เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227642 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 14:22

พิธีตัดไม้ข่มนามนั้นมีหลายวิธี เช่น ยิงฟันยิ้ม

1.ตัดไม้ที่มีพยัญชนะตัวหน้าตรงกับพยัญชนะต้นของชื่อศัตรู เช่น ศัตรูชื่อว่า "ทอง" ก็หาไม้ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ "ท" มาแล้วฟันให้ขาด โดยผู้ที่ฟันไม้จะเป็นนายทหารที่รับพระแสงต่อหน้าพระพักตร์เพื่อนำดาบไปฟันไม้ เมื่อฟันแล้วผู้ฟันหันหน้าไปสู่พระราชวัง ไม่เหลียวกลับมาดูเป็นอันขาด จากนั้นนำความเข้ากราบทูลเหนือหัวว่า "ข้าพระพุทธเจ้าออกไปปราบศึกครั้งนี้มีชัยชนะแก่ข้าศึก" หรือผู้ที่ฟันจะเป็นพระมหากษัตริย์เองเลยก็ได้

2.เขียนชื่อของข้าศึกลงในกาบหยวกจากนั้นทำเช่นเดียวกับข้อ 1

3.เหยียบใบไม้ที่มีพยัญชนะต้นเป็นกาลกิณีของศัตรู

4.ทำพิธีใหญ่โดยพราหมณ์หรือหมอ หรือผู้ที่ชำนาญการ มีการตระเตรียมโรงพระราชพิธีอย่างยิ่งใหญ่ขึ้น กลางลานมีการทำพิธีลงเลขยันต์ต่างๆ การปลุกเสก การอวยชัย การดูฤกษ์ยามต่างๆ รวมเวลาไม่ต่ำกว่า 3 วัน โดยจะมีการเอาดินมาปั้นเป็นหุ่นของหัวหน้าฝ่ายข้าศึก จะใช้ก้อนดินสิบสองก้อน โดยนำเอามาจากสถานที่ 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่ ใต้ท่าเรือ ใต้สพาน และจากป่าช้า

หุ่นดินนั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าตามแบบข้าศึกที่หน้าอกลงยันต์ มีชื่อเรียกว่า พุทธจักรทำลายจักรและกิ่งไม้ที่มีชื่อเดียวกัน หรือที่คล้ายคลึงกับชื่อของข้าศึกมัดติดต้นคอเอาไว้ หุ่นดินนี้ก็จะนำเอาไปมัดติดไว้กับต้นกล้วยที่เอามาตั้งไว้ใกล้กับศาลาเพื่อพิธีการนี้โดยเฉพาะ ในเวลา 09.00 น. พระมหากษัตริย์จะพระราชทานดาบอาญาสิทธิ์ให้กับผู้บัญชาการกองทัพซึ่งเป็นขุนศึกใช้รำดาบศึก

ลักษณะการรำดาบศึกและสิ้นสุดลงด้วยการใช้ดาบฟันศีรษะของหุ่นดินปั้นให้ขาดลงในการฟันครั้งเดียว หลังจากนั้นขุนศึกก็จะนำเอาดาบอาญาศึกขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายกลับ และทูลว่าได้ทำการปราบข้าศึกตามพระราชโองการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นพระมหากษัตริย์จะมีพระราชดำรัสให้เคลื่อนทัพ ทหารทั้งหลายจะย่างก้าวเหยียบย่ำหุ่นดินจนจมเสมอพื้นเป็นอันเสร็จพิธี

การตัดไม้ข่มนามที่เป็นพิธีหลวงจะเรียกว่า “พระราชพิธีตัดไม้ข่มนาม” มีการตั้งปะรำเอิกเกริก สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ต้นกล้วยตานียอดม้วน (ใบยอดยังอ่อนอยู่)กับไม้ต้องนามข้าศึก ตามตำราโบราณไม้ที่ต้องนามข้าศึกจะดูแค่ชื่ออักษรตัวหน้าหรือไม้ที่กำหนดไว้ตรงกับวันเกิด เช่น สะเดาตรงกับคนเกิดวันพุธและศุกร์ ต้องสร้างรูปปั้นที่ทำจากดินใต้สะพาน ดินท่าน้ำ ดินป่าช้า อย่าละ 3 แห่งพร้อมทั้งเขียนนามข้าศึก ลงยันต์กำกับ ปลุกเสกต่ออีก 3 คืน รูปปั้นนี้จะถูกตัดด้วยมีดพร้อมกับต้นกล้วยและไม้ต้องนามในวันพิธี
(จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม เดือนธันวาคม พ.ศ. 2541)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อทรงประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อนส่งทหารไทยไปรบยังทวีปยุโรป ก็ได้ทรงประกอบพระราชพิธีตัดไม้ข่มนาม เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เหล่าทหารด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 16:23

การตัดไม้ข่มนามที่เป็นพิธีหลวงจะเรียกว่า “พระราชพิธีตัดไม้ข่มนาม” มีการตั้งปะรำเอิกเกริก สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ต้นกล้วยตานียอดม้วน (ใบยอดยังอ่อนอยู่)กับไม้ต้องนามข้าศึก ตามตำราโบราณไม้ที่ต้องนามข้าศึกจะดูแค่ชื่ออักษรตัวหน้าหรือไม้ที่กำหนดไว้ตรงกับวันเกิด เช่น สะเดาตรงกับคนเกิดวันพุธและศุกร์ ต้องสร้างรูปปั้นที่ทำจากดินใต้สะพาน ดินท่าน้ำ ดินป่าช้า อย่าละ 3 แห่งพร้อมทั้งเขียนนามข้าศึก ลงยันต์กำกับ ปลุกเสกต่ออีก 3 คืน รูปปั้นนี้จะถูกตัดด้วยมีดพร้อมกับต้นกล้วยและไม้ต้องนามในวันพิธี
(จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม เดือนธันวาคม พ.ศ. 2541)

๓๒๑.  .......สมเด็จพระนารายน์ เป็นเจ้าได้ทรงฟัง มีพระทัยปราโมทยิ่งนัก ตรัสให้กระทำมงคลแดง ใส่รี้พลทั้งปวงเป็นสำคัญ แล้วให้เอาใบสะเดาเป็นประเจียดสำหรับเมื่อจะยุทธ์นั้น เพราะเหตุว่าสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราชไซร้ พระชนม์ว่าร้อนสุกร แลใบสะเดานั้นเป็นนามพุฒ แลสุกรไซร้สิ้นกำลังใน พุฒนาม เพื่อจะประหารนามแห่งอริราช........

จาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 18:01

อุเหม่  อายจัง

ท่านข้างบนก็ช่างกระไร ช่วยเฉลยคำถามท่านอาวุโสแทนใต้เท้าพระกรุณาเสียแล้ว

ไอ้กระผมว่าวันนี้จักเอาพระตำหรับนุ่งผ้าขี่ช้างมาสนองบรรณาการเสียหน่อย  เจ๋ง

มิทันเลย มิทันเลย

คุณอาร์ทแห่งทุ่งรังสิตจะไปกริ้วโกรธท่านผู้ใจดีใจกว้างปานมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อใด
เขาไขความให้ก็ดีแล้ว   ตำราขี่ช้างสารนั้นผมก็เคยมี  ได้ทำสำเนาไว้ใช้งานด้วย
แต่กระแสมหาชลทำลายล้างไปเมื่อปีกลาย  นี่ว่าจะไปทำสำเนาใหม่
ส่วนคุณอาร์ทจะทำมาบรรณาการกันก็ไม่ว่ากระไร  ยินดีรับฉลองศรัทธาเพื่อมิให้เสียน้ำใจกัน

 ยิงฟันยิ้ม

เอ้าๆๆๆ ไหนๆ ก็เอ่ยกันถึงขนาดนี้แล้ว สนองบรรณการเสียจะเป็นไร
นี่เพิ่งได้มาจากเจ้าคุณอนุมานเจียวนะ ท่านว่าอ่านแล้วไม่สู้เข้าใจนัก ต้องอ่านทบทวนและทดลองนุ่งผ้าดู  ยิงฟันยิ้ม

พระตำหรับนุ่งผ้าขี่ช้าง

กลหนึ่งที่จะนุ่งผ้าขี่ช้างมี ๓ พวก กรมช้าง เสนาบดี ผ้าต้น พวกหนึ่ง ถ้าจะนุ่งผ้าอย่างกรมช้างขี่ผัดพานล่อแพนนั้นมีอยู่ ๔ อย่าง
อย่างหนึ่งชื่อว่า "เกไล" อย่างหนึ่งชื่อว่า "บัวตูม" อย่างหนึ่งชื่อว่า "บัวบาน" อย่างหนึ่งชื่อว่า "บัวจีบ"

ถ้าช้างชื่นตา ให้นุ่งเกไล ถ้าจะนุ่งเกไลนั้น ให้นุ่งผ้า ๖ คืบ ๖ แขน ๒ ผืนเพาะพับเอาลายเข้าแล้วจึ่งหยิบริมนุ่งชายซ้ายสั้น
ชายขวายาว ชาวยาวนั้นจีบหน้าทั้งสองผืน สอดขึ้นไปเป็นชายพกจนสิ้นยาว ชายสั้นนั้นจึ่งโจงกระเบนแต่ชายเดียวให้ทับหน้าสนิทแล้ว
จึงแหวกชายที่พับไว้นั้น โจงข้างหนึ่งเป็นหางหงส์ ข้างหนึ่งตามแต่จะเกี่ยวผ้าเถิด

ถ้าช้างน้ำมันคอปลาหมอนั้น ให้นุ่งบัวตูม ถ้าจะนุ่งบัวตูม ให้นุ่งผ้าสมปักคลี่ริม นุ่งจับชายเสมอกัน แล้วจึงจีบริมทั้งสองชาย
แต่ชายหน้าเข้ามาตลอดพก แล้วจึงสอดขึ้นเป็นพกห้อยลงมาเสมอเข่าทั้งสองข้าง ให้จับกลางผ้านุ่งรวบเข้าอีกทีหนึ่ง
แล้วจึงโจงกระเบนทั้งสองริม แล้วจึงเหน็บหน้าชั้นบนเสมอพก เหน็บหลังชั้นบนผ้าเกี่ยวนั้น ตามแต่จะเกี่ยวผ้าเถิด

ถ้าช้างน้ำมันคอกระบอก ให้นุ่งบัวจีบ ถ้าจะนุ่งบัวจีบ ให้นุ่งผ้าสี่คืบ ยาว ๔ แขนผืนหนึ่ง ไว้ชายซ้ายสั้น ชายขวายาว ซ้ายสั้นโจงกระเบน
ชายยาวสอดขึ้นมาเป็นพก แล้วจึงให้นุ่งผ้าสมปักคลี่ริมจับชายเสมอกัน ให้จัดกลีบหลังเหน็บขึ้นมา ๓ ขนบ ให้จีบริมแต่หน้าเข้ามาจนพก
เป็นกลีบเพล่เหลื่อมกัน เหน็บทั้งสองข้างแล้ว จึงโจงกระเบนริมทั้งสองชาย แล้วจึงโจงกระเบนชายใหญ่รวบกัน
จึงเอาชายพกนั้นจีบขวางพาดตักไว้ เกี่ยวผ้าตามแต่จะเกี่ยวผ้าเถิด

ถ้าช้างน้ำมันคอน้ำเต้า ให้นุ่งบัวบาน ให้นุ่งผ้าสมปัก ชายซ้ายสั้น ชายขวายาว ชายขวาจับเป็นพกพาดบ่าไว้ โจงกระเบนริมขวา
แล้วโจงกระเบนริมซ้าย แล้วจึงจัดกลีบเหน็บหน้าไขว้ทับพกแล้วจึงโจงกระเบน เกี่ยวผ้าตามแต่จะเกี่ยวผ้าเถิด
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 18:45

^ ขอบใจพนายอาร์ทแห่งทุ่งรังสิต  เมืองประทุม  สำนวนเก่าถึงขนาด
นี่เพิ่งไปสั่งคัดลอกทำสำเนาจากบรรณาลัยใหญ่แห่งหนึ่ง
คาดว่า อีก ๑ ปักษ์ คงจะสำเร็จ

ส่วนตำราตัดไม้ข่มนามนั้น  ที่ท่านทังหลายมีมานะค้นหามานั้น
ท่านผู้คงแก่เรียนท่านว่า  สำนวนไม่เก่า และไม่เหมือนที่ท่านเคยอ่านมาก่อน
ผมก็ถามท่านว่า  ก็สำนวนที่ท่านเคยอ่านนั้น  เป็นสำนวนเก่าแต่ครั้งใด
ท่านวิสัชนาว่า  เป็นตำราครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในคราวที่โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปเอาเมืองล้านช้าง  ละเอียดดีขนาด
อุแม่เจ้า ตกใจ  จะไปหาจากแหล่งใดในหล้าเล่านี่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 19:04

ครั้นอยากถามคุณหลวงเล็กว่า เมื่อช้างตกน้ำมันนำมาต่อหน้าแล้ว จะเห็นคอช้างได้เลยหรือว่าเป็นคอประเภทไหน (คอปลาหมอ คอน้ำเต้า คอกระบอก) และกว่าจะเร่งรีบนุ่งผ้า ๓ ชั้น ๙ ชั้น จะแก่เกินแกงไหมท่าน  ฮืม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 19:29

ครั้นอยากถามคุณหลวงเล็กว่า เมื่อช้างตกน้ำมันนำมาต่อหน้าแล้ว
จะเห็นคอช้างได้เลยหรือว่าเป็นคอประเภทไหน (คอปลาหมอ คอน้ำเต้า คอกระบอก)
และกว่าจะเร่งรีบนุ่งผ้า ๓ ชั้น ๙ ชั้น จะแก่เกินแกงไหมท่าน  ฮืม

ออกขุนถามผมเช่นนี้  แสดงว่าออกขุนยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในออกรบทัพจับศึกบนหลังคชสาร
โบราณท่านว่าไว้ ช้างที่ออกรบนั้น  ท่านจะกรอกสุราให้ช้างเกิดการซับมันเพื่อมีอารมณ์ดุร้าย
แต่ควาญยังควบคุมได้  ตำรานี้  โบราณท่านเขียนไว้สอนให้คนขี่ช้างรู้ว่า
เวลาขี่ช้างไม่ซับมัน เช่น เวลาขี่ช้างเข้ากระบวนแห่สระสนาน ที่เรียกว่า ขี่ช้างชื่นตา
คือขี่ตามสบาย  ไม่ใช่ในการออกรบ  จะนุ่งเอาสวยงามย่อมได้

แต่ถ้าขี่ช้างออกรบ  ช้างนั้นซับมัน  ท่านให้ดูว่าคอช้างมีลักษณะอย่างไร
แล้วเลือกนุ่งบ้างให้เหมาะสม  เพื่อให้นั่งขี่ได้ทะมัดทะแมง ผ้าไม่หลุดลุ่ยกรุยกราย
อันทำให้เสียทีแก่ข้าศึกได้  โบราณท่านจึงเขียนสอนไว้ดังนี้

ที่ออกขุนถามมานั้น  คงเป็นกรณีช้างที่ซับมันแล่นเตลิดมาตามถนนหนทาง
ถ้าเป็นเช่นนั้น  ควรหลีกให้ไวให้ไกลที่สุด (ถ้าไม่ประสงค์จะบอบช้ำบาดเจ็บ)
อย่ามัวสังเกตคอช้างแล้วนุ่งผ้า ๓ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น อยู่เลย 
เกรงว่าผ้าที่นุ่งจะไม่พอห่อศพเสียมากกว่า ยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 19:55

ครั้นอยากถามคุณหลวงเล็กว่า เมื่อช้างตกน้ำมันนำมาต่อหน้าแล้ว
จะเห็นคอช้างได้เลยหรือว่าเป็นคอประเภทไหน (คอปลาหมอ คอน้ำเต้า คอกระบอก)
และกว่าจะเร่งรีบนุ่งผ้า ๓ ชั้น ๙ ชั้น จะแก่เกินแกงไหมท่าน  ฮืม

ออกขุนถามผมเช่นนี้  แสดงว่าออกขุนยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในออกรบทัพจับศึกบนหลังคชสาร
โบราณท่านว่าไว้ ช้างที่ออกรบนั้น  ท่านจะกรอกสุราให้ช้างเกิดการซับมันเพื่อมีอารมณ์ดุร้าย
แต่ควาญยังควบคุมได้  ตำรานี้  โบราณท่านเขียนไว้สอนให้คนขี่ช้างรู้ว่า
หนทาง
ถ้าเป็นเช่นนั้น  ควรหลีกให้ไวให้ไกลที่สุด (ถ้าไม่ประสงค์จะบอบช้ำบาดเจ็บ)
อย่ามัวสังเกตคอช้างแล้วนุ่งผ้า ๓ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น อยู่เลย 
เกรงว่าผ้าที่นุ่งจะไม่พอห่อศพเสียมากกว่า ยิ้ม


แร๊ง...นะนิ

แต่ว่าสุรานั้น เหล้าโรงหรือคอนหยัก  ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 20:11

อันนี้แล้วแต่คอครับ  ช้างบางคออาจจะชอบเหล้าโรงดีกรีแรง
ช้างบางคออาจจะชอบเหล้าขาว สรถ. โอทอป ผลิตตามหัวไร่ปลายนา ใสเป็นตาตั๊กแตน
ช้างบางคออาจจะชอบยาดองม้ากระทืบโรง คึกคักดี
ช้างบางคออาจจะติดสุราจากนอกอย่างวิสกี้ วอดก้า นารีแดง สาเก เซี่ยงชุน ฯลฯ
ช้างบางคออาจจะชอบแบบพื้นบ้านหน่อย ก็พอใจจะซดสาโท ดูดอุ หรือกะแช่น้ำตาลเมา
โบราณท่านก็ไม่ได้เขียนเอาไว้ด้วยว่าท่านให้กรอกกด้วยสุราชนิดใด
เอาเป็นว่า  กรอกแล้วช้างซับมันเป็นใช้ได้  ถามอะไรก็ไม่รู้ซอกแซกจริง ลังเล
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 20:15

อันนี้แล้วแต่คอครับ  ช้างบางคออาจจะชอบเหล้าโรงดีกรีแรง
ช้างบางคออาจจะชอบเหล้าขาว สรถ. โอทอป ผลิตตามหัวไร่ปลายนา ใสเป็นตาตั๊กแตน
ช้างบางคออาจจะชอบยาดองม้ากระทืบโรง คึกคักดี
ช้างบางคออาจจะติดสุราจากนอกอย่างวิสกี้ วอดก้า นารีแดง สาเก เซี่ยงชุน ฯลฯ
ช้างบางคออาจจะชอบแบบพื้นบ้านหน่อย ก็พอใจจะซดสาโท ดูดอุ หรือกะแช่น้ำตาลเมา
โบราณท่านก็ไม่ได้เขียนเอาไว้ด้วยว่าท่านให้กรอกกด้วยสุราชนิดใด
เอาเป็นว่า  กรอกแล้วช้างซับมันเป็นใช้ได้  ถามอะไรก้ไม่รู้ซอกแซกจริง ลังเล
มิได้หรอกท่าน...อย่าข่มโคเขาให้กินหญ้า ฉันใดก็ฉันนั้น การกรอกเหล้าเข้าปากช้างทำกันอย่างไร ท่านลองนึกภาพเอา ต้องใช้เหล้ากี่อีเลิ้ง ยัดกระบอกไม้ไผ่ทะลุกลางหรือ อันนี้น่าคิดนะ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 20:28

อันนี้แล้วแต่คอครับ  ช้างบางคออาจจะชอบเหล้าโรงดีกรีแรง
ช้างบางคออาจจะชอบเหล้าขาว สรถ. โอทอป ผลิตตามหัวไร่ปลายนา ใสเป็นตาตั๊กแตน
ช้างบางคออาจจะชอบยาดองม้ากระทืบโรง คึกคักดี
ช้างบางคออาจจะติดสุราจากนอกอย่างวิสกี้ วอดก้า นารีแดง สาเก เซี่ยงชุน ฯลฯ
ช้างบางคออาจจะชอบแบบพื้นบ้านหน่อย ก็พอใจจะซดสาโท ดูดอุ หรือกะแช่น้ำตาลเมา
โบราณท่านก็ไม่ได้เขียนเอาไว้ด้วยว่าท่านให้กรอกกด้วยสุราชนิดใด
เอาเป็นว่า  กรอกแล้วช้างซับมันเป็นใช้ได้  ถามอะไรก้ไม่รู้ซอกแซกจริง ลังเล
มิได้หรอกท่าน...อย่าข่มโคเขาให้กินหญ้า ฉันใดก็ฉันนั้น การกรอกเหล้าเข้าปากช้างทำกันอย่างไร ท่านลองนึกภาพเอา ต้องใช้เหล้ากี่อีเลิ้ง ยัดกระบอกไม้ไผ่ทะลุกลางหรือ อันนี้น่าคิดนะ  ยิ้มเท่ห์

ทำไมเล่าออกขุน ทีพระโคยังจับยัดเยียดกินเหล้าในกระทงได้ทุกปีเลย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 20:31

อันนี้แล้วแต่คอครับ  ช้างบางคออาจจะชอบเหล้าโรงดีกรีแรง
ช้างบางคออาจจะชอบเหล้าขาว สรถ. โอทอป ผลิตตามหัวไร่ปลายนา ใสเป็นตาตั๊กแตน
ช้างบางคออาจจะชอบยาดองม้ากระทืบโรง คึกคักดี
ช้างบางคออาจจะติดสุราจากนอกอย่างวิสกี้ วอดก้า นารีแดง สาเก เซี่ยงชุน ฯลฯ
ช้างบางคออาจจะชอบแบบพื้นบ้านหน่อย ก็พอใจจะซดสาโท ดูดอุ หรือกะแช่น้ำตาลเมา
โบราณท่านก็ไม่ได้เขียนเอาไว้ด้วยว่าท่านให้กรอกกด้วยสุราชนิดใด
เอาเป็นว่า  กรอกแล้วช้างซับมันเป็นใช้ได้  ถามอะไรก็ไม่รู้ซอกแซกจริง ลังเล

มิได้หรอกท่าน...อย่าข่มโคเขาให้กินหญ้า ฉันใดก็ฉันนั้น การกรอกเหล้าเข้าปากช้างทำกันอย่างไร
ท่านลองนึกภาพเอา ต้องใช้เหล้ากี่อีเลิ้ง ยัดกระบอกไม้ไผ่ทะลุกลางหรือ อันนี้น่าคิดนะ  ยิ้มเท่ห์

สำนวนของออกขุนบ่งบอกว่า  ชะรอยจะมีพี่เลี้ยงคอยชี้โพรง เอ๊ย แนะนำให้ตั้งคำถามซอกแซกซักไซ้
แคะไค้ถามโน่นถามนี่ไปเรื่อย  

ช้างที่เขาจะกรอกเหล้านั้น  คงฝึกมาอย่างดี  ว่านอนสอนง่าย (ไม่เหมือนใครบางคน)
จึงได้เอามากรอกเหล้าออกรบ   ถ้าเป็นช้างที่ฝึกยังไม่เชื่องดีนัก   ท่านคงไม่เอามากรอกเหล้า
ส่วนจะกรอกกันอย่างไร  ใช้เหล้าใส่อีเลิ้งเพิงพะมาสักกี่มากน้อยเพื่อใช้ในการนี้
ผมคิดว่า  ควาญหรือคนเลี้ยงช้างเขาคงรู้ว่าจะต้องเตรียมกันอย่างไร เท่าไร
และทำอย่างไร   ช้างบางเชือกอาจจะคออ่อน  กรอกน้อยก็ได้ผล  บางเชือกคอทองแดง
คงต้องกรึ๊บหลายทีหน่อยกว่าจะเมาได้ที่


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 20:36

ทำไมเล่าออกขุน ทีพระโคยังจับยัดเยียดกินเหล้าในกระทงได้ทุกปีเลย  ยิงฟันยิ้ม

พนายอาร์ทว่ามานั้น  มีน้ำหนัก  พึงรับฟังเอาเหตุผลได้
แต่ว่าพระโคกินของเสี่ยงทายนั้น  ทราบมาว่า เขาฝึกให้พระโคกินของเสี่ยงทั้ง ๗ สิ่งมาก่อนแล้วเป็นเดือนๆ
นอกเหนือจากการฝึกไถเข้าแอก และฝึกให้คุ้นเคยกันเสียงประโคมในพระราชพิธี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 21:35


คุณหนุ่มสยาม   ช่วยออกแบบหน้าทับหับเผยให้สองหลังนะคะ

สงสัยต้องได้ไปเยี่ยม

นอกจากสุราแล้วยังกรอกดินปืนอีกด้วย  ตำราเก่าว่าไว้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 08:34


คุณหนุ่มสยาม   ช่วยออกแบบหน้าทับหับเผยให้สองหลังนะคะ

สงสัยต้องได้ไปเยี่ยม

นอกจากสุราแล้วยังกรอกดินปืนอีกด้วย  ตำราเก่าว่าไว้

นอกจากนี้ต้องใส่สังขลิกให้เข็ด  เจ๋ง เจ๋ง

การกรอกดินปืน คงเพิ่มค่าซัลเฟอร์ ให้กับร่างกาย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 08:59

แหม  ใส่กันใหญ่  คุยกันเรื่องช้าง  ก็น่าจะลงทัณฑกรรมให้เข้ากันหน่อยสิ
จับใส่ตระกร้อให้ช้างเดาะเล่นน่าจะเหมาะกว่า   

ใส่ดินปืนลงในเหล้า  อาจจะเป็นเทคนิคการทำอาวุธของคนโบราณ
เกิดพลาดท่าพลาดทางเกิดฉุกละหุกขึ้นมา  ตีหินเกิดประกายไฟบนหลังช้าง
หรือแถวงวงช้าง  พลันก็เกิดระเบิดขึ้น  ที่รบๆกันแตกกระจายแขนขาดขาขาด
(นี่คิดเล่นๆ เพลินๆ อย่าพึงเอาจริงจัง ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 20 คำสั่ง