เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 228605 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 07 มี.ค. 12, 16:37

^ ส่งภาพมาประกอบ ค่ะ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 07 มี.ค. 12, 17:05

หัวเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๕ ร,ศ, ๑๑๒  มีเมืองอะไรบ้าง  และหัวเมืองต่อหัวเมืองปกครองกันอย่างไร
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 13:07

 ยิงฟันยิ้ม หัวเมือง ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึง ร.ศ. 112 แบ่งป็น
1 หัวเมืองชั้นใน
2 หัวเมืองชั้นนอก
3 หัวเมืองประเทศราช
1.หัวเมืองชั้นใน เดิมเรียกว่าเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน จะตั้งอยู่รอบเมืองหลวง ถือว่าเป็นบริวารของเมืองหลวง เมืองชั้นในไม่ได้เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มีเจ้าเมืองปกครอง มีแต่ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง ทำหน้าที่ดูแล ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง การบริหารงานต้องรับคำสั่งจากเสนาบดีจัตุสดมภ์ หรือฟังคำสั่งจากเมืองหลวง หัวเมืองชั้นใน มีความสำคัญเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา
2.หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้จัดแบ่งเป็นระดับชั้น ตามขนาด จำนวนพลเมือง ความสำคัญ แบ่งเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และอาจมีเมืองเล็ก ๆ ( เมืองชั้นจัตวา ) อยู่ใต้สังกัด เจ้าเมืองเหล่านี้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระราชโองการและนโยบายจากเมืองหลวงตามเขตความรับผิดชอบกล่าวคือหัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคอิสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก
หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ อยูในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม
หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมท่า ( พระยาพระคลัง )
หัวเมืองที่สังกัดกรมท่า มี 9 เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี บางละมุง ระยองจันทบุรี ตราด
เมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเอง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ พิษณุโลก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ถลาง และสงขลา
เมืองชั้นโท ตรี และจัตวา เสนาบดีที่รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง
3.หัวเมืองประเทศราช หรือ เมืองขึ้น เป็นเมืองของชาวต่างชาติต่างภาษา หรือ ประเทศเหล่านั้นยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของไทย มีเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ ปกครองกันเอง ตามจารีตประเพณีของแต่ละชาติ การเป็นเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ จะต้องบอกหรือเข้ามากราบบังคมทูล ขอให้เป็นผู้แต่งตั้งให้ โดยเมืองขึ้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการ และต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาให้ โดยปรกติจะจัดส่ง 3 ปีต่อครั้ง ต้องเกณฑ์ทัพมาช่วยถ้ามีศึกสงคราม
ประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ ล้านนา (เชียงใหม่ ) ล้านช้าง หรือ ลาว ( หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ) เขมร ( กัมพูชา ) หัวเมืองมลายู ( ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู )

หอมรดกไทย ..เล่าว่า .....
จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระบุว่าหัวเมืองขึ้นกรุงเทพมหานครมี 474 หัวเมือง ปัจจุบัน เหลือจารึกที่บอกชื่อหัวเมืองเหล่านั้น กับเจ้าเมืองบางเมืองอยู่ราวครึ่งหนึ่ง ตรวจได้ศิลาจารึก 77 แผ่น ทำเนียบเมือง 194 เมือง แบ่งออกได้ดังนี้
ทิศเหนือ
พื้นที่ทิศเหนือของประเทศสยาม ปัจจุบันได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดยโสธร และจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย รวมทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศลาว
•   เมืองศรีภิรม เมืองพรหมพิราม เมืองเทพบุรี เมืองชาตกาล เมืองนครไทย และเมืองด่านซ้าย สุดน้ำโทก 6 เมือง ขึ้นกับเมืองพิษณุโลก
•   เมืองชุบศรสำแดง เมืองชุมแสงสงคราม เมืองศรีพนมมาศ และเมืองนครนาคง อยู่ลำน้ำใหญ่ 4 เมือง ขึ้นกับเมืองพิษณุโลก
•   เมืองลับแล เมืองปากเหือง เจ้าเมืองชื่อพระอณะพินาศ เมืองน้ำปาด และเมืองสวางคบุรี รวมลำน้ำพิชัย 3 เมือง ขึ้นกับเมืองพิชัย
•   เมืองตรอนตรีศิลป์ อยู่ตอนหนบุรพสวางค์ เมืองบางโพ และเมืองขุนกัน อยู่ลำน้ำพิชัยฝั่งตะวันตก ขึ้นกับเมืองพิชัย
•   เมืองพิพัฒน์ ขึ้นกับเมืองพิชัย
•   เมืองทุ่งยั้งและเมืองสวรรคโลกขึ้นกับมหาดไทย
•   เมืองพิชัย หัวเมืองชั้นตรี เจ้าเมืองชื่อออกญาศรีสุริยราชราชัยอภัยพิรยพาหะ ศักดินา 3,000 ขึ้นกับมหาดไทย
•   เมืองพิมูล ขึ้นกับเมืองพิชัย
•   เมืองสุโขทัย หัวเมืองชั้นโท ผู้ครองเมืองชื่อออกญาศรีธรรมศุภราชชาติบดินทร สุรินทรฤๅไชย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ศักดินา 10,000 ขึ้นกับมหาดไทย
•   เมืองราชธานี เมืองกงคราม เมืองพิรามรงค และเมืองพิแรมรมย์ ขึ้นกับเมืองสุโขทัยทั้ง 4 เมือง
•   เมืองโคฎก อยู่ฝั่งเหนือบางขัง เมืองบางขัง อยู่ฝั่งใต้ลำบางขัง ขึ้นกับเมืองสวรรคโลก
•   เมืองสำโรงทอง อยู่ฝั่งเหนือลำสำโรง เมืองคีรีมาศอยู่ดอน ขึ้นกับเมืองสุโขทัย
•   เมืองปอง ขึ้นกับเมืองเถินอยู่ดอน
•   เมืองเถิน เจ้าเมืองชื่อพระยาเถินบุรี ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองกำแพงเพ็ชร หัวเมืองชั้นโท ผู้ครองเมืองชื่อออกญารามรณรงคสงคราม รามภักดีอภัย พิริยพาหะ ถือศักดินา 10,000 ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองเชียงทอง เมืองเชียงเงิน อยู่ลำพิงฝั่งออก ขึ้นเมืองตาก
•   เมืองโกสามพิน เมืองบงการบุรี เมืองโบราณราช เมืองนาถบุรี เมืองไตรตรึงค์ ขึ้นเมืองกำแพงเพชร 5 เมือง
•   เมืองป่าศักดิ์ ผู้ครองเมืองชื่อเจ้านครจำปาศักดิ์ ประเทศราช ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองโขงเจียม ขึ้นมหาดไทย
•   เมืองปากแซง ขึ้นกับเมืองเจียม
•   เมืองเขมราฐ เจ้าเมืองชื่อพระเทพวงศา ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองมุกดาหาร เจ้าเมืองชื่อพระจันทมุริยวงศ์ ขึ้นมหาดไทย
•   เมืองนครพนม ผู้ครองชื่อพระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชทวาเวียง ดำรงรักษศักดิยศทฤๅไกร ศรีพิชัยสงคราม เจ้าเมืองยศสุนทร ทั้งสองเมือง ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองท่าอุเทน ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองไชยบุรี เจ้าเมืองชื่อพระไชยวงศา ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองเดชอุดม เจ้าเมืองชื่อพระศรีสุระ ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองศีรษะเกศ เจ้าเมืองชื่อพญาวิเศษภักดี ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองสาลวัน เจ้าเมืองชื่อเอกราช เมืองสะเมียร์ เมืองสะภาษ และเมืองคง อยู่ตะวันตกลำเซโคนฝั่งของข้างเหนือ 4 เมือง ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองสีทันดร เจ้าเมืองชื่อพระอภัยราชวงศา ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองตระการ อยู่ลำแม่ขานฝั่งเหนือ เมืองแจ่ม อยู่ลำแม่แจ่มฝั่งตะวันออก เมืองยวม อยู่ฝั่งน้ำยวมหนตะวันตก และเมืองพาน อยู่ตอนหนใต้ ขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ 4 เมือง
•   เมืองหอด อยู่ลำแม่พิงฝั่งตะวันตก เมืองตื่นด่าน พญาอินทรคีรี ขึ้นเมืองเชียงใหม่ 2 เมือง
•   นครลำพูนไชยประเทศราช ผู้ครองเมืองชื่อตามนามเมือง ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองยอง อยู่ฝั่งแม่กอง ตะวันออกตรงเมืองลำพูนข้าม ขึ้นกับเมืองลำพูน
•   เมืองป่าซาง อยู่ลำแม่ทาฝั่งตะวันตก เมืองหนองล่าง อยู่ลำแม่ลี้ฝั่งเหนือ และเมืองลี้ อยู่ปลายแม่ลี้ฝั่งใต้ ขึ้นกับเมืองลำพูนทั้ง 3 เมือง
•   เมืองจาน เมืองเมาะ เมืองท่า เมืองลอง อยู่ตะวันออกของนครลำปาง เมืองพยาก เมืองงาว อยู่ตอนเหนือของเมืองลำปาง เมืองเตาะ อยู่ฝั่งตะวันออกน้ำเตาะ เมืองวัง และเมืองแจ้ห่ม อยู่ฝั่งแม่วังฝั่งตะวันออก ขึ้นกับเมืองนครลำปางทั้ง 9 เมือง
•   เมืองเวียงติ้นและเมืองพะเยา อยู่ลำแม่วังฝั่งตะวันตก ขึ้นกรมมหาดไทย
•   นครลำปางประเทศราช ผู้ครองเมืองชื่อตามนามเมือง ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองเสิมและเมืองจาง อยู่แม่จางฝั่งเหนือ ขึ้นกับเมืองนครลำปาง
•   เมืองเชียงของ เมืองโปง เมืองเงิน เมืองสราว และเมืองปัว ขึ้นเมืองน่าน
•   เมืองน่าน ผู้ครองเมืองชื่อพระยามงคลยศประเทศราช ขึ้นมหาดไทย
•   เมืองหินและเมืองงั่ว อยู่หนใต้ ขึ้นเมืองน่าน 2 เมือง
•   เมืองแพร่ เจ้าเมืองชื่อพญาแพร่ราชวงศาประเทศราช ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองสรองและเมืองแสนหลวง อยู่หนใต้เมืองแพร่ ขึ้นกับเมืองแพร่
•   เมืองนำภูน เมืองนำอาย เมืองเพียง และเมืองทุง อยู่ลำของใต้เมืองหลวง 5 เมือง เมืองด่านขวา เมืองเชียงเงิน อยู่ลำน้ำด่านตะวันออกเมืองหลวง 2 เมือง ขึ้นเมืองหลวงพระบาง 7 เมือง
•   เมืองมวย เมืองสะกก เมืองหิว เมืองบุญวัง เมืองหะท้าว เมืองไต และเมืองปักแสง อยู่ลำน้ำเซืองตะวันออกเมืองหลวง ขึ้น 7
•   เมืองคำเกิด อยู่หว่างน้ำอ่อน หว่างน้ำยวงฝั่งเหนือ เมืองคำม้วน อยู่ลำน้ำอ่อนฝั่งเหนือ ขึ้นกรมมหาดไทย 2 เมือง
•   เมืองหาว อยู่ลำน้ำโชติฝั่งเหนือ ขึ้นเมืองคำม้วน
•   เมืองบ่อ อยู่ลำน้ำอ่อนฝั่งใต้ ขึ้นเมืองคำเกิด
•   เมืองว่า อยู่ลำน้ำมอญฝั่งตะวันออก ขึ้นเมืองคำม้วน
•   เมืองภูเวียง ขึ้นเมืองเวียงจันทน์
•   เมืองยศสุนทร เหนือลำพมูล พระสุนทรวงศา เจ้าเมืองนครพนม กินเมืองยศสุนทรด้วย ขึ้นกรมมหาดไทย
•   กรุงศรีสัตนาคนหุตอุดมราชธานี เมืองเวียงจันทน์ ประเทศราช อยู่ฝั่งลำของฟากเหนือ ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองนามฮุง เมืองเชียงคาน อยู่เหนือเวียงจันทน์ ขึ้นเมืองเวียงจันทน์ 2 เมือง
•   เมืองท่าบ่อและเมืองพานพร้าว อยู่ฝั่งลำของข้างใต้ ขึ้นเมืองเวียงจันทน์ 2 เมือง
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 13:14

 ต่อนะคะ  ... ยิงฟันยิ้ม
ทิศตะวันออก
พื้นที่ทิศตะวันออกของประเทศสยาม ปัจจุบันได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดกาฬสินธุ์ ของประเทศไทย รวมทั้งบางส่วนของประเทศกัมพูชา
•   เมืองพระตะบอง เจ้าเมืองชื่อพระยาอภัยภูเบศร ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองตะโหนด เขมร เมืองพนมศก เขมร ขึ้นเมืองพระตะบอง
•   เมืองนครเสียมราฐ เจ้าเมืองชื่อพระยานุภาพไตรภพสบสรรพยุทธฤทธิ ขึ้นเมืองพระตะบอง
•   เมืองระสือ เขมร ขึ้นเมืองพระตะบอง สิ้นอาญาเขตต์เพียงนี้
•   เมืองพุทไธสมัน เขมร ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองจงกน เขมร เจ้าเมืองชื่อพญาสุรินทภักดีศรีประภัยสุมล ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองนครราชเสมา หัวเมืองชั้นเอก
•   เมืองพิมาย อยู่ทิศตะวันออกลำพิมูล เมืองประโคนไชย และเมืองนางรอง อยู่หนตะวันออก ขึ้นเมืองนครราชเสมา
•   เมืองปักธงไชย อยู่หนใต้นครราชเสมา เมืองพุทไธสงฆ์ อยู่หนเหนือนครราชเสมา ขึ้นนครราชเสมา
•   เมืองชนบท เจ้าเมืองชื่อพญาจันตประเทศ ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองจตุรัศ อยู่ใต้ลำปะชี เมืองไชยภูมิ์ ขึ้นนครราชเสมา
•   เมืองภูเขียว เจ้าเมืองชื่อพระไกรสีหนาท อยู่หนตะวันออก ลำปะชี 2 เมือง ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองสังขะ เจ้าเมืองชื่อพญาสังขบุรีศรีนครอัจ ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองบุรีรำ หนตะวันออกนครราชเสมา ขึ้นนครราชเสมา
•   เมืองสุวรรณภูมิ เจ้าเมืองชื่อพระรัตนวงษา ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองขอนแก่น เจ้าเมืองชื่อพระนคร ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองกาฬสินธุ์ เจ้าเมืองชื่อพญาไชยสุนทร ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองหนองหารน้อย เจ้าเมืองชื่อพระพิทั
ทิศตะวันตก
พื้นที่ทิศตะวันตกของประเทศสยาม ปัจจุบันได้แก่ บริเวณภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย
•   เมืองกรุงเก่า ผู้รักษากรุงชื่อพระยาไชยวิชิต สิทธสาตรา มหาประเทศราช ชาติเสนาบดี ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองปรันตประเทศ ข้าพระพุทธบาท ขึ้นกรุงเก่า
•   เมืองลพบุรี หัวเมืองชั้นจัตวา เจ้าเมืองชื่อออกพระนครพราหมณ์ ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองสระบุรี หัวเมืองชั้นจัตวา เจ้าเมืองชื่อพระยาพิไชยรณรงค์สงคราม รามภักดีบดินทรนรินทรเสนา มหานิคมธานีศรีมไหศวรรย์ ศักดินา 3,000 ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองประทุมธานี หัวเมืองชั้นตรี เจ้าเมืองชื่อพระยาพิทักษ์ทวยหาญ ขึ้นกรมพระกระลาโหม
•   เมืองนนทบุรี หัวเมืองชั้นจัตวา เจ้าเมืองชื่อพระนนทบุรีศรีมหาสมุทร ถือศักดินา 3,000 ขึ้นกับกรมท่า
•   เมืองราชบุรี เดิมเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา ยกขึ้นเป็นหัวเมืองชั้นโท ผู้ครองเมืองชื่อพระยาสุรินทรฤๅชัย อภัยประเทศราชชาติพัทธยาธิบดี พิริยพาหะ ถือศักดินา 3,000 ขึ้นกรมพระกระลาโหม
•   เมืองกาญจนบุรี หัวเมืองชั้นจัตวา เจ้าเมืองชื่อพระยาประสิทธิ์สงคราม รามภักดี ศรีพิเศษประเทศนิคม ภิรมราไชยสวรรย์ ถือศักดินา 3,000 ขึ้นกรมพระกระลาโหม
•   เมืองศรีสวัสดิ์ หัวเมืองชั้นจัตวา เจ้าเมืองชื่อพระยาพิไชยชนะสงคราม รามภักดี ถือศักดินา 3,000 ขึ้นกรมพระกระลาโหม
ทิศใต้
พื้นที่ทิศใต้ของประเทศสยาม ปัจจุบันได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย รวมทั้งบางส่วนของประเทศมาเลเซีย
•   เมืองปราจีณบุรี หัวเมืองชั้นจัตวา เจ้าเมืองออกพระอุทัยธานี ถือศักดินา 3,000 ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองกระบิลบุรีและเมืองประจันตคาม ขึ้นกับเมืองปราจีณบุรี
•   เมืองนครนายก หัวเมืองชั้นจัตวา เจ้าเมืองพระพิบูลยสงคราม ถือศักดินา 3,000 ขึ้นกรมมหาดไทย
•   เมืองพนัสนิคม ขึ้นกับกรมท่า
•   เมืองนครศรีธรรมราช หัวเมืองชั้นเอก ผู้ครองเมืองชื่อเจ้าพระยาศรีธรรมราช ชาติเดโชชัย มไหสุริยาธิบดี อภัยพิริยบราพาหุ ถือศักดินา 10,000 ขึ้นกรมพระกระลาโหม
•   เกาะสมุยและเกาะพงัน ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช
•   เมืองไทรบุรี เมืองแขก ผู้ครองเมืองชื่อพระยาอภัยธิเบศรมหาประเทศราช ชาติอธิบดินทร อินทไอสวรรย ขันธเสมาเดชชิตพิริยพาห เมืองขึ้นนครศรีธรรมราช
•   เมืองสะตูล เมืองมะนาวา เมืองละงู เมืองปะหลิด และเมืองเกาะนางกาวี แขก ขึ้นกับไทรบุรี 5 เมือง
•   เมืองพัทลุง เดิมเป็นหัวเมืองชั้นตรี ยกเป็นหัวเมืองชั้นโท ผู้ครองเมืองชื่อออกญาแก้วโกรพยพิชัยภักดีบดินทรเดโชชัย อภัยพิริยพาหะ ถือศักดินา 5,000 ขึ้นกรมพระกระลาโหม
•   เมืองคชราชาและเมืองศรีชนา ขึ้นกับเมืองพัทลุง
•   เมืองปะเหรียญ เมืองชรัด เมืองกำแพงเพชร เมืองสะทัง และเมืองพะโค ขึ้นกับเมืองพัทลุง
•   เมืองระโนด ขึ้นกับนครศรีธรรมราช
•   เมืองสงขลา หัวเมืองชั้นโท ผู้ครองเมืองชื่อพระยาศรีวิเชียรคีรีสุนทร วิสุทธิศักดา มหาพิชัยสงครามภักดี พิริยพาห ขึ้นกรมพระกลาโหม
•   เมืองมนารา ขึ้นกับเมืองสงขลา
•   เมืองหนองจิก เจ้าเมืองชื่อพระยาวิเชียรศรีสุริยวังศารัตนาเขตต์ประเทศราช เมืองแขก ขึ้นกับเมืองสงขลา
•   เมืองตานี เจ้าเมืองชื่อพระยาวิชิตภักดีศรีสุริยวังศารัตนาเขตต์ประเทศราช เมืองแขก ขึ้นกับเมืองสงขลา
•   เมืองจะนะ เจ้าเมืองชื่อมหานุภาพปราบสงคราม ขึ้นกับเมืองสงขลา
•   เมืองเทพา เมืองสทึง และเมืองรัตนภูม ขึ้นกับเมืองสงขลา
•   เมืองยะหริ่ง เจ้าเมืองชื่อพระยาพิพัฒนเสนามาตยาธิบดี ศรีสุรสงคราม เมืองแขก ขึ้นกับเมืองสงขลา
•   เมืองยะลา เมืองแขก ขึ้นกับเมืองสงขลา
•   เมืองรามันห เจ้าเมืองชื่อพระยารัตนภักดีศรีราชบดินทรสุรินทรวังศา เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา เมืองสุพรรณ เมืองป่าหลวง มหาอรัญ เมืองปะดัง เมืองแขก ขึ้นกับเมืองสงขลา
•   เมืองระแงะ เจ้าเมืองชื่อพระยาตะมะหงันภักดี ศรีสุวรรณประเทศวิเศษสวัสดิวังศา เมืองแขก ขึ้นกับเมืองสงขลา
•   เมืองสาย เจ้าเมืองชื่อพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายามักตาลีลาอับดุลระซุน วิบุลขอบเขตต์ประเทศมลายู เมืองแขก ขึ้นกับเมืองสงขลา
•   เมืองปะหลำ เมืองจวบ เมืองปะโหละ เมืองพรายวัน เมืองสีบโปย และเมืองมายอน เมืองแขก ขึ้นกับเมืองสงขลา

ข้อมูลจาก "ทำเนียบหัวเมืองของไทย" หอมรดกไทย
http://www1.mod.go.th/heritage/nation/city/city.htm
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 14:28

^ชื่นใจจริงที่คุณดีดี มีความพยายามอย่างยิ่ง  ที่จะหาคำตอบมาตอบท่านผู้อาวุโส
ถ้าคุณดีดีเป็นนักเรียน  ครูบาอาจารย์คงจะยินดีมาก  เพราะขยันอย่างได้การงานจริงๆ
เป็นนักเรียนที่หาได้ยากนัก ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 16:59

อุ๊ย!!!....คุณหลวง..ชม... ขยิบตา


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 17:38

ท่านผู้อาวุโสไปทำธุระต่างจังหวัดหลายวัน
ที่บ้านจึงเหลือแต่หลานเล่นระหว่างที่ท่านอาวุโสไม่อยู่

วันก่อน  หลานท่านผู้อาวุโสถามว่า

"คนที่นั่งหลังช้างตำแหน่งกลางช้าง เขาทำหน้าที่อะไรหรือครับ"

ผมลืมบอกไปครับว่า  หลานคนนี้กำลังอ่านลิลิตตะเลงพ่ายอยู่
เขาเป็นเด็กสมัยใหม่ ชอบตั้งคำถามอะไรๆ ที่บางทีก็ทำเอาผู้ใหญ่อึ้งได้เหมือนกัน
ผมตอบอธิบายให้หลานเขาเข้าใจความสำคัญและหน้าที่ของคนที่อยู่ตำแหน่งกลางช้างไปแล้ว
แต่ท่านทั้งหลายล่ะครับ  หากเจอคำถามอย่างนี้  ท่านจะอธิบายให้เขาเข้าใจได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 09 มี.ค. 12, 17:52

หากเจอคำถามอย่างนี้ จะบอกให้เข้าไปอ่านกระทู้ "รบกวนถามเรื่องการให้สัญญาณของตำแหน่งกลางช้างหน่อยครับ" ที่เว็บเรือนไทยค่ะ... ยิงฟันยิ้ม



      บนหลังช้างจะมีคนนั่งอยู่สามคน ตัวแม่ทัพจะถือง้าวอยู่ที่คอช้าง คนที่นั่งกลางอยู่บนกูบจะถือหางนกยูงซ้ายขวาโบกเป็นสัญญาณ และคอยส่งอาวุธให้แม่ทัพ (ทราบว่า จะสับเปลี่ยนที่นั่งกัน ตอนกระทำการรบเท่านั้น) ที่ท้ายช้างจะมีควาญนั่งประจำที่ ตามเท้าช้างทั้งสี่มีพลประจำเรียกว่า จตุรงคบาท คนทั้งหมดจะถืออาวุธ เช่น ปืนปลายขอ หอกซัด ของ้าว ขอเกราะเขน แพน ถ้าเป็นช้างยุทธหัตถ ีจะมีหอกผูกผ้าสีแดงสองเล่ม ปืนใหญ่หันปากออกข้างขวาหนึ่งกระบอก ข้างซ้ายหนึ่งกระบอก มีนายทหารและพลทหารสวมเกราะ โพกผ้า ช้างที่เข้ากระบวนทัพจะสวมเกราะใส่เกือกหรือรองเท้าเหล็กสำหรับกันขวากหนาม โดยทั้งที่สี่เท้าสวมหน้าราห์ มีปลอกเหล็กสวมงาทั้งคู่ และมีเกราะโว่พันงวงช้าง สำหรับพังหอค่าย โดยไม่เจ็บปวด
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 18:09

ถ้าหน้าที่ของกลางช้างมีเท่านั้นก็คงจะดีสิครับ 
หลานสงสัยว่า "ถ้ามีหน้าที่ถือแพนหางนกยูงให้สัญญาณกองทัพเวลารบ
และหยิบอาวุธส่งให้แม่ทัพ ก็ดูจะมีหน้าที่น้อยเหลือเกิน
ถ้าไม่มีตำแหน่งนี้ ให้คนที่นั่งอยู่ท้ายช้างปีนขึ้นมาทำหน้าที่แทนก็น่าจะได้
พอท้ายช้างทำหน้าที่กลางช้างเสร็จก็ปีนกลับไปอยู่ท้ายช้างก็ได้นี่ครับ
ไม่เห็นจะต้องมีคนขึ้นไปขี่บนหลังช้างตั้ง ๓ คน ให้ช้างหนักหลังเปล่าๆ"
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 10 มี.ค. 12, 21:49

กลางช้าง เป็นผู้ถ่ายทอด คำสั่งของแม่ทัพ ออกมาเป็นสัญญาณผ่านแพนหางนกยูง เพื่อให้คนทั้งกองทัพได้รับรู้และปฏิบัติตาม
ต้องอ่านเกมคู่ต่อสู้ออก ต้องรู้ว่าตอนไหนเสียเปรียบควรจะถอย ตอนไหนควรจะรุก...
คงจะต้องคอยเป็นที่ปรึกษา แนะนำแม่ทัพ ที่นั่งอยู่บนคอช้างด้วยมั้งคะ...
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 11 มี.ค. 12, 02:59

ผู้ที่ทำหน้าที่ตำแหน่งกลางช้าง  นอกจากจะเป็นผู้ให้สัญญาณแก่ไพร่พลทหารด้วยการโบกแพนหางนกยูง
และเป็นผู้คอยส่งอาวุธแก่แม่ทัพที่นั่งอยู่ที่คอช้างแล้ว  ยังเป็นผู้ระวังด้านหลังแม่ทัพด้วย
เพราะตำแหน่งกลางช้าง เป็นตำแหน่งที่สามารถหันและมองเห็นได้รอบด้าน  ซึ่งแม่ทัพไม่สามารถมองเห็นได้
ตำแหน่งนี้ถ้าสังเกตดีๆ สัปคับที่กลางช้างนั่งจะมีพนักบังด้านข้างสูงบังตัวกลางช้าง
เพื่อป้องกันกลางช้างเป็นอันตราย  เพราะถ้ากลางช้างเกิดบาดเจ็บ  เท่ากับแม่ทัพจะตกที่นั่งลำบากไปด้วย
เพราะไม่มีคนส่งอาวุธให้เมื่ออาวุธเกิดพลัดหลุดมือในขณะทำศึก กับไม่มีคนคอยระวังหลังให้

ตำแหน่งกลางช้างนี้  จึงเป็นตำแหน่งที่ต้องรู้การบังคับช้าง  รู้เรื่องยุทธวิธี  รู้การใช้อาวุธทั้งหลายบนสัปคับ
และต้องรู้จักนิสัยใจคอแม่ทัพ   ที่สำคัญต้องเป็นคนที่แม่ทัพไว้วางใจมากที่สุด   หากเป็นกลางช้าง
บนหลังช้างทรง  กลางช้างมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่ร่ำเรียนวิชาคชศาสตร์ในกรมพระคชบาล  ซึ่งจะมีบรรดาศักดิ์พิเศษเป็นเจ้าต่างๆ
ซึ่งในชั้นหลังบรรดาศักดิ์เหล่านี้  ได้พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวงที่มีความดีความชอบในราชการ

ตำแหน่งกลางช้างนี้  ในถ้าเป็นเวลาขี่ช้างในกระบวนแห่ปกติ หรือขี่ช้างเดินทางปกติ ไม่ต้องทำหน้าที่
ทำหน้าที่แต่เวลารบทัพจับศึก
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 11 มี.ค. 12, 07:27

มีคำถามเรื่องปืนรุ่งของ คุณ Siamease ในกระทู้ ๑๑๕  และคุณ ยิ้มกว้างๆ:D ในกระทู้ ๑๑๗ ค้่งอยู่  พอดีไปพบคำตอบในบันทึกรับสั่ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทาน หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ  สวัสดิกุล เรื่อง "ยิงปืนบอกเวลา" โดยทรงอธิบายไว้ว่า

"เรื่องยิงปืนบอกเวลานี้มีมานานแล้ว  เดิมทีเดียวที่ป้อมมุมพระราชวัง  มีปืนใหญ่ประจุอยู่สี่ป้อมเสมอ  ป้อมละกระบอก  เป็นปืนสัญญา  ตามที่เห็นด้วยตาตนเองนั้นมีอยู่กระบอกหนึ่งที่ป้อมมุมวัดพระเชตุพน  ปืนนั้นถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นเช้าตรู่ยิงทุกวัน  กล่าวกันเป็นสองนัย  นัยหนึ่งว่าเป็นการเปลี่ยนดินปืน  แต่ว่าตามความคิดเห็นว่าที่จริงนั้นเป็นสัญญาเปิดประตูวังที่ปิด  เพื่อลดหย่อนการพิทักษ์รักษาพระราชวังในเวลากลางคืน  ที่ยิงปืนนั้นเพื่อให้ได้ยินพร้อมกันทุกด้าน  อีกนัยหนึ่งนั้นเป็นสัญญาณบอกเมื่อไฟไหม้  ถ้าไฟไหม้นอกพระนครยิงนัดเดียว  ถ้าไฟไหม้ในพระนครยิงสามนัด  ถ้าไหม้ในพระราชวังยิงต่อๆ ไปหลายนัดจนไฟดับจึงหยุด  เป็นธรรมเนียมดังนี้"

เรื่องการยิงปืนรุ่งนี้เคยอ่านพบในเอกสารจดหมายเหตุว่า เลิกไปเมื่อต้นรัชกาลที่ ๖
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 12 มี.ค. 12, 10:41

ขอบคุณคุณวีมี  หนังสือบันทึกรับสั่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานหม่อมราชวงศ์สุมนชาติ  สวัสดิกุล
มีอะไรน่าสนใจอีกมาก   ผู้ใหญ่สมัยก่อนท่านมักสนทนาอะไรมีสาระความรู้  และจดบันทึกไว้คนรุ่นต่อมา
ได้ศึกษาหาความรู้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 12 มี.ค. 12, 10:56

ท่านผู้อาวุโสโทรศัพท์มาสนทนาในระหว่างที่เดินทางไปทำภารกิจอยู่ต่างจังหวัด
ท่านถามผมว่า  "ไทยเรานี่  เริ่มธรรมเนียมอนุญาตให้ประชาชนคนทั่วไปเข้า
ไปเคารพสักการะพระศพเจ้าฟ้าเจ้านายได้เป็นครั้งแรกเมื่อไร"

อ้อ  ท่านขอหลักฐานด้วยครับ  เท่านั้นไม่พอ ท่านขออีกว่า

"ในครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าเคารพพระศพเจ้าฟ้าเจ้านาย
คนที่จะเข้าไปนั้น  ต้องปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง"
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 12 มี.ค. 12, 13:40

^ การอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปเคารพสักการะพระศพเจ้าฟ้าเจ้านายได้เป็นครัืงแรก
ในงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ค่ะ
หลักฐานจากประกาศกระทรวงนครบาล ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม รศ. ๑๒๙

...  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศมาว่า ประชาชนทั้งหลายไม่เลือกว่าชั้นใด ชาติใด
ภาษาใด ชายหรือหญิง แม้มีความประสงค์จะมาถวายบังคมพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เข้ามาได้เดือนละ ๒ ครั้ง ตามกำหนดวันเวลาดังนี้ คือ
     บรรดาราษฎรทั้งหลายที่จะมาถวายบังคมพระบรมศพ ควรมาวันที่ ๑ พฤศจิกายน แลว้นที่ ๑๕ พฤศจิกายน
ตั้งแต่เวลาเช้า ๓ โมงไปจนถึงเวลาบ่าย ๕ โมง ส่วนเดือนธันวาคม แลเดือนต่อไป ก็คงมีกำหนดวันที่ ๑
แลวันที่ ๑๕ เวลาเดียวกัน จนกว่าจะได้ถวายพระเพลิง ...
     อนึ่งผู้ที่จะมาถวายบังคมพระบรมศพนั้น ควรแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างธรรมเนียมไว้ทุกข์ คือผู้ชายนุ่งขาว
สรวมเสื้อขาว ผู้หญิงนุ่งผ้าขาวสรวมเสื้อขาวห่มขาว ถ้าเปนชาติที่มีธรรมเนียมไว้ทุกข์ดำก็แต่งกายตามลัทธิแห่งตนๆ
แลถ้าจะมีดอกไม้ธูปเทียนหรือพวงมาไลยมาทำสักการะบูชาด้วยก็ยิ่งดี ...

ประกาศเพิ่มเติม
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประทับให้ราษฎรทั้งหลายเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย สุดแต่จะทรงมีพระเวลา
     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง