เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227690 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 16:37

"นี่คุณเคยเห็นเขานุ่งผ้าขี่ช้างหรือเปล่า  แหมมันวุ่นวายเวียนหัวมาก
ผูกนั่น พันนี่ พับตรงโน้น เหน็บตรงนั้น  อย่างนุ่งเกี้ยวเกไลเป็นต้น
นุ่งผ้าขี่ช้างนี่  ไม่ใช่ว่าใครก็นุ่งได้นะ  ต้องไปเรียนกับครูตัวต่อตัว
ครูเขาไม่เปิดคอร์สสอนทั่วไปหรอก  เขาเลือกสอนเฉพาะคน
นุ่งไม่ดี  นั่งช้างไม่ถนัด ผ้าลุ่ยเกะกะ  แถมขนช้างจะแทงขาจั๊กเดียม
ไม่เป็นอันบังคับช้าง"

ผมนั่งฟังอยู่อาวุโสสาธยายเรื่องช้างให้ฟัง  ด้วยความสนใจ
แต่ท่านก็เกิดมีธุระฉับพลัน  เลยไม่ได้ถามเรื่องนุ่งผ้าขี่ช้างให้ละเอียด
ใครมีตำรานุ่งผ้าขี่ช้าง  ฝากมาเล่าให้ฟังสักหน่อยเถิด  อยากรู้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 20:07

ท่านผู้อาวุโสอารมณ์ดีมีคำถามมาถามผมว่า

"ในเรือนไทยนี่มีคนที่รู้เรื่องลัทธิพิธีของพราหมณ์หลายคนนะ
อย่างนั้นถามหน่อยสิว่า อัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์ หมายถึงอะไร
ทำไมพราหมณ์ต้องทำอัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์ ก่อนประกอบพิธีกรรมตามลัทะิ
และอัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์ มีลักษณะวิธีการอย่างไร"

โอียๆ  คุณท่านถามยากอย่างนี้ จะมีใครตอบท่านได้ล่ะครับ
ท่านผู้ผ่านไปผ่านมาล่ะครับทราบไหมว่า อัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์
คืออะไร  ทำอย่างไร  ถ้าได้ภาพประกอบด้วยจะดีมาก

เบื้องต้นสรุปคร่าว ๆ ได้ว่าเป็นการชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ คือ มือและร่างกาย โดยอาศัยพิธีจากคัมภีร์พระเวท อาจจะใช้ควันธูปหรือเปลวไฟ ในการประกอบพิธีกรรม

"ส่วนการพระราชพิธีที่พราหมณ์ทำนั้น  ตั้งแต่วันขึ้น  ๖  ค่ำบรรดาพราหมณ์ทั้งปวงประชุมกันชำระกายผูกพรต  คือคาดเชือกไว้ที่ต้นแขนข้างหนึ่งเป็นวันจะตั้งพิธี  ตั้งแต่นั้นไปต้องกินถั่วงา  ไม่กินเนื้อสัตว์และไม่อยู่ด้วยภรรยา  พราหมณ์ทั้งปวงผูกพรตอยู่สามวัน  คือตั้งแต่วันขึ้น  ๗  ค่ำ ๘ ค่ำ ๙ ค่ำ พ้นไปนั้นก็ออกพรต  เว้นไว้แต่พระมหาราชครูพิธีที่เป็นผู้จะทำพิธีต้องผูกพรตไปตลอด  ๑๕  วัน  และนอนประจำอยู่ในเทวสถาน  ไม่ได้กลับบ้าน  ครั้นวันขึ้น  ๗  ค่ำ  เวลารุ่งเช้า  พระมหาราชครูอ่านเวทเปิดประตูเรือนแก้วไกรลาสศิวาลัยเชิญพระเป็นเจ้าเสด็จลง  แล้วจึงได้ไปรับพระยาที่โรงมานพตามซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น  เวลาค่ำเป็นเวลาทำพระราชพิธีเริ่มทำอวิสูทธชำระกายจุณเจิมและกระสูทธิ์อัตมสูททิ์อ่านตำรับแกว่งธูปเป่าสังข์บูชาเสร็จแล้ว  มีพราหมณ์คู่สวดยืนเรียงซ้อนต่อๆ กัน  ๔  คน  ยกพานข้าวตอกสวดคนละบท  วรรคต้นชื่อมหาเวชตึก  วรรคสองคนที่สองสวดเรียกโกรายะตึกวรรคสามคนที่สามสวดเรียกสาระวะตึก  วรรคสี่คนที่สี่สวดเรียกเวชตึกเมื่อจบทั้ง ๔  คนแล้วจึงว่าพร้อมกันทั้ง ๔ คน  เรียกลอริบาวาย  ในเวลาว่าลอริบาวายนั้นเป่าสังข์  ว่าสามจบหยุดแล้วสวดซ้ำอย่างเดิมอีกถึงลอริบาวายเป่าสังข์  เป่าสังข์ครบสิบสามครั้งเรียกว่ากัณฑ์หนึงเป็นจบ  ต่อนั้นไป  พระมหาราชครูยืนแกว่งธูปเทียนกระดึงเป่าสังข์บูชาอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อจบแล้ววางธูปเทียนถวายแล้วบูชาพานดอกไม้ อ่านเวทถวายดอกไม้รายชื่อพระเป็นเจ้าทั้งปวงจบแล้ว  คู่สวดทั้ง  ๔ คน นั้น  ยกอุลุบอย่างเช่นเข้ามาถวายในท้องพระโรงอีกคนละครั้งเป็นการถวายข้าวตอก  แล้วจึงเอาข้าวตอกนั้นแจกคนที่ไปประชุมฟังอยู่ในที่นั้นให้กินเป็นสวัสดิมงคลกันเสนียดจัญไร  เป็นเสร็จการในเทวสถานใหญ่  แล้วเลิกไปทำที่สถานกลางต่อไปอีก  การพิธีสถานใหญ่  คือสถานกลางคือ  สถานพระอิศวร แต่สวดต้องมากขึ้นไปเป็นสิบเจ็ดจบจึงจะลงกัณฑ์  แล้วก็มีแจกข้าวตอกเหมือนสถานใหญ่  การพิธีนี้ทำเหมือนๆ  กันอย่างที่กล่าวมาแล้วตลอดทั้งสิบคืน  ที่หน้าเทวรูปทั้งสองเทวสถานนั้นตั้งโต๊ะ  กองข้าวตอก  มัน  เผือก  มะพร้าวอ่อน  กล้วย                    อ้อย  สิ่งละมากๆ  เป็นกองโตทุกคืน"

ที่มา http://www.phram.net/
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 20:31

"นี่คุณเคยเห็นเขานุ่งผ้าขี่ช้างหรือเปล่า  แหมมันวุ่นวายเวียนหัวมาก
ผูกนั่น พันนี่ พับตรงโน้น เหน็บตรงนั้น  อย่างนุ่งเกี้ยวเกไลเป็นต้น
นุ่งผ้าขี่ช้างนี่  ไม่ใช่ว่าใครก็นุ่งได้นะ  ต้องไปเรียนกับครูตัวต่อตัว
ครูเขาไม่เปิดคอร์สสอนทั่วไปหรอก  เขาเลือกสอนเฉพาะคน
นุ่งไม่ดี  นั่งช้างไม่ถนัด ผ้าลุ่ยเกะกะ  แถมขนช้างจะแทงขาจั๊กเดียม
ไม่เป็นอันบังคับช้าง"

ผมนั่งฟังอยู่อาวุโสสาธยายเรื่องช้างให้ฟัง  ด้วยความสนใจ
แต่ท่านก็เกิดมีธุระฉับพลัน  เลยไม่ได้ถามเรื่องนุ่งผ้าขี่ช้างให้ละเอียด
ใครมีตำรานุ่งผ้าขี่ช้าง  ฝากมาเล่าให้ฟังสักหน่อยเถิด  อยากรู้

เรื่องนี้มันมิดเม้นสักหน่อย
เพราะโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้แต่ครั้งพระนารายณ์เป็นเจ้าเมืองลพบุรีว่า

"มิให้นอกกว่าพระสมุหะ แลครูช้างขุนช้าง ผู้อื่นนอกนั้นมิให้ล่วงรู้ ให้มีไว้ข้างที่ฉบับหนึ่งแต่เท่านี้ ถ้าผู้จะศึกษาฝึกสอนนั้น
ให้บอกแต่กลจะนุ่งผ้า กลจะผูกชะนัก กลจะสอดชะนัก กลที่นั่ง กลจะถือขอก่อน ถ้าผู้ใดมีความเพียรอุสาหะ ถ้าถามข้อใด
ให้บอกแต่ข้อนั้น ห้ามมิให้คัดทรงในฉบับนี้ไปศึกษาร่ำเรียนเป็นอันขาดทีเดียว"

เมื่อมีคำถามถึงกลนุ่งผ้าขี่ช้าง ท่านก็ให้ตอบแต่กลนุ่งผ้าข้อเดียวฉะนี้แล
แต่ท่านยังอุตสาหะยักไว้ว่า

"อันว่ากลจะนุ่งผ้า ๙ ชั้น ๗ ชั้น ๕ ชั้น ๓ ชั้นเป็นนพนั้น จะบอกไว้ในนี้มิพอเข้าใจ ต่อนุ่งให้ดูเห็นแล้วจึงจะเข้าใจ
จะบอกไว้ก็แต่นุ่งผ้านี้มี ๔ อย่าง อย่างหนึ่งชื่อว่าบัวกลม อย่างหนึ่งชื่อว่าบัวห่อ อย่างหนึ่งชื่อว่าบัวจีบ อย่างหนึ่งชื่อว่าเกไล
จะนุ่งอย่างไรก็ตามแต่จะรักนุ่งเถิด ชั้นในนั้นทำเหมือนกันแล"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 21:02

^
คงนุ่งกันผ้าแข็งกลมกลึงน่าดู


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 22:59

       ดิฉันเป็นนักอ่านค่ะ   ขอแนะนำหนังสืออนุสรณ์เล่มหนึ่ง ชื่อ  อยุธยาอาภรณ์  แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ

พันตรี  หลวงจบกระบวนยุมธ(แช่ม  กระบวนยุทธ) ในปี พุทธศักราช ๒๕๒๐    คุณสมภพ  จันทรประภา เป็นผู้เขียน

เป็นหนังสือที่ให้ความรู้อย่างกว้างขวาง  และลึกเนื่องจากได้อธิบายเรื่องการนุ่งผ้าขี่ช้าง เพราะ พระตำหรับนี้หาอ่านยาก

คุณ kuprentra  อาจจะคิดว่า  ไม่ได้ต้องการทราบเรื่องนี้  เพราะไม่สนใจ   ที่ยกมากล่าวเพราะเป็นข้อมูลที่ปกปิด

บอกเล่ากันตัวต่อตัวจากครูผู้ใหญ่กับศิษย์ผู้เรียนเรื่องการบังคับช้างเท่านั้น


       หนังสือเล่มนี้คงพอหาได้ตามห้องสมุดมหาวิทยาลัย  เข้าใจว่ามีในห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แน่นอน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 07:14



อ่านมาจากช้างราชพาหนะ  ชุดมรดกไทย  หน้า  ๑๗๕ - ๑๘๒
ย่อความมาฝากด้วยไมตรี   ถ้าขืนคัดลอกโดยละเอียดรบกันอาจจะง่ายกว่าท่านผู้เจริญ


การนุ่งผ้าสำหรับขี่ช้าง   มี ๔ แบบ  คือ 

แบบ ๙ ชั้น  เรียกว่า บัวกลม

แบบ ๙ ชั้น เรียกว่าบัวห่อ

แบบ ๗ ชั้น  เรียกว่า  บัวจีบ

แบบ ๓ ชั้น  เรียกว่าเกไล

การนุ่งจะนุ่ง ๒ ชั้น  มีชั้นในด้วย  และชั้นในนั้นก็นุ่งตามแบบชั้นนอก


วิธีเกี้ยวผ้าหรือผูกผ้าคาดเอว     ศัพท์โบราณเรียกว่า  การเกี้ยวผ้า  มี ๔ แบบ

๑   เกี้ยวแบบ ดวงกะพัด  หรือ ยัญพัด

๒   เกี้ยวแบบ พันทนำ

๓   เกี้ยวแบบ กระหวัดจำ

๔   เกี้ยวแบบเกไล

การนุ่งผ้ามีรายละเอียดในหนังสือเรื่อง  พระตำหรับนุ่งผ้าขี่ช้าง
(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์  และ พระยาอนุมานราชธน,  บันทึกความรู้เรื่องต่าง ๆ เล่ม ๑
 ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร,  ๒๕๐๖   หน้า ๑๖๓ - ๑๖๙)


การจะนุ่งผ้าขี่ช้างนั้น

จะขี่ช้างชื่นตา  ให้นุ่งเกไล

จะขี่ช้างน้ำมันคอปลาหมอ  ให้นุ่งแบบบัวตูม

จะขี่ช้างน้ำมันคอกระบอก  ให้นุ่งแบบบัวจีบ

จะขี่ช้างน้ำมันคอน้ำเต้า  ให้นุ่งแบบบัวบาน


การนุ่งผ้าอีก ๒ อย่าง  สำหรับในพระราชพิธีพระคชกรรมทั้งปวง คือ นุ่งหมอ และนุ่ง ดวงกระพัด หรือยัญพัด

ห้ามมิให้ผู้ที่มิได้ทำงานหมอช้างนุ่ง  เพราะจะเป็นการอัปมงคลต่อผู้นุ่ง



การทรงผ้าแบบโบราณของพระมหากษัตริย์ ๔ อย่าง  ก็เป็นความรู้พิเศษที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่โดยตรง เช่น ขุนศรีไชยาทิตย์ และขุนสิทธิกรรม

จะเรียนก็ต้องเสียค่าขึ้นครู ได้แก่ขวัญข้าว  คือ บายศรีใบตองแห้งชั้นเดียวหนึ่ง  ปลาช่อนต้มตัวหนึ่ง  กับน้ำพริกถ้วยหนึ่ง



(ทีหน้าทีหลังคุณหลวงเล็กที่นับถือ  อย่าขนย้ายมหาสมบัติในกล่องเบียร์ไปมาจนเข้าตาท่านผู้ใหญ่   ท่านจะยึดเสียด้วยอุบาย ล่อช้างให้ตกหลุม ดังนี้แล)
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 07:56

อุเหม่  อายจัง

ท่านข้างบนก็ช่างกระไร ช่วยเฉลยคำถามท่านอาวุโสแทนใต้เท้าพระกรุณาเสียแล้ว

ไอ้กระผมว่าวันนี้จักเอาพระตำหรับนุ่งผ้าขี่ช้างมาสนองบรรณาการเสียหน่อย  เจ๋ง

มิทันเลย มิทันเลย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 08:44

อุเหม่  อายจัง

ท่านข้างบนก็ช่างกระไร ช่วยเฉลยคำถามท่านอาวุโสแทนใต้เท้าพระกรุณาเสียแล้ว

ไอ้กระผมว่าวันนี้จักเอาพระตำหรับนุ่งผ้าขี่ช้างมาสนองบรรณาการเสียหน่อย  เจ๋ง

มิทันเลย มิทันเลย

คุณอาร์ทแห่งทุ่งรังสิตจะไปกริ้วโกรธท่านผู้ใจดีใจกว้างปานมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อใด
เขาไขความให้ก็ดีแล้ว   ตำราขี่ช้างสารนั้นผมก็เคยมี  ได้ทำสำเนาไว้ใช้งานด้วย
แต่กระแสมหาชลทำลายล้างไปเมื่อปีกลาย  นี่ว่าจะไปทำสำเนาใหม่
ส่วนคุณอาร์ทจะทำมาบรรณาการกันก็ไม่ว่ากระไร  ยินดีรับฉลองศรัทธาเพื่อมิให้เสียน้ำใจกัน

อ้อ  เดี๋ยวจะไปหาตำราตัดไม้ข่มนามมานำเสนอสักหน่อย
เพราะท่านผู้อาวุโสถามไว้นานแล้วว่า  ตัดไม้ข่มนาม
มีขั้นตอนรายละเอียดแบบแผนของหลวงอย่างไร
ท่านว่าอยากได้ที่เป็นสำนวนเก่าแท้ๆ สำนวนใหม่อ่านแล้วไม่น่าเชื่อถือ
ไม่ทราบว่าใครเคยเห็นตำราตัดไม้ข่มนามบ้าง  ช่วยแนะนำหน่อย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 08:47

ท่านผู้อาวุโสอารมณ์ดีมีคำถามมาถามผมว่า

"ในเรือนไทยนี่มีคนที่รู้เรื่องลัทธิพิธีของพราหมณ์หลายคนนะ
อย่างนั้นถามหน่อยสิว่า อัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์ หมายถึงอะไร
ทำไมพราหมณ์ต้องทำอัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์ ก่อนประกอบพิธีกรรมตามลัทะิ
และอัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์ มีลักษณะวิธีการอย่างไร"

โอียๆ  คุณท่านถามยากอย่างนี้ จะมีใครตอบท่านได้ล่ะครับ
ท่านผู้ผ่านไปผ่านมาล่ะครับทราบไหมว่า อัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์
คืออะไร  ทำอย่างไร  ถ้าได้ภาพประกอบด้วยจะดีมาก

เบื้องต้นสรุปคร่าว ๆ ได้ว่าเป็นการชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ คือ มือและร่างกาย โดยอาศัยพิธีจากคัมภีร์พระเวท อาจจะใช้ควันธูปหรือเปลวไฟ ในการประกอบพิธีกรรม

"ส่วนการพระราชพิธีที่พราหมณ์ทำนั้น  ตั้งแต่วันขึ้น  ๖  ค่ำบรรดาพราหมณ์ทั้งปวงประชุมกันชำระกายผูกพรต  คือคาดเชือกไว้ที่ต้นแขนข้างหนึ่งเป็นวันจะตั้งพิธี  ตั้งแต่นั้นไปต้องกินถั่วงา  ไม่กินเนื้อสัตว์และไม่อยู่ด้วยภรรยา  พราหมณ์ทั้งปวงผูกพรตอยู่สามวัน  คือตั้งแต่วันขึ้น  ๗  ค่ำ ๘ ค่ำ ๙ ค่ำ พ้นไปนั้นก็ออกพรต  เว้นไว้แต่พระมหาราชครูพิธีที่เป็นผู้จะทำพิธีต้องผูกพรตไปตลอด  ๑๕  วัน  และนอนประจำอยู่ในเทวสถาน  ไม่ได้กลับบ้าน  ครั้นวันขึ้น  ๗  ค่ำ  เวลารุ่งเช้า  พระมหาราชครูอ่านเวทเปิดประตูเรือนแก้วไกรลาสศิวาลัยเชิญพระเป็นเจ้าเสด็จลง  แล้วจึงได้ไปรับพระยาที่โรงมานพตามซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น  เวลาค่ำเป็นเวลาทำพระราชพิธีเริ่มทำอวิสูทธชำระกายจุณเจิมและกระสูทธิ์อัตมสูททิ์อ่านตำรับแกว่งธูปเป่าสังข์บูชาเสร็จแล้ว  มีพราหมณ์คู่สวดยืนเรียงซ้อนต่อๆ กัน  ๔  คน  ยกพานข้าวตอกสวดคนละบท  วรรคต้นชื่อมหาเวชตึก  วรรคสองคนที่สองสวดเรียกโกรายะตึกวรรคสามคนที่สามสวดเรียกสาระวะตึก  วรรคสี่คนที่สี่สวดเรียกเวชตึกเมื่อจบทั้ง ๔  คนแล้วจึงว่าพร้อมกันทั้ง ๔ คน  เรียกลอริบาวาย  ในเวลาว่าลอริบาวายนั้นเป่าสังข์  ว่าสามจบหยุดแล้วสวดซ้ำอย่างเดิมอีกถึงลอริบาวายเป่าสังข์  เป่าสังข์ครบสิบสามครั้งเรียกว่ากัณฑ์หนึงเป็นจบ  ต่อนั้นไป  พระมหาราชครูยืนแกว่งธูปเทียนกระดึงเป่าสังข์บูชาอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อจบแล้ววางธูปเทียนถวายแล้วบูชาพานดอกไม้ อ่านเวทถวายดอกไม้รายชื่อพระเป็นเจ้าทั้งปวงจบแล้ว  คู่สวดทั้ง  ๔ คน นั้น  ยกอุลุบอย่างเช่นเข้ามาถวายในท้องพระโรงอีกคนละครั้งเป็นการถวายข้าวตอก  แล้วจึงเอาข้าวตอกนั้นแจกคนที่ไปประชุมฟังอยู่ในที่นั้นให้กินเป็นสวัสดิมงคลกันเสนียดจัญไร  เป็นเสร็จการในเทวสถานใหญ่  แล้วเลิกไปทำที่สถานกลางต่อไปอีก  การพิธีสถานใหญ่  คือสถานกลางคือ  สถานพระอิศวร แต่สวดต้องมากขึ้นไปเป็นสิบเจ็ดจบจึงจะลงกัณฑ์  แล้วก็มีแจกข้าวตอกเหมือนสถานใหญ่  การพิธีนี้ทำเหมือนๆ  กันอย่างที่กล่าวมาแล้วตลอดทั้งสิบคืน  ที่หน้าเทวรูปทั้งสองเทวสถานนั้นตั้งโต๊ะ  กองข้าวตอก  มัน  เผือก  มะพร้าวอ่อน  กล้วย                    อ้อย  สิ่งละมากๆ  เป็นกองโตทุกคืน"

ที่มา http://www.phram.net/

มีตำราอธิบายไว้บ้างหรือไม่  ข้อความเช่นนี้อ่านหลายครั้งแล้วก็ไม่รู้ว่ากระทำอย่างไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 08:50

วิธีเกี้ยวผ้าหรือผูกผ้าคาดเอว     ศัพท์โบราณเรียกว่า  การเกี้ยวผ้า  มี ๔ แบบ

๑   เกี้ยวแบบ ดวงกะพัด  หรือ ยัญพัด

๒   เกี้ยวแบบ พันทนำ

๓   เกี้ยวแบบ กระหวัดจำ

๔   เกี้ยวแบบเกไล

เกี้ยวผ้ายัญพัด ท่านให้เกี้ยวผ้าไหม มิให้เกี้ยวผ้าลายให้เกี้ยวผ้าทางยาวโอบเอวมาผูกไว้ตรงกระเบนเหน็บจึงเอาชายผ้าทั้งสองโอบเอวมาด้านหน้า แล้วทบกันอาชายหนึ่งทบถึงข้างหน้า ให้ชายที่เหลืออยู่นั้นลอด ขัดขึ้นไปแล้วกระหวัดบนทบลงทาลอดให้ขัดลำพออยู่ ชายที่เหลืออยู่นั้นให้ห้อยลงมาตรงพกดั่งห้อยหน้า

เกี้ยวผ้ากระหวัดจำ ให้เกี้ยวผ้าลายพับดั่งหนึ่งเจียรบาด โอบตัวเข้าให้หน้าเสมอกัน แล้วจึงทบหน้านั้น ขัดขึ้นให้ได้ ๒ ขัด ชายนั้นให้ห้อยลงไปดั่งเจียรบาด

เกี้ยวผ้าพันหน้า (เขียนผิดกระมัง ? - เพ็ญชมพู) ให้เกี้ยวผ้าลายพับดั่งหนึ่งเจียรบาด ห้อยชายลงไว้แล้วให้พันตัวให้ได้ ๒ รอบจึงให้ขัดชายพันไว้ดังหนึ่งเข้าตะกรุดเบ็ด แล้วให้ชายซ้อนกันลงทั้งสองชาย จึงทบกลับขึ้นมาเหน็บไว้ตรงหน้าเถิด

เกี้ยวผ้าเกไล ให้เกี้ยวผ้าลายคลี่ออก มิให้พับ ผ่อนให้ชายซ้ายสั้น ชายขวายาว ให้เอาริมนั้นนุ่งเข้า ผูกพกให้แน่น จึงให้จีบหน้าทางยาวทั้ง ๒ ข้าง ผูกไขว้ขัดกันให้เป็นเงื่อนกระทกชายยาว แล้วจึงให้จีบหน้าชายยาวนั้นเหน็บทับพุงลงไว้เถิด

จาก การแต่งกายไท - สยาม  ของ โอม รัชเวทย์  พิมพ์ครั้งที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 08:56

อุเหม่  อายจัง

ท่านข้างบนก็ช่างกระไร ช่วยเฉลยคำถามท่านอาวุโสแทนใต้เท้าพระกรุณาเสียแล้ว

ไอ้กระผมว่าวันนี้จักเอาพระตำหรับนุ่งผ้าขี่ช้างมาสนองบรรณาการเสียหน่อย  เจ๋ง

มิทันเลย มิทันเลย

คุณอาร์ทแห่งทุ่งรังสิตจะไปกริ้วโกรธท่านผู้ใจดีใจกว้างปานมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อใด
เขาไขความให้ก็ดีแล้ว   ตำราขี่ช้างสารนั้นผมก็เคยมี  ได้ทำสำเนาไว้ใช้งานด้วย
แต่กระแสมหาชลทำลายล้างไปเมื่อปีกลาย  นี่ว่าจะไปทำสำเนาใหม่
ส่วนคุณอาร์ทจะทำมาบรรณาการกันก็ไม่ว่ากระไร  ยินดีรับฉลองศรัทธาเพื่อมิให้เสียน้ำใจกัน

อ้อ  เดี๋ยวจะไปหาตำราตัดไม้ข่มนามมานำเสนอสักหน่อย
เพราะท่านผู้อาวุโสถามไว้นานแล้วว่า  ตัดไม้ข่มนาม
มีขั้นตอนรายละเอียดแบบแผนของหลวงอย่างไร
ท่านว่าอยากได้ที่เป็นสำนวนเก่าแท้ๆ สำนวนใหม่อ่านแล้วไม่น่าเชื่อถือ
ไม่ทราบว่าใครเคยเห็นตำราตัดไม้ข่มนามบ้าง  ช่วยแนะนำหน่อย

 ยิงฟันยิ้ม

เอาซิ ช่วยนำมาเล่าให้ฟังหน่อย ... พิธีปฐมกรรมและตัดไม้ข่มนาม ครั้งหลังสุดเห็นจะเป็นครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทำพิธีตัดไม้ข่มนามในการออกรบกับฝรั่งต่างชาติในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ครั้งนั้นก็เลือกที่จะใช้ "ต้นฝรั่ง" เป็นตัวแทนแห่งชื่อฟ้อง "ฝรั่งต่างชาติ" ด้วยการฟันต้นฝรั่งเสียให้ขาดกระจายไป  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 08:57

อภิถัง...ถ้าท่านพลายอาดอ่านขุนศึกเสีย  ก็จะรู้ว่าวิชานั้นเป็นที่หวงแหน  ขนาดหมื่นคงคชบาลรัก

พี่หลวงโจมจัตุรงค์ปานใด   ยังคิดจะสอนคชกรรมให้เพียงพอรู้เท่านั้น

วิธีบังคับช้างให้ล้มทั้งยืน  ให้เลือดตก   ให้กลัวแบบสะท้านทั้งตัว   แบบให้ตกใจกลัวยกเท้าไม่ได้มีอยู่

ท่ากรายขอก็มี   ชื่อเพราะ ๆ ทั้งนั้น

จะสนใจวิธีนุ่งผ้าไยกัน       จะไปรบก็มีคนมานุ่งให้เองจ้ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 09:02



คนที่ฟันต้นฝรั่งขาดเปรี้ยงนี่  หวิดตายนะ      น่าจะเป็นกิ่งมากกว่า   ต้นเหนียวมาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 09:05

ต้นกล้วยน่าจะง่ายกว่า

มีการฟันไม้ข่มนามโดยปุโรหิต  โดยเลือกกิ่งไม้ที่เป็นชื่อของศัตรู  หรือใช้ท่อนกล้วยจารึกอักษรมาแทนตัว

การใช้ปุโรหิตเป็นผู้ฟันนี่ประหยัดแม่ทัพไปได้  เพราะปุโรหิตคงเลือกเอากาบกล้วยออกเสียหลายชั้น  ฟันตูมลงไป  ต้นกล้วยก็ขาดทั้งนั้น

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 24 ก.พ. 12, 09:10



อยากจักจี้คุณเพ็ญจัง   น่ารักซะไม่มี
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง