ้นไปเมืองเหนือครั้งนั้น  เล่ากันว่าลำบากยิ่งนัก  เพราะลำแม่น้ำแคบและคดคู้ในที่บางแห่ง  ทั้งสายน้ำก็ไหลแรง  พัดเรือพระที่นั่งเกยตลิ่งบ่อย ๆ  เสด็จไปจากกรุงเทพฯ ๗ วัน  จึงถึงเมืองพิษณุโลก  เมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน ๑๑  แรม  ๘  ค่ำ  (ตรงกับวันที่ ๑ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๙ ปี ขาล) ประทับสมโภชพระพุทธชินราชอยู่ ๒ ราตรี  ถึงวันเสาร์  เดือน ๑๑  แรม ๑๐ ค่ำ  (ตรงกับวันที่ ๓ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๙ ปี ขาล) ก็ต้องเสด็จกลับเพราะลำน้ำลดลง  เกรงเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจะติดอยู่กลางทาง   เมื่อขากลับทางลำน้ำเมืองพิจิตรเก่าน้ำก็ตื้นเสียแล้ว  ต้องล่องเรือพระที่นั่งลงมาทางคลองเรียง คือลำน้ำที่ตั้งเมืองพิจิตรใหม่ในบัดนี้...”

จากบทความในหนังสือ  “ตามรอยสมเด็จพระเจ้าเสือ”  หน้า  ๖๙ – ๗๐ เรื่อง  “... เมืองพิจิตรในอดีต ...”  เขียนโดย  คุณศิรินันท์  บุญศิริ ซึ่งได้จัดพิมพ์เผยแพร่ โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร เมื่อเดือนมิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๔๘  

ข้อมูลเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช  สมัยรัชกาลที่ ๔



 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 10:12

ถูกต้องครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 16:22

การแบ่งเขตอำเภอ ในพระนคร ครั้งแรกเขาแบ่งกันอย่างไร ฮืม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 16:34

การแบ่งเขตอำเภอ ในพระนคร ครั้งแรกเขาแบ่งกันอย่างไร ฮืม

พระนครไหนฤๅใต้เท้า

พระนครศรีอยุธยา หรือ พระนคร-ธนบุรี

 ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 16 มี.ค. 12, 19:51

การแบ่งเขตอำเภอ ในพระนคร ครั้งแรกเขาแบ่งกันอย่างไร ฮืม

การแบ่งอำเภอใช้เกณฑ์การจัดการปกครองอย่างใหม่ เทศาภิบาล เป็นการปกครองแบ่งเป็นมณฑล โดยใช้เรียกว่า "มณฑลกรุงเทพ" มีอำเภอดังนี้
อำเภอราชบุรณะ
อำเภอแสนแสบ
อำเภอจะระดับ
อำเภอพระโขนง
อำเภอบางกะปิ
อำเภอบางพลีใหญ่
อำเภอสระปทุมวัน
อำเภอบางรัก
อำเภอพระนคร
อำเภอดุสิต
อำเภอสำเพ็ง
อำเภอบางลำพูล่าง
อำเภอบางกอกใหญ่
อำเภอบางกอกน้อย
อำเภอบางเขน
อำเภอตลิ่งชัน
อำเภอหนองแขม
อำเภอบางซื่อ
อำเภอบางขุนเทียน
อำเภอภาษีเจริญ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 19 มี.ค. 12, 08:40

การแบ่งเขตอำเภอ ในพระนคร ครั้งแรกเขาแบ่งกันอย่างไร ฮืม

พระนครไหนฤๅใต้เท้า

พระนครศรีอยุธยา หรือ พระนคร-ธนบุรี

 ฮืม

พระนครคีรีมั้ง   ยิงฟันยิ้ม  พระนครกรุงเทพนี่แหละ พนาย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 19 มี.ค. 12, 08:42


การแบ่งอำเภอใช้เกณฑ์การจัดการปกครองอย่างใหม่ เทศาภิบาล เป็นการปกครองแบ่งเป็นมณฑล โดยใช้เรียกว่า "มณฑลกรุงเทพ" มีอำเภอดังนี้
อำเภอราชบุรณะ
อำเภอแสนแสบ
อำเภอจะระดับ
อำเภอพระโขนง
อำเภอบางกะปิ
อำเภอบางพลีใหญ่
อำเภอสระปทุมวัน
อำเภอบางรัก
อำเภอพระนคร
อำเภอดุสิต
อำเภอสำเพ็ง
อำเภอบางลำพูล่าง
อำเภอบางกอกใหญ่
อำเภอบางกอกน้อย
อำเภอบางเขน
อำเภอตลิ่งชัน
อำเภอหนองแขม
อำเภอบางซื่อ
อำเภอบางขุนเทียน
อำเภอภาษีเจริญ


ไม่ถูกครับ   กรุณาขวนขวายใหม่อีกครั้ง  แถมที่ตอบมา ก็ตอบไม่ครบ ไม่ละเอียดด้วย
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 19 มี.ค. 12, 09:32

มีอะไรที่เกี่ยวกับ "กึ่งพระนคร" หรือไม่หนอ  ฮืม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 19 มี.ค. 12, 11:24

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 19 มี.ค. 12, 11:36

พ.ศ. 2435 สมัยที่เป็น มณฑลกรุงเทพมหานคร  (ไม่ใช่พระนคร)  ยิงฟันยิ้ม

ได้มีการแบ่งการปกครอง  ออกเป็น อำเภอชั้นใน 8 อำเภอ  ได้แก่  
1.อำเภอพระนคร  
2.อำเภอสามเพ็ง  
3.อำเภอบางรัก  
4.อำเภอปทุมวัน  
5.อำเภอดุสิต
6.อำเภอบางกอกน้อย  
7.อำเภอบางกอกใหญ่
8.อำเภอบางลำภูล่าง  
และอำเภอชั้นนอก 8 อำเภอ  ได้แก่  
1.อำเภอบางซื่อ  
2.อำเภอบางเขน  
3.อำเภอบางกะปิ  
4.อำเภอบางขุนเทียน  
5.อำเภอราษฎร์บูรณะ  
6.อำเภอตลิ่งชัน  
7.อำเภอภาษีเจริญ  
8.อำเภอหนองแขม  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง